วันเทโวโรหณะ มีความสําคัญอย่างไร

"ตักบาตรเทโว" หรือ ตักบาตรเทโวโรหณะ ประเพณีสำคัญในวันออกพรรษา แต่ละจังหวัด แต่ละท้องที่ ก็จะมีการจัดงานตักบาตรเทโวโรหนะที่บริเวณพระอุโบสถ โดยมีขบวนแถวของพระสงฆ์ออกบิณฑบาต

เกาะติดข่าวสาร >> Nation Online

วันเทโวโรหณะ มีความสําคัญอย่างไร

"วันออกพรรษา" หรือวันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย เนื่องจากเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาจำพรรษา 3 เดือนของพระสงฆ์เถรวาท โดยช่วงวันออกพรรษาของทุกปีจะมีประเพณีที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานคือ ตักบาตรเทโว หรือตักบาตรเทโวโรหณะ ซึ่งในปีนี 2565 จะตรงกับวันที่ 11 ตุลาคม หลัง วันออกพรรษา 1 วัน

ตักบาตรเทโว หมายถึง การทำบุญตักบาตรในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกใน วันมหาปวารณา คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือ วันออกพรรษา คำว่า เทโว เรียกมาจากคำว่า เทโวโรหณะ (เทว+โอโรหณ) ซึ่งแปลว่า การลงจากเทวโลก

วันเทโวโรหณะ มีความสําคัญอย่างไร

การตักบาตรเทโว เป็นการระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์เสด็จ หลังจากที่พระองค์แสดงพระอภิธรรมโปรดพระมารดา ทรงจำพรรษาที่นั้นเป็นเวลา 3 เดือน และกลับจากเทวโลก พอออกพรรษา พระพุทธเจ้าก็จะเสด็จลงจากเทวโลกกลับมายังโลกมนุษย์ โดยเสด็จลงที่เมืองสังกัสส์ ใกล้เมืองพาราณสี ชาวบ้านชาวเมืองทราบข่าวก็พากันไปทำบุญตักบาตรพระพุทธองค์ที่นั่น และเป็นการรับเสด็จพระพุทธองค์ด้วย

การตักบาตรรับเสด็จพระพุทธเจ้าจึงได้ปฏิบัติสืบเนื่องต่อกันมาเป็นประเพณีจนถึงเมืองไทย จึงเรียกประเพณีนี้ว่า การตักบาตรเทโวโรหณะ นิยมสั้นๆ ว่า การตักบาตรเทโว มาจนถึงปัจจุบัน ตักบาตรเทโว หรือภาษาอังกฤษคือ Tak Bat Devo and Chak Phra Festivals คำว่า ตักบาตรเทโว มาจากคำเต็มว่า ตักบาตรเทโวโรหณะ  ซึ่งแปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก เป็นการตักบาตรเนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาธรรมบทบันทึกไว้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ (ปาฏิหาริย์เป็นคู่ ๆ) ที่ต้นมะม่วงใกล้เมืองสาวัตถีแล้วก็เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่ 7 บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศนาพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดาเป็นเวลา 3 เดือน ครั้นออกพรรษา แล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จลงสู่มนุษย์โลกทางบันไดพาดลงใกล้เมืองสังกัสสะ

วันเทโวโรหณะ มีความสําคัญอย่างไร

วิธีการตักบาตรเทโว

ตักบาตรเทโว วันออกพรรษา 2563 เตรียมอาหารในตอนเช้า อาหารที่เตรียมเพื่อตักบาตรเป็นพิเศษในวันนี้ คือ ข้าวต้มมัด และ ข้าวต้มลูกโยน วัดบางวัดอาจจะจำลองสถานการณ์วันที่ พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์ คือ ประชาชนจะนั่งหรือยืนสองฝั่งทางลงจากอุโบสถ หรือศาลา ให้พระสงฆ์เดินเข้าแถวเรียงลำดับรับบาตรตรงกลาง โดยมีมัคนายก เดินอัญเชิญพระพุทธรูปนำหน้าแถวพระสงฆ์

"ตักบาตรเทโว" หรือตักบาตรเทโวโรหณะ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในเวลาเช้าวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากที่พระองค์ทรงจำพรรษาที่นั่นเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา ครั้นถึงวันมหาปวารณา เสด็จลงจากเทวโลกในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตำนานเล่าว่า พระอินทร์ทรงนิมิตบันได 3 อย่างถวาย คือ บันไดทอง บันไดแก้วมณี บันไดเงิน หัวบันไดพาดอยู่ที่ยอดเขาสิเนรุ เชิงบันไดอยู่ที่ประตูเมืองสังกัสสนครใกล้เมืองพาราณสี เวลาเสด็จลงทรงใช้บันไดแก้วมณี เหล่าเทวดาลงทางบันไดทอง เหล่ามหาพรหมลงทางบันไดเงิน เรียกการเสด็จครั้งนั้นว่า เทโวโรหณะ

เมื่อชาวบ้านชาวเมืองทราบข่าวก็พากันไปทำบุญตักบาตรพระพุทธองค์ที่นั่น และเป็นการรับเสด็จพระพุทธองค์ด้วย กล่าวกันว่า ในวันนี้ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างมองเห็นซึ่งกันและกัน จึงเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า "วันพระเจ้าเปิดโลก” คือ เปิดให้เห็นกันทั้ง 3 โลกนั่นเอง

การตักบาตรรับเสด็จพระพุทธเจ้าได้ปฏิบัติสืบเนื่องต่อกันมาเป็นประเพณีจนถึงเมืองไทย จึงเรียกประเพณีนี้ ว่า การตักบาตรเทโวโรหณะ เพื่อให้สะดวกในการสื่อความหมายนิยมสั้นๆ ว่า การตักบาตรเทโว ด้วยเหตุนี้ วันเทโวโรหณะจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วันตักบาตรเทโว และเมื่อถึงวันตักบาตรเทโว พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตรกันที่วัด โดยแต่ละที่จะเตรียมของไปทำบุญในแบบที่อาจจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวัดในแต่ละที่

"ตักบาตรเทโว" ต่างจากตักบาตรทั่วไปอย่างไร

"ตักบาตรเทโว" ต่างจากการตักบาตรทั่วไปตรงที่มีพระสงฆ์จำนวนมาก นำโดยพระพุทธรูปเดินลงบันไดจากมณฑปพระพุทธบาท ลงมารับบิณฑบาตข้าวสารอาหารแห้งจากพุทธศาสนิกชน โดยอาหารที่นิยมตักในวันนั้น นอกจากข้าวและอาหารคาวหวานธรรมดาแล้ว ก็จะมีข้าวต้มลูกโยนด้วย สันนิษฐานว่ามาจากการที่มีผู้คนจำนวนมากมารอใส่บาตรทำให้เข้าไม่ถึงพระ จึงนำข้าวมาปั้นโยนลงบาตร การตักบาตรเทโวจึงเป็นการทำบุญอย่างมโหฬารของพุทธศาสนิกชนนับแต่นั้นมา นอกจากนี้บางวัดอาจจะมีการจัดสถานที่เป็นแบบจำลองเหมือนกับที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจริงๆ

วันเทโวโรหณะ มีความสําคัญอย่างไร
ที่มาของเข้าวต้มลูกโยนคาดว่ามาจากการที่มีผู้คนจำนวนมากมารอใส่บาตร ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงตัวพระได้ จึงได้มีการนำข้าวมาปั้นเป็นลูกแล้วโยนใส่บาตรนั่นเอง

เมื่อถึงวันเทโวโรหณะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) หรือวันถัดมา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) ในที่บางแห่ง พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตรที่วัด โดยมีพิธีการดังต่อไปนี้

วันที่ 24 ต.ค.ปีนี้ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่งก็คือ “วันเทโวโรหณะ” โดยตรงกับ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11

วันที่ 24 ต.ค.ปีนี้ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่งก็คือ “วันเทโวโรหณะ” โดยตรงกับ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11

โดย...อ.ตุ้ย วรธรรม

วันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่งก็คือ “วันเทโวโรหณะ” โดยตรงกับ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ความสำคัญของวันนี้คือเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลกชั้นดาวดึงส์มาสู่เมืองมนุษย์หลังจากที่ไปจำพรรษาที่ดาวดึงส์เป็นเวลา 3 เดือน

ขอเท้าความให้ฟังว่าในพรรษาที่ 7 นั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยประทับอยู่บนบัณฑุกัมพลศิลาเพื่อทรงแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา ซึ่งปกติแล้วพระพุทธมารดาประทับที่สวรรค์ชั้นดุสิต แต่เมื่อถึงเวลาที่พระพุทธองค์จะทรงแสดงธรรมที่ดาวดึงส์ก็จะเสด็จมาจากวิมานชั้นดุสิต มาประทับ ณ พระปรัศว์เบื้องขวาของพระพุทธองค์เพื่อทรงฟังธรรม
ปรากฏว่า 7 วันก่อนวันออกพรรษา มหาชนที่เฝ้ารอการเสด็จลงจากเทวโลกของพระพุทธเจ้าได้เข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะเพื่อให้ไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่าจะเสด็จลงจากเทวโลกเมื่อไหร่

พระมหาโมคคัลลานะฟังถ้อยคำแล้วดำลงในแผ่นดินตรงนั้นเองอธิษฐานให้มหาชนเห็นท่านไปถึงเชิงเขาสิเนรุแล้วขึ้นไปท่ามกลางเขาสิเนรุ และพวกมนุษย์ก็แลเห็นท่านขึ้นไป ผ่านไปหนึ่งโยชน์ สองโยชน์แล้ว เป็นต้น

พระเถระได้ไปถวายบังคมแล้วทูลว่าพุทธบริษัทประสงค์จะเฝ้าพระองค์เต็มทีและอยากจะทราบว่าจะเสด็จไปลงเมื่อไหร่และที่ไหน พระศาสดาจึงตรัสถามพระเถระว่าสารีบุตรพี่ของเธออยู่ที่ไหน ก็ทูลว่าจำพรรษาอยู่สังกัสสนคร จึงตรัสตอบว่าในวันที่ 7 แต่วันนี้ไปเราจักลงที่ประตูเมืองสังกัสสะในวันมหาปวารณา ผู้ใคร่จะพบเราก็จงไปที่นั่นเถิด และตรัสต่อว่า สังกัสสนครจะอยู่ห่างจากเมืองสาวัตถีประมาณ 30 โยชน์ ในหนทางนั้นใครๆ ไม่จำเป็นต้องเตรียมเสบียง พึงบอกแก่คนเหล่านั้นว่าจงเป็นผู้รักษาอุโบสถไปเหมือนไปวิหารใกล้ๆ เพื่อฟังธรรมเถิด

ซึ่งข้อความนี้เป็นที่มาของการตักบาตรที่นิยมเรียกกันว่าตักบาตรเทโว และวันนี้เป็นวันที่พุทธศาสนิกชนต่างก็เป็นผู้รักษาอุโบสถศีล

ความอัศจรรย์ของวันเทโวโรหณะในธรรมบทได้บรรยายความอัศจรรย์ไว้ว่าพระองค์ได้ตรัสบอกท้าวสักกะจะเสด็จกลับโลกมนุษย์ ซึ่งท้าวสักกะก็ได้ทรงเนรมิต|บันได 3 ชนิด คือ บันไดทองคำ บันไดแก้วมณี บันไดเงิน

โดยเชิงบันไดเหล่านั้นตั้งอยู่แล้วที่ประตูเมืองสังกัสสนคร หัวบันไดเหล่านั้นตั้งอยู่แล้วที่ยอดเขาสิเนรุ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บันไดทอง อยู่ข้างเบื้องขวาเพื่อพวกเทวดา บันไดเงิน อยู่ข้างเบื้องซ้ายเพื่อพวกมหาพรหม บันไดแก้วอยู่กลาง เพื่อพระตถาคต

ทั้งนี้ ขณะที่ทรงยืนอยู่บนยอดเขาสิเนรุได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์ด้วยการทอดพระเนตรไปที่เบื้องบน ปรากฏว่าที่ที่พระองค์ทอดพระเนตรนั้นได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก จากนั้นทอดพระเนตรลงมาข้างล่าง ปรากฏที่ที่ทอดพระเนตรนั้นได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงอเวจี และเมื่อทอดพระเนตรทิศใหญ่และทิศเฉียงจักรวาลหลายแสนได้มีเนินเป็นอันเดียวกัน

ความอัศจรรย์ได้บังเกิดขึ้น ก็คือ เทวดา มนุษย์ สัตว์นรก ต่างเห็นกันหมดแล้ว

จากนั้นทรงเปล่งพระฉัพพัณณรังสีไป ปรากฏเมื่อใครแลดูพระสิริของพระพุทธเจ้าในวันนั้นแล้วไม่ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้ามิได้มีเลย

ในการเสด็จลงมาครั้งนั้นพวกเทวดาลงบันไดทอง มหาพรหมลงบันไดเงิน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงลงบันไดแก้วมณี |เทพบุตรนักฟ้อนชื่อปัญจสิขะถือพิณสีเหลือง ณ ข้างเบื้องขวาทำบูชาด้วยการฟ้อนถวาย มาตลีสังคาหกเทพบุตรยืน ณ ข้างเบื้องซ้าย ถือของหอมและดอกไม้ทิพย์ทำการบูชา มหาพรหมกั้นฉัตร ท้าวสุยามถือพัดวาลวีชนี

ในปัจจุบันถ้าอยากรำลึกเหตุการณ์ครั้งสำคัญนี้ก็ไปดูได้ที่ จ.อุทัยธานี ซึ่งวันนี้จะมีพิธีทำบุญตักบาตรเทโวที่ที่วัดสังกัสรัตนคีรี โดยจะมีพระสงฆ์จากทั่วทุกอำเภอของอุทัยธานีเดินลงจากเขาสะแกกรังทางบันได 449 ขั้น เพื่อมารับบิณฑบาตจากชาวพุทธ

ความสำคัญของวันเทโวโรหณะคืออะไร

คือ การทำบุญตักบาตร ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เนื่องในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คำว่า เทโว ย่อมาจากคำว่า เทโวโรหนะ ซึ่งแปลว่า การเสด็จลงจากเทวโลก ความเดิมมีว่าในพรรษาที่ 7 นับแต่วันตรัสรู้พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา จนบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ ...

วันเทโวโรหณะมีกิจกรรมอะไรบ้าง

พุทธศาสนิกชนต่างถือปฏิบัติด้วยการทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหาร ดอกบัว ข้าวต้มโยน ข้าวสาร อาหารแห้ง เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บิดา มารดา ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว ตลอดจนอุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร เพื่อให้ตนได้รับส่วนบุญกุศลอันจะก่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว และทำสืบต่อมาเป็นประเพณีจน ...

วันเทโวโรหณะควรปฏิบัติตนอย่างไร

หลังจากตักบาตรแล้ว มีการอาราธนาศีล สมาทานศีล และรักษาศีล ฟังธรรมและทำสมาธิตามโอกาส เพื่อทำให้จิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส แผ่เมตตา และกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติ ผู้ล่วงลับ และสรรพสัตว์

วันเทโวโรหณะตรงกับวันที่เท่าไร

"วันออกพรรษา" ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตามปฏิทินทางจันทรคติ และปีนี้ตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม 2564 ตามปฏิทินสากล (หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน) โดยกิจกรรมสำคัญในวันออกพรรษาที่พุทธศาสนิกชนนิยมปฏิบัติกันสืบต่อมาทุกปี ได้แก่ การทำบุญที่เรียกว่า "ตักบาตรเทโวโรหณะ" รวมถึงการเข้าวัด ฟังธรรม ไหว้พระ และร่วมงานประเพณีต่างๆ