องค์การ ของ ฝ่าย นายจ้าง เรียก ว่า อะไร

ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เพื่อส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์และเพื่อให้การเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างได้กระทำในรูปขององค์กร โดยมีผู้แทนของแต่ละฝ่าย กล่าวคือ ผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้าง ซึ่งมาจากองค์กรของฝ่ายตนมาร่วมเจรจา ทั้งนี้สืบเนื่องมาจาก ในปี พ.ศ. 2517-2518 ภาคธุรกิจไทยประสบปัญหาความยุ่งยากด้านแรงงานเนื่องจากมีการยื่นข้อเรียกร้องและนัดหยุด งานบ่อยครั้งซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการและเศรษฐกิจของประเทศ

องค์การ ของ ฝ่าย นายจ้าง เรียก ว่า อะไร

ผู้เริ่มก่อการในการจดทะเบียนสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยผู้แทนสมาคมนายจ้างต่างๆ จำนวน 7 ท่าน ดังนี้

นายอบ วสุรัตน์ ประธานกรรมการสมาคมนายจ้างเวชภัณฑ์
ร.ต.ท.ชาญ มนูธรรม ประธานกรรมการสมาคมนายจ้างเครื่องใช้ไฟฟ้า
ร.ท.วันชัย บูลกุล ประธานกรรมการสมาคมนายจ้างโรงแรมพัทยา
นายรังษี ชีวเวช ประธานกรรมการสมาคมนายจ้างเจ้าของเรือขนส่งทางน้ำ
นายแพทย์ชัยยุทธ กรรณสูต ประธานกรรมการนายจ้างช่างเหมาไทย
นายสุจินต์ เบญจรงคกุล ประธานกรรมการสมาคมนายจ้างโรงแรมกรุงเทพฯ
นายวัลลภ ลิ้มปิติ ประธานกรรมการสมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง มีคณะกรรมการเข้าดำรงตำแหน่ง จำนวน 14 ชุด โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ดังต่อไปนี้

นายอบ           วสุรัตน์ 2520 -2522ร.ต.ท. ชาญ   มนูธรรม 2522 -2524นายบรรเจิด    ชลวิจารณ์2524 -2526นายบรรเจิด    ชลวิจารณ์ 2526 -2528นายอุดม        วิทยะสิรินันท์ 2528 -2530นายอุดม        วิทยะสิรินันท์ 2530 -2532นายจิรายุทธ์    วสุรัตน์ 2532 -2534นายจิรายุทธ์    วสุรัตน์ 2534 -2536ดร.ทิวา           ธเนศวร 2536 -2538นายอนันตชัย   คุณานันทกุล 2538-2542นายอนันตชัย   คุณานันทกุล 2542-2546นายจิตร          เต็มเจริญสุข 2546 – 2550นายอนันตชัย   คุณานันทกุล 2550-2554นายอนันตชัย   คุณานันทกุล 2554 - 2557นายเอกสิทธิ์    คุณานันทกุล 2557 – ปัจจุบัน

สมาชิก แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. สมาชิกสามัญ (สมาคมนายจ้าง)
  2. สมาชิกสมทบ (สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คน)

เนื่องจากมีข้อกฎหมายกำหนดว่า นโยบายด้านแรงงานของประเทศไทยและการออกพรบ.ด้านแรงงานทุกฉบับ เช่น การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ การคุ้มครองแรงงานและการประกันสังคม ต้องมาจากความเห็นชอบของตัวแทนไตรภาคี (สภาองค์การนายจ้าง สภาองค์การลูกจ้างและกระทรวงแรงงาน) สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยจึงทำหน้าที่ตัวแทนฝ่ายนายจ้างทั้งในประเทศและต่างประเทศในการให้ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านแรงงาน

    องค์การฝ่ายลูกจ้างที่ลูกจ้างสามารถจัดตั้งได้ตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ฉบับนี้มี 3 ระดับ ทำนองเดียวกับองค์การฝ่ายนายจ้าง ได้แก่

    สหภาพแรงงาน คือ องค์การฝ่ายลูกจ้างระดับล่างสุด ที่ลูกจ้างตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสหภาพแรงงาน ก็เพื่อแสวงหา และคุ้มครอง ผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและระหว่าง ลูกจ้างด้วยกันเอง

    หลักกฎหมายการจัดตั้งสหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นองค์การฝ่ายลูกจ้างขั้นต้นหรือล่างสุด มีดังนี้

    1.  ผู้มีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงาน ต้องเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันมีจํานวนไม่น้อยกว่า 10 คน หรือเป็นลูกจ้างซึ่งทํางานประเภทเดียวกัน มีจํานวนไม่น้อยกว่า 10 คน โดยไม่คํานึงว่าจะมีนายจ้างกี่คน

    ลูกจ้างจํานวนไม่น้อยกว่า 10 คน ต่างก็เป็นลูกจ้างของนาย ก คือมีนายจ้างคนเดียวกัน ลูกจ้าง ดังกล่าวสามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ กรณีนี้เน้นที่ตัวนายจ้างคนเดียว มีลูกน้องหรือลูกจ้าง 10 คน ขึ้นไป รับคําสั่งการทํางานจากนายจ้างคนเดียวกัน และอีกกรณีหนึ่ง ลูกจ้างมีนายจ้างต่างรายกัน แต่ลูกจ้างดังกล่าว มีงานที่ทําเป็นอย่างเดียวกัน เช่น ทํางานจักสานไม้ไผ่ด้วยมือ มารวมตัวกันมากกว่า 10 คนขึ้นไป แม้จะมีนายจ้างต่างรายกัน ก็สามารถรวมตัวเป็นผู้เริ่มก่อการยื่นคําร้องเป็นหนังสือร้องขอ Peนายระเบียน เพื่อขอจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ แต่มีข้อแม้ว่า ลูกจ้างทุกคนนั้นจะต้องเป็นผู้บรรล นิติภาวะแล้ว และมีสัญชาติไทย 

    2.  สหภาพแรงงานต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับ สภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน 16

    3.  สหภาพแรงงานต้องมีข้อบังคับ และจดทะเบียนต่อนายทะเบียน เมื่อได้จดทะเบียนแล้ว ให้สหภาพแรงงานเป็นนิติบุคคล 17

    4.  ข้อบังคับของสหภาพแรงงานอย่างน้อยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ 18

        4.1 ชื่อสหภาพแรงงาน เช่น สหภาพแรงงานทอผ้าไทย

        4.2 วัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน คือ การแสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับ สภาพการจ้างอย่างไร และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและระหว่างลูกจ้าง ด้วยกันเองอย่างไร

        4.3 ที่ตั้งสํานักงานสหภาพแรงงาน 

        4.4 วิธีรับสมาชิกและการขาดจากสมาชิกภาพ 

        4.5 อัตราเก็บค่าสมัคร ค่าบํารุง และวิธีการชําระเงิน

        4.6 ข้อกําหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก

        4.7 ข้อกําหนดเกี่ยวกับการจัดการ การใช้จ่าย การเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินอื่น ตลอดจน การทําบัญชีและตรวจบัญชี

        4.8 ข้อกําหนดเกี่ยวกับวิธีการพิจารณาในการนัดหยุดงาน และวิธีการอนุมัติข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้าง

        4.9 ข้อกําหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่

        4.10 ข้อกำาหนดเกี่ยวกับจํานวนกรรมการการเลือกตั้งกรรมการ วาระของการเป็นกรรมการ การพ้นจากตําแหน่งของกรรมการ และการประชุมของคณะกรรมการ

    5.  เพื่อประโยชน์ของสมาชิกสหภาพแรงงาน ให้สหภาพแรงงานมีอํานาจหนาก

        5.1 เรียกร้อง เจรจา ทําความตกลง และรับทราบคําชี้ขาด หรือทําข้อตกลงกับนายจ้างหรือ สมาคมนายจ้างในกิจการของสมาชิกได้

        5.2 จัดการและดําเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับผลประโยชน์ ทั้งนี้ ภายใต้บังคับของวัตถุประสงค์ ของสหภาพแรงงาน

        5.3 จัดให้มีการบริการสารสนเทศเพื่อให้สมาชิกมาติดต่อเกี่ยวกับการจัดหางาน

        5.4 จัดเหมีการบริการการให้คําปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหา หรือขจัดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับ การบริหารงานและการทํางาน

        5.5 จัดให้มีการบริการเกี่ยวกับการจัดสรรเงิน หรือทรัพย์สิน เพื่อสวัสดิการของสมาชิก หรือเพื่อสาธารณประโยชน์ ทั้งนี้ ตามที่ประชุมใหญ่เห็นสมควร

        5.6 เรียกเก็บเงินค่าสมัครเป็นสมาชิกและเงินค่าบํารุงตามอัตราที่กําหนดในข้อบังคับของ สหภาพแรงงาน

    6.  ให้สหภาพแรงงาน มีคณะกรรมการเป็นผู้ดําเนินกิจการ และเป็นผู้แทนของสหภาพแรงงาน ในกิจกรรมที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก คณะกรรมการสหภาพแรงงานอาจตั้งอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติตามที่ มอบหมายได้ กรรมการหรืออนุกรรมการ ต้องมีคุณสมบัติ คือ สมาชิกสหภาพแรงงานนั้นๆ มีสัญชาติไทย โดยการเกิด (มิใช่จากการแปลงสัญชาติ) และต้องมีอายุไม่ต่ํากว่า 20 ปี 

    สหพันธ์แรงงาน เป็นองค์การของลูกจ้าง สูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง จากระดับสหภาพแรงงาน ลักษณะการเป็นสมาชิกและการดําเนินงานของสหพันธ์แรงงาน คล้ายกับสหพันธ์นายจ้าง (กลุ่มขององค์การ ฝ่ายนายจ้าง) ตามที่กล่าวมาแล้ว วัตถุประสงค์ของการตั้งสหพันธ์แรงงานในกลุ่มองค์การฝ่ายลูกจ้าง ก็เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสหภาพแรงงาน และคุ้มครองผลประโยชน์ของสหภาพแรงงาน และลูกจ้าง ตามที่กฎหมายกําหนดไว้ดังนี้ 21

    1. สหภาพแรงงานตั้งแต่ 2 สหภาพแรงงานขึ้นไป และแต่ละสหภาพแรงงานมีสมาชิกเป็นลูกจ้าง ของนายจ้างคนเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างทํางานประเภทเดียวกันหรือไม่ หรืออาจมีลูกจ้างซึ่งทํางาน ในกิจการประเภทเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกันหรือไม่อาจรวมกันจดทะเบียน จัดตั้งเป็นสหพันธ์แรงงานได้

    2. วัตถุประสงค์ของสหพันธ์แรงงาน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสหภาพแรงงาน และคุ้มครองผลประโยชน์ของสหภาพแรงงานและลูกจ้าง

    3. เมื่อจดทะเบียนต่อนายทะเบียนถูกต้องแล้วให้สหพันธ์แรงงานมีฐานะเป็นนิติบุคคล

    4. สหพันธ์แรงงานมีสมาชิกประกอบด้วย สหภาพแรงงานตั้งแต่ 2 สหภาพขึ้นไป ดังนั้น สหภาพแรงงานซึ่งเป็นสมาชิกสหพันธ์แรงงานจึงมีสิทธิส่งผู้แทนของตนเข้าร่วมประชุม และดําเนินในกิจการ ของสหพันธ์แรงงานได้ตามจํานวนที่กําหนดไว้ในข้อบังคับว่าด้วยวิธีการจัดการสหพันธ์แรงงาน ผู้ดําเนิน กิจการของสหพันธ์แรงงานก็ได้แก่ ผู้แทนของสหพันธ์แรงงานนั่นเอง รวมทั้งคณะกรรมการสหพันธ์แรงงาน ก็จะเลือกตั้งจากผู้แทนของสหพันธ์แรงงาน ซึ่งเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานนั้น

    5. การจัดตั้ง การจดทะเบียน การดําเนินกิจการ มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับสหภาพแรงงาน

    ระดับสูงขององค์การฝ่ายลูกจ้าง คือ สภาองค์การลูกจ้าง กฎหมายกําหนดไว้ดังนี้ 

    สหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงานไม่น้อยกว่า 15 แห่ง อาจจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้างเพื่อส่งเสริม การศึกษาและส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ให้แก่สหภาพแรงงาน และสหพันธ์แรงงาน สภาองค์การลูกจ้าง ต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน เมื่อจดทะเบียนแล้วให้สภาองค์การลูกจ้างเป็นนิติบุคคล

    จากหลักกฎหมายข้างต้นการจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้างอันเป็นองค์การสูงสุดขององค์การฝ่ายลูกจ้าง อาจจัดตั้งมาจากองค์การลูกจ้าง 2 ทาง คือ จัดตั้งโดยสหภาพแรงงาน หรือจัดตั้งโดย สหพันธ์แรงงานก็ได้ มีข้อแม้ว่า แต่ละองค์การต้องมีจํานวนสหภาพแรงงาน หรือสหพันธ์แรงงาน ไม่น้อยกว่า 15 แห่ง ด้วยการ จัดทําข้อบังคับของสภาองค์การลูกจ้าง แล้วนําไปจดทะเบียน ต่อนายทะเบียน เมื่อจดทะเบียนถูกต้องแล้ว สภาองค์การลูกจ้างก็มีฐานะเป็นนิติบุคคล

    ผู้ที่เป็นสมาชิกของสภาองค์การลูกจ้าง ก็คือ สหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงาน จํานวนไม่น้อยกว่า 15 แห่งเท่านั้น ลูกจ้างอื่นหรือนิติบุคคลอื่นจะมาเป็นสมาชิกของสภาองค์การลูกจ้างมิได้

    วัตถุประสงค์ของสภาองค์การลูกจ้างคล้ายกับวัตถุประสงค์ของสภาองค์การนายจ้าง คือ เพื่อส่งเสริม การศึกษาและส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์เท่านั้น ด้วยการให้ความรู้แก่สหภาพแรงงาน และสหพันธ์แรงงาน พร้อมส่งเสริมให้องค์การฝ่ายลูกจ้างทุกระดับมีความรู้สมบรณ์ในการปฏิบัติงาน และประสานงานกับ องค์การฝ่ายนายจ้างได้อย่างดี

ส่วนการจัดตั้ง การจดทะเบียน การดําเนินการ ตลอดจนการควบคุมองค์การลูกจ้างยึดหลักเกณฑ์ เช่นเดียวกันกับสหภาพแรงงานและสหพันธ์แรงงาน

ข้อใดคือ การเรียงตามลำดับ องค์การฝ่ายนายจ้าง

องค์การฝ่ายนายจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 กำหนดตามลำดับดังนี้ สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง สภาองค์การนายจ้าง สมาคมนายจ้าง สหพันธ์นายจ้าง สภาองค์การลูกจ้าง

ข้อใดคือองค์การฝ่ายลูกจ้าง

สหภาพแรงงาน หมายถึง องค์กรของลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง และระหว่าง ลูกจ้างด้วยกัน ๒) พิจารณาช่วยเหลือสมาชิกตามคำร้องทุกข์ ๓) แสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างของลูกจ้าง ๔) ดำเนินการและให้ความร่วมมือ ...

องค์กรนายจ้างมีกี่ประเภท

สําหรับองค์การฝ่ายนายจ้าง ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้กําหนด องค์การฝ่ายนายจ้างไว้มี 3 ระดับ 1. สมาคมนายจ้าง 2. สหพันธ์นายจ้าง 3. สภาองค์การนายจ้าง

อำนาจหน้าที่ของสมาคมนายจ้าง มีอะไรบ้าง

อำนาจหน้าที่ของสมาคมนายจ้าง.
1. เรียกร้อง เจรจา ทำความตกลงและรับทราบคำชี้ขาด หรือทำข้อตกลงกับสหภาพแรงงานหรือลูกจ้างในกิจการของสมาชิกได้.
2. จัดการและดำเนินการเพื่อให้สมาชิกได้รับประโยชน์ ทั้งนี้ภายใต้บังคับของวัตถุที่ประสงค์ของสมาคมนายจ้าง.
3. จัดให้มีบริการสนเทศเพื่อให้สมาชิกมาติดต่อเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ.