ลักษณะธุรกิจแบบดังเดิม เป็นอย่างไร

สินค้าจะถูกวางกันตามความพอใจ และบริหารโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น ร้านค้าตามตลาดนัด ร้านแผงลอย และที่รู้จักกันมากที่สุดก็คือ ร้านโชห่วย

โดยในปี 2560 ธุรกิจค้าปลีกดั้งเดิมมีส่วนแบ่งประมาณ 32% ของมูลค่าธุรกิจค้าปลีกทั้งหมด

2.ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade)

ร้านค้าในกลุ่มนี้จะลงทุนในการตกแต่งร้าน มีการจัดเก็บและจำหน่ายสินค้าอย่างเป็นระบบ มีอำนาจต่อรองสูง สามารถขายสินค้าในปริมาณมากได้

รูปแบบร้านค้ามักจะไม่ค่อยแตกต่างกันมากนักไม่ว่าจะไปตั้งอยู่ที่ไหน เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อต่างๆ โดยธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (รวมในส่วนของออนไลน์) มีส่วนแบ่งประมาณ 68% ในมูลค่าธุรกิจค้าปลีกทั้งหมด

สำหรับธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่หลายคนคุ้นเคย แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทหลักๆ คือ

1. ห้างสรรพสินค้า (Department Store) เช่น เซ็นทรัล, โรบินสัน, เดอะมอลล์

2. ดิสเคาน์สโตร์ (Hypermarket/ Cash and Carry) เช่น เทสโก้ โลตัส, บิ๊กซี, แม็คโคร

3. ซูเปอร์มาร์เก็ต (Supermarket) เช่น ท็อปส์, วิลล่า มาร์เก็ท, ฟู้ดแลนด์

4. ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Stores) เช่น 7-11, แฟมิลี่มาร์ท, ลอว์สัน 108

5. ร้านค้าปลีกขายสินค้าเฉพาะอย่าง (Specialty Store) เช่น วัตสัน, บู๊ทส์, ซูเปอร์สปอร์ต, เพาเวอร์บาย, ออฟฟิศเมท, บีทูเอส, ซีเอ็ด

แล้วรายได้และกำไรในปี 2560 ของบริษัทในกลุ่มต่างๆ เหล่านี้เป็นอย่างไร

ธุรกิจห้างสรรพสินค้า
บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด รายได้ 40,784 ล้านบาท กำไร 3,132 ล้านบาท
บริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) รายได้ 30,860 ล้านบาท กำไร 2,742 ล้านบาท
บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด รายได้ 24,881 ล้านบาท กำไร 1,254 ล้านบาท

ธุรกิจดิสเคาน์สโตร์
บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (เทสโก้ โลตัส) รายได้ 218,164 ล้านบาท กำไร 9,118 ล้านบาท
บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) รายได้ 186,754 ล้านบาท กำไร 6,178 ล้านบาท
บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) รายได้ 117,351 ล้านบาท กำไร 5,095 ล้านบาท

ธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต
บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด (ท็อปส์) รายได้ 39,582 ล้านบาท กำไร 702 ล้านบาท
บริษัท วิลล่า มาร์เก็ท เจพี จำกัด รายได้ 6,154 ล้านบาท กำไร 282 ล้านบาท
บริษัท ฟู้ดแลนด์ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำกัด รายได้ 6,124 ล้านบาท กำไร 165 ล้านบาท

ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ
บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) (7-11, แม็คโคร) รายได้ 489,403 ล้านบาท กำไร 19,907 ล้านบาท
บริษัท เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท จำกัด รายได้ 17,441 ล้านบาท ขาดทุน 276 ล้านบาท
บริษัท สห ลอว์สัน จำกัด รายได้ 2,376 ล้านบาท ขาดทุน 230 ล้านบาท

ร้านค้าปลีกขายสินค้าเฉพาะอย่าง
บริษัท เซ็นทรัล วัตสัน จำกัด รายได้ 14,667 ล้านบาท กำไร 1,657 ล้านบาท
บริษัท บู๊ทส์ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด รายได้ 7,512 ล้านบาท กำไร 197 ล้านบาท
บริษัท ซี อาร์ ซี สปอร์ต จำกัด (ซูเปอร์สปอร์ต) รายได้ 9,176 ล้านบาท กำไร 707 ล้านบาท
บริษัท เพาเวอร์บาย จำกัด รายได้ 18,446 ล้านบาท กำไร 235 ล้านบาท
บริษัท ซีโอแอล จำกัด (มหาชน) (ออฟฟิศเมท, บีทูเอส) รายได้ 12,214 ล้านบาท กำไร 502 ล้านบาท
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) รายได้ 3,770 ล้านบาท ขาดทุน 26 ล้านบาท

จากข้อมูลทั้งหมด สังเกตได้ว่า
ธุรกิจร้านสะดวกซื้อและธุรกิจดิสเคาน์สโตร์จะมีรายได้สูงเป็นหลักแสนล้านบาท ซึ่งสูงกว่าค้าปลีกกลุ่มอื่นๆ เนื่องจากมีกลุ่มลูกค้าที่กว้างกว่า อย่างกรณีของ ร้าน 7-11 มีลูกค้าใช้บริการกว่า 12.8 ล้านคนต่อวัน หรือของเทสโก้ โลตัส ก็มีลูกค้าใช้บริการกว่า 2.1 ล้านคนต่อวัน

ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ รู้ไหมว่าในช่วงระหว่างปี 2558 - 2560 นั้น อุตสาหกรรมค้าปลีกมีการลงทุนรวมกันกว่า 130,200 ล้านบาท เฉลี่ยปีละ 43,400 ล้านบาท

บน Digital platform จะต้องมี core function เพื่อทำหน้าที่ให้ user เข้าถึงแพลตฟอร์ม และมีส่วนที่ให้บริการ เก็บข้อมูล ส่วนที่ดูแลการปฏิสัมพันธ์ ซึ่งในการทำครั้งแรกๆ แพลตฟอร์มอาจยังไม่สมบูรณ์แบบ และอาจเกิดความล้มเหลวเมื่อนำไปทดสอบนับครั้งไม่ถ้วน หรือที่เรียกขั้นตอนนี้ว่า MVP (minimum viable product) จนกว่าจะได้ Core technical functionality ที่ผ่านการทดสอบยืนยันจากผู้ใช้ รวมถึงมีการพัฒนา User experience เป็นอย่างดี ก็จะสามารถนำไปเริ่มทำธุรกิจและขยายขนาดต่อไป


Network effects

ส่วนสำคัญของเทคโนโลยีบน core function อีกประการ คือ การทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกที่เข้ามาใช้แพลตฟอร์มในหลายลักษณะ เช่น one-to-one, one-to-many และ many-to-many ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดธุรกรรม (Transactions) ที่หลากหลายบนแพลตฟอร์ม แล้วยังสามารถดึงดูดสมาชิกใหม่ๆ เข้ามาได้อีกด้วย ดังนั้น การเกิด Network effects จะช่วยเร่งปฏิกิริยาการเติบโตของแพลตฟอร์มแบบก้าวกระโดด ซึ่งเป็นผลดีต่อธุรกิจที่อาศัยบนแพลตฟอร์มนี้


2)  ประเภทของ Digital platform


Transaction platforms

เป็นแพลตฟอร์มที่อำนวยความสะดวกในการซื้อขายแบบออนไลน์ บางคนก็เรียก platform นี้ว่า Two-sided Markets หรือ Multi-sided Markets


Innovation platforms

เป็นแพลตฟอร์มที่มีเทคโนโลยีพื้นฐานให้แก่สมาชิกเพื่อนำไปสร้างนวัตกรรม สินค้า และบริการต่อไป ตัวอย่างบริษัทที่ทำหน้าที่เป็น Innovation platform เช่น  Microsoft  และ Intel เป็นต้น


Integrated platforms

เป็นแพลตฟอร์มที่รวม Transaction และ Innovation platform  เข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น  Apple, Google  และ Alibaba  ซึ่งการรวมแพลตฟอร์มหลายลักษณะนี้ จะช่วยบริการลูกค้าได้หลากหลายและเพิ่มมูลค่าธุรกิจมากขึ้น


Investment platforms

เป็นแพลตฟอร์มที่ผู้เป็นเจ้าของไม่ได้เป็นผู้บริหารโดยตรงของ Major platform  แต่ทำหน้าที่เป็นช่องทาง (holding vehicles) ให้กับแพลตฟอร์มอื่น เช่น แพลตฟอร์มชื่อ PLAT ที่เป็นช่องทางการลงทุนใน ETFs (exchange traded funds) ของสถาบันการเงินต่างๆ