สาเหตุของการย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพฯเพราะอะไร

สาเหตุของการย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพฯเพราะอะไร

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวการย้ายเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย จากจาการ์ตาสู่นครแห่งใหม่ บริเวณจังหวัดกาลิมันตันตะวันออก ในเกาะบอร์เนียว โดยมีแผนการการสร้างเมืองหลวงใหม่ในปี 2564 และจะเริ่มทำการย้ายในช่วงปี 2566-2567

โจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย แถลงข่าว เมื่อวันที 26 สิงหาคม ว่า กรุงจาการ์ตามีความแออัดหนาแน่น และยังเผชิญปัญหาน้ำท่วม แผ่นดินทรุดตัว และแผ่นดินไหว และรับภาระหนักเกินไปในฐานะศูนย์กลางการปกครอง ธุรกิจ การเงิน การค้า การบริการ ขณะที่ตำแหน่งเมืองหลวงแห่งใหม่มีความเสี่ยงทางภัยธรรมชาติน้อยที่สุด

รศ.ดร.อภิวัฒน์ รัตนวราหะ จากภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ในอดีตมีหลายๆ ประเทศเลือกย้ายเมืองหลวงเนื่องด้วยเหตุผลต่างกัน ทั้งเหตุผลด้านการเมือง การปกครอง รวมถึงเหตุผลด้านความมั่นคง ทั้งกรุงวอชิงตัน ดีซี ของสหรัฐอเมริกากรุงแคนเบอร์รา ออสเตรเลีย กรุงบราซิเลีย ประเทศบราซิล ฯลฯ

การย้ายเมืองหลวงเป็นการตอบสนองวัตถุประสงค์ ของนโยบายยุทธศาสตร์การสร้างชาติรูปแบบหนึ่งขึ้นอยู่กับว่าผู้นำประเทศมองเห็นว่าจะได้อะไรกับการย้ายเมืองที่เป็นศูนย์กลางการปกครองนั้นๆ ซึ่งนับเป็นการลงทุนที่ใช้ต้นทุนสูงในการสร้างพื้นที่ใหม่ และทำลายสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่เดิม

“ส่วนใหญ่คือการย้ายกิจการภาครัฐ เป็นการกระจายความเจริญที่ห่างออกไป แต่ก็มีคำถามว่าจะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำจริงหรือ เพราะรัฐย้าย เอกชนไม่ย้ายก็มี เช่นเมียนมาร์ ซึ่งเพิ่งย้ายไปไม่ถึง 20 ปี เอกชนก็ยังอยู่ย่างกุ้งเหมือนเดิม ความแออัดก็ยังเท่าเดิม มีคนบอกด้วยว่าที่เนปิดอว์ สร้างถนน 10 เลน แต่มีรถวิ่ง 10 คันก็มี ต้องมองในระยะยาวว่าจะเป็นอย่างไรต่อ”

สำหรับประเทศไทย เคยมีแนวคิดเรื่องการย้ายเมืองหลวงตั้งแต่สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ไปจังหวัดเพชรบูรณ์ หรือแม้แต่ยุคต่อๆ มาที่มีการนำเสนอว่าจังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครนายก น่าจะเป็นเมืองหลวงใหม่ของประเทศไทยได้ แต่ท้ายที่สุดแนวคิดการย้ายเมืองหลวงของไทยก็ไม่สำเร็จ

“ผมคิดว่าการย้ายเมืองหลวงคือการทุ่มทุนมหาศาล และเป็นการตัดสินใจที่ต้องเด็ดขาดมาก ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีผู้นำไทยคนไหนน่าจะยอมเด็ดขาดขนาดนั้น เพราะพอกางงบประมาณออกมาแล้วเป็นภาระ ทางการคลังของรัฐบาลอย่างหนัก เห็นตัวเลขก็กลัวกันแล้ว” อย่างไรก็ตาม ปัญหากรุงเทพมหานครมีความแออัด รถติด น้ำท่วม ก็เป็นสิ่งที่ถกเถียงกันมาอย่างต่อเนื่อง

อาจารย์อภิวัฒน์ชี้ว่าการย้ายเมืองหลวงไม่ใช่คำตอบเดียวของการแก้ปัญหาความแออัดของเมือง แต่ควรเน้นไปที่การกระจายความพัฒนาไปสู่เมืองอื่นๆ เช่น การเพิ่มทางเลือกให้แก่เมืองระดับรองลงมา เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี ฯลฯ เพื่อสร้างทางเลือกในพื้นที่ให้คนไม่มากระจุกตัวที่กรุงเทพฯ และเป็นการลดภาระการลงทุนการพัฒนาเฉพาะกรุงเทพฯ เพียงแห่งเดียว

“มีเมืองหลายเมืองแบ่งเมืองเศรษฐกิจกับเมืองราชการ เช่น ออสเตรเลียก็แบ่งแคนเบอร์รากับซิดนีย์ อเมริกาก็แบ่งวอชิงตัน ดีซี กับนิวยอร์ก แต่ลอนดอนกับปารีสก็ไม่ได้แยกระบบราชการกับระบบเศรษฐกิจกัน ผมเองก็มองว่าไทยเราไม่ได้มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ถึงขั้นต้องแยกเมืองใหม่อีกเมืองให้เป็นราชการ”

อาจารย์อภิวัฒน์ย้ำว่าการย้ายเมืองหลวงไม่น่าจะใช่ทางออกของการแก้ปัญหาที่กรุงเทพฯ กำลังเผชิญอยู่ ทั้งปัญหาด้านผังเมืองที่ทำให้เกิดน้ำท่วม แผ่นดินทรุดตัว ก็สามารถใช้วิธีการทางวิศวกรรมและการใช้ประโยชน์จากที่ดินแก้ปัญหาได้ หากมีการวางแผนที่ดีพอ

“ผังเมืองเราแย่ และก็มีปัญหาอย่างที่เห็น แต่มันก็ยังพอมีความหวัง ยังแก้ไขได้ คนพูดเรื่องรถติดมานานมากแล้ว แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เราก็มีรถไฟฟ้า มีรถไฟใต้ดิน เรียกได้ว่าก็มีทางเลือกมากขึ้น สิ่งที่ควรทำคือการพัฒนาระบบรถเมล์ ระบบขนส่งมวลชน ทางเท้า ไม่ถึงกับแย่จนต้องย้ายเมืองหลวง”

นอกจากนี้ การที่เมืองมีความกระจุกตัวยังเอื้อต่อการเป็นเมืองใหญ่ เพราะจะมีพลังของการกระจุกตัว ทำให้มีความประหยัดต่อต้นทุนต่างๆ เช่น ความประหยัดต่อค่าขนส่ง การเดินทาง การจ้างงาน รวมถึง องค์ความรู้ต่างๆ (Economies of agglomeration) และเป็นแรงขับเคลื่อนต่อการเกิดระบบเศรษฐกิจยุค 4.0 ซึ่งหากมีการย้ายเมืองหลวงใหม่และต้องเริ่มต้นจากศูนย์เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์หรือเศรษฐกิจที่มีการใช้นวัตกรรม จะเกิดขึ้นได้ยากในเมืองหลวงแห่งใหม่

“อย่างไรก็ตาม กรุงเทพฯ ก็ยังเป็นที่ที่มีเสน่ห์ และยังพัฒนาต่อไปได้ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องทุ่มกับกรุงเทพฯ อย่างเดียว เพราะเมืองอื่นๆ ในภูมิภาคเราก็ยังทุ่มได้ ส่วนปัญหาของกรุงเทพฯ ผังเมืองแม้จะแย่ แต่ก็ยังมีความหวังว่าทำอะไรได้บ้าง แม้ในเชิงกายภาพจะไม่ได้ แต่เปลี่ยนระบบการบริหารการจัดการได้ ดังนั้น การย้ายเมืองหลวงจึงไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด” อาจารย์อภิวัฒน์กล่าวสรุป

สาเหตุของการย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพฯเพราะอะไร


ย้าย 'เมืองหลวง'!!!
ผู้จัดการออนไลน์
25-11-54

หลังเหตุการณ์ อุทกภัยผ่านไป ดูเหมือนเมืองไทยของเราจะมีปรากฏการณ์อะไรแปลกๆเกิดขึ้นมากมายเต็มไปหมด อย่างกรณีหนึ่งที่แม้จะไม่สามารถเรียกเสียงฮือฮาได้มากมายจนเป็นทอล์ก ออฟ เดอะทวาน์ ก็ตาม แต่ก็เป็นประเด็นอยู่ในหน้าข่าวหลายวันเหมือนกัน เมื่อจู่ๆ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคเพื่อไทย 20 คน ได้เสนอญัตติด่วนเพื่อให้สภาฯ ตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษา การย้ายเมืองหลวงจาก 'กรุงเทพมหานคร' ไปอยู่ที่ ‘นครนายก’ หรือ ‘เพชรบูรณ์’ แทน โดยอ้างว่าภายในระยะเวลา 10 ปีนี้ กรุงเทพฯ จะจมบาดาลอย่างแน่นอน เพราะตัวอย่างอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 2554 นี้ก็เป็นประจักษ์แก่สายตาของประชาชนไปเรียบร้อยแล้ว

เจอแบบนี้เข้าไป แม้จะไม่มีเสียงตอบรับหรือคัดค้านออกมา เพราะคนส่วนใหญ่ดูจะสนใจปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นเสียมากกว่า ตั้งแต่เรื่องของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ.) การยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก จนถึงเรื่องวาระของการปรองดอง แต่ถ้ามองในอีกมุมหนึ่งเรื่องนี้ก็ถือว่ามีความหมายไม่ใช่น้อย

ย้อนอดีตแนวคิด ‘ย้ายเมืองหลวง’

เพราะนี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่ประเทศไทย (นับตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี) มีแนวคิดจะย้ายเมืองหลวง เพราะถ้าหากย้อนกลับเมื่อ 60 กว่าปีก่อน เรื่องพวกนี้ก็เกิดขึ้นแล้ว โดยเจ้าตำรับไอเดียก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นจอมโปรเจ็กต์อย่าง จอมพล ป.พิบูลสงคราม ที่เมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรีช่วงแรก ก็คิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เพราะมีภูมิประเทศเป็นป่าทึบและภูเขาสูง อากาศดี แต่เนื่องจากเพชรบูรณ์ในเวลานั้นยังทุรกันดารอยู่มาก ประกอบกับช่วงนั้นรัฐบาลประสบปัญหาเรื่องภัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จนในที่สุดต้องลาออก ก็เลยทำให้การย้ายเมืองหลวงครั้งนี้ล้มเลิกไป

และหลังจากไม่นาน เมื่อจอมพล ป.กลับมามีอำนาจอีกรอบ คือในช่วงหลังปี 2492 ก็เคยมีความคิดจะพัฒนาจังหวัดลพบุรีและพุทธมณฑลให้มา เป็นเมืองหลวงของประเทศ แต่สุดท้ายแนวคิดนี้ก็ยังไม่ถูกดำเนินการ เพราะท่านผู้นำถูกลูกน้องคนสนิทอย่าง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำรัฐประหาร หลังจากที่เจอพิษการเลือกตั้งโคตรโกงเมื่อปี 2500

เช่นเดียวกับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่เคยคิดจะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ฉะเชิงเทราหรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่เล็งจังหวัดนครนายกเอาไว้ เพราะนอกจากจะอยู่ใกล้เมืองหลวงเดิมคือ กรุงเทพฯแล้ว ยังไม่มีปัญหาน้ำท่วมและความแออัดให้กวนใจ แถมยังสามารถออกแบบเมืองหลวงตามใจของผู้มีอำนาจในขณะ นั้นได้อีกต่างหาก แต่สิ่งที่สำคัญสุดน่าจะเป็นชื่อที่มีคำว่า 'นายก' อยู่ในจังหวัด เพราะมันช่างบ่งบอกสถานภาพของผู้นำในขณะนั้นได้ดีที่ สุด แต่สุดท้ายก็อย่างที่ทราบๆกันว่า ไปไม่รอดเหมือนกับสมัยรัฐบาลเผด็จการทหารเช่นกัน

และจากประวัติศาสตร์ทางความคิดนี้เอง จึงสะท้อนว่าเอาเข้าจริงแล้วการจะย้ายเมืองหลวงคงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ เพราะแม้แต่อดีตผู้นำที่มีอำนาจอย่างเต็มเปี่ยมเคยคิดเคยฝันยังทำไม่สำเร็จ เลย และอีกเรื่องที่หลายคนสงสัยว่า ตกลงแล้วคำว่า 'ย้ายเมืองหลวง' แท้ที่จริงแล้วคืออะไรกันแน่ เพราะถ้าบอกว่าย้ายศูนย์กลางทางราชการไปอยู่ในต่างจังหวัดก็ดูกระไรอยู่ เพราะที่ผ่านมาก็เคยมีความพยายามดันให้ทั้งรัฐสภา ทำเนียบรัฐบาล ไล่จนถึงกระทรวง ทบวง กรม ออกสัญจรไปอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ แต่ก็ไม่เห็นมีใครบอกว่า นั่นคือการย้ายเมืองหลวงสักคนเดียว เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จึงน่าจะมีมิติอะไรที่ลึกลับซับซ้อนมากกว่าที่คิดเป็น แน่แท้

กรุงเทพมหานคร ‘เอกนคร’ ที่ไม่ธรรมดา

หากย้อนกลับไปถึงปัจจัยของการย้ายเมืองหลวงในโบราณกาลนั้น ก็จะมีไม่กี่เหตุผล ตัวอย่างเช่นเกิดโรคระบาด ถูกข้าศึกโจมตีทำลายจนแทบจำไม่ได้ แต่ถ้าเป็นสมัยนี้ ต้องยอมรับว่ามีปัจจัยเยอะแยะมากมายที่พอจะทำให้ย้าย เมืองหลวงได้

ยิ่งหากเป็นกรุงเทพมหานครด้วยแล้ว นอกจากจะมีความภาคภูมิใจในฐานะที่เป็นเมืองหลวงชื่อยาวที่สุดในโลกแล้ว ยังมีลักษณะเฉพาะที่หลายๆประเทศไม่มี

ไม่เชื่อก็ลองไปดูเมืองหลวงของประเทศอื่นๆก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน ฯลฯ ก็จะพบความจริงว่า เมืองเหล่านั้นนอกจากการเป็นที่ตั้งของส่วนราชการแล้ วก็ไม่มีอะไรที่พิเศษมากกว่านั้น เพราะแม้แต่เศรษฐกิจก็ไม่ใหญ่ ประชาชนก็ไม่มาก แถมความเจริญอย่างทั่วถึงไปทั่วประเทศ ผิดกรุงเทพฯ ที่กลายเป็นศูนย์กลางความเจริญทุกๆอย่าง ตั้งแต่เศรษฐกิจ สาธารณูปโภค การศึกษา การคมนาคม การปกครอง และอื่นๆ อีกมากมาย เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลย เมื่อหันกลับไปดูผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพีของประเทศ จะพบว่ากระจุกอยู่ในกรุงเทพฯ ถึง 1 ใน 4 เลยทีเดียว

ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นกับกรุงเทพฯ นี้ ผศ.ดร.อรทัย ก๊กผล ผู้อำนวยการวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า เรียกว่า กรุงเทพฯ ถือเป็นเมืองหลวงอย่างสมบูรณ์แบบ หรือ Primate City คือเป็นเมืองเอกนคร หรือจะเรียกว่า เป็นเมืองหลวงที่ปกติศักดิ์ศรีก็ใหญ่โตอยู่แล้ว แต่ยังเพิ่มความใหญ่ในฐานะศูนย์กลางที่ธุรกิจและการคมนาคมอีกต่างหาก ซึ่งภาพที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่เป็น แต่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างก็เป็น แบบนี้เหมือนกันหมด

แต่นั่นไม่ใช่การกำหนดว่า สิ่งนั้นจะเป็นเมืองหลวงหรือไม่ เพราะเอาเข้าจริงแล้ว การจะเป็นเมืองหลวงนั้นมีปัจจัยอยู่เพียงข้อเดียวเท่านั้น ก็คือ เมืองนั้นเป็นศูนย์กลางของอำนาจในการปกครองประเทศหรือ ไม่ ซึ่งอำนาจที่ว่านี้ก็คืออำนาจอธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่หากเมืองหลวงตั้งอยู่ ไหน ที่ทำงานของส่วนราชการต่างๆ ก็มักจะไปอยู่ที่นั้นด้วย

ซึ่งตัวอย่างที่เห็นชัด ก็คือประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีลักษณะเหมือนประเทศไทย คือกรุงกัวลาลัมเปอร์เป็นศูนย์กลางทุกอย่างของประเทศ เพราะฉะนั้น จึงมีความพยายามสร้างเมืองใหม่อย่าง ปุตราจายา เพื่อรองรับความเติบโตดังกล่าว แต่ในความรู้สึกของหลายๆคนก็ไม่ได้คิดว่าที่นั่นเป็น เมืองหลวงอยู่ดี เพราะอำนาจหลักของประเทศก็ยังอยู่ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เช่นเดิม

“ถ้าไปดูที่กัวลาลัมเปอร์จะพบว่าหน้าตาเหมือนกรุงเทพ ฯมาก คือเป็นศูนย์กลางการปกครองของทุกอย่าง เศรษฐกิจก็ใหญ่ที่สุด พอทุกอย่างอยู่ที่นี่ คนก็เข้ามาอาศัยอยู่ที่นี่เต็มไปหมด พอตอนหลังมีการตัดสินใจสร้างเมืองปุตราจายา แล้วก็เอาส่วนราชการไปอยู่ที่นั้น แต่พอเอาเข้าจริง หลายๆ ฝ่ายก็พูดว่า ปุตราจายาไม่ได้เป็นเมืองหลวงหรอก เพราะว่ามันไม่มีอำนาจนิติบัญญัติ เนื่องจากรัฐสภายังอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์

“เพราะฉะนั้น เมืองหลวงอย่างน้อยต้องมีรัฐสภา รัฐบาลอยู่ที่นั้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของเมืองหลวง ซึ่งหากลองไปเปรียบเทียบกับประเทศพม่า ที่ตอนแรกเมืองหลวงคือเมืองย่างกุ้ง พอตอนหลังก็ย้ายไปที่เมืองเนปิดอว์ ซึ่งเขาก็จะมีการย้ายส่วนราชการไปอยู่ที่นั้นหมด อย่างนายกรัฐมนตรีก็จะทำงานจากที่นั้น บรรยากาศของเมืองหลวงมันต้องเป็นอย่างนั้นไป”

ดังนั้น ในกรณีของกรุงเทพฯ ก็เช่นกัน หากจะย้ายก็ต้องทำการย้ายศูนย์กลางของอำนาจไปให้ได้ก่อน ซึ่งอย่างน้อยๆ ส่วนแรกที่ต้องไปก่อนเลยก็คือ คณะรัฐมนตรี ที่อาจจะต้องเปลี่ยนที่ประชุมหรือที่ทำงานไปอยู่ ณ สถานที่ที่เป็นเมืองหลวงแทน

'หัวโตแต่ตัวลีบ' หัวใจของความยาก

แต่อย่างว่า แม้คณะรัฐมนตรีจะย้ายหรือไม่ย้าย หากเอาเข้าจริงแล้ว ความเป็นเมืองหลวงของกรุงเทพฯ ในความรู้สึกของคนก็ไม่ได้เปลี่ยนไปเท่าใดหรอก เพราะอย่างที่บอกไว้ตั้งแต่ตอนแรกแล้วว่า ตอนนี้ก็มีหน่วยงานราชการหลายๆแห่งไปอยู่แล้ว

เช่นที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติซึ่งอยู่ที่จังหวั ดนนทบุรี หรือถ้าจะเอาชัดกว่านั้น ก็คงเป็นตอนที่ฝ่ายนิติบัญญัติในสมัยที่ อุทัย พิมพ์ใจชน เป็นประธานรัฐสภา คิดจะย้ายสภาฯไปอยู่แถวเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ แต่ก็ไม่มีใครคิดว่า นั่นเป็นการย้ายเมืองหลวงแต่อย่างใด

เพราะสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากกว่านั้นคือประเด็นที่สืบเ นื่องจากความเป็นศูนย์กลางของกรุงเทพฯนั่นเอง ซึ่งเป็นผลทำให้ลักษณะความเจริญของประเทศไทยเป็นไปอย่างไม่เท่าเทียมกัน หรืออย่างที่ รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกว่า 'หัวโตแต่ตัวลีบ'

พูดง่ายๆคือ แม้จะย้ายไปแล้ว แต่ทุกอย่างก็ต้องไปสร้างใหม่หมด เพราะของเก่าแทบจะไม่มีอะไรเลย เพราะฉะนั้นถ้าจะย้ายจริง ก็ต้องไปปรับเพิ่มบริการในด้านอื่นๆ ที่ตอบสนองต่อข้าราชการที่ต้องย้ายตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นที่พัก เส้นทางคมนาคม สิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ ซึ่งนั่นก็หมายถึงงบประมาณมหาศาล

“อาจจะเป็นธุรกิจที่ตอบสนองความต้องการของรัฐ และการเมือง อย่างการคมนาคม การสาธารณูปโภคต่างๆ แต่เชื่อว่าคงจะไปเป็นส่วนน้อย อาจจะช่วยแบ่งเบาความหนาแน่นได้บ้าง แต่กรุงเทพฯ มันก็โตมาก เพราะฉะนั้นคนจึงย้ายตามไม่ได้ เพราะกิจกรรมทุกอย่างมันอยู่ที่นี่ แต่เราต้องมาดูกันถึงความคุ้มค่าถ้าจะทำ”

ตัวอย่างเช่นพม่าที่ตัดสินใจย้ายเมืองหลวง เหตุผลก็มาจากความจำเป็นจริงๆ เพราะนอกจากจะด้วยสาเหตุของธรรมชาติแล้วยังมีปัญหาเรื่องชนกลุ่มน้อย ซึ่งอาจจะสร้างผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศได้ แต่ก็ยอมรับความเสี่ยงในเรื่องของค่าใช้จ่ายและความไม่สะดวกสบายซึ่งตามมา เต็มไปหมด

“ที่บริเวณใต้แผ่นดินของเมืองย่างกุ้งมันเป็นรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ อีกเหตุผลสำคัญเพราะการปกครองของพม่าที่มีชนกลุ่มน้อยเยอะ จึงตัดสินใจย้ายศูนย์กลางปกครองเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการปกครองมากขึ้น ซึ่งปัญหาที่ตามมาก็มีเยอะมาก ข้าราชการพม่าต้องนั่งรถไปกลับจากเมืองที่ต้องย้ายไป เสียค่าใช้จ่าย เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ”

เพราะฉะนั้น ถ้ากลับไปพิจารณาถึงประเทศไทย่าต้องย้ายเมืองหลวง เพราะกรุงเทพฯมีสิทธิ์จมบาดาล ก็อาจจะยังถือว่าไม่คุ้มค่าพอและไม่ช่วยทำอะไรให้ดีขึ้น แถมอาจจะต้องเผชิญปัญหาเดียวกับที่ข้าราชการพม่าเจออีกต่างหาก

ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของ ผศ.ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์ แห่งภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กล่าวว่า แนวคิดแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยมาก แต่สุดท้ายแล้วทำไม่ได้จริง เพราะประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการกระจายความเจริญ หรือเมืองอื่นๆนั้นโตไม่ทันกรุงเทพฯ

“เราคิดจะย้ายเมืองหลวงกันบ่อยมาก มีปัญหานิดหน่อยก็จะย้ายแล้ว แล้วถามต่อว่ามันจะเกิดอะไรตามมา พูดตามตรง การย้ายมันก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น แล้วจะย้ายอะไรไป ถ้าเราพูดกันตามตรง เราต้องกระจายความเจริญก่อน ซึ่งเรื่องนี้มีแนวคิดเริ่มมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ ที่ 4 มาชัดในฉบับที่ 5 แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายๆ ตามหลักสากลเมืองหลวงคือที่ตั้งของรัฐสภาอย่างที่พม่าก็มีการย้ายรัฐสภาไป ที่เนปิดอว์ แต่สุดท้ายความเจริญต่างๆ ที่ย่างกุ้งก็ยังคงอยู่อยู่ดี ในแบบเดียวกันถ้า กรุงเทพฯต้องย้ายก็จะเป็นไปในทำนองนั้นเหมือนกัน มันไม่มีการแก้ปัญหาจริงๆ เกิดขึ้น อย่างดีก็ทำให้ที่ดินในที่ที่มีข่าวลือราคาสูงขึ้น”

‘ย้าย-ไม่ย้าย’ ทางออกที่เลือกได้

เมื่อ การตัดสินใจครั้งนี้ มีผลกระทบมากมายและไม่ได้ทำได้ง่ายๆ คำถามก็คือแล้ว ทางออกของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรได้บ้าง ในเมื่อปัญหายังคงอยู่เช่นเดิม

แน่นอนประเด็นที่สำคัญที่สุดก็ต้องกลับมาคิดให้ได้ก่อน ก็คือสรุปจะย้ายหรือไม่

ซึ่งถ้าเลือกในกรณีที่ไม่ย้าย ก็ต้องเป็นการปรับปรุงกรุงเทพฯ ในแบบที่ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองบอก นั่นคือการกระจายความเจริญไปยังเมืองอื่นๆ ซึ่งถ้าไปดูในต่างประเทศจะเห็นว่าหลายๆ แห่งเมืองหลวง กับเมืองเศรษฐกิจก็เป็นคนละแห่ง ซึ่ง รศ.ดร.สมภพ ได้ยกกรณีของประเทศออสเตรเลียขึ้นมา หรือไม่ก็หันมาพัฒนาเมืองขนาดย่อมให้มีบทบาททางเศรษฐกิจขึ้น เพื่อรองรับความเติบโตแบบฉุดไม่อยู่ของกรุงเทพฯ

“แคนเบอร์ราเป็นเมืองหลวง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ขณะที่ซิดนีย์เป็นเมืองท่า ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ แต่การที่เขาแยกกันแบบนี้มันก็มีปัญหาในช่วงแรกๆ เพราะจะติดต่ออะไรต้องเดินทางกันไป 300 กิโลเมตร แต่เมืองศูนย์กลางการปกครองก็ไม่จำเป็นต้องเจริญ หวือหวาอะไรนัก แคนเบอร์รายังเป็นป่า มีจิงโจ้โดดไปมาไม่ค่อยมีอะไร

“แต่โดยส่วนตัว คิดว่าเราควรกระจายโอกาสการเติบโตของไปสู่หัวเมืองรอ งๆ อย่างพิษณุโลก เชียงใหม่ ราชบุรี หรือนครศรีธรรมราช ซึ่งตลอดมาจังหวัดเหล่านี้ไม่โตขึ้นเลย เพราะสิ่งนี้ที่รัฐบาลต้องเป็นฝ่ายเริ่มทำ ไม่จำเป็นต้องย้ายต้องมีนโยบายที่ลงไปสร้างกิจกรรมเพื่อกระจายการเติบโตของ เมืองไปยังหัวเมืองอื่นก็พอแล้ ว”

ซึ่งแน่นอน การทำแบบนี้จะลดความเสี่ยงในเรื่องความเสียหาย หากเกิดปัญหาอย่างเช่นที่ผ่านมา

แต่ถ้าตัดสินใจเลือกที่จะย้ายเมืองหลวงจริง ในแง่ความเจริญของกรุงเทพฯ ก็คงไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก เพราะของที่เป็นอยู่แล้ว ก็คงยังอยู่ที่เดิมต่อไป แต่สิ่งที่ผู้มีอำนาจจะกลับมานั่งต้องคิด ต้องทำต่อไปก็คือสร้างเมืองอย่างไรให้มีคุณภาพ ซึ่ง ผศ.ดร.นพนันท์ย้ำว่า สิ่งสำคัญก็คือ ตำแหน่งของเมืองหลวงใหม่

"การจะวางผังเมืองของเมืองที่เกิดใหม่นั้น ขั้นแรกต้องเลือกสถานที่ตั้งให้เหมาะสมก่อน ต้องไม่ใช่ที่ที่อยู่นอกทิศทางการเชื่อมโยงของระบบ ประเทศไทยเรานั้นมีแกนประเทศหลักๆอยู่ไม่กี่แกน เช่น แกนเหนือใต้ตั้งแต่เชียงใหม่ลงไปถึงหาดใหญ่โดยผ่าน กทม. แกนตะวันออกตะวันตกจะอยู่จาก กทม. ไปยังอีสเทิร์นซีบอร์ด หรือแกนที่ไกลออกไป เช่น แกนที่เชื่อมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือลงมา หรือแกนที่เชื่อมภาคกลางตอนบนหรือภาคเหนือเข้ากับภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น แถวพิษณุโลก ที่ที่เหมาะสมไม่ควรจะหลุดโลกออกไปไกลๆ มันควรจะอยู่ในทิศทางที่ทำให้การลงทุนตรงนี้เกิดประโยชน์ในภาพรวม ไม่ใช่ย้ายไปในที่ที่ไปยากและสุดท้ายก็ไม่มีคนไปนอกจากว่าจำเป็นจริงๆ เหมือนที่เราชอบย้ายศูนย์ราชการจังหวัดไปชานเมือง คนไปติดต่อก็ลำบาก ข้าราชการก็ลำบาก

"ต่อมาก็ต้องวางผังให้ดูดี สมหน้าสมตามีสง่าราศี แต่อย่าลืมว่าของใหม่ที่สร้างขึ้นอย่างไรก็เป็นของใหม่ ไม่สามารถจะลงไปเข้าถึงรากฐานได้ สมัยนี้เขาไม่ได้มองการออกแบบเมืองให้มันสวยเหมือนใน ยุคทศวรรษ 1970 กันแล้ว แต่ตอนนี้ เขามองที่ฐานรากเหง้ามากกว่า เขาจะเน้นเรื่องการออกแบบที่ลงลึกโยงไปถึงรากเหง้าของเมืองได้มากแค่ไหน มากกว่า ถ้าทำผังเมืองแบบใหม่เอี่ยม ทันสมัยถอดด้ามมา มันก็อาจจะดูตื้นเขิน ถ้าทำสองอย่างนี้ได้ก็พอแล้ว เพราะเรื่องการเติบโตของเมือง เราสามารถคาดเดาได้ระดับหนึ่งเท่านั้น แต่อย่าลืมว่าในความเป็นจริง การย้ายเมืองหลวง มันไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย เพราะฐานเศรษฐกิจใหญ่ยังอยู่ตรงนี้ เมืองท่ายังอยู่ตรงนี้ การพาณิชยกรรมก็อยู่ตรงนี้ ศูนย์กลางการท่องเที่ยวก็ยังไม่ไปไหน มันคงไม่มีใครอยากไปเที่ยวเมืองใหม่ที่นครนายก หรือท่าตะเกียบหรอก"

ซึ่งแน่นอน ถ้าทั้งหมดนี้ ก็ต้องผ่านการพิจารณาศึกษาถึงความเหมาะสมและความคุ้ม ค่าให้ดีเสียก่อน ไม่อย่างนั้น สุดท้ายก็จะเท่ากับรัฐเทงบประมาณลงไปเสียเปล่า เพราะนอกจากจะไม่ตอบโจทย์กับความต้องการของประชาชนแล้ว อาจจะนำไปสู่วิกฤตการณ์อีกมากมาย โดยเฉพาะเศรษฐกิจ ซึ่งก็เป็นที่รับรู้ว่า นอกจากตอนนี้ประเทศจะอยู่ในช่วงข้าวยากหมากแพงแล้ว ยังมีนโยบายของรัฐที่กำลังจะใช้เงินมหาศาลรออยู่อีกเพียบ