การขายมีบทบาทอย่างไรอธิบายมาให้เข้าใจพร้อมยกตัวอย่าง 4 บทบาท

 เรื่อง ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ และวิวัฒนาการของการขาย

มาตรฐาน  ง 1.1
เข้าใจความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ หลักการ วิธีการ ขั้นตอน
กระบวนการทำงาน การจัดการ สามารถทำงาน ประเมินผล ปรับปรุงและพัฒนางานธุรกิจ
มาตรฐาน  ง 2.1
มีความรู้  ทักษะ  มีคุณธรรม  และมีเจตคติที่ดีในงานอาชีพ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
อธิบายความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการขาย   ความหมาย    ความสำคัญ
ประโยชน์   และวิวัฒนาการของการขาย    การตลาด  ได้ถูกต้อง

สาระการเรียนรู้
1.  ความหมาย    ความสำคัญ   และประโยชน์ของ   “การขาย”
2.   วิวัฒนาการของ   “การขาย”
3.   ความหมาย   และหน้าที่ทาง การตลาด
4.   ความสำคัญของการขายและการตลาด
5.   ความแตกต่างระหว่างการขายกับการตลาด

การขาย

“การขาย”   หมายถึง   วิธีการหรือกระบวนการต่าง ๆ   ที่สร้างความพึงพอใจให้เกิดกับลูกค้า   ทำให้เกิดการซื้อสินค้าหรือบริการ

“การขาย”   ตามความคิดของนักวิชาการทางด้านการตลาด    หมายถึง …

1.  การชักจูงใจ    ในการเสนอขายสินค้า   หรือขายบริการ   พนักงานขายที่ดี   จะต้องให้คำแนะนำและให้เหตุผลที่ดีแก่ลูกค้า  หรือแม้ไม่เกิดการซื้อในขณะนั้น  แต่ความพอใจที่เกิดขึ้น   ย่อมประทับอยู่ในจิตใจของลูกค้า   และพร้อมที่จะมาอุดหนุนหรือมาเป็นลูกค้าในอนาคต   แต่ถ้าหากพนักงานขายที่บีบบังคับ   ให้ลูกค้าซื้อสินค้าไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม   ย่อมไม่ใช่วิถีทางที่ถูกต้องในอาชีพขาย   เพราะถึงแม้ลูกค้าจะซื้อแต่ก็จะไม่พอใจ   และจะไม่กลับมาซื้อสินค้าของพนักงานขายผู้นั้นอีก

2การให้ความรู้    พนักงานขายที่ดี   ย่อมสามารถอธิบายให้ความรู้   ให้คำแนะนำที่ดีในการใช้สินค้าที่ลูกค้ายังไม่รู้จัก   หรือรู้จักอย่างไม่ละเอียดเพียงพอ   ให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง     พนักงานขายอาจขายสินค้าให้แก่ลูกค้าทุกคนที่เข้ามาในร้านไม่ได้    แต่การที่พนักงานขายได้ให้เวลาที่จะอธิบายหรือตอบข้อซักถามเกี่ยวกับสินค้าให้ลูกค้าได้ฟัง   ลูกค้าจะเก็บข้อมูลของสินค้าไว้และตัดสินใจกลับมาซื้อในอนาคตได้

3. การให้บริการ    ในปัจจุบันมีการแข่งขันทางการค้าอย่างสูงมาก   ดังนั้นกิจการ   ส่วนใหญ่   จะไม่มุ่งแต่จะขายอย่างเดียว    แต่มุ่งที่จะให้บริการแก่ลูกค้าด้วย   เช่น   การให้บริการด้านสถานที่จอดรถ   บริการรับส่งสินค้า   บริการตรวจสอบและบริการติดตั้งสินค้า   หรือดูแลลูกค้าหลังการซื้อหากสินค้ามีปัญหา   จะช่วยแก้ไขจนกว่าจะพอใจ   เพื่อสร้างความประทับใจ   ความพอใจ   สร้างศรัทธา   ความเชื่อมั่นไว้วางใจ   และสร้างชื่อเสียงของกิจการ   ทำให้การดำเนินธุรกิจการขายประสบความสำเร็จ

4.การสร้างสรรค์    เป็นศิลปะที่ใช้จินตนาการในการพัฒนาความคิดทั้งในด้านวางแผน และการดำเนินการ   ช่วยชี้ให้คนรู้ถึงความต้องการของเขา    เร้าให้เกิดความปรารถนา    และพอใจมากที่สุดในการเป็นเจ้าของสินค้าหรือบริการที่พนักงานขายเสนอ    ช่วยสร้างอุปสงค์ในสินค้าชนิดต่าง ๆ   โดยเฉพาะสินค้าชนิดใหม่ ๆ    ตราใหม่  วิธีใหม่  ๆ  หรือแนวคิดใหม่ ๆ  ในการดำรงชีวิต    เสมือนคนกลางของธุรกิจ   เป็นผู้สร้างสรรค์การธุรกิจและอุตสาหกรรม

5.การแก้ปัญหา    ปัญหาของลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ   มีอยู่ตลอดเวลา  เช่นจะซื้อสินค้าใด   ซื้อที่ไหน  ระดับราคาใด  ฯลฯ   พนักงานขายที่มีความสามารถ   จะตั้งข้อสังเกตวิเคราะห์ลูกค้าอย่างถูกต้อง   เมื่อทราบปัญหาที่แท้จริงของลูกค้าแล้ว   พนักงานขายต้องให้คำแนะนำเสนอแนะลูกค้าอย่างเหมาะสม   ช่วยขจัดปัญหาที่มีอยู่ก่อนตัดสินใจซื้อของลูกค้าให้หมดไป   งานของพนักงานขายคือ   การช่วยลูกค้าแก้ปัญหา   ต้องอธิบายได้ว่า  สินค้าที่กำลังเสนอขายนั้นสามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างไร

ประโยชน์ของ “ การขาย ”

“การขาย”   มีประโยชน์ที่สำคัญดังต่อไปนี้คือ

1. ประโยชน์ของ “การขาย”  ที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม  คือ
1.1 “การขาย”   ช่วยให้เกิดธุรกิจต่าง ๆ ขึ้น  และเกิดการไหลเวียนของเงินตราส่งผลให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง
1.2  “การขาย”   ช่วยตอบสนองความพอใจให้กับมนุษย์และเอื้ออำนวยให้ระบบเศรษฐกิจพัฒนาไปด้วยดี
1.3  “การขาย”   เป็นตัวหลักที่กำกับหรือสร้างงานให้กับหน้าที่งานอื่น  เช่น การซื้อ  การผลิต  การขาย  การขนส่ง ฯลฯ  มีอำนาจกำหนดผลกำไร   ต้นทุนในการผลิต    การจ้างแรงงาน   การขยายกำลังการผลิตขององค์การธุรกิจ   ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ

2.  ประโยชน์ของ การขาย”  ที่มีผลต่อองค์การธุรกิจ    มีดังนี้คือ
2.1  การขาย   ทำให้องค์การธุรกิจวางนโยบาย    ถึงแม้ว่าพนักงานทุกคนไม่ได้ทำหน้าที่ขาย  แต่ก็ได้กำหนดให้พนักงานทุกคนสร้างบุคลิกภาพที่ดี   หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส มีความกระตือรือร้นในการทำงาน   ให้การต้อนรับลูกค้าด้วยไมตรีจิตที่ดี   มีความจริงใจ  พร้อมให้บริการ ช่วยเหลือ   แนะนำ  และแก้ปัญหาให้แก่ลูกค้าด้วยความเต็มใจ    ทั้งนี้เพื่อเหตุผลที่สำคัญคือ  ต้องการให้การดำเนินธุรกิจประสบผลสำเร็จ
2.2   “การขาย”  มีบทบาทสำคัญมาก   เนื่องจากหากไม่มีการขายเกิดขึ้น   ย่อมไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น  เช่น   หากองค์กรผลิตสินค้าขึ้นมา  แต่ไม่มีการขาย สินค้าจะขายไม่ได้ดังนั้นการผลิตสินค้า   การขนส่ง   การประกันภัย   และอื่น ๆ    ย่อมดำเนินการต่อไปไม่ได้
2.3    “การขาย”   เปรียบเสมือนกองทัพหน้า    ส่วนการตลาดเปรียบเสมือนกองส่งกำลังบำรุง   เช่น   หากไม่มีการขายเกิดขึ้นแล้ว    กองส่งกำลังบำรุงก็ต้องหยุดชะงักในการผลิตสินค้าส่ง
2.4    “การขาย”   เป็นหัวใจสำคัญของการค้าปลีก    การค้าส่ง   ตัวแทนจำหน่าย    หรือผู้จัดจำหน่าย

 3.  ประโยชน์ของการขาย   ที่มีผลต่อการสร้างความมั่งคั่งให้กับสังคม   คือ
3.1  สังคมใด   ที่มีการขายมากกว่าการซื้อ   สังคมนั้น ๆย่อมเกิดความมั่งคง
3.2  อาชีพขาย   ย่อมสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ประกอบอาชีพ   เนื่องจากได้มีการพิสูจน์มาแล้วว่าผู้ประกอบอาชีพนี้   หากมีความอดทน   มีมานะบากบั่น   มีความขยัน   มีความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่องแล้ว    ย่อมจะสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเอง   และครอบครัว   นอกจากนี้ยังทำให้ประเทศชาติ   มีความมั่งคั่งไปด้วย

   วิวัฒนาการของการขาย

             การขายมีวิวัฒนาการมาจากระบบการแลกเปลี่ยนสินค้า   หรือระบบแลกของต่อของ (Barter  System)  ต่อมาเกิดปัญหาหลายประการ  ในระบบแลกของต่อของ เช่น ความต้องการสินค้าไม่ตรงกัน สินค้าคนละชนิดกันไม่สามารถกำหนดปริมาณได้อย่างยุติธรรม หรือความไม่สะดวกในการนำสินค้าไปแลกกับบุคคลอื่น เพราะถ้าไม่มีคนต้องการก็ต้องนำกลับมาอีก ระบบการแลกของต่อของ จึงพัฒนาการมาเป็น ระบบการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เป็นระบบการซื้อขายด้วยเงิน การซื้อขายในปัจจุบันใช้ระบบการให้ความเชื่อถือซึ่งกันและกัน โดยผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อนำสินค้าไปใช้ หรือได้ใช้บริการก่อน แล้วชำระเงินภายหลังตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ระบบนี้เรียกว่าระบบเครดิต(Credit System) ระบบเครดิตมีบทบาทมากสำหรับการค้าใน ทำให้การค้าขายคล่องตัว ผู้บริโภค  มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นเพราะไม่ต้องพกพาเงินสดไว้กับตนเอง การค้าขายของทุกประเทศได้ดำเนินไปอย่างก้าวหน้า เริ่มจากครอบครัว ไปยังชุมชนเล็ก ๆ เชื่อมโยงไปยังชุมชนอื่น ๆ และขยายไปถึงการค้าระหว่างประเทศ ปัจจัยที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อความเจริญก้าวหน้าทางการค้าขาย ได้แก่ ความสงบสุขของบ้านเมือง นโยบายของรัฐบาล สภาวะเศรษฐกิจของโลก ลักษณะนิสัยของประชาชน ความร่วมมือทางด้านการค้า ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งประเทศต่าง ๆ  พยายามหาทางทำให้ประเทศของตนเป็นผู้นำทางด้านการค้า     เพราะการค้าขายที่ดีมีความเจริญก้าวหน้า หมายถึง ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ความมั่งคั่งและการดำเนินชีวิตที่ดีของประชาชนในประเทศนั้น

การตลาด 

ความหมายของการตลาด (Marketing  Defined)

สมาคมการตลาดของสหรัฐอเมริกา (American  Marketing  Association = A.M.A.)ได้ให้คำจำกัดความว่า  การตลาด เป็นกิจกรรมต่าง ๆ ทางธุรกิจที่เกิดขึ้น  เพื่อให้สินค้าและบริการเปลี่ยนจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการนั้น ๆ โดยได้รับความพอใจและบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ

ปีเตอร์  เอฟ  ดรักเกอร์ (Drucker 1973 : 64) กล่าวถึง  การตลาด หมายถึงการปฏิบัติงานหรือการดำเนินงานที่เป็นกิจกรรมทางธุรกิจที่มีผลทำให้มีการกำกับให้สินค้าและบริการไหลผ่านจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค  หรือผู้ใช้สินค้าและบริการ

วิลเลี่ยม เจ. สแตนตัน (Stanton  1981 :5) ได้กล่าวว่า   การตลาดคือ  กิจกรรมของระบบธุรกิจทั้งหมด ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อวางแผนการดำเนินงาน  กำหนดราคา  ส่งเสริมการจำหน่ายและการกระจายสินค้าและบริการในอันที่จะตอบสนองความพอใจแก้ผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคต

การตลาด (Marketing) หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นมาโดยเกี่ยวข้องสัมพันธ์ต่อตลาด   โดยตรงและเป็นความพยายามที่จะทำให้มีการแลกเปลี่ยนต่าง  ๆ   เพื่อการตอบสนองความต้องการ  ของมนุษย์

หน้าที่ทางการตลาด (Marketing  Functions)

 หน้าที่ทางการตลาด  หมายถึง   กิจกรรมต่าง ๆ  ซึ่งก่อให้เกิดการนำสินค้าและบริการออก สู่ตลาด    อาจแบ่งออกตามกิจกรรมที่ทำได้    ดังนี้
1.  หน้าที่ที่จะทำให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ของสินค้าจากผู้ขายไปสู่ผู้ซื้อ(Exchange Functions)  เช่น
1.1 การซื้อ(Buying)เป็นการหาความต้องการของการซื้อ การเลือกแหล่งซื้อการพิจารณาความเหมาะสมของสินค้า อาจกระทำโดยวิธีตรวจสอบ (Inspaction) วิธีพิจารณาจากตัวอย่าง (Sample) และวิธีหารายละเอียดต่าง ๆ จากคำอธิบาย (Description) เป็นต้น
1.2 การขาย (Selling) เป็นการสร้างอุปสงค์ (Creating Demand) การขายจึงต้องอาศัยเครื่องมือทางการตลาดในรูปของการส่งเสริมการจำหน่ายเข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งเป็นการช่วยสร้างหรือกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์ในการซื้อสินค้าที่เสนอขายในระดับต่าง ๆ จนถึงขั้นเกิดการซื้อ

 2. หน้าที่เกี่ยวกับการจัดส่งสินค้า (Physical  Distribution) หน้าที่นี้ได้แก่
2.1 การขนส่ง (Transportings) หมายถึง  การนำบริการและสินค้าไปถึงสถานที่ที่ผู้บริโภคต้องการ
2.2 การจัดเก็บสินค้า (Storing) ความจำเป็นของการจัดจำหน่ายสินค้าประการหนึ่ง คือ คลังเก็บสินค้าสินค้าที่ผลิตเสร็จและเตรียมที่จะออกจำหน่ายนั้น  จำเป็นต้องมีคลังเก็บสินค้าที่ปลอดภัย

3. หน้าที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ (Facilitating   Functions) ได้แก่
3.1 การเงิน  (Finance) เช่น การให้สินเชื่อ
3.2 การเสี่ยง (Risk – Bearing)  คือ การรับภาระเสี่ยงภัยเกี่ยวกับตัวสินค้า เช่น การรับคืนสินค้าชำรุด สินค้าเสื่อมสภาพเนื่องจากการเก็บรักษาไม่ดี อัคคีภัย เป็นต้น
3.3 การสนเทศทางการตลาด (Market  Information) คือ การหาข่าวสารด้านการตลาด  เช่น จำนวนอุปสงค์ อุปทานของตลาด นิสัยการซื้อของผู้บริโภค เป็นต้น
3.4 การจัดมาตรฐานและแบ่งเกรดของสินค้า (Standardizing and Grading) การจัดมาตรฐาน หมายถึง การตั้งหรือ กำหนดว่าสินค้านั้นควรมีคุณภาพอย่างไร หรือควรมีขนาดอย่างไร การแบ่งเกรด คือ การกำหนดมาตรฐานของแต่ละสินค้าหลายระดับ แต่ละระดับเรากำหนดเป็นเกรดต่าง ๆ ได้ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าในด้านคุณภาพ  ปริมาณที่เหมือนเดิม

ความสำคัญของการขายและการตลาด

ความสำคัญของการขายและการตลาด   มีดังนี้
1.  ความสำคัญของการขายและการตลาดที่มีต่อบุคคล
                การขายมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคม ทำให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกันอย่างเป็นระบบในสังคม  มนุษย์แต่ละคนสามารถประกอบอาชีพที่ตนเองถนัด    และได้ใช้ความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคลได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ และมีบทบาทอย่างยิ่งต่อความเจริญเติบโตและพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศ    Charles  M.  Schwab  กล่าวว่า   “เราทุกคนเกิดมา     ล้วนแต่เป็นพนักงานขายกัน  ชั่วชีวิต  เช่น   เราขายความคิดของเรา    ขายแผนงาน     และขายความกระตือรือร้น   กับบุคคลที่เราติดต่อสัมพันธ์ด้วย”    แสดงให้เห็นว่าการเป็นพนักงานขายนั้น     ไม่จำเป็นที่จะต้องขายแต่สินค้าเท่านั้น    แต่ความคิด   แผนงาน    หรือสิ่งอื่น ๆ    เราก็ขายได้ทั้งสิ้น    ซึ่งเราทุกคนได้ทำการขายเช่นนั้นอยู่ทุกวัน

2.  ความสำคัญของการขายและการตลาดที่มีต่อสังคม   มีดังนี้คือ
2.1   ได้ตอบสนองความต้องการของบุคคลในสังคม    ไม่ว่าจะเป็นความ ต้องการขั้นพื้นฐานหรือ

                 ความต้องการปัจจัย 4 หรือความต้องการในสิ่งที่นอกเหนือขึ้นไป และเมื่อบุคคลเกิดมีความต้องการขึ้นมา ก็จะพยายามหาสิ่งที่ต้องการมาบำบัด มิเช่นนั้น จะหาความสุขไม่ได้ แต่เนื่องจากมนุษย์เรามีความสามารถจำกัด ไม่สามารถผลิตสิ่งที่ต้องการด้วยตัวเองทั้งหมด มนุษย์จึงใช้การซื้อสิ่งที่ต้องการจากตลาด กรณีเช่นนี้จะเห็นได้ชัดว่าการขาย จะเข้ามาทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์

2.2   ยกมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนในสังคม    นอกเหนือจากความต้องการขั้นพื้นฐานแล้ว

              มนุษย์ยังต้องการความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต เช่น ต้องการโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น โทรศัพท์ รถยนต์ และสิ่งต่าง ๆ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ช่วยให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หรือมีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่ดีขึ้นนั่นเอง

2.3  ช่วยลดอาชญากรรม    เนื่องจากความต้องการ ที่มีไม่จำกัดของบุคคลดังกล่าว จึงก่อให้เกิดธุรกิจขึ้นมาหลายแขนงจากบุคคลหลาย ๆ วงการ การเกิดของธุรกิจย่อมก่อให้เกิดความต้องการพนักงานขาย จะเห็นได้ว่าไม่ว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำหรือรุ่งเรือง อาชีพ การขาย ยังคงเป็นอาชีพที่ธุรกิจต้องการเสมอ เมื่อคนมีงานทำย่อมมีรายได้ ปัญหาอาชญากรรมย่อมบรรเทาลงไป.

3.  ความสำคัญของการขายและการตลาด   ที่มีต่อเศรษฐกิจ ความสำคัญของการขายและการตลาด   ที่มีต่อเศรษฐกิจมีดังนี้คือ

3.1  ช่วยให้เกิดธุรกิจการจ้างงาน   เมื่อคนในสังคมมีความต้องการสินค้ามากขึ้น ย่อมทำให้เกิดมีการผลิตสินค้าสนองความต้องการ   การขยายการผลิตต้องเพิ่มแรงงานมากขึ้น ทำให้เกิดการจ้างงาน บุคคลมีงานทำเพิ่มมีรายได้เพิ่ม ทำให้มีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น

3.2  ช่วยให้อุตสาหกรรมเกิดขึ้น   ในตลาดเสรี ประชาชนมีสิทธิจะประกอบธุรกิจหรือทำ อะไรก็ได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย ในเชิงธุรกิจหากการขายประสบความสำเร็จ ย่อมทำให้เกิดการขยายการผลิต จากกิจการเล็ก ๆ เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เป็นการช่วยให้ประเทศเป็นประเทศอุตสาหกรรม

3.3  ช่วยสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศชาติ   ความมั่งคั่งของประเทศชาติ จะเกิดขึ้นได้ จากการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายต่างประเทศ มากกว่าการนำสินค้าเข้ามาในประเทศ กิจกรรมเช่นนี้  “การขาย”  จะเป็นตัวช่วยนำเงินตราจากต่างประเทศ เข้ามาหมุนเวียน             หรือใช้จ่ายภายในประเทศ เช่น การส่งสินค้าเกษตรหรือสินค้าอุตสาหกรรม ไปขายยังต่างประเทศ   เพื่อเป็นการสร้างความมั่งคั่งของประเทศชาติ

4.  ความสำคัญของการขายและการตลาดที่มีต่อกิจการ   ความสำคัญของการขายและการตลาดที่มีต่อกิจการ   มีดังนี้

4.1  ช่วยให้ธุรกิจได้รับผลตอบแทนตามเป้าหมาย    งานขายเป็นงานหลัก ที่จะทำให้ธุรกิจ มีผลตอบแทนเกิดขึ้นตามเป้าหมาย   จากการขายสินค้าหรือการบริการ ดังนั้น การที่จะทำให้ผลตอบแทนได้ตาม เป้าหมายที่ กิจการได้กำหนดไว้ หากไม่มีงานขาย หรือการขายไม่มีประสิทธิภาพ กิจการก็ย่อมจะไม่ได้ผลตอบแทนตามเป้าหมาย

 4.2  ช่วยลดค่าใช้จ่าย    กิจการค้าที่มีพนักงานขายมีความสามารถ ขยันขาย มีความอดทนย่อม ทำให้ยอดการขายสูง กิจการก็สามารถที่จะผลิตสินค้า ออกมาครั้งละจำนวนมากหรือ ในกรณีที่กิจการเป็นตัวแทนขาย  กิจการก็สามารถสั่งสินค้าได้ครั้งละมาก ๆ ซึ่งการสั่งซื้อ สินค้าครั้งละมาก ๆ จะลดต้นทุน  และค่าใช้จ่ายในการซื้อ  ทำให้ได้กำไรจากการดำเนินงาน ขาย สูงมากตามไปด้วย

การขายมีบทบาทอย่างไรอธิบายมาให้เข้าใจพร้อมยกตัวอย่าง 4 บทบาท



ผู้ขายมีบทบาทอย่างไร

ดังนั้น พนักงานขาย (Salesperson) คือ บุคคลที่รับผิดชอบในการติดต่อ แสวงหาลูกค้า เสนอขาย กระตุ้นให้ลูกค้า เกิดความตั้งใจและตัดสินใจซื้อ ให้บริการก่อนและหลังการขาย รวมถึงการให้คำแนะนำลูกค้า ในองค์การซึ่งประกอบ

การขายมีความสําคัญอย่างไร

บทบาทของการขายคืออะไร บทบาทของการขายก็คือ 'การเสนอคำตอบ' ให้ลูกค้า สิ่งเราสามารถเสนอคำตอบได้ใกล้เคียงกับปัญหาของลูกค้ามากแค่ไหน หรือยิ่งบริษัทเปิดโอกาสให้ฝ่ายขายเสนอคำตอบได้เยอะแค่ไหน โอกาสในการปิดการขายก็ยิ่งมีเยอะขึ้น

ข้อใดคือบทบาทของการขาย

หน้าที่ในการขาย (selling) คือ กิจกรรมในการเสนอสิ่งที่ผู้บริโภคต้องการ จัดเป็น ภารกิจที่สำคัญต้องการทำให้สินค้าหรือบริการเกิดการหมุนเวียนเปลี่ยนเป็นเงินหรือรายได้ให้แก่กิจการโดยการเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ให้แก่บุคคลอื่น

จงยกตัวอย่างงานขายที่ใช้พนักงานขาย มีอะไรบ้าง

1. งานขายที่ใช้พนักงานขาย (Personal Selling) เป็นการขายที่พนักงานขายต้องเผชิญหน้ากับลูกค้า หมายรวมถึงการใช้โทรศัพท์ และการใช้จดหมายขายด้วย ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่างานขายเฉพาะตัว ลักษณะของงานขายประเภทนี้ พนักงานงานขายต้องพูดคุย ตอบข้อซักถาม ของลูกค้า บางครั้งอาจมีการสาธิตประกอบการขาย พนักงานขายสามารถขจัดอุปสรรคในการขาย ...