ขั้นตอนใดคือขั้นตอนสูงสุดในพิธีไหว้ครู

เพลงหน้าพาทย์ประกอบพิธีไหว้ครู
                                      การแสดงโขน-ละคร หรือเล่นมหรสพต่างๆ  ก็จะต้องมีการไหว้ครู ซึ่งถือเป็นธรรมเนียม และเคล็ดลางในปฏิบัติด้วย
ความเคารพบูชา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์บันดาลศิลปินเรียกว่า” ครู” เป็นสำคัญไม่ว่าจะเทพเจ้าบนสรวงสวรรค์ตลอดจนพระฤษีผู้ทรงญาณ
ศิลปินนั้นตระหนักด้วยความเคารพบูชา และนบน้อมกตัญญูกตเวทีตอครู  ฉะนั้นก่อนที่จะทำฝึกหัดท่ารำที่เรียกกันว่า  การฝึกหัดเบื้องต้น
เช่นเพลงช้าเพลงเร็วของพระนาง  หรือการฝึกหัดแม่ท่ายักษ์-ลิง ตลอดจนการฝึกหัดตรีนั้น   ผู้รับการฝึก  ครู  อาจารย์จะให้นำดอกไม้ธูปเทียน
มาเคารพบูชาครูเสียเบื้องต้นก่อน  โดยครู  อาจารย์  จะเป็นผู้กล่าวนำในสิ่งผู้เป็นมงคล  เช่นขอขมาลาโทษถ้าการฝึกหัดนั้นมีสิ่งผิดพลาด
ขอประทานอภัยด้วย  และขณะเดียวกันก็ขอให้ครูช่วยส่งเสริมสติปัญญาให้มีความจดจำกระบวนท่ารำที่ครูต่อให้  ให้จำได้ทุกกระบวนท่า
และเมื่อมีการฝึกซ่อมจนมีความชำนาญ  พอจะออกเป็นเสนายักษ์  ลิง  นางกำนัน  หรือทางดนตรีร่วมวงบรรเลงโหมโรงได้จบก็จะต้อง
ทำการไว้ครูและมอบเสียก่อน
                                      พิธีไหว้ครูได้กำหนดให้ทำการในวันพฤหัสบดี  ซึ่งถือเป็นวันครู  เนื่องจากครู  อาจารย์  ทางนาฏศิลป์ดนตรี
ถือว่าว่าเพลงหน้าพาทย์ต่างๆ  เพลงและท่ารำมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ  ฉะนั้นผู้รำและผู้บรรเลงจะต้องผ่านการไหว้ครูและไหว้ครู
และครอบเสียก่อนมิฉะนั้นจะถือว่า  “  ครู”  หรือ “แรงครู”  ด้วยเหตุนี้วิทยาลัยนาฏศิลป์กรรมศิลปากรจึงกำหนดพิธีไหว้ครู
และพิธีครอบขึ้นเป็นงานใหญ่ๆประจำปี  ละ 1 ครั้ง  และนั้นก่อนที่จะถึงวันไหว้ครูนั้นทางวิทยาลัยนาฏศิลป์  จะต้องทำการจัดสถานที่ไหว้ครู
จัดศีรษะครู  อาจารย์มาตั้งไว้จัดหาเครื่องสังเวย  พบถึงวันพฤหัสบดีทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมที่จะประกอบพิธีได้ก่อนที่จะประกอบพิธีไหว้ครูนั้น
จะต้องจัดพิธีการทางศาสนา  คือพระสงฆ์  พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์  เลี้ยงอาหารพระสงฆ์  เสร็จแล้วอนุโมทนา  อุทิศส่วนกุศลให้แก่อาจารย์
ตลอดจนเทพยดาต่างๆ  ต่อจากนั้นก็เริ่มพิธีไหว้ครูการไหว้ครูนั้นเป็นผู้ประธานประกอบพิธีไหว้ครูได้จัดขั้นตอนไว้ ดังนี้
                                      ขั้นตอนที่ ๑  เชิญประธานในงานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย  ปี่พาทย์บรรเลงเพลงสาธุการซึ่ง
หมายถึงการบูชาพระรัตนตรัย
                                      ขั้นตอนที่ ๒ ประธานผู้ประกอบพิธีไหว้ครูซึ่งแต่งชุดขาวเข้ามาก็เริ่มต้นพิธีโดยเรียกเพลงหน้าพาทย์ตามระดับดังนี้
ช่วงนี้สมบัติผู้ทำพิธีนั้นเป็นแค่ผู้อ่านโองการ โดยการเชิญเทพยดา ครู อาจารย์ ซึ่งเปรียบเสมือนกับพราหมณ์ผู้ประกอบพิธีหลวง

ลำดับการบรรเลงและความหมายของเพลงหน้าพาทย์ประกอบพิธีไหว้ครูนาฏศิลป์โขน ละคร

ลำดับที่

เพลงหน้าพาทย์

ความหมาย

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25

   เพลงโหมโรง
   เพลงสาธุการกลอง
   เพลงตระเชิญ
   เพลงตระนารายณ์บรรทมสินธุ์
   เพลงสี่บท
   เพลงเหาะ
   เพลงโคมเวียน
   เพลงช้า  เพลงเร็ว
   เพลงเชิดฉิ่ง
   เพลงแผละ
   เพลงโล้
   เพลงกราวตะลุง
   เพลงคุกพาทย์
   เพลงตระปรคนธรรพ
   เพลงกลม
   เพลงเสมอสามลา
   เพลงกราวนอก
   เพลงรุกร้น
   เพลงเสมอข้ามสมุทร
   เพลงบาทสกุณี
   เพลงชำนาญ
   เพลงกราวใน
   เพลงเสมอมาร
   เพลงตระบองกัน
   เพลงรัวสามลา

   เชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เสด็จลงมาในพิธี
   บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์
   เชิญพระอิศวร
   เชิญพระนารายณ์
   เชิญพระพรหม
   เชิญเทพที่เหาะเหินเดินอากาศ
   เชิญเทพบุตรและนางฟ้าที่มาเป็นหมวดหมู่
   เชิญครูโขน  ละคร (พระ  นาง)
   เชิญนางเมขลา
   เชิญครูที่อยู่ในอากาศ
   เชิญครูที่อยู่ในน้ำ
   เชิญครูโนห์รา
   เชิญพระคเณศร์
   เชิญครูตะโพนหรือครูหน้าทับ
   เชิญพระปัญจสีขร (ครูทางดีดสีตีเป่า)
   เชิญพระวิษณุกรรม (ครูทางช่าง)
   เชิญครูนาฏศิลป์ทางฝ่ายขวามือ
   เชิญครู พระ  ลิง  มนุษย์
   เชิญครู พระ  ลิง  มาเป็นหมวดหมู่
   เชิญครูพระราม พระลักษมณ์ พระพรต พระสัตรุด
   เชิญครูนาง (โขน)
   เชิญครูนาฏศิลป์ทางฝ่ายซ้ายมือ
   เชิญทศกัณฐ์และพญามารทั้งหลาย
   เชิญครูฝ่ายยักษ์หรืออสูร
   เชิญครูฝ่ายอสูรที่มีอิทธิฤทธิ์

ลำดับที่

เพลงหน้าพาทย์

ความหมาย

 26
27
28
29
30
31
32
33

34

35
36
37
38

   เพลงเสมอผี
   เพลงดำเนินพราหมณ์
   เพลงองค์พระพิราพ
   เพลงตระสันนิบาต
   เพลงเสมอเข้าที่
   เพลงนั่งกิน
   เพลงเซ่นเหล้า
   เพลงเสมอสามลา

   เพลงโปรยข้าวตอก

   เพลงพราหมณ์ออก
   เพลงพระเจ้าลอยถาด
   เพลงกราวรำ
   เพลงเชิด

   เชิญครูผีทั้งหลาย
   เชิญครูฤษีชีพราหมณ์
   เชิญครูพระพิราพ
   เชิญครูเทพมาร่วมประชุมทุกพระองค์
   เชิญครูทั้งหลายเข้าประทับตามที่ที่ได้จัดเตรียมไว้
   เชิญครูทั้งหลายลงนั่งกินเครื่องสังเวย
   เชิญครูดื่มเครื่องสังเวยที่เป็นน้ำ
   เชิญพระภรตฤาษีเสด็จมาเพื่อประกอบพิธี
   (เสร็จสิ้นพิธีครอบ  รับมอบ  ก็จะบรรเลงเพลง
     หน้าพาทย์เป็นการสักการะและส่งครู)
   การสักการะบูชาเทพยดา  ครู  อาจารย์  ด้วยข้าวตอก
   ดอกไม้
   การเสด็จกลับของพระภรตฤาษี
   การแสดงความยินดี
   การดีใจในการที่สำเร็จสมประสงค์
   การส่งเสด็จ

                ขั้นตอนที่ ๓  ประธานในพิธีสมมติตัวเองเป็นพระภรตฤษี โดยการอัญเชิญศีรษะพระภรตฤษีมาสวมที่ศีรษะตัวเองถือไม้เท้าเดินออกมา
และหันหน้ามาทางโต๊ะเครื่องสังเวย และหน้าครูต่างๆ ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ “ดำเนินพราหมณ์” หรือพราหมณ์เข้าสุดแล้ว
แต่ผู้เป็นประธานพิธีจะเรียก เพราะประธานพิธีบางคมไม่ได้เพลงหนึ่งเพลงใดก็จะเรียกเพลงที่ตัวเองได้มา เมื่อรำเพลงจบแล้วก็หันมา
ถามบรรดาสานุศิษย์ว่า “บรรดาศิษย์เก่าและศิษย์เก่าและศิษย์ใหม่มาพร้อมกันแล้วหรือ” บรรดาสานุศิษย์ก็จะขานรับพร้อมกันว่า
“พร้อมแล้วเจ้าค่ะ-ครับ” องค์พระฤษีก็ขึ้นประทับบนแท่นและก็ดำเนินการต่อไป คือ การครอบ และการมอบ เมื่อจบการครอบและมอบแล้ว
พระฤษีก็จะออกมายืน แล้วกล่าวคำอำลาพร้อมให้ศีลให้พรแก่บรรดาลูกศิษย์ทุกคน และเดินออกจากโรงพิธีด้วยเพลง “พราหมณ์ออก”
แล้วก็ติดตามด้วยเพลงหน้าพาทย์ต่างๆ เช่น
                ๑. โปรยข้าวตอกดอกไม้ หมายถึง ครูและศิษย์รำแล้วโปรยข้าวตอกดอกไม้เป็นการอวยชัย
                ๒. เชิด หมายถึง ครูตามสำนัก ที่อยู่
                ๓. พระเจ้าลอยถาด หมายถึง เครื่องสังเวยที่เหลือก็ใส่ถาดลอยไปเป็นอาหารของสัตว์ต่อไป
                ๔. กราวรำ หมายถึง แสดงความยินดีที่พิธีการได้ลุล่วงไปด้วยดี
                ๕. เชิด หมายถึง เสร็จพิธีการ
                จากการที่กล่าวถึงเพลงหน้าพาทย์ประกอบการไหว้ครูมาแล้วนั้น มีข้อสังเกตประการหนึ่งก็คือการเรียกเพลงหน้าพาทย์ของผู้เป็น
ประธานประกอบพิธีจะเรียกไม่คอยเหมือนกัน ผู้เขียนเองได้ร่วมพิธีกรรมนี้มามากพอสมควรก็มีความคิดที่ว่าน่าจะเรียกให้เหมือนๆกัน เพราะผู้เป็นประธานประกอบพิธีแต่ละท่านก็กรมศิลปากรก็ได้รับพระราชทานตำราเล่มเดียวกันจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน
ในคราวที่ประกอบพิธีใหญ่ ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรดารโหฐาน ในวันพฤหัสบดี ที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๓๗ นอกจากการเรียกเพลง
หน้าพาทย์ที่ไม่เหมือนกันแล้ว ขั้นตอนในการดำเนินการประกอบพิธีไหว้ครูก็ไม่ค่อยจะเหมือนกัน ต่างคนก็มีความคิดเป็นของตนเองจึงทำให้ผู้เข้าร่วมพิธีโดยเฉพาะผู้เขียนเองมีความสบสนเป็นอย่างมากยึดหลักเกณฑ์ของใครไม่ได้ ผู้เขียนมีความคิดว่าเฉพาะการเรียกเพลงหน้าพาทย์นั้นน่าจะเรียกความหมายของเพลงเป็นลำดับไปหรือตามภาษานาฏศิลป์เรียกว่าควร
จะดำเนินเรื่องให้สอดคล้องกันไปไม่ควรเรียกกระโดดไปกระโดดมา โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ ความหมายของเพลงแล้วก็จะเกิด
ความสับสนอย่างที่กล่าวมาข้างต้น ฉะนั้นตามที่ผู้เขียน เขียนเพลงหน้าพาทย์ประกอบการไหว้ครูมานี้ก็ยังไม่ถือว่าเป็นเกณฑ์ตายตัวใน
การเรียกเพลงหน้าพาทย์ประกอบพิธีไหว้ครูเพียงเพื่อเป็นแนว
ทางในการศึกษาพิธีกรรมในการประกอบพิธีไหว้ครูนั้นมีอะไรบ้างเท่านั้น

ข้อใดคือขั้นตอนแรกของพิธีไหว้ครู

ตอนที่1 พิธีสวดมนต์เย็น หมายถึง พิธีสงฆ์ที่มักนิยมทำกันก่อนวันไหว้ครู1 วัน เพื่อความเป็นสิริมงคล โดยในวันนี้ จะต้องจะเตรียมสถานที่และสิ่งต่างๆที่จำเป็นให้เรียบร้อย แล้วจึงนิมนต์พระ 9 รูป มาทำพิธีสวดมนต์เย็นในโรงพิธี ดังกล่าวก่อนเริ่มวันไหว้ครู

พิธีไหว้ครูมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

เมื่อประธานมาถึง ให้กราบทำความเคารพ จนกว่าคุณครูทุกท่านจะผ่านไปหมดทุกคน.
ให้ประธานจุดธูปเทียน นมัสการพระพุทธรูปที่แท่นหมู่บูชา.
เริ่มพิธีโดยการสวดมนต์ ตามด้วยเจิมหนังสือเพื่อความเป็นสิริมงคล.
หลังจากนั้นกล่าวคาถาไหว้ครู และวรรคแรกของคำไหว้ครู.
เมื่อกล่าวคำไหว้ครูเสร็จแล้ว ให้ว่าคาถาไหว้ครูตอนท้าย.

ข้อใดคือจุดมุ่งหมายสูงสุดของพิธีไหว้ครู

จุดมุ่งหมายของการไหว้ครู 1. เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ด้วยการถวายเครื่องสักการะ พลีกรรมแก่ปรมาจารย์ทั้งหลายทั้งปวง ที่มาประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้แก่ศิษย์ 2. เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดความมั่นใจในการเรียนนาฎศิลป์เป็นอย่างดี เมื่อได้ผ่านพิธีกรรมมาแล้ว

พิธีไหว้ครูนาฏศิลป์มีขั้นตอนอย่างไร

พิธีไหว้ครูโขน ละคร ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๔ ส่วน คือ ครูผู้กระทำพิธีไหว้ครู (ตัวแทนพระภรตฤษี) ศีรษะโขน (ตัวแทนครูโขน ละคร ) เครื่องสังเวย เครื่องเซ่น เครื่องกระยาบวช เครื่องบูชา และปี่พาทย์เครื่องใหญ่ หรือ ปี่พาทย์เครื่องคู่ การไหว้ครูนาฏศิลป์ โขน ละครนั้น มีพิธีถึง ๓ ขั้นตอน คือ พิธีไหว้ครู พิธีครอบครู และพิธีรับมอบ ...