ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอย่างไร

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอาณาบริเวณที่มีความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ ภาษา และวัฒนธรรม และมีความสำคัญในทางเศรษฐกิจและการเมืองแห่งหนึ่งของโลก พลวัตทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอาณาบริเวณนี้มักจะถูกอธิบายว่าส่วนหนึ่งเกิดจากอารยธรรม ความทันสมัยอันเนื่องมาจากลัทธิอาณานิคมและการพัฒนาที่มาจากประเทศที่พัฒนาแล้ว  แต่ส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งมาจากพลังของกระบวนการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ ที่ผนวกรวมและผสมกลมกลืนกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายให้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติที่มีอัตลักษณ์หนึ่งเดียว พร้อมกับจำแนก และแบ่งแยกกลุ่มชาติพันธุ์ให้เป็นคนอื่นภายในรัฐชาติ ซึ้งในบางกรณีนำไปสู่ความขัดแย้งและการใช้ความรุนแรงรูปแบบต่างๆ

กระแสโลกาภิวัตน์กว่าสามทศวรรษที่ผ่านมาได้เปิดพื้นที่ใหม่ให้ แก่ทุน ผู้คน สินค้า เทคโนโลยี ความคิดใหม่ๆ สามารถข้ามพรมแดนได้ง่าย และกว้างขวางกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงดังกว่าทำให้เกิดการแย่งชิงและความขัดแย้งในการเข้าถึงทรัพยากร เพิ่มปัญหาความไม่ยุติธรรมทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และปัญหาอื่นๆ ตามมา ในขณะเดียวกันกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ต่างก็พยายามต่อสู้ดิ้นรนประกอบสร้างอัตลักษณ์ และเรียกร้องสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากรและสิทธิทางวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น ดังนั้นการชาติพันธุ์ศึกษาจึงต้องหันมาทบทวน และแสวงหาทิศทางใหม่เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจกัชะตากรรมของกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้เสียใหม่

ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา แต่เดิมนั้นเป็นหน่วยงานระดับกลุ่มงานวิจัยในสังกัดสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2538 ด้วยตระหนักถึงการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการพัฒนาทั้งในระดับชาติและกระแสโลกาภิวัตน์ที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้ ตลอดจนในช่วงกลางทศวรรษที่ 2530 ประเทศไทยได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระแสบูรณาการทางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นับแต่นั้น เป็นต้นมาศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา จึงได้ขยายขอบเขตการทำงาน เพื่อศึกษาปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศเหล่านี้มากขึ้น รวมทั้งยังมีบทบาทในการสนับสนุนความเคลื่อนไหวของหน่วยงานและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานกับกลุ่มชาติพันธุ์ ตลอดจนได้จัดทำโครงการอาสาสมัครชาวเขา เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนชาวเขาได้เรียนรู้แนวคิดในการพัฒนา สนับสนุนการวิจัยที่สามารถนำไปสู่การสร้างความรู้และความเข้มแข็งของชุมชนชาติพันธุ์อีกด้วย

เพื่อให้ศูนย์ชาติพันธ์และการพัฒนาดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพกับทั้งพัฒนาบุคลากร นักวิจัย ให้มีพื้นฐานความรู้ในด้านชาติพันธุ์สัมพันธ์และสามารถทำงานวิจัย และวิเคราะห์ปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ได้อย่างเป็นระบบ ในปี พ.ศ. 2552 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ขอให้โอนงานศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนาจากสถาบันวิจัยมาสังกัดคณะสังคมศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อขยายงานวิจัยด้านชาติพันธุ์ให้กว้างขวางมากกว่าเดิม กับทั้งบูรณาการงานด้านการวิจัยเข้ากับการเรียนการสอนในระดับหลังปริญญา โดยศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนาได้รับการยกฐานะให้เป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 เป็นต้นมา


วัตถุประสงค์ของศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา

  1. เพื่อดำเนินการการวิจัย ผลิตบัณฑิต และการจัดฝึกอบรมด้านชาติพันธุ์ศึกษา อันจะนำไปสู่ความเข้าใจถึงประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ อัตลักษณ์ และการปรับตัวของกลุ่ม ชาติพันธุ์ในบริบทของการพัฒนา
  2. เพื่อสร้างความร่วมมือในด้านงานวิจัยและงานพัฒนาด้านชาติพันธุ์กับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทย ประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และนานาประเทศ
  3. สร้างคลังข้อมูลเอกสารและสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนงานด้านการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในภาคเหนือของประเทศไทยและบริเวณประเทศเพื่อนบ้าน
  4. เพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีและการยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในสังคม กับทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันจะนำไปสู่ความสมานฉันท์ของคนในชาติ

ภารกิจของศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา 

1. ด้านการเรียนการสอน
ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์ฯได้เปิดการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาในเเขนงชาติพันธุ์สัมพันธ์และการพัฒนาโดยหลักสูตรนี้ให้ความสำคัญต่อแนวคิดทฤษฎีด้านชาติพันธุ์สัมพันธ์ และการเรียนรู้จากการวิจัยภาคสนาม เพื่อให้ผู้ที่ผ่านหลักสูตรนี้เป็นมหาบัณฑิตที่มีความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เข้าใจและรู้จักนำเอาแนวคิดทางทฤษฎีมาใช้อย่างเหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงปัญหาต่างๆที่กลุ่มชาติพันธุ์เผชิญอยู่ และสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้เพื่อการสร้างสรรค์สังคมพหุวัฒนธรรม

2. ด้านการวิจัย
การวิจัยเป็นภารกิจที่ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์ฯ ให้ความสำคัญอย่างมาก งานวิจัยนี้จะเชื่อมต่อกับงานด้านการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาเเขนงชาติพันธุ์สัมพันธ์และการพัฒนา ประเด็นด้านงานวิจัยที่ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์ฯ ให้ความสนใจคือ ประเด็นการดำรงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง ระบบนิเวศ และวัฒนธรรม โดยให้ความสำคัญกับประเด็นความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ ชาติพันธุ์กับนโยบายของรัฐสิทธิทางวัฒนธรรม และสิทธิพลเมืองในบริบทของรัฐชาติและในประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับงานวิจัยด้านนโยบายที่ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกลุ่มชาติพันธุ์และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม ทั้งนี้ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์ฯ เน้นการวิจัยที่สะท้อน “เสียง” ของกลุ่มชาติพันธุ์ และส่งเสริมให้กลุ่มชาติพันธุ์มีส่วนร่วมในการวิจัย หรือทำวิจัยด้วยตนเอง

3. ด้านการประชุมวิชาการสัมมนา และฝึกอบรม
ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์ฯ ตระหนักถึงการสร้างพื้นที่การแลกเปลี่ยนทางวิชาการทั้งระหว่างนักวิชาการด้วยกันเอง นักวิชาการกับชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับต่างๆ เพื่อนำไปสู่การสร้างความรู้ความเข้าใจ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเด็นที่เกี่ยวกับการพัฒนา สิทธิทางวัฒนธรรม ภาษา ภูมิปัญญาและการรื้อฟื้นภูมิปัญญา ทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพชาติพันธุ์ในรูปแบบต่างๆ เช่นการประชุมวิชาการสัมมนา เวทีแลกเปลี่ยน นอกจากนี้ยังจัดการฝึกอบรม ให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อให้เข้าใจปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ ปรับเปลี่ยนทัศนคติและอคติที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์ ทางศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์ฯยังได้จัดให้มีกิจกรรมอาสาสมัครเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อสร้างจิตสำนึกงานชาติพันธุ์ และศักยภาพแก่เยาวชนในการวิเคราะห์ปัญหาด้านชาติพันธุ์

4. ด้านคลังข้อมูล
คลังข้อมูลของศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์ฯ ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลด้านชาติพันธุ์ทั้งในรูปแบบเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์สารคดีชาติพันธุ์ ภาพถ่าย พิพิธภัณฑ์ออนไลน์ นอกจากนี้ยังได้จัดทำฐานข้อมูล บทความวิชาการ กฤตภาคข่าวเกี่ยวกับชาวเขาในภาคเหนือตั้งแต่ พ.ศ. 2508 เป็นต้นมา และยังวางแผนจัดทำฐานข้อมูลชุมชนชาติพันธุ์กับการพัฒนา ฐานข้อมูลด้านกฎหมาย อนุสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ ฐานข้อมูลงานวิทยานิพนธ์ด้านชาติพันธุ์ ฯลฯ และรายงานการวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ ในอนาคต ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์ฯ ต้องการพัฒนาสื่อชาติพันธุ์ (Indigenous Medias) ที่บอกเล่าเรื่องราว ปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ที่ผลิตโดยกลุ่มชาติพันธุ์เอง และคนนอก ทั้งในรูปแบบภาพถ่ายและภาพยนตร์สั้นศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์ฯมีความมุ่งหวังให้คลังข้อมูลเป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าวิจัยให้แก่นักศึกษา นักวิชาการ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

5. ด้านการเผยแพร่สิ่งพิมพ์ เอกสารงานวิจัยและวีดิทัศน์
ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์ฯ ให้ความสำคัญต่อการจัดเผยแพร่เอกสารการวิจัย หรือเอกสารการประชุมสัมมนา ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อนำมาใช้เป็นเอกสารอ้างอิง และใช้ในการเรียนการสอนรวมทั้งให้สังคมเกิดความเข้าใจที่ดีและลดอคติที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์ นอกจากเอกสารสิ่งพิมพ์แล้ว ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์ฯ ยังให้ความสำคัญต่อการจัดทำวีดิทัศน์ และภาพยนตร์ขนาดสั้นที่บอกเล่าเรื่องราว และปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ ทั้งนี้เพราะเห็นว่าเป็นสื่อทันสมัยที่สามารถกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และปัจจุบันประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่าย

ความหลากหลายของวิถีชีวิตของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะอย่างไร

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก บนแผ่นดินใหญ่จะมีการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมอินเดียและจีน ส่วนอินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย และสิงคโปร์นั้นประกอบด้วยวัฒนธรรมอาหรับ, โปรตุเกส, สเปน, จีน, อินเดีย และวัฒนธรรมพื้นเมืองมลายู ส่วนบรูไนจะค่อนข้างแตกต่างจากประเทศอื่น เพราะได้รับอิทธิพลมากมายจาก ...

อาเซียนมีความหลากหลายทางใด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จัดเป็นดินแดนแห่งความหลากหลายทางชาติพันธุ์โดยปรากฏชนชาติ ต่างๆ ตั้งถิ่นฐานกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งภูมิภาค อาทิชาวพม่า ชาวไทย ชาวลาว ชาวชวา ชาวมลายูหรือ ชาว กะเหรี่ยง ชาวจาม ชาวลาหู่ชาวมูเซอและชาวละว้า ความเป็นชุมชนพหุสังคมถือเป็นประเด็นที่ส่งผล กระทบต่อการบูรณาการและการอยู่ร่วมกันเป็นประชาคม อาเซียน ...

ประเทศใดในอาเซียนที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่สุด

๑. ประเทศสิงคโปร์ เป็นประเทศที่มีลักษณะความเป็นหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษาและ วัฒนธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศสิงคโปร์ มีประชากรทั้งประเทศ ประมาณ ๕.๔๗ ล้านคน จัดได้ว่าเป็น ประเทศที่มีความเด่นชัดในเรื่องความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ปัจจุบันมีทั้งชาวจีน พุทธ อิสลาม ฮินดู คริสต์ และ ลัทธิเต๋า รวมไปถึงด้านวัฒนธรรม ...

สังคมพหุวัฒนธรรมในอาเซียนคืออะไร

พหุวัฒนธรรมในอาเซียน  เป็นความหลากหลายที่เกิดจาก  ชาวอาเซียน สร้างสรรค์  คิด รับรู้ และทํา ร่วมกัน อาเซียนอยู่ในภูมิภาคที่มี ประวัติศาสตร์เก่าแก่ VERY HISTORIC AREA. เป็นดินแดนแห่งชุมทาง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม