สาระสำคัญเกี่ยวกับอนุสัญญาไซเตส (cites) เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด *

อนุสัญญาสิ่งแวดล้อม

20 ธ.ค. 60 อ่าน 116803 ครั้ง

อนุสัญญา (Convention)

          อนุสัญญา (Convention) หมายถึง ความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ทำเป็นหนังสือสัญญาระหว่างประเทศหลายประเทศ หรือระหว่างองค์การระหว่างประเทศ ที่มาประชุมร่วมกัน เพื่อวางบทบัญญัติเป็นกฎเกณฑ์ของกฎหมายขึ้น. 

อนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม

 1) อนุสัญญาแรมซาร์ หรือ อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ (Ramsar Convention on Wetlands)

         อนุสัญญาดังกล่าวเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ซึ่ง ได้กำหนดกรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เริ่มต้นเพื่อเน้นการดำเนินการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้าเพื่ออนุรักษ์ถิ่นที่อยู่อาศัย ของนกน้า ต่อมาขอบเขตการดำเนินการของอนุสัญญาฯ ได้ขยายครอบคลุมกว้างขึ้น โดยเน้นการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ชุ่มน้าอย่างชาญฉลาดในทุกๆด้าน ตลอดจนเพื่ออนุรักษ์ และยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลก   
ดาวน์โหลด [ลิงค์]        

 2) อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) : (The Convention on International Trade in Endangered Spcies of Wild Fauna and Flora)  หรือ อนุสัญญาวอชิงตัน (Washington Convention)      


            การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชที่ใกล้จะสูญพันธ์หรอถูกคุกคามทำให้ปริมาณร่อยหรอจนอาจเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ วิธีการอนุรักษ์กระทำโดยการ สร้างเครือข่ายทั่วโลกในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ (International Trade) ทั้งสัตว์ป่าพืชป่าและผลิตภัณฑ์ไซเตสไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศสำหรับชนิดพันธุ์ ท้องถิ่น (Native Species)  
ดาวน์โหลด [ลิงค์]

 3) อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ(Convention on Biological Diversity: CBD)             

          อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่มีเจตนารมณ์ให้รัฐบาลทุกประเทศพัฒนาประเทศโดยไม่ละเลยการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 

            โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักไว้ 3 ประการ คือ
   1) เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
   2) เพื่อใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
   3) เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม  
       ดาวน์โหลด [ลิงค์]

 4) พิธีสารคาร์ตาเฮน่า ว่าด้วยความปลอด ภัยทางชีวภาพ  

            ประเทศภาคีจะต้องใช้มาตรการทางกฎหมายการปกครองและมาตรการอื่น ๆ ที่จําเป็นและเหมาะสม เพื่อดําเนินการติดตามขอบังคับที่ระบุในพิธีสาร ประเทศต่าง ๆ ต้องรับประกันว่าการพัฒนาการจัดการการขนส่ง การใช้การขนย้ายและการเผยแพรสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมสู่ธรรมชาติจะต้องมีการ ป้องกันหรือลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพ โดยคำนึงถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์  
ดาวน์โหลด [ลิงค์]

 5) สนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหารและการเกษตร (International Treaty on Plant Genetic Resources for Food and Agricultural: ITPGR)              

             การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมพืช เพื่ออาหารและเกษตรยั่งยืนและการแบ่งปันผลประโยชน์ซึ่งเกิดจากการใช้ทรัพยากรนั้น อย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน โดยสอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหารหลักการกว้างๆ ของภาคีสมาชิกในการดําเนินการตามสนธิสัญญา ได้แก่ การอนุรักษ์ การสำรวจ การแยกแยะลักษณะ การประเมินคุณค่าและการรวบรวมเป็นเอกสารเกี่ยวกับทรัพยากรพันธุกรรมพืชเพื่ออาหาร และการเกษตรการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมพืชอย่างยั่งยืน ความร่วมมือระหว่างประเทศ  และความช่วยเหลือทางเทคนิค  
ดาวน์โหลด [ลิงค์]

 6) อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ

            เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศภาคีในการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมทั้งด้านนโยบายและวางแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และจัดการมรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติที่คำนึงถึงการอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพ ด้านกฎหมาย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การบริหารจัดการ และการสนับสนุนงบประมาณเพื่อสงวนรักษาคุ้มครองและส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อมวลมนุษยชาติให้คงอยู่ต่อไป 
ดาวน์โหลด [ลิงค์]

7) โครงการมนุษย์และชีวมณฑล (Man and Biosphere Programme : MAB) 
      
           วัตถุประสงค์ของโครงการมนุษย์และชีวมณฑล

1) การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
2) ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
3) ดำรงรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง
ในการจะบรรลุวัตถุประสงค์ทั้งสามต้องมีการคัดเลือกและจัดตั้ง
"พื้นที่สงวนชีวมณฑล" ที่มีความเหมาะสมขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการที่ถูกต้อง และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่สมดุลระหว่างมนุษย์และระบบนิเวศในพื้นที่ 
ดาวน์โหลด [ลิงค์]

กลุ่มการจัดการสารเคมี

 1) อนุสัญญาบาเซลว่าว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด      
          อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนและการกำจัดซึ่งของเสียอันตราย  เป็นสนธิสัญญาระดับนานาชาติว่า ด้วยการจำกัดการเคลื่อนย้ายของเสียอันตราย ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศกำลังพัฒนาไปยังประเทศด้อยพัฒนา เพื่อควบคุมการนำเข้า ส่งออกและนำผ่านของเสียอันตรายให้เกิดความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย จุดมุ่งหมายคือลดปริมาณสารพิษที่เกิดจากของเสีย หรือ ขยะ 
ดาวน์โหลด [ลิงค์]

อ่านเพิ่มเติม http://infofile.pcd.go.th/haz/haz20170810_04.pdf?CFID=2965381&CFTOKEN=74042348​

 2) อนุสัญญารอตเตอร์ดัม (Rotterdam Convention) ว่าด้วย กระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมี ล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิด ในการค้าระหว่างประเทศ (Rotterdam Convention on the Prior Informed Consent Procedure for Certain Hazardous Chemicals and Pesticides in International Trade : PIC)       
           เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและรับผิดชอบ ร่วมกันในกลุ่มภาคีสมาชิกการค้าสารเคมีระหว่างประเทศ ในการปกป้องสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากอันตรายของสารเคมี และเพื่อส่งเสริมการใช้สารเคมี อย่างปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม  เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อควบคุมการนำ
เขาการส่งออก สารเคมีอันตรายต้องห้ามหรือจํากัดการใช้อย่างเข้มงวด และสูตรผสมของสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรง โดยได้กำหนดรายชื่อสารเคมีที่ควบคุมภายใต้อนุสัญญา ดาวน์โหลด [ลิงค์]

อ่านเพิ่มเติม http://infofile.pcd.go.th/haz/haz20170810_05.pdf?CFID=2965381&CFTOKEN=74042348​

 3) อนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants: POPs)                
          จุดมุ่งหมายของอนุสัญญาฯ คือ เพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยการลด และ/หรือเลิกการผลิต การใช้และการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ซึ่งเป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งย่อยสลายได้ยากมีคุณสมบัติเป็นพิษต่อมนุษย์และสัตว์ตกค้างยาวนาน สะสมในสิ่งมีชีวิตและสามารถเคลื่อนย้าย ได้ไกลในสิ่งแวดล้อม 

ดาวน์โหลด [ลิงค์]

            4) “อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท” (Minamata Convention on Mercury )

การใช้มาตรการทางกฎหมายระหว่าง ประเทศ และมาตรการต่าง ๆ เพื่อการจัดการปรอท โดย ‘การลดความเสี่ยง’ เป็นแนวทางหลักในการด าเนินงานเพื่อการจัดการ ปรอทระหว่างประเทศในระยะยาว พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศ ต่าง ๆ องค์กรเอกชน และองค์กรประหว่างประเทศ ด าเนินกิจกรรมเพื่อลด ความเสี่ยงจากปรอทในผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิต

สาระสำคัญเกี่ยวกับอนุสัญญาไซเตส (cites) เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด *
 ความเป็นมาของอนุสัญญามินามาตะฯ 
สาระสำคัญเกี่ยวกับอนุสัญญาไซเตส (cites) เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด *
 สถานการณ์เบื้องต้นของปรอท และสาระสำคัญของอนุสัญญามินามาตะฯ 
สาระสำคัญเกี่ยวกับอนุสัญญาไซเตส (cites) เกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด *
 การดำเนินงานของประเทศไทยในการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ

บทความอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท (Minamata Convention on Mercury) 

เอกสารแปลอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท (Minamata Convention on Mercury) 

กลุ่มปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านภูมิอากาศและทรัพยากรธรรมชาติ

 1) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย United Nations Convention to Combat Desertification : UNCCD

          อนุสัญญาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย และบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้งในประเทศที่ประสบภัยแล้ง และ/หรือการแปรสภาพเป็นทะเลทรายอย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปอัฟริกา ด้วยการปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆระดับ โดยความสนับสนุนในรูปของการสร้างความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศ ภายใต้กรอบของการบูรณาการตามแผนปฏิบัติการที่ 21 โดยมองถึงการมีส่วนในความสำเร็จของการพัฒนาการอย่างยั่งยืนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 
ดาวน์โหลด [ลิงค์]

 2) อนุสัญญาสหประชาชาติว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ 1992UNFCCC (United Nations Framework Convention on Climate Change : UNFCCC)                
            จากความกังวลว่า กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ได้ทำให้ระดับก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก การเพิ่มขึ้นนี้ ทำให้ปรากฏการณ์เรือนกระจกในธรรมชาติทวีความรุนแรงขึ้น โดยทำให้พื้นผิวและบรรยากาศของโลกร้อนมากขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศธรรมชาติ เพื่อหาแนวทางยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์  จึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและการแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างประเทศที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ตามหลักการความรับผิดชอบร่วมในระดับที่แตกต่าง (Common but Differentiated Responsibilities) และเป็นไปตามความสามารถและสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 

ดาวน์โหลด [ลิงค์]

(คลิ๊ก) อ่านเพิ่มเติ่มได้ที่สำนักประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาตืและสิ่งแวดล้อม

 3) พิธีสารเกียวโต (Kyoto protocol) ค.ศ.1997 หรือ Convention of Climate Change : The Kyoto protocol 1997      
            ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
การปกป้องรักษาและการขยายแหล่งรองรับและที่กักเก็บก๊าซเรือนกระจก โดยต้องกระทำอย่างสอดคล้องกับข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน การฟื้นฟูป่าและการปลูกป่า การส่งเสริมรูปแบบการเกษตรที่ยั่งยืนโดยการคำนึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการศึกษาวิจัยและส่งเสริมการพัฒนาและเพิ่มการใช้พลังงานในรูปแบบใหม่ๆ โดยใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่รักษาสิ่งแวดล้อมลดหรือเลิกการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสาขาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของอนุสัญญา 
ดาวน์โหลด [ลิงค์]

 4) พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (1989)   
            สนธิสัญญาสากลที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อควบคุม, ยับยั้ง, และรณรงค์ให้ลดการผลิตและการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน เพื่อรักษาชั้นบรรยากาศโอโซนที่เริ่มจะสูญสลายไปเนื่องจากสารเหล่านี้ สนธิสัญญานี้มุ่งไปที่การจำกัดการใช้กลุ่มสารประกอบประเภทไฮโดรคาร์บอน-ฮาโลเจนซึ่งพบว่ามีส่วนสำคัญในการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน โดยสารทำลายชั้นโอโซนทั้งหมดนี้มีส่วนผสมของคลอรีนหรือโบรมีนประกอบอยู่ด้วย (ในขณะที่สารที่ประกอบด้วยฟลูออรีนเท่านั้นจะไม่ทำลายชั้นโอโซน) สนธิสัญญาได้จำแนกสารทำลายชั้นโอโซนออกเป็นกลุ่มๆ โดยแบ่งเป็นตารางเวลาที่ระบุถึงจำนวนปีที่การผลิตสารเหล่านี้จะต้องยุติลงและหมดสิ้นลงไปในที่สุด ดาวน์โหลด [ลิงค์]

 5) อนุสัญญาเวียนนา(The Vienna Convection)              
           อนุสัญญาเวียนนาตั้งขึ้นเพื่อให้นานาประเทศร่วมกันดำเนินการป้องกันชั้นโอโซนในบรรยากาศมิให้ถูกทำลาย และร่วมกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจารูโหว่ของชั้นโอโซน โดยสนับสนุนให้เกิดการวิจัย และความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างประเทศต่างๆ นอกจากนี้อนุสัญญายังประกอบด้วยข้อตกลงระหว่างประเทศที่จะลดและเลิกการใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดการทำลายชั้นโอโซนอีกด้วย 
ดาวน์โหลด [ลิงค์]

 6) ความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน (ASEAN Agreement on Trans boundary Haze Pollution)              
            เป็นความตกลงตอบโต้วิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการถางป่าโดยการเผาในเกาะสุมาตราในอินโดนีเชีย มีผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงต่อมาเลเซีย สิงคโปร์ และบ้างในประเทศไทย  ข้อตกลงนี้เป็นการจัดการระดับภูมิภาคแห่งแรกของโลกที่มีข้อผูกมัดรัฐที่มีพรมแดนติดต่อกันในการจัดการกับปัญหาหมอกควันข้ามแดนอันเป็นผลมาจากไฟป่า นอกจากนี้ยังเป็นแบบอย่างระดับโลกในการจัดการกับปัญหาข้ามพรมแดน 
ดาวน์โหลด [ลิงค์]

กลุ่มสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง

1) อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฏหมายทางทะเล (United Nations Convention on Law of the Sea, UNCLOS)     
             วัตถุประสงค์ คือ ต้องการหาข้อยุติว่าด้วยเขตทางทะเลรัฐชายฝั่งสามารถใช้เขตอำนาจได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือพยายามยับยั้งการขยายแนวความคิดเรื่องปิดทะเล 
ดาวน์โหลด [ลิงค์]

2) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลภาวะทางทะเลเนื่องจากการทิ้งวัสดุเหลือใช้และวัสดุอย่างอื่น ค.ศ. 1972 
            
พิธีสาร 1996 แห่งอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลภาวะทางทะเลเนื่องจากการทิ้งวัสดุเหลือใช้และวัสดุอย่างอื่น ห้ามเรือ อากาศยานต่างๆ ฐานลอยน้ำ หรือสิ่งก่อสร้างในทะเลใดๆ ทิ้งวัสดุที่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยานพาหนะหรือสิ่งก่อสร้างนั้นๆ ลงทะเล ไม่รวมเศษวัสดุที่เกิดจาการแสวงประโยชน์จากสินแร่ใต้ทะเล หรือในกรณีจำเป็นอื่นๆ เช่น การช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ และการเก็บกู้ภัยต่างๆเป็นต้น 
ดาวน์โหลด [ลิงค์]

3) อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันมลภาวะจากเรือ(International Convention for the Prevention of Pollution from Ships : MARPOL)              
            เป็นอนุสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ในการปกป้องรักษาสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งแวดล้อมในทะเลและชายฝั่งให้รอดพ้นจากมลภาวะอันเนื่องมาจากการทิ้งน้ำมันหรือสารที่เป็นอันตรายโดยเจตนา อนุสัญญามีการกำหนดมาตรการป้องกันมลพิษทางทะเลจากการปฏิบัติงานตามปกติของเรือ ยานพาหนะทางน้ำ รวมทั้งแท่นขุดเจาะในทะเลเพื่อสำรวจทรัพยากรต่างๆ นอกจากนี้ยังมุ่งหวังให้ภาคีสร้างความร่วมมือในทางวิชาการเพื่อพัฒนามาตรการป้องกันสิ่งแวดล้อมทางทะเลให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมอีกด้วย 

ดาวน์โหลด [ลิงค์]

4) อนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับการแทรกแซงในทะเลหลวงในกรณี ของความเสียหายจากภาวะมลพิษน้ำมัน ค.ศ. 1969 (International Convention relating to Intervention on the High Seas in case of Oil Pollution Casualties : INTERVENTION 69) และพิธีสาร ค.ศ. 1973 (INTERVENTION Protocol 73)           
             อนุสัญญาฉบับนี้มีบทบัญญัติรับรองสิทธิของรัฐชายฝั่งให้สามารถบังคับใช้มาตรการ ที่จำเป็นต่อการป้องกัน การลดหรือการกำจัดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อรัฐชายฝั่งอันเนื่องมาจาก มลพิษน้ำมันหรือสารอันตรายอื่นๆ ที่ได้เกิดขึ้นจากอุบัติการณ์ในเขตที่เป็นทะเลหลวง 

ดาวน์โหลด [ลิงค์]

5) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการเตรียมการ การปฏิบัติการ และ ความร่วมมือในการป้องกันและขจัดมลพิษน้ำมัน ค.ศ. 1990 (International Convention on Oil Pollution Preparedness, Response and Co-operation 1990 : OPRC 1990)              
             อนุสัญญาฉบับนี้วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรการป้องกันมลพิษจากเรือ
เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในทางระหว่างประเทศเพื่อการป้องกันอุบัติการณ์ที่มี ความรุนแรงหรือสิ่งคุกคามต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล 
ดาวน์โหลด [ลิงค์]

6) อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันภาวะมลพิษอันอาจเกิดขึ้นในทะเลเมดิ เตอร์เรเนียน ค.ศ. 1976 (Convention for the Protection of theMediterranean Sea against Pollution, 1976)  
            ที่กำหนดขึ้นมาเพื่อการป้องกันและ ขจัดภาวะมลพิษที่เกิดขึ้นจากเรือ เครื่องบิน และจากแหล่งอื่นๆ ในการขนส่งทางบกที่ส่งผลกระทบ ต่อทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งรวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการปล่อยทิ้งและการขนถ่ายสินค้าจาก เรือด้วย รัฐภาคีแห่งอนุสัญญานี้ตกลงที่จะร่วมมือและให้ความช่วยเหลือกันในด้านการจัดการ การ ดูแล และการทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภาวะมลพิษซึ่งเป็นผลกระทบมาจาก เหตุการณ์ซึ่งอยู่ในสภาวการณ์ฉุกเฉิน
ดาวน์โหลด [ลิงค์]

7) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุม และการจัดการน้ำอับเฉาเรือและตะกอน ปี ค.ศ. 2004 (International Convention for The Control and Management of ships’ Ballast Water and Sediments, 2004)  
             เพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามต่อระบบนิเวศน์ เศรษฐกิจ และสุขภาพของมนุษย์ องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) ได้จัดทำแนวทางการควบคุมและจัดการน้ำอับเฉาเรือ เพื่อลดหรือจำกัดการเคลื่อนย้ายของสิ่งมีชีวิตที่อาจจะเป็นอันตราย  ลดและขจัดปัญหาการย้ายถิ่นหรือแพร่ระบาด ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์และเชื้อโรคที่เป็นอันตราย (Harmful aquatic organisms and pathogens / Non –indigenous organisms) ที่ติดอยู่ในน้ำอับเฉาเรือ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อระบบนิเวศ ระบบเศรษฐกิจ และสุขภาพอนามัยของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก
ดาวน์โหลด [ลิงค์]

 

อนุสัญญาไซเตส (cites) มีสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องใด

อนุสัญญาไซเตส มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นใจว่า การค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆ ในธรรมชาติ โดยเฉพาะชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์หรือถูกคุกคาม โดยการสร้างเครือข่ายทั่วไปในการควบคุมการค้าระหว่างประเทศทั้งสัตว์ป่าและพืชป่าที่มีชีวิต ซาก และผลิตภัณฑ์

อนุสัญญา cites (อนุสัญญาวอชิงตัน) ดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องใด

อนุสัญญาไซเตส มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง ความมั่นใจว่า การค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิด สัตว์ป่าและพืชป่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อความอยู่ รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆ ในธรรมชาติ โดยเฉพาะชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือถูกคุกคาม โดยการสร้างเครือข่ายทั่วไปใน การควบคุมการค้าระหว่างประเทศทั้งสัตว์ป่า และพืชป่าที่มีชีวิต ซาก และ ...

ไซเตส เป็นอนุสัญญาแบบใด

ไซเตส (CITES) อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ( The Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora ) หรือ เรียกอีกอย่าง หนึ่งว่า อนุสัญญาวอชิงตัน ( Washington Convention ) ประเทศไทยเป็นสมาชิกล าดับที่ 80 โดยลงนามรับรอง อนุสัญญาในปี 2518 และ ...

อนุสัญญาไซเตส (cites) ค.ศ. 1973 มีจุดประสงค์หลักเพื่ออะไร

อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ หรืออนุสัญญาไซเตส (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora: CITES) เป็นข้อตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศสมาชิกที่ร่วมลงนามในอนุสัญญา จัดตั้งขึ้นเมื่อปี .. 1973 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการ ...