ความสำคัญของสะเต็มศึกษา คืออะไร

STEM คืออะไร  มีความสำคัญต่อระบบการศึกษาอย่างไร

STEM เป็นคําย่อของ  Science, Technology, Engineering and Mathematics ซึ่งเริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการประชุมหารือของตัวแทนจากทุกภาคส่วนที่สําคัญของประเทศเพื่อยกระดับคุณภาพของประชากรของประเทศในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศกับนานาชาติ  โดยรัฐบาลได้มีนโยบายการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นแบบการบูรณาการทั้งสี่วิชาเข้าด้วยกัน

ทําให้ในปัจจุบันมีการใช้คําว่าSTEM กันอย่างแพร่หลาย  เนื่องด้วยเหตุผลการให้ความสําคัญของรัฐบาลที่ต้องการส่งเสริมการเรียนการสอนด้านนี้

อย่างไรก็ตามพบว่า  ผู้ใช้ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องนี้อยู่พอสมควร เช่น เข้าใจว่า STEM หมายถึง Science กับ Mathematics เท่านั้น เพราะคนส่วนมากจะคุ้นเคยกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มากกว่า และเนื่องด้วยการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตรทั่วไปจะเน้นที่สองวิชานี้เป็นหลัก นอกจากนั้นยังพบว่ามีคนเข้าใจผิดว่า STEM หมายถึงการคิดค้นหรือพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบใหม่เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในแต่ละสาขาวิชา

ในความเป็นจริงแล้ว STEM จะรวมทั้ง 4 สาขาวิชาเข้าด้วยกัน  ได้แก่

วิทยาศาสตร์ (Science)

เทคโนโลยี (Technology)

วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)

คณิตศาสตร์ (Mathematics)

ความสำคัญของสะเต็มศึกษา คืออะไร

ความสำคัญของสะเต็มศึกษา คืออะไร

โดยทุกสาขาวิชามีความสําคัญเหมือนกันและเป็นการจัดการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการศาสตร์ทั้งสี่ด้านเข้าด้วยกัน  เพื่อให้ผู้เรียนนําความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา การค้นคว้าสิ่งต่างๆ การสร้างหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน เพราะในการทํางานจริงนั้นต้องอาศัยความรู้หลายด้านมาช่วยในการทํางานทั้งสิ้น ไม่ได้แยกใช้ความรู้เป็นส่วนๆ และยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทักษะสําคัญในโลกโลกาภิวัตน์อีกด้วย ซึ่งในอดีตและปัจจุบันก็ยังคงจัดการเรียนการสอนที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน

แนวความคิดหลักของแต่ละองค์ประกอบ STEM

- Science เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ โดยอาศัยกระบวนสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Inquiry) โดยวิทยาศาสตร์ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่ทําให้มนุษย์เราเข้าใจธรรมชาติมากยิ่งขึ้น และในปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาเองมีการปรับปรุง Science K-12 Framework  ใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2555 และได้เผยแพร่เพื่อทําประชาพิจารณ์ออนไลน์ โดยมีการรวมแนวความคิดของ  Technology และEngineering เข้าไปด้วย และได้ยกระดับความสําคัญของ engineering design ให้เท่าเทียมกับ scientific inquiry

- Technology เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทํางานเพื่อแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไข หรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจําเป็นของมนุษย์  โดยกระบวนการแก้ปัญหาหรือการทํางานทางเทคโนโลยีนั้นจะเรียกวา Engineering design หรือ Design process ซึ่งเป็นกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนคล้ายกับ scientific inquiry นั่นเอง และการจัดการเรียนรู้จะอยู่บนพื้นฐานของ problem-based หรือ project-based learning อย่างไรก็ตามคนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าเทคโนโลยีหมายถึง

คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ ICT ต่างๆ เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว จะหมายถึงกระบวนการแก้ปัญหา  หรือทํางานเพื่อสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของคนเราด้วย    โดยประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีสมาคมนักการศึกษาเทคโนโลยีและวิศวกรรม (International Technology and Engineering Educators Association: ITEEA) กําหนดมาตรฐาน (Standard) วิชาเทคโนโลยีให้ผู้สอนได้ใช้สอนใน

ทิศทางเดียวกัน

- Engineering เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอํานวยความสะดวกของมนุษย์โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทํางานทางเทคโนโลยีช่วยสร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ

อย่างไรก็ตาม ในสหรัฐอเมริกาเองพบว่าวิชาวิศวกรรมนั้นยังไม่ได้ปรากฏเป็นที่

ชัดเจนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่จะถูกแฝงเข้าในวิชาเทคโนโลยีมากกว่า

 - Mathematics เป็นวิชาที่มีความสําคัญและมีความชัดเจนในตัวอยู่แล้วด้วยธรรมชาติของคณิตศาสตร์ที่มีทฤษฎีชัดเจน ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์จะเป็นตัวเชื่อมทั้งสามสาขาวิชาเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี

ความจําเป็นของการเกิด STEM education

ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ปัจจุบันขีดความสามารถของประเทศไม่ได้เป็นอันดับหนึ่ง ในหลายๆ ด้านดังที่เคยเป็นมา  หลายๆ ประเทศทั่วโลกมีความก้าวหน้าไปมาก ผลการทดสอบ PISA ของสหรัฐอเมริกาเองก็พบว่า ด้อยกว่าหลายประเทศ รวมทั้งประชากรทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมเองก็มีจํานวนน้อยลง ดังนั้นรัฐบาลจึงได้มีนโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาการศึกษา STEM ขึ้นมา โดยคาดหวัง

ว่าจะช่วยยกระดับผลการทดสอบ PISA ให้สูงขึ้น นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเทคโนโลยีการสื่อการ การขนส่ง การค้า และอื่นๆ มีการติดต่อกันทั่วโลก  ดังนั้นการเตรียมคนรุ่นใหม่เพื่อใหดํารงชีวิตในสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของตามแนวทางของ STEM จะเป็นแนวทางหนึ่งเพื่อการช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานที่จําเป็นในโลกปัจจุบันหรือที่เรากําลังพูดถึงกันอย่างแพร่หลายในชื่อ

21st Century skills ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21 (21st Century skills)

ทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21 มีจุดเริ่มต้นมาจากการประชุมรวมกันของนักวิชาการหลากหลายสาขาในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยรัฐบาลต้องการพัฒนาคุณภาพของประชากรประเทศเพื่อยกระดับขีดความสามารถของประเทศกับนานาชาติและการดํารงชีวิตอยูในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงได้มีข้อสรุปรวมกันว่า ทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ 21 ควรมีอยู่ 3 ด้านหลักๆ ได้แก่

1) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม

ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม

การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา

การสื่อสารและการร่วมมือ

2) ทักษะชีวิตและการทํางาน

ความยืดหยุ่น และความสามารถในการปรับตัว

ความคิดริเริ่มและการชี้นําตนเอง

ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม

การเพิ่มผลผลิตและความรูรับผิด

ความเป็นผู้นําและความรับผิดชอบ

3) ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี

ความรู้พื้นฐานด้านสารสนเทศ

ความรู้พื้นฐานด้านสื่อ

ความรู้พื้นฐานด้านไอซีที

วิดีโอ YouTube

สรุป

 STEM เป็นคําย่อของ Science, Technology, Engineering and Mathematics ซึ่งเริ่มต้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยการประชุมหารือของทุกภาคส่วนที่สําคัญของประเทศ  เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศกับนานาชาติ โดยรัฐบาลได้มีนโยบายการศึกษาที่จะส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นแบบบูรณาการทั้งสี่ วิชาเข้าด้วยกัน โดยแต่ละวิชามีความสําคัญเหมือนกันและจะมีแนวความคิดหลักของตนเอง การจัดการเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนนําความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา การค้นคว้าสิ่งต่างๆ การสร้างหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ดวยครูหลายสาขาร่วมมือกัน

การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเทคโนโลยีการสื่อสาร การขนส่ง การค้า และอื่นๆ มีการเข้าถึงกันทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการเตรียมคนรุ่นใหม่ให้มีทักษะที่จําเป็น (21st century skills) เพื่อให้ดํารงชีวิตในสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงมีความจําเป็นอย่างยิ่ง

เอกสารอ้างอิง

http://mcpswis.mcp.ac.th/html_edu/cgi-bin/mcp/main_php/print_informed.php?id_count_inform=13848

นักเรียนคิดว่าสะเต็มศึกษามีความสำคัญอย่างไรในชีวิตประจำวัน

หัวใจสำคัญของ STEM Education หรือ "สะเต็มศึกษา" อยู่ที่การส่งเสริมให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง เรียนรู้จากประสบการณ์ดังกล่าวเพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอด โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล มีตรรกะ และเป็นระบบ นอกจากนี้ การได้ลงมือทำด้วยตัวเองจะช่วยให้การเรียนมีความ ...

สเต็มศึกษาคืออะไร

สะเต็มศึกษา (STEM Education) STEM Education คือการสอนแบบบูรณาการข้าม กลุ่มสาระวิชา (Interdisciplinary Integration) ระหว่าง ศาสตร์สาขาต่างๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science: S) เทคโนโลยี (Technology: T) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineer: E) และ คณิตศาสตร์ (Mathematics: M) โดยนาจุดเด่นของธรรมชาติ ตลอดจนวิธีการสอนของแต่ ละสาขาวิชามา ...

ประโยชน์ของการเรียนสะเต็มศึกษามีอะไรบ้าง

สะเต็มศึกษาให้อะไร.
ผู้เรียนมีทักษะการวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหาในชีวิตจริงและสร้างนวัฒนกรรมที่ใช้สะเต็มเป็นพื้นฐาน.
ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และมองเห็นเส้นทางการประกอบอาชีพในอนาคต.
ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีสูงขึ้น.
ครูสามารถออกแบบและจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาอย่างมั่นใจ.

สะเต็มทำอะไรดี

STEM คือกิจกรรมที่ไม่เพียงสนุกสนาน ท้าทาย ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่ยังเป็นกิจกรรมที่ปลูกฝังพื้นฐานการคิดอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ลองมาดูกันค่ะว่าประโยชน์ของ STEM มีอะไรอีกบ้าง.
เครื่องบินกระดาษ ... .
วิทยาศาสตร์ของคุกกี้ ... .
น้ำพุโคล่า ... .
เสากระดาษทรงพลัง ... .
ไข่ไร้เปลือก.