แผนพัฒนาท้องถิ่นมีความสำคัญอย่างไร

วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนพัฒนา 3 ปี

1. เพื่อให้การบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน โดยมีแผนพัฒนาเป็นเครื่องมือช่วยผลักดัน และสนับสนุน
2. เพื่อแสดงความสัมพันธ์เชื่อมโยงและสอดคล้องกันระหว่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา และการจัดทำงบประมาณประจำปี
3. เพื่อแสดงแนวทางและทิศทาง รวมทั้งเพื่อเป็นการประเมินผลการพัฒนาในช่วงเวลาสามปี
ว่าสามารถสนองตอบ  ต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายหรือไม่
4. เพื่อเป็นการจัดเตรียมแผนงาน โครงการพัฒนาต่าง ๆ ให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมจะบรรจุในเอกสารข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ทันทีที่ได้รับงบประมาณ


บทความนี้ เป็นการอธิบายถึง ความสำคัญของประชาคมท้องถิ่นในกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญอันจะนำไปสู่การนำแผนพัฒนาไปสู่การปฏิบัติ เนื่องจากการพัฒนาท้องถิ่นจะต้องมีแผนพัฒนาเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาท้องถิ่นจึงจะสามารถจัดทำงบประมาณในการพัฒนาในแต่ละด้านจนประสบผลสำเร็จเป็นไปแผนพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งกระบวนการในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นนั้น สิ่งสำคัญประการแรกคือการค้นหา ปัญหาและความต้องการของประชาชนโดยผ่านเวทีประชาคมท้องถิ่น อันประกอบด้วยผู้นำชุมชน ตัวแทนองค์กรต่างๆ รวมถึงประชาชน ตามสัดส่วนที่กฏหมายกำหนด จึงจะสามารถนำปัญหาและความต้องการเหล่านั้นบรรจุไว้ในแผนพัฒนาท้องถิ่นต่อไปได้ การจัดทำให้แผนพัฒนาท้องถิ่นเป็นแผนพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นจะต้องได้รับการกลั่นกรองให้ครอบคลุมในทุกด้าน ฉะนั้น การสร้างองค์ความรู้ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นให้กับประชาคมท้องถิ่นได้รับทราบนั้น จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการที่จะเป็นแนวทางให้การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น เป็นไปตามกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น และสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่  

ดังนั้น การสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในการจัดเวทีประชาคมและส่งเสริมให้ประชาชนเข้าร่วมในการเสนอปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ในเวทีประชาคม เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ออกมาแสดงความคิดเห็นทั้งในด้านการพัฒนาท้องถิ่นให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และเปิดโอกาสให้มีการเสนอปัญหาและความต้องการเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ประชาคมท้องถิ่นจึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญประการแรกในการที่จะกำหนดทิศทางการพัฒนาให้เกิดขึ้นและสามารถเป็นตัวกำหนดนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่นให้เป็นไปตามความต้องการเนื่องจากแผนพัฒนาท้องถิ่นนั้นเกิดจาการระดมความคิดเห็นและผ่านการกลั่นกรองตามกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ทำให้แผนพัฒนาท้องถิ่นนั้นมีประสิทธิภาพสามารถนำไปเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม

บทนำ

แผนพัฒนาท้องถิ่นมีความสำคัญอย่างไร
|
แผนพัฒนาท้องถิ่นมีความสำคัญอย่างไร
| ฮิต: 7473

ส่วนที่  ๑

บทนำ 

แผนพัฒนาท้องถิ่น   เป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนา   การนำปัญหาความต้องการของท้องถิ่นมาพิจารณาและวิเคราะห์ปัญหา  เพื่อมากำหนดจุดมุ่งหมาย  ภารกิจ  และแนวทางในการทำงานอย่างเป็นระบบ  การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา  โดยคำนึงถึงผลกระทบที่ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับและความต้องการของประชาชนรวมทั้งนโยบายของท้องถิ่นนั้น  ซึ่งจะช่วยให้การกำหนดแผนงาน/โครงการของท้องถิ่นมีทิศทางที่สอดคล้องกัน  และสนองตอบต่อปัญหาความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริงนอกจากนี้ทั้งเป็นการบริหารงบประมาณที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย

ลักษณะของแผนพัฒนาสามปี

การจัดทำแผนพัฒนาสามปี  เป็นการดำเนินการตามขั้นตอน  กระบวนการและระเบียบกระทรวงมหาดไทย  ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ.๒๕๔๘  ในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีนี้  เป็นการแปลงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา  ซึ่งเป็นแผนแม่บทของการพัฒนาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติ  โดยมีหลักคิดที่ว่า  ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาหนึ่ง ๆ  จะมีแนวทางการพัฒนาได้มากกว่าหนึ่งโครงการ/กิจกรรมที่จะต้องนำมาดำเนินการเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการในแต่ละยุทธศาสตร์การพัฒนา  ซึ่งจะมีผลต่อวัตถุประสงค์  เป้าหมาย  จุดมุ่งหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน  และวิสัยทัศน์ในที่สุด

 

วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี

๑.  เพื่อแสดงความเชื่อมโยงและสอดคล้องกันระหว่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแผนพัฒนาสามปี และงบประมาณรายจ่ายประจำปี

๒.  เพื่อแสดงยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในแต่ละปี โดยมีความสอดคล้องและสามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา

๓.  เพื่อจัดเตรียมโครงการต่าง ๆ ในลักษณะที่พร้อมจะบรรจุลงในงบประมาณรายจ่าย ประจำปี และนำไปปฏิบัติได้ทันทีเมื่อได้รับงบประมาณ

 

ขั้นตอนในการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาสามปี 

ขั้นตอนที่ ๑ การเตรียมการจัดทำแผน

๑.  หน่วยงานที่รับผิดชอบเสนอโครงการจัดทำแผนพัฒนาสามปีผ่านปลัดเทศบาลเพื่อพิจารณานำเสนอนายกเทศมนตรีอนุมัติโครงการ

๒.  หน่วยงานที่รับผิดชอบ แจ้งโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น หน่วยงานภายในขององค์กร            ปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาคม

 

ขั้นตอนที่ ๒ การเก็บรวบรวมข้อมูล

คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นดำเนินการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของท้องถิ่น รวมทั้งยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา

 

ขั้นตอนที่ ๓ การวิเคราะห์ข้อมูล

๑.  การประเมินผลการพัฒนาท้องถิ่นในรอบปีที่ผ่านมา

คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นในรอบปี ที่ผ่านมาและนำเสนอต่อที่ประชุมเวทีประชาคม ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้แทนจากองค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน และองค์กรภาคประชาชน เพื่อประเมินผลการพัฒนาท้องถิ่นในรอบปีที่ผ่านมาทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ

๒.  คัดเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี

หลังจากการประเมินผลการพัฒนาในรอบปีที่ผ่านมาแล้ว ให้ที่ประชุมตามข้อ  ๑ ร่วมกันคัดเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน / ประชาคมในช่วงสามปี รวมทั้งคัดเลือกแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปีที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ แล้วนำมาจัดลำดับความสำคัญของแนวทางการพัฒนาที่จะต้องดำเนินการก่อน –  หลัง 

 

ขั้นตอนที่  ๔  การกำหนดวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนา 

หลังจากได้แนวทางการพัฒนาในช่วงสามปีแล้ว   คณะกรรมการพัฒนาเทศบาล  ประชาคมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาคัดเลือกวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี  มาจากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อจัดทำเป็นวัตถุประสงค์ของแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี  หลังจากนั้นกำหนดโครงการ/กิจกรรมพัฒนาที่ต้องการดำเนินการตามแนวทางที่คัดเลือก

ขั้นตอนที่  ๕  การจัดทำรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม 

คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลพิจารณาคัดเลือกโครงการที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปีมาจัดทำรายละเอียดโครงการในด้านเป้าหมาย  ผลผลิต  ผลลัพธ์  งบประมาณ  ระยะเวลา  ผู้รับผิดชอบ  และตัวชี้วัดความสำเร็จ  โดยเน้นรายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการในปีแรกของแผนพัฒนาสามปี  เพื่อให้สามารถนำไปสู่การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป

 

ขั้นตอนที่ ๖ การจัดทำร่างแผนพัฒนาสามปี

๑.  คณะกรรมการพัฒนาจัดเวทีประชาคม  ซึ่งร่วมกับ ประชาคมท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  กำหนดประเด็นหลักการพัฒนาให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์  พันธกิจ  และจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนารวมทั้งสอดคล้องกับปัญหาความต้องการของประชาคมและชุมชนโดยให้นำข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา จากหน่วยต่างๆและข้อมูลในแผนชุมชนมาพิจารณาประกอบการจัดทำแผนพัฒนาสามปี

๒. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นจัดทำร่างแผนพัฒนาสามปี โดยมี          เค้าโครง ประกอบด้วย  ๖   ส่วน  ดังนี้

ส่วนที่   ๑  บทนำ 

ส่วนที่   ๒  สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 

ส่วนที่   ๓  สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นในปีที่ผ่านมา

ส่วนที่   ๔  ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในช่วงสามปี 

ส่วนที่ ๕  บัญชีโครงการพัฒนา

ส่วนที่   ๖  การนำแผนพัฒนาสามปีไปสู่การปฏิบัติและติดตามประเมินผล 

๓. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลนำร่างแผนพัฒนาสามปีที่ปรับปรุงแล้วเสนอคณะกรรมการพัฒนาเทศบาลเพื่อพิจารณา

 

ขั้นตอนที่ ๗ การอนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี 

๑. คณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นนำร่างแผนพัฒนาสามปีท้องถิ่น เสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อพิจารณาโดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม

๒. ผู้บริหารท้องถิ่นพิจารณาอนุมัติ / ประกาศใช้แผนพัฒนาสามปี ทั้งนี้ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน

๓. เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ประกาศใช้แผนพัฒนาสามปีแล้ว  ให้ผู้บริหารท้องถิ่น    ส่งแผนพัฒนาสามปีให้คณะกรรมการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นระดับอำเภอ เพื่อดำเนินการต่อไป

ประโยชน์ของการจัดทำแผนพัฒนาสามปี  

๑. เป็นกรอบและแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาท้องถิ่นในแต่ละปีให้เกิด             ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

๒. ช่วยให้เทศบาลสามารถกำหนดและคัดเลือกโครงการที่เหมาะสม และมีความเป็นไปได้     สูงสุดในการดำเนินการ

๓. เป็นมาตรการที่แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์การพัฒนา แผนพัฒนาสามปี และงบประมาณรายจ่ายประจำปี