แหล่งที่รวบรวมภูมิปัญญาไทยสมัยรัตนโกสินทร์ คือข้อใด *

2.     การแก้ปัญหาด้านการผลิตเป็นภูมิปัญญาด้านใด                                                                                                                                                                                                                                                             

ภูมิปัญญาไทยสมัยรัตนโกสินทร์+603+dltvp6+55t2his p06 f15-1page from Prachoom Rangkasikorn

พิพิธภัณฑ์สงวนสิทธิ์การบันทึกภาพทุกชนิด กระนั้นก็ยังควรค่าแก่การเยี่ยมชม เพื่อศึกษาทำความเข้าใจประวัติและพัฒนาการของการแต่งกายแบบไทยในราชสำนักตลอดจนคุณค่าและเอกลักษณ์วิถีไทยที่ถ่ายทอดผ่านเรื่องราวที่ถักทอเป็นผ้าแต่ละผืน

        นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ได้เกิดการผสมผสานระหว่างศิลปกรรมไทยกับศิลปกรรมตะวันตกในด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรมและการนิยมปั้นรูปมนุษย์เหมือนจริง เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วัดเบญจมบพิตร   พระที่นั่งอนันตสมาคม อนุสาวรีย์รูปปั้นพระมหากษัตริย์และบุคคลสำคัญ


ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์ 

วัฒนธรรมไทย
สังคมไทยเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ซึ่งสั่งสมมาเป็นเวลานานนับพันปี สะท้อนให้เห็นวิถี
ความเป็นไทย ซึ่งเป็นมรดกของบรรพบุรุษจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของไทย ที่มีคุณค่าควรยึดถือเป็นแนว
ทางปฏิบัติสืบทอดกัน มาช้านาน และเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นชาติไทย

ความเป็นมาของวัฒนธรรมไทย
ชาติไทยเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมอันดีงามแต่โบราณ โดยมีที่มาดังนี้
1. วัฒนธรรมไทยที่เรามีการปฏิบัติกันอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นของคนรุ่นก่อนๆ หรือบรรพบุรุษของเราได้ถ่ายทอด
มายัง อนุชนรุ่นหลัง
2. จากการที่เราได้ติดต่อกับชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ชนชาติที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย คือมอญ
ขอมอินเดีย จีน และชาติตะวันตก สำหรับมอญ และขอม 2 ชาตินี้รับอธิพลมาจากอินเดีย สิ่งใดมีประโยชน์
์ก็นำมาดัดแปลง เป็นวัฒนธรรมไทย
ลักษณะของวัฒนธรรม
         วัฒนธรรมไทยได้รับการพัฒนามาโดยลำดับ อันเนื่องมาจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางสังคม และสิ่ง
แวดล้อมทางธรรมชาติ และความสามารถของสังคมไทย จึงก่อให้เกิดการสร้างสรรค์หล่อรวมกันเป็นวัฒนธรรม
ซึ่งลักษณะเฉพาะเป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะเด่นๆ หลายอย่างดังนี้
          1. การมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  สังคมไทยรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นที่นับถือ
ของชาวไทย มาตั้งแต่ก่อนสุโขทัย คนไทยส่วนใหญ่ นับถือพระพุทธศาสนาถึง 95 % หลักคำสั่งสอนสำคัญ
ของพุทธศาสนาที่ สำคัญคือ สอนให้ละเว้นความชั่ว ทำความดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์วิถีชีวิตของคนไทยจะมี
พุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง เสมอ เช่น การบวช การแต่งงาน การทำบุญขึ้นบ้านใหม่

วิถีชีวิตคนไทยที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา

         2. การมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สังคมไทยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขสืบทอดกันมาแต่โบราณ
จนถึงปัจจุบัน จะเห็นได้จากการถวายความจงรักภักดีในวาระต่างๆ แสดงถึงความยึดมั่นในพระองค์ ซึ่งช่วยเสริม
สร้างให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความสำคัญต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง
        3. อักษรไทยและภาษาไทย  สังคมไทยมีอักษรใช้มา นานตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยได้รับอิทธิพลจากขอม และได้รับการพัฒนาโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชัดเป็นเอกลักษณ์ที่น่าภูมิใจเพราะ ภาษาถือว่าเป็นอารยธรรม
ขั้นสูง

ศิลาจาลึก : อารยธรรมชั้นสูง

        4. ประเพณีไทย เป็นสิ่งแสดงถึงวิถีชีวิตของคนไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งส่วนมากเกี่ยวข้องกับ
พระพุทธ ศาสนา อาจมีคติลัทธิศาสนาอื่นผสมอยู่ด้วย ซึ่งสืบเนื่องมาแต่โบราณ ประเพณีที่นำมาปฎิบัติกันเช่น
ประเพณีการบวช ประเพณีการแต่งงาน

        5.  วัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต อันได้แก่ปัจจัยสี่ คือเครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัย อาหาร
ยารักษาโรค
5.1 เครื่องนุ่งห่มและการแต่งกายของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย มีการรับวัฒนธรรมการแต่งกาย
ชาวตะวันตกมาใช้มากขึ้น ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนการแต่กายของผู้ชายมักง่ายๆ ทั้งในอดีตและ
ปัจจุบัน ส่วนผู้หญิงจะเป็นไปตามสมัยนิยม

การแต่งกายที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย

5.2 ที่อยู่อาศัยเรือนไทยเหมาะกับสภาพธรรมชาติของสังคม มีลักษณะใต้ถุนสูงไม่มีห้องมากนักรับลมเย็น
ได้ทุกเวลา ป้องกันแดดฝนได้ดี ปัจจุบันมีคนนิยมปลูกเรือนไทยน้อยเพราะราคาสูง จึงสนใจบ้านแบบตะวันตก
มากกว่า

5.3  อาหารไทยสมัยก่อนมีลักษณะต่าง ๆ เช่นน้ำพริก ปลาร้า ปลาส้ม แกงเลียง รัปทาน 3 มื้อ ปัจจุบัน
คนไทย มักแสวงหาอาหารแปลกๆ  ชอบนำอาหารต่างชาติมาปรุงรับประทาน

5.4 คน ไทยยังนิยมการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตามโบราณ ถ้าไม่ใช้ยาแผนโบราณก็จะไปซื้อยาที่ร้านค้า
ตามคำ แนะนำของคนใช้ยา ทำให้สุขภาพพลานามัยไม่ค่อยดี ปัจจุบันคนไทยนิยมรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
ตามสถาน พยาบาลมากขึ้น
        6. ศิลปกรรมไทย เป็นวัฒนธรรมที่เกิดจากการเพียรพยายามของมนุษย์ ในการปรุงแต่งชีวิตความเป็นอยู่
ให้ดีขึ้น ทำสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยสวยงาม รวมทั้งเป็นอาหารใจด้วยวัฒนธรรมในด้านศิลปกรรมมีดังนี้
 วรรณกรรม เป็นศิลปะการที่แสดงออกในรูปของตัวหนังสือ การแต่งความเป็นเรื่องราว ทำให้ผู้อ่านเกิด
ความรู้สึกทางอารมณ์แต่ก็แฝงไว้ด้วยคติเตือนใจ

  ดนตรี เป็นศิลปเกี่ยวกับการบรรเลงให้เกิดเสียงไพเราะ สิ่งที่ใช้บรรเลง ดีด สี ตี เป่า อาจแยกเป็น วงปี่พาทย์
วงเครื่องสาย มโหรี ส่วนดนตรีสากลเริ่มเข้ามามีอธิพลสมัยรัชกาลที่ 3 การบรรเลงแตรวงเริ่มสมัยรัชกาลที่ 4
ดนตรีสากลที่เห็นชัดในปัจจุบัน เช่น แตรวง และโยธวาทิตเป็นต้น
จิตกรรม เป็นศิลปะที่เกี่ยวกับการวาดเขียน ระบายสี ให้เกิดเป็นภาพ หรือลวดลายจิตกรรมไทยนิยม
ไม่มีแรเงา เป็นภาพแบน ๆ ศิลปะคล้าย ๆ ของอินเดีย ลังกา ดังจะพบได้จากผนังโบสถ์ มักเป็นเรื่องราวเกี่ยว
กับพระพุทธศาสนา

 ประติมากรรม เป็นงานสร้างสรรค์เกี่ยวกับการปั้น แกะสลัก หล่อ ทุบ ตี เคาะให้เกิด รูปร่าง ได้แก่
พระพุทธรูป ปติมากรรมเพื่อการตกแต่ง ได้แก่ช่อฟ้า บัวปลายเสา

สถาปัตยกรรม เป็นศิลปะการออกแบบก่อสร้าง เช่น ปราสาทราชวัง วัด โบสถ์ วิหาร

7. จรรยามารยาทและจิตใจของคนไทย คนไทยมีลักษณะสุภาพอ่อนน้อม ปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี
มีการแสดงความเคารพแตกต่างไปจากสังคมอื่น ๆ เช่นการยิ้ม การทักทาย การไหว้การถวายความเคารพ
พระมหากษัตริย์
ด้านจิตใจ คนไทยได้รับอธิพลจากพระพุทธศาสนา ทำให้คนไทยมีความเอื้อเฟื้อเพื่อแผ่ มีความ
โอมอ้อมอารีต่อคนทั่วไป เคารพผู้อาวุโส

        เนื้อหาของวัฒนธรรม
ในปี พ.ศ. 2522 รัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติขึ้นและได้แบ่งเนื้อหาของ
วัฒนธรรมไทยออกเป็น 5 สาขา คือ
1. สาขาศิลปกรรม (The Arts) ได้แก่ภาษา วรรณกรรม การละคร นาฎศิลป์ ดนตรี จิตรกรรม
สถาปัตยกรรม ประติมากรรม และศิลปการแสดงอื่น ๆ
  2. สาขามนุษย์ศาสตร์ (Humanities) ได้แก่ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณี
กฎหมาย การปกครอง ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ปรัชญา ศาสนา เป็นต้น
3. สาขาการช่างฝีมือ (Practical Craft) ได้แก่ การเย็บปักถักร้อย การแกะสลัก การทอ การจักสาน 
การทำเครื่องถม เครื่องเงิน เครื่องทอง 
4. สาขากีฬานันทนาการ (Sports and Receration) ได้แก่ มวยไทย กระบี่ กระบอง ตระกร้อ
การละเล่นพื้นเมือง เป็นต้น

       ความสำคัญของวัฒนธรรม
 วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีอธิพลต่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เป็นวิถีชีวิตและเครื่องยึดเหนี่ยวให้คนไทย
มีความสมานฉันท์ วัฒนธรรมไทยจึงมีความสำคัญต่อสังคมไทยดังนี้
1. เป็นเอกลักษณ์ของชาติ
2. สร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศ
3. ส่งเสริมความรักความสามัคคีความเป็นหนึ่งเดียวกัน
4. เป็นความภาคภูมิใจ
5. เป็นวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย
6. เป็นการสนองตอบความต้องการในด้านต่าง ๆ

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย
วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่มั่นคงที่หรือใช้เฉพาะในสังคมหนึ่งเท่านั้น ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
และการขนส่งคมนาคม ทำให้การเผยแพร่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่
วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่หรือการกระจายทางวัฒนธรรม
(Cultural Diffusion)
หลังการปฎิบัติอุตสาหกรรมในยุโรป ทำให้ชนชาติเหล่านั้นแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในทวีปเอเชีย
ด้วยแล้ว สังคมไทยก็ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มชาวยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศษ และอธิพลของวัฒนธรรม ตะวันตกก็ยังคงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยสาเหตุต่อไปนี้

1. ความเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง ทำให้การเดิน ทางสะดวการเผยแพร่วัฒนธรรมจะเร็วขึ้น

การเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง

2. อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หนังสือ และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
3. การเผยแพร่วัฒนธรรมโดยตรง คือ ประเทศต่าง ๆ ส่งคนเข้ามาเผยแพร่ หรือจากการออกไปศึกษา
เล่าเรียน เมื่อกลับมาแล้วก็นำวัฒนธรรมนั้นมาเผยแพร่

อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคม แยกเป็นด้านต่าง ๆ นี้
1. ทางการศึกษา วัฒนธรรมขอมอินเดีย เข้ามามีอธิพลในสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
- ภาษาตะวันตก เริ่มเข้าสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อร้อยเอกเจมส์ โลว์ ชาวอังกฤษ
คิดตัวพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จ
- รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฎิรูปการศึกษาและสังคมมีการตั้ง
กระทรวงธรรมการ เริ่มมีการจัดการศึกษาแบบตะวันตกตั้งแต่นั้นมา
- ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทยยึดหลักแนวทางจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งทางด้านปรัชญา
การศึกษา เนื้อหา และกระบวนการเรียนการสอน ส่วนวิทยาการสมัยใหม่ ในวงการศึกษาของไทยรับมาจาก
ตะวันตกเป็นส่วนใหญ่
2. ทางการเมือง
- สมัยสุโขทัยการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก
- สมัยกรุงศรีอยุธยา รับอธิพลจากขอมและอินเดีย เป็นแบบลัทธิเทวราช กษัตริย์ เป็นสมมติเทพ
(ข้ากับเจ้า บ่าวกับนาย)
- สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสภาที่ปรึกษา นับเป็นการเริ่มเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2575 จึงเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง ซึ่งได้รับอธิพลจากประเทศในยุโรป
3. ทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยม ได้รับอธิพลจากตะวันตกมาที่สุด
4. ทางสังคมและวัฒนธรรม อิทธิพลจากต่างชาติทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ความเอื้อเฟื้อ
เผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจมีความอบอุ่นน้อยลง มีการชิงดีชิงเด่น ความสัมพันธ์เปลี่ยนเป็นแบบทุติยภูมิ

วัฒนธรรมอินเดียที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

1. การเมืองการปกครอง กษัตริย์เป็นเทวราชตามศาสนาพราหมณ์เกิดระบบเจ้าขุนมูลนายส่วนประมวล
กฎหมายพระมนูธรรมศาสตร์ของอินเดียนั้นเป็นที่มาของกฎหมายตราสามดวงในประเทศไทยและกฎมณเฑียรบาล
2. ศาสนา ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาทำให้เกิดประเพณีต่าง ๆ มากมาย เช่น
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โกนจุก หลักทศพิธราชธรรม
3. ภาษาและวรรณกรรม รับภาษาบาลีและสันสกฤต เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางภาษา แต่ไม่ใช่
คำพูด ไม่มีอธิพลเหมือนภาษาตะวันตก วรรณกรรมคือมหากาพย์รามายณะมหาภารตยุทธ และพระไตรปิฎก
   4. ศิลปกรรม ส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา ได้แก่ การสร้างสถูป เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป จิตรกรรมฝาผนัง
ท่าร่ายร่ำต่าง ๆ

 วัฒนธรรมจีนที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย

จีนเข้ามาสมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาโดยเข้ามาค้าขาย ในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
เข้ามาทำมาหากิน ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมไทยกับจีนจนกลายเป็นวัฒนธรรมไทยอิทธิพลวัฒนธรรมจีน
ต่อวัฒนธรรมไทยได้แก่
1. ความเชื่อทางศาสนา เป็นการผสมผสาน การบูชาบรรพบุรุษ การนับถือเจ้า ส่วนการไหว้พระจันทร์ เทศกาลกินเจ ชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นใหม่ยอมรับวัฒนธรรมเดิมของจีนน้อยลงทุกที
2. ด้านศิลปกรรม เครื่องชามสังคโลกเข้ามาในสมัยสุโขทัย
3. ด้านวรรณกรรม การแปลวรรณกรรมจีนเป็นภาษาไทยเริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ได้แก่ สามก๊ก อำนวยการแปลโดย เจ้าพระยาคลัง (หน) กลายเป็นเพชรน้ำงามแห่งวรรณคดีไทย
 4. วัฒนธรรมอื่น ๆ มีอาหารจีน และ “ขนมจันอับ” ที่กลายเป็นขนมที่มีบทบาทในวัฒนธรรมไทยใช้ในพิธี
ก๋วยเตี๋ยวก็กลายมาเป็นอาหารหลักของไทย นอกจากนี้ยังมีข้าวต้มกุ๊ย ผัดซีอิ๊ว และซาลาเปา เป็นต้น

 วัฒนธรรมชาตินิยมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
โปรตุเกส เป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นำวัฒนธรรมการทำปืนไฟ
การสร้างป้อมต่อต้านปืนไฟ ยุทธวิธีทางการทหาร การทำขี้ผึ้งรักษาแผล การทำขนมฝอยทอง ขนมฝรั่ง
เป็นอาหารอาสาสมัยพระชัยราชาธิราช รบกับพม่า 120 คน
ฮอลันดา เข้ามาในราชสำนักสมัยพระเอก เข้ามาสมัยในสมัยพระนเรศวรมหาราช อาคารที่ฮอลัดดาสร้าง ไทยเรียกว่า “ตึกวิลันดา” นำอาวุธปืนมาขาย รวมทั้งเครื่องแก้ว กล้องยาสูบ เครื่องเพชรเครื่องพลอย ในสมัย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ทรงพอพระทัยแว่นตา และกล้องส่องทางไกลจากฮอลันดา
 อังกฤษ เข้ามาในราชสำนักสมัยพระเอกาทศรถ มุ่งทางด้านการค้า แต่สู้ฮอลันดาไม่ได้ เช่น ยอร์ช ไวท์
มีตำแหน่งเป็นออกหลวงวิชิตสาคร ส่วน แซมมวล ไวท์ ได้เป็นนายท่าเมืองมะริด
ฝรั่งเศส เข้ามาสมัยพระนารายณ์มหาราช เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ คณะบาทหลวงได้นำความรู้ด้าน
การแพทย์ การศึกษา การทหาร ดาราศาสตร์ การวางท่อประปา การสร้างหอดูดาวที่ลพบุรีและอื่น ๆ อีกหลายแห่ง
ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกลดลง และหยุดชะงักไป
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตกโดยมีการเปิด
สัมพันธ์ทางการทูต เพราะตระหนักถึงภยันตรายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นการป้องกันการแทรกแซงภายใน
วัฒนธรรมตะวันตกจึงเริ่มผสมผสานจนเป็นที่ยอมรับและเข้ามามีบทบาทในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การเมืองการปกครอง รับเอาประเพณี ค่านิยม วัฒนธรรม เข้ามาในประเทศ เพราะมีพระบรมวงศ์ศานุวงศ์
ไปเรียนต่างประเทศ มีการปฎิรูปการปกครองแบบชาติตะวันตก ตั้งกระทรวง 12 กระทรวง
2. เศรษฐกิจ ยกเลิกระบบไพร่ เลิกทาส ใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการซื้อขาย ตั้งธนาคารแห่งแรก คือ
บุคคลัภย์ (Book Club) ต่อมาคือธนาคารไทยพาณิชย์
3. ด้านสังคม เลิกระบบหมอบคลาน มาเป็นแสดงความเคารพ ให้นั่งเก้าอี้แทนเปลี่ยนแปลงการแต่งกาย
จัดการศึกษาเป็นระบบโรงเรียน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464
การศึกษาขยายถึงระดับมหาวิทยาลัย มีพระราชบัญญัตินามสกุล และคำนำหน้าชื่อ นาย นาง นางสาว เด็กหญิง
เด็กชาย
สรุปได้ว่า คนไทยมีวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองมาตั้งแต่สุโขทัย ซึ่งแสดงออกถึงความเป็นชาติที่มีความรัก ความสามัคคีและสงบสุข อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมไทยก็เหมือนวัฒนธรรมของชนชาติอื่นที่เป็นวัฒนธรรม
แบบผสมผสาน คือ
1. มีวัฒนธรรมดังเดิมเป็นของตนเอง
2. รับเอาวัฒนธรรมอื่นจากภายนอกที่ได้ติดต่อสัมพันธ์กัน มาผสมผสานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

เอกลักษณ์ของวัฒนธรรม
เอกลักษณ์เป็นลักษณะเด่นของสังคมที่เห็นได้ชัด ซึ่งแตกต่างไปจากสังคมอื่น เพราะเกิดจากการสั่งสม
ของวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีมาเป็นเวลาช้านาน เอกลักษณ์ไทยจึงเป็นเอกลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจ
ของชนชาวไทยทุกคนในการมีชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ภาษา ศิลปกรรม อาหาร การแต่งกาย เป็นของ
ตนเอง คนไทยทุกคนจึงต้องช่วยกันอนุรักษ์ ส่งเสริมและพัฒนาเอกลักษณ์ไทยให้อยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป

       ความหมายของเอกลักษณ์ไทย
 เอกลักษณ์คือ ลักษณะที่เด่นชัดของสังคมใดสังคมหนึ่ง ซึ่งลักษณะเหมือนกัน หรือร่วมกันของสังคมนั้น ๆ
ที่เห็นได้ชัดเจนว่าแตกต่างจากลักษณะของสังคมอื่น
เอกลักษณ์ไทยจึงหมายถึง ลักษณะของความเป็นไทยที่ดูแล้วแตกต่างจากลักษณะสังคมของชนชาติอื่น
มีความแตกต่าง ซึ่งอาจมองได้จากรูปลักษณะ การประพฤติปฎิบัติ กิริยาท่าทาง การแต่งกาย วัฒนธรรม
จารีตประเพณี ฯลฯ สังเกตได้ว่าลักษณะเด่นของความเป็นไทยนั้นไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ก็สามารถแยกออกจาก
ชนชาติอื่นได้ นอกจากภาษาพูดแล้ว ความยิ้มแย้มแจ่มใสก็เป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของสังคมไทย จนชาว
ตะวันตกขนานนามว่า “สยามเมืองยิ้ม”

      เอกลักษณ์เด่นของวัฒนธรรมไทยพอสรุปได้ดังนี้

- เป็นวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานมาจากเกษตรกรรมเป็น “วัฒนธรรมเกษตร” เช่น มีการช่วยเหลือกัน เรียกว่า
การลงแขกเกี่ยวข้าว การแห่นางแมวเพื่อขอฝน การทำขวัญข้าว ไหว้แม่โพสพ
- เป็นสังคมที่มีความสนุกสนาน การทำงานจะเป็นไปพร้อมกับความรื่นเริง เช่น เมื่อเกี่ยวข้าวจะร้องเพลง
ไปด้วย “เกี่ยวเถอะนะแม่เกี่ยวชะชะเกี่ยวเถอะนะแม่เกี่ยว อย่ามัวแลเหลียว เดี๋ยวเคียวจะเกี่ยวก้อยเอย”
- เป็นสังคมที่เทิดทูลพระมหากษัตริย์ด้วยความจงรักภักดี
- นับถือพระพุทธศาสนา เป็นสังคมชาวพุทธ มีพุทธศานิกชนให้ความสำคัญ
- มีน้ำใจของความเป็นไทย พึ่งพาอาศัยกัน รักความสงบ
- ชอบเรื่องการทำบุญ สร้างกุศล และช่วยงานบุญกกกกกุศล

       เอกลักลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย

- ภาษาไทย ตัวอักษรไทย ซึ่งนับว่าเป็นอารยธรรมขั้นสูง
- อาหารไทย เช่นน้ำพริกปลาทู หรือต้มยำกุ้ง ที่เป็นที่รู้จักและโด่งดังไปทั่วโลก
- สมุนไพรไทย แม้แต่ต่างชาติก็ให้ความสนใจ เช่น ว่านหางจระเข้ กระชายดำ กราวเครือ
- ฉายาสยามเมืองยิ้ม ซึ่งแสดงถึงความยิ้มแย้มแจ่มใส มีอัธยาศัย ซึ่งหายากในชนชาติอื่น
- มารยาทไทย เช่นการไหว้ เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก การมีสัมมาคารวะ เคารพผู้อาวุโส รู้จักกาลเทศะ
- ประเพณีไทย เช่น ผีตาโขน บุญบั้งไฟ การแห่ปราสาทผึ้ง แห่นางแมว
- การแสดงแบบไทย เช่นลิเก โขน รำวง
- ดนตรีไทย เช่นระนาด ปี่ ขลุ่ย อังกะลุง
- การละเล่นไทย เช่น มอญซ่อนผ้า ลำตัด
- สิ่งก่อสร้างเช่นเรือไทย
- เพลงไทย เช่นเพลงไทย(เพลงไทยเดิม) เพลงลูกทุ่ง

เอกลักษณ์ที่สำคัญของสังคมไทย
เอกลักษณ์ของสังคมไทย เป็นสิ่งที่แสดงถึงความเป็นไทยที่บรรพบุรุษได้สั่งสม สืบทอดโดยมอบเป็น
มรดกให้แก่อนุชนรุ่นหลังไว้ได้เป็นความภาคภูมิใจในความเป็นชาติ ซึ่งเอกลักษณ์นี้ นับว่าเป็นสิ่งที่ดี คนไทย
ควรนำมาปฏิบัติและสืบสานต่อไป

เอกลักษณ์ที่ดีและควรสืบสานในสังคมไทย
  1. เป็นสังคมที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข สถาบันพระมหากษัตริย์นับว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจ
ของคนไทยทั้งชาติ กษัตริย์ไทยโบราณ จนถึงปัจจุบันทรงเป็น ผู้นำประเทศให้พ้นภัย ทำนุบำรุง ประเทศชาติ
ให้รุงเรือง
   2. สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพ หลักมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้คนไทยมีความผูกพันกับธรรมชาติ มีความอดทน การร่วมมือร่วมใจ รู้จักบุญคุณของธรรมชาติและบุญคุณของแผ่นดิน
3. ครอบครัว เป็นเอกลักษณ์ของสังคมที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้น มีความผูกพันเคารพในระบบอาวุโส
ทำให้คนไทยมีความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักาลเทศะ
4. ศาสนา สังคมไทยมีศาสนาพุทธเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจมาแต่อดีต และเป็นศาสนาที่คนไทย
นับถือ กันมากที่สุด หลักธรรมคำสั่งสอนของพุทธศาสนา สอนให้คนไทยยึดถือทางสายกลาง เชื่อในเรื่องบาป
บุญ คุณโทษ หลักคำสอนของพระพุทธศาสนามีความเป็นวิทยาศาสตร์ แม้แต่ชาวต่างชาติก็หันมานับถือ
และบวชในพระพุทธศาสนากันมาก
5. ภาษา เริ่มกันมาแต่สมัยสุโขทัย โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทำให้คนไทยมีภาษาไทยใช้
เป็นเอกลักษณ์คนไทยจึงควรพูดและเขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง เพื่อสืบทอดให้ลูกหลานต่อไป
 6. รักอิสระ หรืออาจใช้คำว่า ความเป็นไท ไม่ขึ้นกับใคร แสดงความเป็นเอกราช ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ
ทีควรดำรงไว้
 7. ศิลปกรรม คือ ผลงานที่ช่างฝีมือไทยหรือศิลปินไทยได้สร้างสมไว้จากความรู้สึกนึกคิดหรือจินตนาการ
แบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
  7.1 จิตรกรรม (Painting)
จิตกรรมไทย หมายถึง ภาพที่แสดงถึงเรื่องราว ตลอดไปถึงการเขียนภาพลวดลายประดับตกแต่ง
ในงานช่างต่าง ๆ ซึ่งเป็นศิลปกรรมชั้นสูง และเพื่อให้เกิดความสวยงามในศิลปะตามคติของชาติ
7.2 ประติมากรรมไทย (Sculpture)
งานประติมากรรมไทย หมายถึง งานปั้น และงานแกะสลัก ที่ต้องนำมาทำการหล่ออีกทีหนึ่ง
ซึ่งเป็นงานฝีมือ โดยมากมักจะเป็นการปั้นเกี่ยวกับพระพุทธรูป มีตั้งแต่ขนาดเล็กจนไปถึงขนาดใหญ่ เครื่องใช้
และเครื่องประดับต่าง ๆ
  7.3 สถาบัตยกรรม คือ อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น อาคาร ตึก บ้านเรือน พระมหาราชวัง
ตลอดจนอนุสาวรีย์ใหญ่ ๆ พีรามิด สถูป เจดีย์ วิหาร ปราสาท พระปรางค์ มณฑป อุโบสถ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า
งานสถาปัตยกรรมมักควบคู่ไปกับงานประติมากรรม ซึ่งทำให้สิ่งก่อสร้างดูสวยงาม อ่อนช้อย
7.4 วรรณกรรม (Literature)
วรรณกรรม คือ  หนังสือทั้งประเภทร้อยกรอง(โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน) และร้อยแก้ว คือ
เรียงความธรรมดา รวมถึงการจดจำเรื่องราวต่าง ๆ เช่น นิทาน ตำนานด้วยวรรณกรรมที่เป็นอมตะ เช่น
พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน
7.5 นาฎศิลป์ และดุริยางคศิลป์ (Music and Dramatic)
นาฎศิลป์และดนตรี หรือคีตกรรม คือ ดนตรีทุกประเภท รวมทั้งการร่ายรำ ระบำต่าง ๆ   เช่น
โขน ลิเก ละครรำ รำไทย การแสดงต่าง ๆ เป็นต้น

การอนุรักษ์และการพัฒนาเอกลักษณ์ของสังคมไทย                  เอกลักษณ์ของไทยเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และสั่งสมมานานจนเป็นมรดกมาสู่อนุชนรุ่นหลัง
และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมไทย คนไทยทุกคนจึงมีหน้าที่ร่วมกันที่ต้องช่วยกันอนุรักษ์
สืบสานเพื่อดำรงไว้ให้เป็นมรดกของชาติสืบไป
ดังนั้นองค์ประกอบของภาคเอกชน จึงควรร่วมมือกันโดยแบ่งเป็นระดับดังนี้
 1. ระดับชาติ องค์การของรัฐมีหน้าที่รับผิดชอบต่องานเอกลักษณ์ของชาติโดยตรงต้องกำหนดนโยบาย
ให้การสนับสนุน ส่งเสริมเอาจริงเอาจัง รวมทั้งสื่อมวลชนต้องเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้เห็นคุณค่าและความสำคัญ
ในเอกลักษณ์ของชาติ เพราะเป็นหน้าที่ของทุกคน
2. ระดับท้องถิ่น  องค์กรในท้องถิ่นต้องส่งเสริมประชาชนให้เห็นคุณค่าของเอกลักษณ์ไทย โดยช่วยกัน
คิดค้น เผยแพร่ นำภูมิปัญญาของท้องถิ่นออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ อีกทั้งยอย่องผู้ทรงภูมิปัญญา หรือปราชญ์
ท้องถิ่น เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี นอกจากนี้ยังเป็นการประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นตนด้วย
 3. ระดับบุคคล บุคลากรทุกคน ไม่ว่าจะเป็นของหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน แม้แต่ผู้ที่ทำงานส่วนตัว
สมารถช่วยกันสอดส่องดูแลถาวรวัตถุ โบราณสถาน โบราณวัตถุ วัดวาอาราม ฯลฯ ซึ่งเป็นสมบัติของชาติ
ไม่ให้ถูกทำลาย เป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่ รวมทังพฤติกรรมเป็นแบบอย่างที่ดี ใช้ของไทย ส่งเสริมของไทย และส่งเสริมชาวต่างชาติให้ใช้ของไทย ก็นับว่าได้ช่วยอนุรักษ์เอกลักษณ์ไทยแล้ว

ที่มา http://kimsupharak.blogspot.com/2013/09/blog-post_9350.html

ค้นเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 59

ภูมิปัญญาไทยในสมัยรัตนโกสินทร์มีอะไรบ้าง

ภูมิปัญญาบางด้านสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยในด้านต่างๆหลายด้าน.
การสร้างบ้านแปลงเมือง ... .
ระบบการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภค ... .
การรักษาโรค ... .
การประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา เครื่องปั้นดินเผา.

ข้อใดเป็นภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมในสมัยรัตนโกสินทร์

นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ได้เกิดการผสมผสานระหว่างศิลปกรรมไทยกับศิลปกรรมตะวันตกในด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรมและการนิยมปั้นรูปมนุษย์เหมือนจริง เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วัดเบญจมบพิตร พระที่นั่งอนันตสมาคม อนุสาวรีย์รูปปั้นพระมหากษัตริย์และบุคคลสำคัญ

ข้อใดคือภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการฟื้นฟูนาฏศิลป์ เช่น โขน ละคร ระบํา หุ่นและหนัง ให้เฟื่องฟูขึ้นอย่างมาก เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงให้การสนับสนุนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้มี การฝึกโขนทั้งในวังหลวง วังหน้าตลอดจนเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่โปรดให้ประชุมครูละคร เพื่อจัดทําตําราท่ารํา

ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมคืออะไร

ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปกรรม ได้แก่ ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสาขาต่างๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ การละเล่นพื้นบ้าน และนันทนาการ ซึ่งแต่ละ ภาคจะมีการสร้างสรรค์ศิลปะพื้นบ้านที่แตกต่างกัน เช่น การแข่งตีกลองของภาคเหนือ การร้องอีแซวของภาค กลาง หมอลาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การรา ...