วิทยาการ คํา น วณ หมาย ถึง ข้อใด ถูก ต้อง ที่สุด

วิดีโอ YouTube


YouTube Video

Big Data & Data Analytics คืออะไร

*************************************************************


    ข้อมูล (DATA)

     ยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่สารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของ ทุก ๆ คนอย่างเห็นได้ชัด ข้อมูลและสารสนเทศเป็นคำที่มักใช้ควบคู่กันและบางครั้งก็ใช้ ทดแทนกัน แม้จนกระทั่งบางคนเข้าใจผิดว่า เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน ดังนั้นการอธิบายถึงความหมายของข้อมูลและสารสนเทศจึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยมีผู้ให้ความหมายเกี่ยวกับข้อมูลดังนี้

      ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นกลุ่มสัญลักษณ์ แทนปริมาณหรือการกระทำต่าง ๆ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ข้อมูลอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวหนังสือ และท้ายสุดของข้อมูลก็คือ วัตถุดิบของสารสนเทศ 

    ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เป็นกลุ่มสัญลักษณ์แทนปริมาณ หรือการกระทำต่าง ๆ ที่ยังไม่ผ่านการวิเคราะห์ หรือการประมวลผล ข้อมูล อยู่ในรูป ตัวเลข ตัวหนังสือ รูปภาพ แผนภูมิ เป็นต้น (กองแผนงาน กรมสามัญศึกษา. 2536 : 1)

ตัวอย่างของข้อมูล เช่น 

      1. ข้อมูลการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 ปีการศึกษา 2546 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สระบุรีเขต 1

      2. ข้อมูลนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เข้ามาเที่ยวในจังหวัดสระบุรี ประจำปี 2546

      3. ความคิดเห็นของผู้ชมรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งที่มีต่อผู้แสดงในรายการนั้น ก็ทำให้ทราบถึงความคิดเห็นของผู้ชมว่าเป็นอย่างไร มีความชื่นชอบ สนใจ ติติง หรือวิพากษ์รายการโทรทัศน์นั้นอย่างไรบ้าง 

      4. ไอบีเอ็มหนุนใช้ลีนุกซ์ในเมืองไทย ดันเป็นมาตรฐานระบบเครือข่าย

      5. ตลาดโน้ตบุ๊กแข่งเดือดเปิดตัว 1 GHz

     ข้อมูลจึงบอกเกี่ยวกับสภาพการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่ปรากฏขึ้น และข้อมูลจะคงสภาพการเป็นข้อมูลอยู่เช่นนั้น ไม่ว่าจะมีการนำเอาไปใช้หรือไม่ หรือผู้ใดเป็น ผู้นำไปใช้ ทั้งนี้ ข้อมูลอาจมีลักษณะเป็นข้อความ ซึ่งเมื่อนำมาใช้จะต้องทำการตีความหรือพิจารณาความหมายของข้อความเหล่านั้นเพื่อหาข้อสรุปเพื่อตัดสินใจต่อไป หรือข้อมูลอาจมีลักษณะเป็นข้อมูลที่สามารถนำไปประมวลผลได้ โดยอาศัยวิธีหรือกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูลในระดับต่าง ๆ กันเพื่อหาข้อมูลสรุปสำหรับพิจารณาตัดสินใจต่อไป

วิทยาการ คํา น วณ หมาย ถึง ข้อใด ถูก ต้อง ที่สุด

 สารสนเทศ (Information)

      สารสนเทศ (information) ได้แก่ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับการประมวลผลแล้วด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ต้องการสำหรับใช้ทำประโยชน์ เป็นส่วนผลลัพธ์หรือเอาท์พุตของระบบการประมวลผลข้อมูล เป็นสิ่งซึ่งสื่อความหมายให้ผู้รับเข้าใจ และสามารถนำไปกระทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งโดยเฉพาะได้ หรือเพื่อเป็นการย้ำความเข้าใจที่มีอยู่แล้วให้มีมากยิ่งขึ้น และเป็นผลลัพธ์ของระบบสารสนเทศ

                สารสนเทศ (Information) คือ ข้อความรู้ที่ประมวลได้จากข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น จนได้ข้อสรุปเป็นข้อความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเน้นที่การเกิดประโยชน์คือ ความรู้ที่เกิดเพิ่มขึ้นกับผู้ใช้ ข้อมูลต่างกับสารสนเทศในหลายลักษณะ ประการแรก ข้อมูลจะคงสภาพความเป็นข้อมูลอยู่เสมอ และสำหรับผู้ใช้ทุกคน กล่าวคือ ข้อมูลเป็นสิ่งบอกถึงปรากฏการณ์ในเรื่องหนึ่ง ๆ ข้อมูลจึงทำให้ทุกคนทราบเกี่ยวกับปรากฏการณ์นั้นในลักษณะเดียวกัน คือ เกิดอะไรขึ้นและเป็นอย่างไร ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้หรือไม่ก็ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะของข้อมูล ข้อมูลจะยังคงเป็นเช่นนั้น แต่สำหรับสารสนเทศ การเป็นสารสนเทศมีความหมายเพิ่มเติมในลักษณะที่ว่า สารสนเทศเป็นข้อความรู้ที่ประมวลได้จากข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกมาเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้นั้น ๆ ดังนั้น หากสารสนเทศใดไม่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้ก็ย่อมถือได้ว่าไม่ใช่สารสนเทศของผู้นั้น  จะเห็นว่า สารสนเทศมีลักษณะที่อิงกับผู้ใช้และยึดตัวผู้ใช้เป็นหลักในการกำหนดสถานะของการเป็นสารสนเทศ

               สารสนเทศเป็นสิ่งที่ได้มาจากการนำข้อมูลมาประมวลผล ซึ่งมีวิธีการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งมีด้วยกันหลายวิธี ทั้งชนิดที่ใช้คนทำ หรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติที่สำคัญของสารสนเทศ ได้แก่ความถูกต้อง ความทันต่อการใช้งาน ความสมบูรณ์

สารสนเทศ คือข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ด้วยวิธีการต่าง ๆ จนได้ข้อสรุปเป็นข้อความรู้ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเน้นที่การเกิดประโยชน์คือความรู้ที่เกิดเพิ่มขึ้นกับผู้ใช้ เป็นส่วนผลลัพธ์หรือ Output ของระบบการประมวลผลข้อมูล เป็นสิ่งซึ่งสื่อความหมายให้ผู้รับเข้าใจและสามารถนำไปกระทำกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่งโดยเฉพาะได้ หรือเพื่อเป็นการย้ำความเข้าใจที่มีอยู่แล้วให้มีมากยิ่งขึ้นและเป็นผลลัพธ์ของระบบสารสนเทศ 

                ข้อมูลต่างกับสารสนเทศในหลายลักษณะ ประการแรก ข้อมูลจะคงสภาพความเป็นข้อมูลอยู่เสมอ และสำหรับผู้ใช้ทุกคน กล่าวคือข้อมูลเป็นสิ่งที่บอกปรากฏการณ์ในเรื่องหนึ่ง ๆ ข้อมูลจึงทำให้ทุกคนทราบเกี่ยวกับปรากฏการณ์นั้นในลักษณะเดียวกัน คือเกิดอะไรเป็นอย่างไร ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้หรือไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะของ ข้อมูล ข้อมูลจะยังคงเป็นข้อมูลอยู่เช่นนั้น แต่สำหรับสารสนเทศการเป็นสารสนเทศมีความหมายเพิ่มเติมในลักษณะที่ว่า สารสนเทศเป็นข้อความรู้ที่ประมวลได้จากข้อมูลเกี่ยวข้องออกมาเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้นั้น ๆ ดังนั้น สารสนเทศใดไม่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้ ก็ย่อมถือได้ว่า ไม่ใช่สารสนเทศของผู้นั้น

สารสนเทศมีลักษณะที่อิงกับผู้ใช้ และยึดตัวผู้ใช้เป็นหลักในการกำหนดสถานะของการเป็นสารสนเทศ ดังนั้นสารสนเทศจึงแปรสถานะของการเป็นสารสนเทศได้ตามผู้ใช้และเมื่อกล่าวถึงสารสนเทศจึงต้องระบุว่าเป็นสารสนเทศของใคร 

      ตัวอย่าง เช่น ในระบบการบริหารกิจการใด ๆ มักแบ่งระดับการบริหารงานออกเป็นสามระดับ ได้แก่ 

       1. ผู้บริหารระดับสูงซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและวางแผนระยะยาว 

       2. ผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการวาระยะปานกลางและดำเนินการเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามแผนระยะยาวที่กำหนดไว้ และ

       3. ผู้บริหารระดับต้นซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการวางแผนระยะปานกลางและดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ 

สารสนเทศจากข้อมูลภายในกิจการมักจะอยู่ในรูปที่สรุปมากที่สุด เช่น ในลักษณะของปัจจัยบ่งชี้ความสำเร็จของกิจการ หรือดัชนีแสดงผลการดำเนินงาน เช่น สภาพตลาดโลก ตลาดภูมิภาค และแนวโน้มต่าง ๆด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และกฎหมาย ที่จะมีผลต่อการดำเนินงานในอนาคต และมีผลต่อการพิจารณาตัดสินใจในปัจจุบัน ดังนั้น สารสนเทศของผู้ใช้ผู้หนึ่ง จึงอาจไม่ใช่สารสนเทศของผู้ใช้อีกผู้หนึ่ง การระบุสถานะของสารสนเทศจึงต้องระบุว่าเป็นสารสนเทศของผู้ใช้ใด

ประเด็นสำคัญในเรื่องสารสนเทศ คือสารสนเทศสร้างขึ้นจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยการนำข้อมูลนั้นมาประมวลและวิเคราะห์ออกมาเป็นสารสนเทศ ดังนั้น คุณภาพของสารสนเทศจึงขึ้นอยู่กับข้อมูลที่นำมาพิจารณาว่าเป็นข้อมูลที่เหมาะสมและเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพดี คือ มีความถูกต้องเชื่อถือได้ รวมทั้งกระบวนการประมวลผลและวิเคราะห์ที่ต้องการ นอกจากมีความเชื่อถือได้แล้ว สารสนเทศที่ดีจะต้องตรงต่อความต้องการของผู้ใช้

วิทยาการ คํา น วณ หมาย ถึง ข้อใด ถูก ต้อง ที่สุด

     ข้อมูลและสารสนเทศในความหมายของผู้ใช้

      ผู้ใช้ข้อมูลและสารสนเทศแต่ละคน มีความรับรู้ต่อข้อมูลและสารสนเทศเดียวกันแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น ในการดำเนินงานเกี่ยวกับใบสั่งซื้อสินค้าขององค์การหนึ่ง     พนักงานแต่ละคนก็จะมีความรับผิดชอบที่แตกต่างกันไป ซึ่งใบสั่งซื้อสินค้าจะมีคุณค่าต่อผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันออกไปตามหน้าที่ที่ผู้ใช้ต้องปฏิบัติ ดังนี้

พนักงานขาย จะถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าที่ได้จากลูกค้าเป็นสารสนเทศของเขา ผู้จัดการฝ่ายขาย จะถือว่ารายงานเกี่ยวกับใบสั่งซื้อสินค้า หรือปริมาณยอดขายเป็นสารสนเทศของเขาพนักงานบัญชี จะถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าเป็นข้อมูลชนิดหนึ่งเท่านั้น จนกระทั่งใบสั่งซื้อสินค้านี้ได้ถูกดำเนินการต่อไปเพื่อให้ได้ใบส่งของสำหรับนำไปเก็บเงินจากลูกค้า และนำมาลงบัญชีต่อไป สารสนเทศของเขาก็จะได้แก่ บัญชีลูกหนี้ บัญชีเงินสดและรายรับจากการขายสินค้า ซึ่งเกิดจากข้อมูลในใบสั่งซื้อ

พนักงานอื่น ๆ อาทิ ลูกจ้างรายวัน นักวิจัย วิศวกร จะถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าเป็นเพียงข้อมูลอย่างหนึ่ง     ที่เขาไม่ต้องสนใจหรือเกี่ยวข้องด้วย

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ค่าแรงของลูกจ้างต่อสัปดาห์ ถือว่าเป็นสารสนเทศของลูกจ้างแต่ละคนที่จะรับค่าแรงนั้น แต่จะเป็นข้อมูลอย่างหนึ่งของเจ้าของบริษัทหรือผู้บริหาร ซึ่งเมื่อได้รวมเป็นค่าแรงทั้งหมด ที่ต้องจ่ายใน 1 สัปดาห์แล้ว จึงจะถือว่าเป็นสารสนเทศสำหรับเขา

      โดยสรุปสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเปลี่ยนแปลง หรือจัดกระทำเพื่อผลของการ เพิ่มความรู้ ความเข้าใจของผู้ใช้ ลักษณะของสารสนเทศจะเป็นการรวบรวมข้อมูลหลาย ๆ อย่างที่เกี่ยวข้องกันเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ส่วน คือ

      1. ข้อมูล เป็นตัวเลข ข้อความ เสียงและภาพ เป็นข้อมูล ป้อนเข้า

      2. การประมวลผล เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูลจัดกระทำข้อมูล เพื่อให้เหมาะสม ต่อการนำไปใช้

      3. การจัดเก็บ เป็นวิธีการที่จะเก็บข้อมูลให้เป็นระบบที่สะดวกต่อการใช้ และสามารถแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน

      4. เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเก็บข้อมูล การประมวลผลทำให้เกิดผลผลิต ได้แก่ คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป อุปกรณ์การสื่อสาร ฯลฯ

      5. สารสนเทศ ผลผลิตของระบบสารสนเทศจะต้องถูกต้องตรงกับความต้องการใช้ และทันต่อเหตุการณ์ใช้งาน

 

วิทยาการ คํา น วณ หมาย ถึง ข้อใด ถูก ต้อง ที่สุด

  แหล่งข้อมูล

      ข้อมูลที่นำมาใช้ประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ เกิดขึ้นมาจาก 2 แหล่งคือ แหล่งข้อมูลภายในองค์การ และแหล่งข้อมูลจากภายนอกองค์การ

        1. แหล่งข้อมูลภายในองค์การ ในหน่วยงานต่างๆ ขององค์การ แหล่งข้อมูลจะประกอบด้วยข้อมูลของพนักงานในองค์การและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงต่าง ๆ ขององค์การ เช่น ประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้าง ความถูกต้องของการวางแผนครั้งที่ผ่านมา เป็นต้น ซึ่งการได้มาของข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายในนี้ อาจจะได้จากวิธีการที่ไม่เป็นทางการ เช่น การพบปะพูดคุยกัน เป็นต้น

        2. แหล่งข้อมูลภายนอกองค์การ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดข้อมูลเอง หรือแหล่งกระจายข้อมูลที่มีในสังคม แหล่งข้อมูลเหล่านี้ได้แก่ ตัวลูกค้า บริษัทขายส่งสินค้า บริษัทคู่แข่งขัน หนังสือวารสารทางธุรกิจ สมาคมต่าง ๆ หรือหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายได้ประชาชาติ ยอดรวมของการบริโภคสินค้าแต่ละปี หรืออัตราการเจริญเติบโตของประชากร ฯลฯ

        ข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลทั้งสองนี้ อาจจะแยกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลที่ต้องเก็บรวบรวมหรือบันทึกมาจากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น การสำรวจข้อมูลทางการตลาด ด้วยวิธีออกแบบสอบถามและสัมภาษณ์ เป็นต้น ข้อมูลประเภทนี้เรียกว่า ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) ส่วนประเภทหลังได้แก่ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากข้อมูลที่ได้มีการรวบรวมไว้แล้ว เช่น สถิติเกี่ยวกับการบริโภคสินค้าเศรษฐกิจของประชาชน ซึ่งออกโดยหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น ข้อมูลประเภทนี้เรียกว่า ข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data)

      คุณสมบัติของข้อมูล

       การจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องมีความพยายามและตั้งใจดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการระบบ ข้อมูลจึงต้องคำนึงถึงปัญหาต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้ ให้มีประสิทธิภาพผลที่คุ้มค่ากับการลงทุน   ดังนั้นการดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ดี     ข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน ดังนี้ 

       1. ความถูกต้อง หากการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสีย อย่างมาก ดังนั้น โดยโครงสร้างข้อมูลที่ออกแบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีดำเนินการเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด

       2. ความรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน ต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้ มีคำตอบสนองต่อผู้ใช้ได้เร็ว ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการได้ การออกแบบระบบ การเรียกค้น และรายงานตามความต้องการของผู้ใช้

       3. ความสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นอยู่กับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการปฏิบัติด้วย  ในการดำเนินการจัดการสารสนเทศต้องสำรวจ และสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม

       4. ความชัดเจนและกะทัดรัด การเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการ จัดเก็บมากจึงจำเป็นต้องออกแบบระบบโครงสร้าง ข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้ มีการใช้รหัสหรือย่นย่อข้อมูลให้เหมาะสมเพื่อจะจัดการเก็บเข้าไว้ได้ในระบบคอมพิวเตอร์

       5. ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการของหน่วยงานและองค์การ ดูสภาพการใช้ข้อมูล ความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการ

วิทยาการ คํา น วณ หมาย ถึง ข้อใด ถูก ต้อง ที่สุด

  การผลิตสารสนเทศจาก ข้อมูล 

                การผลิตสารสนเทศ จะมีขั้นตอนหรือวิธีการต่างๆ ในการปฏิบัติ 9 วิธี ดังนี้ 

                1. การรวบรวม (Capturing) เป็นการดำเนินการเพื่อรวบรวมและบันทึกข้อมูลให้ อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อการประมวลผล เช่น การบันทึกไว้ในแฟ้มเอกสาร หรือด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ การรวบรวมทำได้โดยการสังเกตการสัมพันธ์ การทำแบบสอบถาม การทดสอบและการใช้แบบสำรวจ ข้อมูลที่ได้จะต้องมีคุณลักษณะ สำคัญ 2 ประการ คือ ความ ตรงตามความต้องการที่กำหนดไว้ และมีความเชื่อถือได้ 

                2. การตรวจสอบ (Verifying) เป็นขั้นตอนสำคัญในระบบการผลิตสารสนเทศ ทำขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมุลได้รับการรวบรวม และบันทึกเอาไว้อย่างถูกต้อง การตรวจสอบ ข้อมูลเป็นการค้นหา รวบรวมข้อมุลที่ยังมีความผิดพลาดโดยทั่วไป จะกระทำได้ 3 ลักษณะคือ 

                                2.1 การตรวจสอบความเป็นไปได้ หรือความสมเหตุ สมผลของข้อมูล 

                                2.2 การตรวจสอบความสอดคล้องกัน 

                                2.3 ตรวจสอบความสัมพันธ์ของข้อมูล เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของ ข้อมูล โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลเป็นเกณฑ์ 

                3. การจำแนก (Classifying) เป็นการกำหนดหลักการแบ่งประเภทข้อมูล เป็น หมวดหมู่หรือเป็นกลุ่ม ตามคุณสมบัติของข้อมูลในลักษณ์ ที่หมาะสมมีความหมายและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ใช้ โดยการกำหนดสิ่งที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน 

                4. การจัดเรียงลำดับ (Arranging) ภายหลังที่มีการจำแนกข้อมูลและการกำหนด รหัสข้อมูลแล้ว จำเป็นต้องจัดวางโครงสร้างของแฟ้มข้อมูล ว่าจะจัดเรียงลำดับระเบียบ ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร 

                5. การสรุป (Summarizing) เป็นการจัดรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหรือแบ่ง กลุ่มข้อมูล และรวบยอดของแต่ละกลุ่ม เพื่อเตรียมคำนวณหาค่าดัชนี หรือสารสนเทศในขั้น ต่อไป การสรุปหรือการรวบรวมยอดข้อมูลนี้ มีประโยชน์ในการตรวจสอบความแนบนัย ของ ข้อมูลอีกด้วย 

                6. การคำนวณ (Calculating) เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะจัดการทำข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ ที่อาศัยกระบวนการของคณิตศาสตร์ มาจัดกระทำกับข้อมูล ในรูปความสัมพันธ์ กัน เช่น อัตราส่วน สัดส่วน และเลขดัชนี เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความหมายตามความต้องการ ของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว 

                7. การจัดเก็บ (Storing) หลังจากที่ได้คำนวณได้ค่าสารสนเทศหรือดัชนีต่างๆ แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การจัดเก็บเพื่อการบริการว่าจะต้องจัดเก็บทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศที่ ผ่านการจัดกระทำด้วยมือหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ 

                8. การเรียกใช้ (Retrieving) เป็นกระบวนการค้นหา และดึงข้อมูลที่ต้องการออก จากสื่อ ที่ใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือเพื่อให้บริการและคำตอบแก่ผู้ใช้ 

                9. การเผยแพร่ (Disseminating and Reproducing) เป็นเป้าหมายสุดท้าย ของการดำเนินการสารสนเทศ คือการเผยแพร่สารสนเทศให้กับผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทำให้แบบ เอกสาร รายงานหรือการเสนอบนจอภาพ 

                                ลักษณะของสารสนเทศที่ ดีต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้ 

                1. ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง ปราศจากความเอนเอียง สารสนเทศที่ดี ต้องบอกลักษณะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ชี้นำปทางใดทางหนึ่ง 

                2. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) หมายถึง มีเนื้อหาตรงกับเรื่อง ที่ต้องการใช้ของผู้ใช้แต่ละคน 

                3. ทันต่อเวลา (Timeliness) หมายถึง สามารถนำสารสนเทศที่ต้องการไปใช้ได้ ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การจัดเตรียมสารสนเทศให้ทันต่อเวลา ที่ต้องการใช้ มี 2 ลักษณะ คือ การจัดทำสารสนเทศล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่เหตุการณ์จะเกิดในอนาคต และการจัดทำสาร สนเทศอย่างรวดเร็วเพื่อนำไปใช้ในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น

วิทยาการ คํา น วณ หมาย ถึง ข้อใด ถูก ต้อง ที่สุด

ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ

     ข้อมูล (Data) คือข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่สนใจศึกษา ซึ่งสามารถบันทึกไว้ได้ และมีความหมายอยู่ในตัว ข้อมูลถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบงานคอมพิวเตอร์ เนื่องจากการประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ทุกประเภท เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการออกมาหากข้อมูลที่ป้อนให้คอมพิวเตอร์ผิด ผลลัพธ์ที่ได้จากคอมพิวเตอร์ก็จะไม่มีคุณค่าอะไรเลยโดยที่ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข (Numeric) เช่น จำนวน ปริมาณ ระยะทาง หรืออาจเป็นตัวอักษรหรือข้อความ(Alphabetic) และข้อความที่เป็นตัวเลขผสมตัวอักษร (Alphanumeric) สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักข้อมูลเพียง 2 ลักษณะ คือ

        1. ข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณ (Numeric) ได้แก่ข้อมูลที่เป็นตัวเลขล้วน ๆ และจะใช้ตัวเลขนั้นในการคำนวณ

        2. ข้อมูลที่ไม่นำมาใช้ในการคำนวณ (Character หรือ String) ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร หรือข้อความที่ผสมตัวเลขหรือตัวเลขล้วน ๆ แต่ไม่นำไปใช้ในการคำนวณ เช่น อันดับที่ เลขประจำ บ้านเลขที่ หมายเลขโทรศัพท์ รหัสไปรษณีย์ เป็นต้น

    ลักษณะของ ข้อมูล และสารสนเทศ

      ปัจจุบัน เป็นยุคที่สารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของทุก ๆ คนอย่างเห็นได้ชัด และในระดับที่แทบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน อาจกล่าวได้ว่าความสำคัญของข้อมูลและใช้ข้อมูลมาตั้งแต่อดีตกาล แต่ระดับและขอบเขตของการใช้ข้อมูลสารสนเทศที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ยี่สิบ ก็อาจกล่าวได้ว่าปัจจัยหนึ่งคือวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology : IT ) ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ ระบบฐาน ข้อมูล ระบบประยุกต์สารสนเทศด้านต่าง ๆ การสื่อสารโทรคมนาคม และระบบอื่น ๆ

    แนวคิดเกี่ยวกับสารสนเทศ

     อาจจะกล่าวได้ว่าปัจจัยพื้นฐานของกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์คือ พลังงาน วัตถุ และสารสนเทศ (Information) ปัจจัยทั้งสามนี้ทำให้มนุษย์จัดหาสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์ต้องการได้ เช่น เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย การคมนาคมขนส่ง เป็นต้น และเพื่อเป็นการผลิตหรือจัดหาสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ สารสนเทศจัดว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งปัจจัยหนึ่ง สารสนเทศเป็นพื้นฐานของการอบรมศึกษา การปกครองประเทศของรัฐบาล การดำเนินธุรกิจ ความรอบรู้ของมนุษย์ ตลอดจนการรักษาไว้ซึ่งความรู้ที่มีอยู่และการเพิ่มพูนความรู้ ในหน่วยที่ 2 นี้จะได้กล่าวถึงความหมายของสารสนเทศ การได้มาซึ่งสารสนเทศ และการนำไปประยุกต์ใช้งานโดยลำดับไป

วิทยาการ คํา น วณ หมาย ถึง ข้อใด ถูก ต้อง ที่สุด

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา

นิยามเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา ลองนึกดูว่าทรายที่เราเห็นอยู่บนพื้นดิน ตามชายหาด ชายทะเลเป็นสารประกอบของซิลิกอน ทรายเหล่านั้นมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป ครั้งมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และไอซี (Integrated Circuit : IC) ไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้เป็นชิปซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ สารซิลิกอนดังกล่าวเมื่อผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีแล้วจะมีราคาสูงสามารถนำมาขายได้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพราะเรานำเอาวัตถุดิบมาผ่านเทคนิคการดำเนินการ จะได้วัตถุสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้จะมีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบนั้นมาก ประเทศใดมีเทคโนโลยีมากมักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีจึงเป็นหาทางที่จะช่วยในการพัฒนาให้สินค้าและบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทุกประเทศจึงให้ความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงานด้านต่าง ๆ

ส่วนคำว่าสารสนเทศ หมายถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ

วิทยาการ คํา น วณ หมาย ถึง ข้อใด ถูก ต้อง ที่สุด