ข้อคำนึงในการจัดองค์ประกอบของศิลปะ คือข้อใด

  1. ชื่อ - นามสกุล *

  2. ระดับชั้น - สาขาวิชา *

  3. ตอนที่ 1 : จงเลือกข้อที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

    ข้อคำนึงในการจัดองค์ประกอบของศิลปะ คือข้อใด

  4. 1. ข้อใดคือความหมายขององค์ประกอบศิลป์ *

  5. 2. ข้อใดกล่าวถึงความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์ได้ถูกต้อง *

  6. 3. ข้อใดเป็นองค์ประกอบพื้นฐานด้านนามธรรมของศิลปะ *

  7. 4. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ *

  8. 5. ข้อใดคือข้อคำนึงในการจัดองค์ประกอบของศิลปะ *

  9. 6. ดุลยภาพตรงกับข้อใด *

  10. 7. ความกลมกลืนตรงกับข้อใด *

  11. 8. ความสมดุลตรงกับข้อใด *

  12. 9. จุดเด่นตรงกับข้อใด *

  13. 10. ลักษณะโดดเด่นของเอกภาพคืออะไร *

  14. ตอนที่ 2 : ให้นักศึกษาเลือกคำตอบถูก ผิด

  15. 11. จุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ของสีเรียกว่า Dot *

  16. 12. Vector เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Raster Image *

  17. 13. การสร้างตัวอักษรหรือภาพจากเครื่องพิมพ์เรียกว่า Pixel *

  18. 14. การกด Shift ในการวาดรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากจะกลายเป็นจุดกึ่งกลางทันที *

  19. 15. เครื่องมือ Pen Tool เป็นการวาดได้ทั้งเส้นตรงและอิสระ *

  20. 16. เครื่องมือ Pencil Tool เป็นการวาดได้ทั้งเส้นตรงและอิสระ *

  21. 17. ภาพที่ปรากฏหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เราเห็น แบ่งได้เป็น 2 ประเภท RGB , CMYK *

  22. 18. โปรแกรม Illustrator มีการประมวลผลภาพแบบ Bitmap *

  23. 19. งานสิ่งพิมพ์เป็นประโยชน์ด้านงานคอมพิวเตอร์กราฟิก *

  24. 20. สีแดง อารมณ์และความรู้สึกลักษณะร่ำรวย โอ่อ่า งอกงาม *

         การจัดองค์ประกอบทางศิลปะ         เป็น หลักสำคัญสำหรับผู้สร้างสรรค์ และผู้ศึกษางานศิลปะ เนื่องจากผลงานศิลปะใด ๆ ก็ตาม ล้วนมีคุณค่าอยู่  2  ประการ คือ คุณค่าทางด้านรูปทรง และ คุณค่าทางด้านเรื่องราว คุณค่าทางด้านรูปทรง เกิดจากการนำเอา องค์ประกอบต่าง ๆ    ของ ศิลปะ อันได้แก่  เส้น  สี  แสงและเงา  รูปร่าง  รูปทรง  พื้นผิว  ฯลฯ มาจัดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความงาม  ซึ่งแนวทางในการนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาจัดรวมกันนั้นเรียกว่า การจัดองค์ ประกอบศิลป์ (Art Composition) โดยมีหลักการจัดตามที่จะกล่าวต่อไป อีกคุณค่าหนึ่งของงานศิลปะ คือ คุณค่าทางด้านเนื้อหา เป็นเรื่องราว หรือสาระของผลงานที่ศิลปินผู้สร้าง สรรค์ต้องการที่จะแสดงออกมา ให้ผู้ชมได้สัมผัสรับรู้โดยอาศัยรูปลักษณะ ที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบศิลป์     นั่นเองหรืออาจกล่าวได้ว่า ศิลปิน นำเสนอเนื้อหาเรื่องราวผ่านรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ   ถ้าองค์ประกอบที่จัดขึ้นไม่สัมพันธ์ กับเนื้อหาเรื่องราวที่นำเสนอ งานศิลปะนั้นก็จะขาดคุณค่าทางความงามไปดังนั้นการจัดองค์ประกอบศิลป ์จึงมีความสำคัญใน การสร้างสรรค์งานศิลปะ  เป็นอย่างยิ่งเพราะจะทำให้งานศิลปะทรงคุณค่าทางความงามอย่างสมบูรณ์

 การจัดองค์ประกอบของศิลปะ มีหลักที่ควรคำนึง อยู่ 5 ประการ คือ

1.  สัดส่วน (Proportion)

2. ความสมดุล (Balance)

3. จังหวะลีลา (Rhythm)

4. การเน้น (Emphasis)

5. เอกภาพ (Unity)

6.เส้น(line)

             1.  สัดส่วน (Proportion)
                             สัดส่วน หมายถึง  ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมระหว่างขนาดของ องค์ประกอบที่แตกต่างกัน ทั้งขนาดที่อยู่ในรูปทรงเดียวกันหรือระหว่างรูปทรง และรวมถึงความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างองค์ประกอบทั้งหลายด้วย     ซึ่งเป็นความพอเหมาะพอดี ไม่ มากไม่น้อยขององค์ประกอบ ทั้งหลายที่นำมาจัดรวมกัน ความเหมาะสมของสัดส่วนอาจ พิจารณาจากคุณลักษณะดังต่อไปนี้
                  1.1  สัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จากรูปลักษณะตามธรรมชาต ของ คน สัตว์  พืช ซึ่งโดยทั่วไป ถือว่า สัดส่วนตามธรรมชาติ  จะมีความงามที่เหมาะสมที่สุด      หรือจากรูปลักษณะที่เป็นการ สร้างสรรค์ของมนุษย์ เช่น Gold section เป็นกฎในการสร้างสรรค์รูปทรงของกรีก ซึ่งถือว่า "ส่วนเล็กสัมพันธ์กับส่วนที่ใหญ่กว่า  ส่วนที่ใหญ่กว่าสัมพันธ์กับส่วนรวม"  ทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมีสัดส่วนที่สัมพันธ์กับทุกสิ่งอย่างลงตัว
                 1.2  สัดส่วนจากความรู้สึก    โดยที่ศิลปะนั้นไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อความงามของรูปทรงเพียง อย่างเดียว แต่ยังสร้างขึ้นเพื่อแสดงออกถึง  เนื้อหา เรื่องราว ความรู้สึกด้วย  สัดส่วนจะช่วย เน้นอารมณ์ ความรู้สึก ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ และเรื่องราวที่ศิลปินต้องการ ลักษณะเช่น นี้ ทำให้งานศิลปะของชนชาติต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากมีเรื่องราว อารมณ์ และ ความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกต่าง ๆ กันไป เช่น   กรีก    นิยมในความงามตามธรรมชาติเป็น อุดมคติ เน้นความงามที่เกิดจากการประสานกลมกลืนของรูปทรง    จึงแสดงถึงความเหมือน จริงตามธรรมชาติ ส่วนศิลปะแอฟริกันดั้งเดิม เน้นที่ความรู้สึกทางวิญญานที่น่ากลัว ดังนั้น รูปลักษณะจึงมีสัดส่วนที่ผิดแผกแตกต่างไปจากธรรมชาติทั่วไป

           2. ความสมดุล (Balance)
                           ความสมดุล หรือ ดุลยภาพ หมายถึง น้ำหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ  ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งในทางศิลปะยังรวมถึงความประสานกลมกลืน ความพอเหมาะพอดีของ ส่วน ต่าง ๆ ในรูปทรงหนึ่ง หรืองานศิลปะชิ้นหนึ่ง การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ   ลงใน งานศิลปกรรมนั้นจะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วง ในธรรมชาตินั้น  ทุกสิ่งสิ่งที่ทรงตัวอยู่ได้โดยไม่ล้มเพราะมีน้ำหนักเฉลี่ย เท่ากันทุกด้าน
        ฉะนั้น  ในงานศิลปะถ้ามองดูแล้วรู้สึกว่าบางส่วนหนักไป แน่นไป  หรือ เบา  บางไปก็จะทำให้ภาพนั้นดูเอนเอียง   และเกิดความ รู้สึกไม่สมดุล เป็นการบกพร่องทางความงาม  ดุลยภาพในงานศิลปะ มี  2 ลักษณะ คือ
                  1.1 ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกัน คือ การวางรูปทั้งสองข้างของแกนสมดุล    เป็นการสมดุลแบบธรรมชาติลักษณะแบบนี้ใน ทางศิลปะมีใช้น้อย ส่วนมากจะใช้ในลวดลายตกแต่ง ในงานสถาปัตยกรรมบางแบบ หรือ ในงานที่ต้องการดุลยภาพที่นิ่งและมั่นคงจริง ๆ
                  1.2 ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือนกัน มักเป็นการสมดุลที่เกิดจาการจัดใหม่ของมนุษย์   ซึ่งมีลักษณะที่ทางซ้ายและขวาจะไม่ เหมือนกันใช้องค์ประกอบที่ไม่เหมือนกัน  แต่มีความสมดุลกัน   อาจเป็นความสมดุลด้วย น้ำหนักขององค์ประกอบ หรือสมดุลด้วยความรู้สึกก็ได้  การจัดองค์ประกอบให้เกิดความ สมดุลแบบอสมมาตรอาจทำได้โดย   เลื่อนแกนสมดุลไปทางด้านที่มีน้ำหนักมากว่า   หรือ เลื่อน รูปที่มีน้ำหนักมากว่าเข้าหาแกน  จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น หรือใช้หน่วยที่มีขนาดเล็กแต่มีรูปลักษณะที่น่าสนใจถ่วงดุลกับรูปลักษณะที่ มีขนาดใหญ่แต่มีรูปแบบธรรมดา 


          3. จังหวะลีลา (Rhythm)
                           จังหวะลีลา  หมายถึง  การเคลื่อนไหวที่เกิดจาการซ้ำกันขององค์ประกอบ เป็นการซ้ำที่ เป็นระเบียบ จากระเบียบธรรมดาที่มีช่วงห่างเท่าๆ กัน มาเป็นระเบียบที่สูงขึ้น ซับซ้อนขึ้นจนถึงขั้นเกิดเป็นรูปลักษณะของศิลปะ  โดยเกิดจาก การซ้ำของหน่วย หรือการสลับกันของหน่วยกับช่องไฟ หรือเกิดจาก การเลื่อนไหลต่อเนื่องกันของเส้น สี รูปทรง หรือ น้ำหนัก รูปแบบๆ หนึ่ง อาจเรียกว่าแม่ลาย  การนำแม่ลายมาจัดวางซ้ำ ๆ กันทำ  ให้เกิดจังหวะและถ้าจัดจังหวะให้แตกต่างกันออกไป ด้วยการเว้นช่วง หรือสลับช่วง ก็จะเกิดลวดลายที่แตกต่างกันออกไป ได้อย่างมากมาย  แต่จังหวะของลายเป็นจังหวะอย่างง่าย ๆ ให้ความ รู้สึกเพียงผิวเผิน และเบื่อง่าย เนื่องจากขาดความหมาย เป็นการรวมตัวของสิ่งที่เหมือนกัน แต่ไม่มีความหมายในตัวเอง จังหวะที่น่าสนใจและมีชีวิต ได้แก่ การเคลื่อนไหวของ คน สัตว์  การเติบโตของพืช การเต้นรำเป็น  การเคลื่อนไหวของโครงสร้างที่ให้ความบันดาล ใจในการสร้างรูปทรงที่มีความหมาย

          4. การเน้น (Emphasis)

                   การเน้น หมายถึง  การกระทำให้เด่นเป็นพิเศษกว่าธรรมดา ในงานศิลปะจะต้องมี ส่วนใดส่วนหนึ่ง  หรือจุดใดจุดหนึ่ง ที่มีความสำคัญกว่าส่วนอื่น ๆ   เป็นประธานอยู่ ถ้าส่วนนั้นๆ อยู่ปะปนกับส่วนอื่น ๆ  และมีลักษณะเหมือน ๆ กัน  ก็อาจถูกกลืน หรือ ถูกส่วนอื่นๆ ที่มีความสำคัญน้อยกว่าบดบัง หรือแย่งความสำคัญ ความน่าสนใจไปเสีย งานที่ไม่มีจุดสนใจ หรือประธาน  จะทำให้ดูน่าเบื่อ เหมือนกับลวดลายที่ถูกจัดวางซ้ำกัน โดยปราศจากความหมาย หรือเรื่องราวที่น่าสนใจ ดังนั้น  ส่วนนั้นจึงต้องถูกเน้น ให้เห็นเด่นชัดขึ้นมา เป็นพิเศษกว่าส่วนอื่น ๆ  ซึ่งจะทำให้ผลงาน
มีความงาม สมบูรณ์ ลงตัว และน่าสนใจมากขึ้น การเน้นจุดสนใจสามารถทำได้  3  วิธี คือ  

           4.1. การเน้นด้วยการใช้องค์ประกอบที่ตัดกัน (Emphasis by Contrast) สิ่งที่แปลกแตก ต่างไปจากส่วนอื่นๆ ของงาน จะเป็นจุดสนใจ ดังนั้น การใช้องค์ประกอบที่มีลักษณะ แตกต่าง หรือขัดแย้ง กับส่วนอื่น ก็จะทำให้เกิดจุดสนใจขึ้นในผลงานได้ แต่ทั้งนี้ต้อง พิจารณาลักษณะความแตกต่างที่นำมาใช้ด้วยว่า ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันในส่วนรวม และทำให้เนื้อหาของงานเปลี่ยนไปหรือไม่  โดยต้องคำนึงว่า แม้มีความขัดแย้ง แตก ต่างกันในบางส่วน และในส่วนรวมยังมีความกลมกลืนเป็นเอกภาพเดียวกัน

          4.2. การเน้นด้วยการด้วยการอยู่โดดเดี่ยว (Emphasis by Isolation)  เมื่อสิ่งหนึ่งถูกแยก ออกไปจากส่วนอื่น ๆ ของภาพ หรือกลุ่มของมัน สิ่งนั้นก็จะเป็นจุดสนใจ   เพราะเมื่อ แยกออกไปแล้วก็จะเกิดความสำคัญขึ้นมา   ซึ่งเป็นผลจากความแตกต่าง    ที่ไม่ใช่แตก
ต่างด้วยรูปลักษณะ แต่เป็นเรื่องของตำแหน่งที่จัดวาง  ซึ่งในกรณีนี้ รูปลักษณะนั้นไม่ จำเป็นต้องแตกต่างจากรูปอื่น   แต่ตำแหน่งของมันได้ดึงสายตาออกไป    จึงกลายเป็น จุดสนใจขึ้นมา

          4. 3. การเน้นด้วยการจัดวางตำแหน่ง (Emphasis by Placement) เมื่อองค์ประกอบอื่น ๆ ชี้นำมายังจุดใด ๆ จุดนั้นก็จะเป็นจุดสนใจที่ถูกเน้นขึ้นมา     และการจัดวางตำแหน่งที่ เหมาะสม ก็สามารถทำให้จุดนั้นเป็นจุดสำคัญขึ้นมาได้เช่นกัน     พึงเข้าใจว่า การเน้น ไม่จำเป็นจะต้องชี้แนะให้เห็นเด่นชัดจนเกินไป สิ่งที่จะต้อง ระลึกถึงอยู่เสมอ คือ เมื่อจัดวางจุดสนใจแล้ว จะต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้สิ่งอื่นมา
ดึงความสนใจออกไป จนทำให้เกิดความสับสน  การเน้น สามารถกระทำได้ด้วยองค์ ประกอบต่าง ๆ ของศิลปะ ไม่ว่าจะเป็น เส้น  สี แสง-เงา  รูปร่าง รูปทรง หรือ พื้นผิว ทั้งนี้ขึ้นอยู่ความต้องการในการนำเสนอของศิลปินผู้สร้างสรรค์

          5. เอกภาพ (Unity)
                       เอกภาพ  หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบศิลป์ทั้งด้านรูปลักษณะและด้านเนื้อหาเรื่องราว  เป็นการประสานหรือจัดระเบียบของส่วนต่าง ๆให้เกิดความเป็น หนึ่งเดียวเพื่อผลรวมอันไม่อาจแบ่งแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป การสร้างงานศิลปะ
คือ  การสร้างเอกภาพขึ้นจากความสับสน  ความยุ่งเหยิง  เป็นการจัดระเบียบ และดุลยภาพ ให้แก่สิ่งที่ขัดแย้งกันเพื่อให้รวมตัวกันได้ โดยการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆให้สัมพันธ์กันเอกภาพของงานศิลปะ มีอยู่  2 ประการ คือ
          5.1เอกภาพของการแสดงออก หมายถึง การแสดงออกทีมีจุดมุ่งหมายเดียว แน่นอน และมี ความเรียบง่าย  งานชิ้นเดียวจะแสดงออกหลายความคิด หลายอารมณ์ไม่ได้ จะทำให้สับสน ขาดเอกภาพ และการแสดงออกด้วยลักษณะเฉพาตัวของศิลปินแต่ละคน ก็สามารถทำให้ เกิดเอกภาพแก่ผลงานได
          5.2. เอกภาพของรูปทรง คือ การรวมตัวกันอย่างมีดุลยภาพ และมีระเบียบขององค์ประกอบ ทางศิลปะ เพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงหนึ่ง ที่สามารถแสดงความคิดเห็นหรืออารมณ์ของศิลปิน ออกได้อย่างชัดเจน เอกภาพของรูปทรง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อความงามของผลงานศิลปะ เพราะเป็นสิ่งที่ศิลปินใช้เป็นสื่อในการแสดงออกถึงเรื่องราว  ความคิด และอารมณ์  ดังนั้นกฎเกณฑ์ในการสร้างเอกภาพในงานศิลปะเป็นกฎเกณฑ์เดียวกันกับธรรมชาติ  ซึ่งมีอยู่ 2 หัวข้อ  คือ


   1. กฎเกณฑ์ของการขัดแย้ง (Opposition) มีอยู่ 4 ลักษณะ คือ
       1.1 การขัดแย้งขององค์ประกอบทางศิลปะแต่ละชนิด  และรวมถึงการขัดแย้งกันของ องค์ประกอบต่างชนิดกันด้วย
       1.2 การขัดแย้งของขนาด
       1.3 การขัดแย้งของทิศทาง
       1.4 การขัดแย้งของที่ว่างหรือ จังหวะ
        2. กฎเกณฑ์ของการประสาน (Transition) คือ การทำให้เกิดความกลมกลืน ให้สิ่งต่าง ๆ เข้ากันด้อย่างสนิท      เป็นการสร้างเอกภาพจากการรวมตัวของสิ่งที่เหมือนกันเข้าด้วยกัน  การประสานมีอยู่  2   วิธี  คือ
      2.1 การเป็นตัวกลาง (Transition) คือ  การทำสิ่งที่ขัดแย้งกันให้กลมกลืนกัน ด้วยการใช้ตัวกลางเข้าไปประสาน  เช่น สีขาว กับสีดำ ซึ่งมีความแตกต่าง ขัดแย้งกันสามารถทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีเอกภาพ   ด้วยการใช้สีเทาเข้าไปประสาน  ทำให้เกิดความกลมกลืนกัน มากขึ้น
      2.2 การซ้ำ (Repetition)  คือ การจัดวางหน่วยที่เหมือนกันตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไป  เป็นการสร้างเอกภาพที่ง่ายที่สุด แต่ก็ทำให้ดูจืดชืด น่าเบื่อที่สุด

        นอกเหนือจากกฎเกณฑ์หลักคือ การขัดแย้งและการประสานแล้ว ยังมีกฎเกณฑ์รองอีก 2 ข้อ คือ
      1. ความเป็นเด่น (Dominance)  ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ
1.1 ความเป็นเด่นที่เกิดจากการขัดแย้ง ด้วยการเพิ่ม หรือลดความสำคัญ   ความน่าสนใจในหน่วยใดหน่วยหนึ่งของคู่ที่ขัดแย้งกัน
1.2 ความเป็นเด่นที่เกิดจากการประสาน
2. การเปลี่ยนแปร (Variation) คือ การเพิ่มความขัดแย้งลงในหน่วยที่ซ้ำกัน เพื่อป้องกัน ความจืดชืด น่าเบื่อ ซึ่งจะช่วยให้มีความน่าสนใจมากขึ้น การเปลี่ยนแปรมี  4  ลักษณะ คือ
2.1 การปลี่ยนแปรของรูปลักษณะ
2.2 การปลี่ยนแปรของขนาด
2.3 การปลี่ยนแปรของทิศทาง
2.4 การปลี่ยนแปรของจังหวะ
การเปลี่ยนแปรรูปลักษณะจะต้องรักษาคุณลักษณะของการซ้ำไว้ ถ้ารูปมีการเปลี่ยน แปรไปมาก  การซ้ำก็จะหมดไป  กลายเป็นการขัดแย้งเข้ามาแทน และ  ถ้าหน่วยหนึ่งมีการ เปลี่ยนแปรอย่างรวดเร็ว   มีความแตกต่างจากหน่วยอื่น ๆ มาก จะกลายเป็นความเป็นเด่นเป็นการสร้างเอกภาพด้วยความขัดแย้ง

          6.เส้น(line)

                    เส้น คือ ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด  หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป  ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น  เส้นมีมิติเดียว  คือ  ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต  ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก  สี   ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ  รวมทั้งเป็นแกนหรือ
โครงสร้างของรูปร่างรูปทรง   เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดง  ความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น  เส้นมี 2  ลักษณะคือ เส้นตรง   (Straight Line) และ เส้นโค้ง   (Curve Line)  เส้นทั้งสองชนิดนี้  เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมาย ความรู้สึก  ที่แตกต่างกันอีกด้วย

        ลักษณะของเส้น

     1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง  ให้ความรู้สึกทางความสูง  สง่า  มั่นคง  แข็งแรง  หนักแน่น  เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง
     2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
     3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง
     4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็น   จังหวะ  มีระเบียบ  ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง
     5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ  อ่อนโยน นุ่มนวล
     6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่  หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด
     7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง  การเปลี่ยนทิศทาง  ที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง

   จากการที่เราได้เรียนรู้ในการจัดวางและความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์ ในทางกลับกลับนั้นเรายังคงต้องศึกษาพื้นฐานการเรียนทัษนศิลป์ ที่ต้องใช้ร่วมกับการจัดวางองค์ประกอบศิลป์แล้ว พื้นที่สำคัญจริงนั้นคือ
    1.เส้น
    2.สี
    3.รูปร่าง-รูปทรง
    4.ค่าน้ำหนัก
    5.พื้นผิว

   หลักการจัดองค์ประกอบทางทัศนศิลป์

                 หลักการจัดองค์ประกอบทางทัศนศิลป์ (Composition) คือ การนำเอาทัศนะธาตุ ได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักอ่อนแก่ บริเวณว่าง สี และพื้นผิว มาจัดประกอบเข้าด้วยกันจนเกิดความพอดี เหมาะสม ทำให้งานศิลปะชิ้นนั้นมีคุณค่าอย่างสูงสุด ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

   ความหมายของมิติ
        ในทางทัศนศิลป์ หมายถึง สิ่งที่ทำให้ภาพมีความตื้น ลึก หนา บาง ตามสภาพความเป็นจริง จากการมองเห็นและจับต้องได้ 

   ส่วนประกอบของมิติ
        1. จุด (dot)
        2. เส้น (line)
        3. รูปร่าง (shape)
        4. รูปทรง (form) 

    มิติในด้านรูปภาพ
        1. สามมิติที่เกิดจากสี
        2. สามมิติที่เกิดจากแสงและเงา
        3. สามมิติที่เกิดจากบริเวณว่าง
        4. สามมิติที่เกิดจากการบังกัน ทับกัน หรือซ้อนกัน
        5. สามมิติที่เกิดจากการแตกต่างกันของขนาด
        6. สามมิติที่เกิดจากเส้นและจุดรวมสายตา
        7. สามมิติที่เกิดจากเส้น และแสงเงา
        8. สามมิติที่เกิดจากเส้น สี และแสงเงา 

     มิติในด้านรูปทรง

             1. สามมิติเกิดจากการรับรู้ทางการมองเห็นรูปทรงที่เป็นปริมาตร ได้แก่ รูปทรงเรขาคณิต ธรรมชาติ อิสระ ที่มีความกว้าง ยาว ลึกหรือหนา ของภาพ
             2. สามมิติเกิดจากการรับรู้ทางการจับต้องรูปทรงที่ เป็นปริมาตร ได้แก่ รูปทรงเรขาคณิต ธรรมชาติ อิสระ ที่มีความกว้าง ยาว ลึกหรือหนา ตามสภาพความเป็นจริง

      หลัการจัดวาง ( Law of Composition)

  • กฏและทฤษฏีการจัดวางองค์ประกอบภาพ
  • Rule Of Third กฏหนึ่งในสาม และจุดตัดเก้าช่อง เรียนรู้การใช้งานแบบพื้นฐานและประยุกต์ เพื่อผลงานที่สวยงามและสมบูรณ์
  • Golden Ratio หรือ Golden Mean ความหมายและการเลือกใช้ในการจัดวางองค์ประกอบภาพ
  • Brake Of Law การถ่ายภาพที่คำนึงถึงอารมณ์ ความรู้สึกและสวยงามมากกว่ากฏและทฤษฏี

สำหรับหลักทั้งสามประการที่กล่าวมาแล้วนั้นหากเรารู้จักนำไปใช้ ก่อนที่เราจะลั่นซัตเตอร์แต่ละครั้งเป็นสิ่งที่ช่างภาพควรคิดและนำมาใช้ให้เกิดประโชยน์ในการถ่ายภาพเพื่อให้ท่านได้ผลงานออกมาเป็นที่พอใจช่างภาพหลายคนละเลยในส่วนนี้ไปทำให้เราพลาดโอกาสที่จะได้ภาพสวย ๆ มาอวดเพื่อน ๆ ในบางคร้้งการถ่ายภาพให้ดีนั้นต้องมีบางกรณ๊เป็นข้อยกเว้นนั่นก็คือการเแหกกฏของการถ่ายภาพ (Break of Law ) ไม่ยึดแนวทางทั้่งสามแบบที่กล่าวมาแล้วแต่เป็นการเดิมจินตนาการของช่างภาพเองลงในแผ่น memory ให้ออกมาเป็นงานศิลปะที่งดงาม

สำหรัการถ่ายภาพแล้วคงไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากต่อไปแล้วเมื่อเราได้เรี่ยนรู้การสิ่งที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น เพียงแต่ช่างภาพต้องคิดและนำเสนอรูปแบบที่เราต้องการสื่อออกมาให้เห็นโดยดึงเอาความรู้ทั้งสามอย่างมารวมกันเป็นความคิดหนึ่งเดียว  ภายใต้ความคิดนี้ต้องทำอย่างรวดเร็วให้ทันเวลากับการเปลี่ยนแปลงสภาพแสงในขณะนั้น (ผมพูดถึงการถ่าย Landscape) เพราะในการถ่าย Landscape นั้นช่วงเวลาที่แสงสวย ประมาณ  2-5 นาทีเท่านั้น เราอาจพลาดแสงที่สวยงาม นั่นหมายถึงพลาดที่จะได้ภาพสวยงามเช่นกันดังนั้นการที่จะได้ภาพสวยงามนั้น ช่างภาพต้องฝึกให้มากอย่างกลัวเปลียงชัตเตอร์

ข้อใดคือการจัดองค์ประกอบศิลป์

การจัดองค์ประกอบศิลป์ หลักการจัดองค์ประกอบทางทัศนศิลป์ (Composition) คือ การนำเอาทัศนะธาตุ ได้แก่ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักอ่อนแก่ บริเวณว่าง สี และพื้นผิว มาจัดประกอบเข้าด้วยกันจนเกิดความพอดี เหมาะสม ทำให้งานศิลปะชิ้นนั้นมีคุณค่าอย่างสูงสุด ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

ข้อใด คือ เอกภาพในการจัดองค์ประกอบศิลป์

1. เอกภาพ (Unity) หมายถึง การจัดทัศนธาตุของศิลปะให้มีความประสานกลมกลืน มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเป็นกลุ่มก้อนไม่กระจัดกระจาย และแสดงออกให้เห็นได้ถึงความพอดีของความงาม วิธีการสร้างเอกภาพ การสร้างเอกภาพทำได้ ด้วยการนำรูปร่างรูปทรงมาจัดให้มีความสัมพันธ์กัน ทำได้หลายวิธี เช่น วิธีสัมผัส วิธีทับซ้อน และวิธีจัดกลุ่ม

ข้อใดหมายถึงความเป็นเอกภาพ

เอกภาพ หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบศิลป์ทั้งด้าน รูปลักษณะและด้านเนื้อหาเรื่องราว เป็นการประสานหรือจัดระเบียบของส่วนต่าง ๆ ให้เกิด ความเป็นหนึ่งเดียวเพื่อผลรวมอันไม่อาจแบ่งแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป การสร้างงานศิลปะ คือ การสร้างเอกภาพขึ้นจากความสับสน ความยุ่งเหยิง เป็นการจัดระเบียบ และดุลยภาพ ให้แก่ ...

ข้อใดหมายถึงการนำองค์ประกอบของศิลปะมาจัดเข้าด้วยกัน

เอกภาพหมายถึง การนำองค์ประกอบศิลปะมาจัดเข้าด้วยกันให้เกิดความเท่ากันหรือสมดุล การนำองค์ประกอบศิลปะมาทำให้เกิดความสมดุล ประสานกลมกลืนเกิดเป็นผลรวมที่แบ่งแยกกันได้