ลักษณะภูมิประเทศบริเวณภาคพื้นทวีปเป็นอย่างไร

         เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ มีพื้นที่ประมาณ4,600,000 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 593,000,000คน (2008) ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 116.5 คนต่อตารางกิโลเมตร มีที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศ 11 ประเทศ ลักษณะทำเลที่ตั้งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนภาคพื้นทวีปและภาคพื้นสมุทร ส่วนภาคพื้นทวีป ได้แก่ พม่า ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และมาเลเซียตะวันตก และภาคพื้นสมุทร ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต บรูไน และสิงคโปร์ ลักษณะภูมิประเทศแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ (ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดี ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา) ที่ราบสูง (ที่ราบสูงในรัฐชาน เทือกเขาอาระกัน พื้นที่ส่วนใหญ่ของลาว ตอนเหนือของมาเลเซียตะวันตก) และ เขตหมู่เกาะ (หมู่เกาะอินโดนีเซีย หมู่เกาะฟิลิปปินส์ เกาะสิงคโปร์)

         โครงสร้างทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่เป็นแบบเกษตรกรรม ยกเว้นสิงคโปร์และบรูไนซึ่งมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้าไปมาก ในขณะเดียวกันทุกประเทศก็พัฒนาอุตสาหกรรมจนมีความก้าวหน้าไปมาก เช่น ไทย มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย ในปัจจุบัน กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเมืองใหญ่ที่สำคัญหลายเมือง เช่น จาการ์ตา (เมืองใหญ่ที่สุดในภูมิภาค) กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ สงขลา โฮจิมินห์ซิตี ฮานอย ปูตราจายา กัวลาลัมเปอร์ สิงคโปร์บันดาร์เซอรีเบอกาวัน ภูเก็ต เป็นต้น

        เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 10 องศาใต้ ถึงละติจูดที่ 28 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 92 องศาตะวันออก ถึงลองจิจูดที่ 141 องศาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ         ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐอินเดีย
ทิศตะวันออก   จดมหาสมุทรแปซิฟิก ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย
ทิศใต้            จดมหาสมุทรอินเดีย ทวีปออสเตรเลีย และโอเชียเนีย
ทิศตะวันตก จดมหาสมุทรอินเดีย สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ และสาธารณรัฐอินเดีย
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของทวีปเอเชีย รองจากภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ตามลำดับ ประกอบด้วย 11 ประเทศ คือ

เนื้อที่ จำนวนประชากร และเมืองหลวงของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ลักษณะภูมิประเทศบริเวณภาคพื้นทวีปเป็นอย่างไร

ลักษณะภูมิประเทศ
ดินแดนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ดินแดนบนแผ่นดินใหญ่หรือคาบสมุทรอินโดจีน ประกอบด้วยประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และบางส่วนของมาเลเซีย และดินแดนที่เป็นหมู่เกาะ ประกอบด้วยประเทศสิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไนดารุสซาลาม ติมอร์–เลสเต และมาเลเซียส่วนที่อยู่บนเกาะบอร์เนียว
ลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำแนกได้ดังนี้
          1. บริเวณเทือกเขา แบ่งได้ 3 แนว ได้แก่ แนวเทือกเขาหินเก่าตอนกลาง แนวเทือกเขายุคกลางตะวันออก แนวเทือกเขาหินใหม่ตะวันตก
          2. ที่ราบลุ่มแม่น้ำ แม่น้ำสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำโขง แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำแดง แม่น้ำเจ้าพระยา
          3. ที่ราบชายฝั่งทะเล
          4. หมู่เกาะ

ลักษณะภูมิประเทศบริเวณภาคพื้นทวีปเป็นอย่างไร

      ภูมิอากาศ
ภูมิอากาศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งได้ 3 เขต ดังนี้
          1. เขตภูมิอากาศแบบป่าฝนเขตร้อน (Af)
          2. เขตภูมิอากาศร้อนชื้นแบบมรสุม (Am)
          3. เขตภูมิอากาศร้อนชื้นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนหรือทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw)

ลักษณะภูมิประเทศบริเวณภาคพื้นทวีปเป็นอย่างไร

      เศรษฐกิจ
1. การเกษตร ประกอบด้วย
             1) การเพาะปลูก พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวเจ้า ปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำต่าง ๆ พืชอื่น ๆ เช่น ยางพารา ข้าวโพด มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ผักและผลไม้ต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีการเพาะปลูกแบบไร่นาขนาดใหญ่เพื่อการค้า และนิยมปลูกพืชเพียงชนิดเดียว
             2) การเลี้ยงสัตว์ สัตว์เลี้ยงที่สำคัญ เช่น โค สุกร ไก่ เป็ด มีการเลี้ยงเพื่อส่งออกมากในประเทศไทย ส่วนการเลี้ยงแพะและแกะจะเลี้ยงมากในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
          2. การทำประมง ประเทศที่จับสัตว์น้ำได้มากที่สุด คือ ประเทศไทย และประเทศอื่นที่จับสัตว์น้ำได้มาก ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
          3. การทำป่าไม้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เคยได้ชื่อว่าเป็นแหล่งทรัพยากรป่าไม้เมืองร้อนที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของโลก ไม้ที่มีค่า เช่น ไม้สัก ไม้มะฮอกกานี ไม้ยาง ไม้ตะแบก แต่ปัจจุบันป่าไม้ถูกทำลายไปมาก จนทำให้หลายประเทศต้องตรากฎหมายขึ้นเพื่ออนุรักษ์ป่าไม้
          4. การทำเหมืองแร่ เป็นแหล่งผลิตแร่ดีบุกที่สำคัญ ประเทศที่ส่งออกแร่ดีบุกมากที่สุดในโลก คือ ประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย แร่ที่มีความสำคัญรองลงมา ได้แก่ น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ซึ่งเป็นสินค้าออกหลักของประเทศอินโดนีเซียและบรูไนดารุสซาลาม
          5. อุตสาหกรรม ในภูมิภาคนี้อุตสาหกรรมยังไม่เจริญก้าวหน้ามากนัก โดยประเทศสิงคโปร์มีความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมต่อเรือมากกว่าทุกประเทศในภูมิภาคนี้ ส่วนประเทศที่มีอุตสาหกรรมมากรองจากสิงคโปร์ คือ อินโดนีเซีย ซึ่งมีอุตสาหกรรมการขุดเจาะน้ำมัน และอุตสาหกรรมโรงงานประเภทต่าง ๆ
          6. การค้า สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ แก๊สธรรมชาติ น้ำมันดิบ เสื้อผ้าและสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากไม้ยางและผลิตภัณฑ์จากยาง อาหารทะเลกระป๋อง เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ โดยสิงคโปร์เป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ส่งออกเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรม ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ รถจักรยานยนต์ รถยนต์ น้ำมัน
  ลักษณะประชากร สังคม และวัฒนธรรม
1. ประชากร เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประชากรประมาณ 586.5 ล้านคน ประเทศอินโดนีเซียมีประชากรมากที่สุด และประเทศบรูไนดารุสซาลามมีประชากรน้อยที่สุด ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและบริเวณภูเขาไฟที่มีดินอุดมสมบูรณ์
          2. ภาษา ประเทศต่าง ๆ ใช้ภาษาประจำชาติของตนควบคู่กับภาษาอื่น
          3. วัฒนธรรมมีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอินเดีย จีน และตะวันตกที่เข้ามาภายหลังเข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน
          4. ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไนดารุสซาลาม รองลงมา คือ พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในภาคพื้นทวีป ได้แก่ ประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ส่วนประเทศฟิลิปปินส์นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และศาสนาอื่น ๆ ที่มีการนับถือในภูมิภาคนี้ ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูบริเวณเกาะบาหลี