ตรุษจีนปีพศ 66 ตรงกับวันอะไร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตรุษจีน
ตรุษจีนปีพศ 66 ตรงกับวันอะไร

พลุเหนืออ่าววิกตอเรียในฮ่องกง โดยพลุเป็นองค์ประกอบดั้งเดิมของการเฉลิมฉลอง

ชื่ออื่นเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ
วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ
จัดขึ้นโดยชาวจีนทั่วโลก[1]
ผู้ซึ่งไม่ใช่ชาวจีน
สีมงคลสีแดง
ประเภทศาสนา, วัฒนธรรม
ความสำคัญวันแรกของปีตามปฏิทินจันทรคติจีน
วันที่คืนที่จันทร์ดับที่สองหลังเหมายัน (หรือ คืนจันทร์ดับที่สามหลังอายัน)
วันที่ในปี 2021วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ ปีฉลู
วันที่ในปี 2022วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ ปีขาล
การเฉลิมฉลองการเชิดสิงโต, การเชิดมังกร, ดอกไม้ไฟ, การพบปะรวมตัวของครอบครัว, การกินเลี้ยงของครอบครัว, การเยี่ยมเพื่อนและญาติ, การให้และรับเงินอั่งเปา, การแต่งและประดับคำขวัญคู่ ชุนเหลียน
ส่วนเกี่ยวข้องเทศกาลโคมไฟ, ซึ่งการเฉลิมฉลองปีใหม่จีนเสร็จสิ้น
ตรุษมองโกล, ตรุษทิเบต, ตรุษญี่ปุ่น, ตรุษเกาหลี, ตรุษญวน
ความถี่ทุกปี
ตรุษจีน
ตรุษจีนปีพศ 66 ตรงกับวันอะไร

"เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ (ปีใหม่จีน)" เขียนในรูปแบบอักษรจีนตัวเต็ม (ด้านบน) และรูปแบบอักษรจีนตัวย่อ (ด้านล่าง)

อักษรจีนตัวเต็ม春節
อักษรจีนตัวย่อ春节
ความหมายตามตัวอักษร"เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ"
การถอดเสียง
ภาษาจีนกลางมาตรฐาน
ฮั่นยฺหวี่พินอินChūn jié
เวด-ไจลส์Ch'un1 chieh2
IPA[ʈʂʰwə́n tɕjě]
ภาษาอู๋
ภาษาซูโจวTshen tsìh
ภาษากวางตุ้งมาตรฐาน
อักษรโรมันแบบเยลChēun jit
IPA[tsʰɵ́n tsīːt̚]
ยฺหวิดเพ็งCeon1 zit3
ภาษาหมิ่นใต้
เป่อ่วยจีภาษาฮกเกี้ยนChhun cheh
ไถหลัวTshun tseh

ตรุษจีนปีพศ 66 ตรงกับวันอะไร

ตรุษจีน (จีนตัวย่อ: 春节; จีนตัวเต็ม: 春節; พินอิน: Chūnjíe ชุนเจี๋ย) เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน วันดังกล่าวยังเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ซึ่งคล้ายกันกับงานเทศกาลของตะวันตก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 (จีน: 正月, พินอิน: Zhēngyuè) ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันซึ่งครอบครัวจีนมารวมญาติเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่ (จีน: 除夕, พินอิน: Chúxī) หรือ "การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน" เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบสุริยจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า "วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ"

ตรุษจีนเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุดในปฏิทินจีน จุดกำเนิดของตรุษจีนนั้นมีประวัติหลายศตวรรษและมีความสำคัญเพราะตำนานและประเพณีหลายอย่าง ตรุษจีนมีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศและดินแดนซึ่งมีประชากรจีนอาศัยอยู่มาก อย่างเช่น จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเก๊า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย รวมทั้งในชุมชนชาวจีนที่อื่น ตรุษจีนถูกมองว่าเป็นวันหยุดสำคัญสำหรับชาวจีนและได้มีอิทธิพลต่อการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่จันทรคติของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมทั้งเกาหลี (โซลนาล) ภูฏาน และเวียดนาม

ในประเทศจีน ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองตรุษจีนนั้นหลากหลายมาก ประชาชนจะเทเงินของตนเพื่อซื้อของขวัญ ของประดับตกแต่ง วัสดุ อาหารและเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ยังมีประเพณีว่า ทุกครอบครัวจะทำความสะอาดบ้านอย่างละเอียดลออ เพื่อปัดกวาดโชคร้ายด้วยหวังว่าจะเปิดทางให้โชคดีเข้ามา มีการประดับหน้าต่างและประตูด้วยกระดาษตัดสีแดงและคู่กับธีม "โชคดี", "ความสุข", "ความมั่งคั่ง" และ "ชีวิตยืนยาว" ที่ได้รับความนิยม ในคืนก่อนตรุษจีน อาหารค่ำเป็นการกินเลี้ยงกับครอบครัว อาหารนั้นจะมีเช่น หมู เป็ด ไก่และอาหารอย่างดี (delicacies) รสหวาน ครอบครัวจะปิดท้ายค่ำคืนด้วยประทัด เช้าวันรุ่งขึ้น เด็กจะทักทายบิดามารดาของตนโดยอวยพรพวกท่านให้มีสุขภาพดีและสวัสดีปีใหม่ และได้รับเงินอั่งเปา ประเพณีตรุษจีนนั้นเพื่อการสมานฉันท์ ลืมความบาดหมางและปรารถนาสันติและความสุขแก่ทุกคนอย่างจริงใจ

แม้ปฏิทินจีนแต่โบราณไม่ใช้ปีตัวเลขต่อเนื่องกัน นอกประเทศจีน ปีจีนจึงมักนับเลขนับแต่รัชสมัยจักรพรรดิเหลือง แต่เนื่องจากมีการกำหนดให้อย่างน้อยสามปีเป็นเลข 1 ที่นักวิชาการใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน จึงทำให้ปี พ.ศ. 2555 เป็น "ปีจีน" 4710, 4709 หรือ 4649

วันตรุษจีน คณะรัฐมนตรี มีมติให้เป็นวันหยุดราชการประจำปีเฉพาะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส, ภูเก็ต, สตูล[2] และสงขลา[3]

วันที่[แก้]

ปี วันที่ วันที่ วันที่
ปีชวด19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 25 มกราคม พ.ศ. 2563
ปีฉลู8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 26 มกราคม พ.ศ. 2552 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ปีขาล28 มกราคม พ.ศ. 2541 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
ปีเถาะ16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 22 มกราคม พ.ศ. 2566
ปีมะโรง5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 23 มกราคม พ.ศ. 2555 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
ปีมะเส็ง24 มกราคม พ.ศ. 2544 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 29 มกราคม พ.ศ. 2568
ปีมะเมีย12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 31 มกราคม พ.ศ. 2557 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2569
ปีมะแม1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2570
ปีวอก22 มกราคม พ.ศ. 2547 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 26 มกราคม พ.ศ. 2571
ปีระกา9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 28 มกราคม พ.ศ. 2560 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2572
ปีจอ29 มกราคม พ.ศ. 2549 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2573
ปีกุน18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 23 มกราคม พ.ศ. 2574

ปฏิทินสุริยจันทรคติจีนเป็นตัวกำหนดวันที่ของตรุษจีน ปฏิทินดังกล่าวยังใช้ในประเทศซึ่งรับเอาหรือได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมฮั่น ที่โดดเด่น คือ เกาหลี ญี่ปุ่นและเวียดนามเหนือ เช่น อิหร่าน และในประวัติศาสตร์ ดินแดนชนบัลการ์

ในปฏิทินเกรโกเรียน แต่ละปีตรุษจีนมิได้ตรงกัน คือ อยู่ระหว่างวันที่ 21 มกราคม ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ในปฏิทินจีน เหมายันต้องเกิดในเดือนที่ 11 จึงหมายความว่า ตรุษจีนมักตรงกับเดือนดับครั้งที่สองหลังเหมายัน (น้อยครั้งที่เป็นครั้งที่สามหากมีอธิกมาส) ในประเพณีจีนโบราณ ลิบชุนหรือลี่ชุนเป็นวันแรกในทางสุริยคติซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งตรงกับประมาณวันที่ 4 กุมภาพันธ์

ตรุษจีนทั่วโลก[แก้]

ตรุษจีนปีพศ 66 ตรงกับวันอะไร

การประดับคำขวัญคู่ "ชุนเหลียน" และคำกลอนคู่ "ตุ้ยเหลียน"

ตรุษจีนในประเทศไทย[แก้]

ตรุษจีนปีพศ 66 ตรงกับวันอะไร

  • ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว
    • วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ไม่จำเป็นจะต้องมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ (地主爺 / 地主爷 ตี่จู๋เอี๊ยะ) ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้วเพราะว่าเจ้าที่ไม่ได้ไปไหนเมื่อสี่วันที่แล้ว ตัวเราส่งแต่ เจ้าซิ้ง หรือเจ้าเตา
    • วันไหว้
      • ตอนเช้ามืดจะไหว้ "ป้ายเล่าเอี๊ย" (拜老爺 / 拜老爷) เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ ซำเช้ง) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
      • ตอนสาย จะไหว้ "ป้ายแป๋บ้อ" (拜父母) คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตามคติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
      • ตอนบ่าย จะไหว้ "ป้ายฮ่อเฮียตี๋" (拜好兄弟) เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
    • วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง (初一 ชิวอิก) ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ป้ายเจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาแต้จิ๋วว่า "กิก" (橘) ไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ 吉 แปลว่า โชคลาภ หรือ ภาษาฮกเกี้ยน และ ภาษากวางตุ้ง ส้มเรียกว่า "ก้าม" (柑) ซึ่งไปพ้องกับคำว่าทอง (金) [4] เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล (เสมือนมี 吉 ประกอบกัน 4 ตัว กลายเป็น 𡅕) ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบา งอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น

ประเพณีปฏิบัติ[แก้]

  • สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของตรุษจีน คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็ก ๆ ซึ่งจะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว

คำอวยพร[แก้]

ในตรุษจีน ชาวจีนจะกล่าวคำ ห่ออ่วย หรือคำอวยพรภาษาจีนให้กัน หรือมีการติดห่ออ่วยไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กัน ได้แก่

  • 新正如意 新年發財 / 新正如意 新年发财 (แต้จิ๋ว: ซิงเจี่ยยู้อี่ ซิงนี้หวกไช้; จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย; ฮกเกี้ยน: ซินเจี่ยหยู่อี่ ซินนี่ฮวดไช้; จีนแคะ: ซินจึ้นหยู่อี๋ ซินเหนี่ยนฟั่ดโฉ่ย; กวางตุ้ง: ซันจิงจู๋จี่ ซันหนินฟัดฉ่อย) (ไหหนาน อ่านว่าอย่างไร ?)แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่
  • 新年快樂 / 新年快乐 (จีนกลาง: ซินเหนียนไคว่เล่อ; กวางตุ้ง:ซันหนิ่นฟายหลอก;ฮกเกี้ยน: ซินนี้ก๊วยหลก(ไหหนาน อ่านว่าอย่างไร ?)) นิยมใช้ในประเทศจีน
  • 恭喜發財 / 恭喜发财 (จีนกลาง: กงฉี่ฟาฉาย; ฮกเกี้ยน: หย่งฮี้ฮวดจ๋าย; กวางตุ้ง: กุงเหฟัดฉ่อย) (ไหหนาน อ่านว่าอย่างไร ?)
  • 過年好 / 过年好 (จีนกลาง: กั้วเหนียนห่าว) ใช้โดยชนพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศจีน วลีนี้ยังหมายถึงวันที่หนึ่งถึงวันที่ห้าของปีใหม่ด้วย ไหหนาน อ่านว่าอย่างไร ?
  • 大吉大利 (จีนกลาง:ต้าจี้ต้าลี่)(ฮกเกี้ยน: ตั่วเก็ตตั่วลี่)(ไหหนาน อ่านว่าอย่างไร ?) แปลว่า ความมงคลอันยิ่งใหญ่ ค้าขายได้กำไร
  • 金玉满堂 (จีนกลาง:กิมหยกม่านถัง)(ฮกเกี้ยน: กิ้มหยกมั่วต๋อง)(ไหหนาน อ่านว่าอย่างไร ?) แปลว่า ทองหยกเต็มบ้าน
  • 萬事如意 / 万事如意 (จีนกลาง:ว่านซื่อหรูอี้)(ฮกเกี้ยน: บ่านสู่หยู่อี่)(ไหหนาน อ่านว่าอย่างไร ?) แปลว่า หมื่นเรื่องสมปรารถนา
  • 福壽萬萬年/ 福寿万万年 (จีนกลาง: ฝูเชี่ยวหวันวันเลี่ยน; ฮกเกี้ยน: ฮกซิ่วบันบั่นนี่)(ไหหนาน อ่านว่าอย่างไร ?) แปลว่า อายุยืนหมื่นๆ ปี
  • 大家好運氣 / 大家好运气(จีนกลาง: ต้าเจียห่าวเหยียนชี; ฮกเกี้ยน: ต้าเก่โฮ่อุ๊นคิ(ไหหนาน อ่านว่าอย่างไร ?)) แปลว่า โชคดีเข้าบ้าน
  • 年年大賺錢 / 年年大赚钱 (ฮกเกี้ยน: หนีนี้ตั๊วถั่นจี๋)(ไหหนาน อ่านว่าอย่างไร ?) แปลว่า ปีนี้ร่ำรวยมหาศาล

年年有余 (จีนกลาง:เหนียนเหนียนโหย่วหยีว) แปลว่าเหลือกินเหลือใช้

ดูเพิ่ม[แก้]

  • แผนภูมิสวรรค์
  • การเชิดสิงโต

อ้างอิง[แก้]

  1. "Asia welcomes lunar New Year". BBC. 1 February 2003. สืบค้นเมื่อ 7 November 2008.
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๕๕
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๕๖
  4. เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. พจนานุกรม จีน-ไทย. ลาวกาว : รวมสาส์น, 2541. หน้า 73, 272. ISBN 978-974-246-307-6

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]