การวิเคราะห์และสังเกตเรื่องราวเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีจุดมุ่งหมายเพื่ออะไร

การวิเคราะห์และสังเคราะห์เรื่องราว เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เป็นขั้นตอนที่ 4 ของวิธีการทางประวัติศาสตร์

5 ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์

  1. กำหนด หาเรื่องที่จะศึกษา คือ เลือกประเด็นที่สนใจ หรือต้องการรู้รายละเอียดที่ลึกซึ้งในความรู้ที่อธิบายกันในปัจจุบัน
  2. รวบรวมหลักฐาน คือ รวบรวมทั้งหลักฐานชั้นต้นและชั้นรอง
  3. ประเมินคุณค่าของหลักฐาน คือ ประเมินว่าหลักฐานใดมีความสำคัญควรแก่การเชื่อถือ
  4. วิเคราะห์ สังเคราะห์และจัดหมวดหมู่ข้อมูล คือ การนำข้อเท็จจริงที่ผ่านการวิเคราะห์มารวบรวมจัดหมวดหมู่
  5. เรียบเรียง หรือการนำเสนอ คือ การนำเสนอผลการศึกษา

จุดมุ่งหมายของการวิเคราะห์และสังเคราะห์เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

  • แยกแยะข้อมูล ทั้งที่เป็นข้อเท็จจริงความเห็น หรือคำอธิบายเรื่องราวว่ามีอย่างไรบ้าง
  • รวบรวมข้อมูล รวบรวมให้เป็นหมวดหมู่  เพื่อจะได้ประเมินว่าข้อเท็จจริงใด มีความน่าเชื่อถือมากกว่ากัน
  • หาความหมายของข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นเอกสารชั้นต้น ว่ามีความหมายอย่างไร
  • สรุปความเข้าใจของตนเอง มีความเห็น หรือความเชื่ออย่างไร    เพราะเหตุใด

ข้อจำกัดของเรื่องราว เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

  1. เหตุการณ์ที่มีหลักฐานเกี่ยวข้องน้อย
    มีเหตุการณ์บางเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานน้อย ซึ่งอาจเป็นเพราะเหตุผล ดังต่อไปนี้
    – เหตุการณ์ล่วงเลยมานานมาก
    – หลักฐานถูกทำลายด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น การสงคราม ไฟไหม้ เป็นต้น
    – การไม่นิยมจดบันทึกด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น วัสดุที่จะจดบันทึกหายาก
  2. เหตุการณ์ที่มีหลักฐานเกี่ยวข้องมาก
    ข้อดี คือ ทำให้มีความคิดที่แตกต่างหลากหลายและสะท้อนแง่มุมของบุคคลต่างๆที่มีต่อเหตุการณ์นั้น แต่การมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากก็ทำให้ต้องใช้เวลาศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบคอบและระมัดระวังรวมทั้งต้องวิเคราะห์
  3. เหตุการณ์ที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย
    เหตุการณ์ที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย แต่ละฝ่ายจะมีความเห็นหรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับเรื่องราว เหตุการณ์นั้นแตกต่างกัน ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น จึงต้องวิเคราะห์ให้ดีว่าเรื่องราว เหตุการณ์     ที่เกิดขึ้นหรือที่น่าจะเป็นคืออย่างไร
  4. เหตุการณ์นั้นๆ มีความหมายต่อปัจจุบันอย่างไร
    เรื่องราว เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ทั้งหลายย่อมมีผลกระทบ ผลเชื่อมโยงถึงปัจจุบัน ดังนั้น ควรจะวิเคราะห์ว่าเรื่องราวเหตุการณ์ทั้งหลายมีความหมาย มีข้อคิด และเป็นบทเรียนแก่ปัจจุบันอย่างไรบ้าง

ความสำคัญของการวิเคราะห์เรื่องราว เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

  1. ทำให้นักเรียนมีความคิดรอบคอบ
  2. ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการแยกแยะเรื่องราวได้ดี
  3. ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการรวมข้อมูลและจัดหมวดหมู่ข้อมูล
  4. ทำให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์เป็นของตนเอง

กรณีตัวอย่างในการศึกษาเรื่องราว เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์โดย   ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์

  1. เรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
    ควรเริ่มต้นว่าอยากจะศึกษาเรื่องใดก่อน จากนั้นจึงรวบรวมหลักฐานต่างๆ เช่น บันทึกของคุณพ่อคุณแม่ ภาพถ่ายในช่วงเหตุการณ์ต่างๆ แล้วนำมาวิเคราะห์จัดประเด็นในแต่ละเรื่อง สุดท้ายคือ กาเขียนประวัติศาสตร์ของนักเรียนที่ผ่านมา
  2. เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัว
    การรวบรวมหลักฐานบันทึกของบุคคลในครอบครัว เช่น จากคำบอกเล่า คำสัมภาษณ์ ภาพถ่าย ภาพวีดิทัศน์ เป็นต้น
  3. เรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่น
    เริ่มค้นคว้าเรื่องราวของท้องถิ่นจากหลักฐานต่างๆ เช่น เอกสารทางราชการ หนังสือพิมพ์ ภาพถ่ายเก่าๆ สัมภาษณ์บุคคล แล้วนำมาวิเคราะห์ เรียบเรียงเรื่องราวของท้องถิ่นเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลต่อไป

ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ 

     ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์

ความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์

     สำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์นั้น มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใดรวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่นำมาใช้เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน 
ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ฝึกฝนทางประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ
ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์ :: 
     ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร
     ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล 
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) 
การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรอง
ในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง
การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
     ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก
การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน
การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็นจริง
     ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน 
การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่ง
อาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
ในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่
     ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น
ในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา