อาการปวดท้องโรคกระเพาะเป็นอย่างไร

โรคกระเพาะอาหารอักเสบเป็นโรคไม่ร้ายแรง ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการแตกต่างกันหรือไม่พบความผิดปกติใด ๆ ซึ่งอาการที่พบโดยส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์จะมีอาการดังต่อไปนี้  

  • รู้สึกปวดบริเวณท้องส่วนบน ตั้งแต่บริเวณใต้ลิ้นปี่ลงไปถึงเหนือสะดือ อาการอาจดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิมหลังรับประทานอาหาร
  • อิ่มเร็ว รับประทานอาหารได้ไม่มาก
  • เรอบ่อย มีอาการท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย 
  • รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน 
  • ไม่มีความอยากอาหาร 
  • ปวดแสบร้อน จุกหน้าอก

ผู้ป่วยอาจมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นพัก ๆ แล้วหายไป แต่หากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นนานเป็นสัปดาห์หรือมากกว่านั้น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระปนมูกเลือดหรืออุจจาระเป็นสีดำ หรือมีอาการในช่วงการรับประทานยาสามัญในกลุ่มยาแก้ปวด โดยเฉพาะยาแอสไพริน ยาระงับอาการปวดข้อ ปวดกระดูกต่าง ๆ ควรรีบพบแพทย์ทันที

โรคกระเพาะอาหาร มักใช้เป็นคำเรียกรวมกว้างๆ ของอาการปวดท้อง ที่คิดว่าน่าจะมีพยาธิสภาพที่กระเพาะอาหาร โดยแบ่งโรคกระเพาะอาหารออกเป็น 2 กลุ่ม

1. กลุ่มที่พบสาเหตุ และมีความผิดปกติจากการส่องกล้อง

อย่างเช่น กระเพาะอาหารอักเสบ และแผลในกระเพาะอาหาร สาเหตุ ที่สำคัญ คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H.pylori) ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง ยังทำให้เกิดแผลได้ทั้งในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น และยังถือว่าเป็นเชื้อที่ก่อมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย สาเหตุที่พบบ่อยอีกอย่างหนึ่งคือ การรับประทานยาที่ทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะในกลุม ยาแก้อักเสบ NSAIDs หรือ สเตียรอยด์ สาเหตุอื่นที่พบได้น้อยกว่าคือ การติดเชื้ออื่นๆ ที่ไม่ใช่เชื้อ H.pylori เนื้องอกหรือมะเร็งกระเพาะอาหาร โรคลำใส้อักเสบ Crohn’s disease เป็นต้น

2. กลุ่มที่ไม่พบสาเหตุ หรือ ความผิดปกติจากการส่องกล้องกระเพาะอาหาร

อาการปวดท้องกลุ่มนี้ เชื่อว่าเกิดจากการทำงาน หรือการรับรู้ของกระเพาะอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากเป็นความผิดปกติของกระเพาะอาหารจึงอาจไม่พบลักษณะผิดปกติทางกายภาพของกระเพาะอาหาร จากการส่องกล้อง หรือ มีแค่ การอักเสบเล็กน้อย กลุ่มนี้ เป็นกลุ่มส่วนใหญ่ของผู้ที่มีอาการปวดท้องกระเพาะอาหารเรื้อรัง

หากใครที่มีอาการ “หิวก็ปวด อิ่มก็ปวด” ให้สันนิษฐานไว้ก่อนได้เลยว่าอาการปวดท้องที่มักจะมาก่อนและหลังรับประทานอาหาร หรือแม้แต่เวลาท้องว่างแบบนี้ ส่วนใหญ่มักจะเป็นอาการของโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งในปัจจุบันด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนเมืองที่มักจะรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา กินอาหารรสเผ็ดจัด เครียดจากการทำงาน จึงทำให้เป็นโรคนี้ได้ง่าย ส่วนการรักษาจะเป็นอย่างไร ไปหาคำตอบกันได้เลย

โรคกระเพาะอาหารมีกลไกการเกิดที่ซับซ้อนมากและเกิดได้จากหลายสาเหตุ ในแต่ละสาเหตุจะทำให้เกิดภาวะที่มีกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารมากเกินไป จนทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ


1. กลุ่มโรคกระเพาะชนิดมีแผล อาจเป็นแผลตรงกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น

โดยสาเหตุเกิดจากการใช้ยาต้านการอักเสบบางชนิด เช่น ยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน อินโดเมทาซิน นาโพรเซน ไพร็อกซิแคม ไดโคลฟีแนก ฯลฯ ซึ่งก็คือยาแก้ปวดปวดต่างๆ หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacterpylori) หรือ เอชไพโลไร (H. pylori) ซึ่งติดต่อได้จากการรับประทานอาหาร เชื้อนี้จะอาศัยอยู่ในชั้นเมือกที่ปกคลุมผิวกระเพาะอาหาร แล้วสร้างสารที่เป็นด่างออกมาเจือจางกรดที่อยู่รอบๆ ตัวมัน และสร้างสารพิษทำลายเซลล์เยื่อบุผิวของกระเพาะอาหารได้ จึงทำให้เซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร อาจเรื้อรังถึงขั้นมะเร็งกระเพาะอาหารได้


2. กลุ่มโรคกระเพาะที่ไม่มีแผล

มีสาเหตุที่หลากหลาย เกิดจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา การรับประทานอาหารที่มีรสชาติเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ภาวะกรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาหลอดอาหาร การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา กาแฟ และความเครียด ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารเกิดการระคายเคืองจนเกิดการอักเสบเรื้อรัง แล้วนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นได้


อาการปวดแบบใดจึงเรียกว่าปวดท้องโรคกระเพาะ?

ถือเป็นคำถามยอดฮิตของผู้ที่มีอาการปวดท้องว่าอาการปวดที่เป็นอยู่ คือปวดท้องโรคกระเพาะใช่หรือไม่ ซึ่งผู้ที่เป็นโรคกระเพาะมักมีอาการปวดแสบ ปวดตื้อ จุกเสียดหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ อาการปวดเหล่านี้เป็นได้ทั้งเวลาก่อนรับประทานอาหารหรือหลังรับประทานอาหารใหม่ๆ และเวลาท้องว่าง เช่น เวลาหิวข้าว ตอนเช้ามืดหรือตอนดึกๆ ก็ปวดท้องได้เช่นกัน อาการปวดจะเป็นๆหายๆ เป็นได้วันละหลายๆ ครั้ง หรือตามมื้ออาหาร แต่ละครั้งที่ปวดจะนานประมาณ 15 – 30 นาที อาการปวดจะบรรเทาลงได้ถ้ารับประทานอาหาร ดื่มนมหรือรับประทานยาลดกรด

อย่างไรก็ตาม ความผิดปกติในกระเพาะอาหารที่เกิดจากกรดนั้น ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีอาการปวดท้องเสมอไป โดยผู้ป่วยหลายรายมาพบแพทย์เพราะอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระดำ ซึ่งเป็นผลมาจากแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากกรดเกิน หรือมีอาการแสบแน่นที่หน้าอกเนื่องจากกรดไหลย้อนทำให้หลอดอาหารอักเสบ หรือไอเพราะอักเสบขึ้นมาถึงคอ อาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหารทั้งสิ้น


เป็นโรคกระเพาะแล้วจะรักษาอย่างไร?

วิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือ การรับประทานยาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยปกติแล้วเมื่อเป็นโรคกระเพาะจะต้องกินยาอยู่ 2 กลุ่ม คือ ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร และยากระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ซึ่งถ้าผู้ป่วยมีแผลเกิดขึ้นในกระเพาะอาหาร แพทย์จะแนะนำให้กินยาลดกรดต่อเนื่องเป็นเวลา 6 - 8 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะหายผ่านการดูด้วยการส่องกล้องทางเดินอาหาร

ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีความผิดปกติในเบื้องต้น แพทย์มักจะแนะนำให้กินยาลดกรดก็ต่อเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นเท่านั้น ส่วนยาประเภทอื่นๆ อาทิ ยาขับลม ก็แนะนำว่าให้กินเฉพาะตอนที่มีอาการแน่นท้องจากลมที่เกิดขึ้นมากในกระเพาะอาหาร โดยกินในเวลาที่มีอาการได้ตามต้องการ

สิ่งสำคัญคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ เช่น รับประทานอาหารให้ตรงเวลาทุกมื้อ รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่ายในปริมาณที่ไม่มากเกินไป งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ ชา กาแฟหรือเครื่องดื่มกาเฟอีน น้ำอัดลม หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัดและของหมักดอง นอกจากนี้ทุกครั้งที่รับประทานอาหารควรเคี้ยวให้ละเอียด หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่เสตอรอยด์ ยาสเตอรอยด์ และปรึกษาแพทย์ทุกครั้งที่ใช้ยา หลีกเลี่ยงความเครียด ความกังวล พักผ่อนให้เพียงพอ

แม้ว่าโรคกระเพาะอาหารไม่ถือว่าเป็นโรคที่อันตราย แต่สิ่งที่ควรระวังคือ โรคกระเพาะอาหารมักจะเป็นเรื้อรัง เมื่อรักษาแผลหายไปแล้วก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หากปล่อยไว้จนเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร กระเพาะทะลุ และกระเพาะอุดตัน ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยถึงขั้นแก่เสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงควรจะปฏิบัติตนให้ถูกต้อง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม ซึ่งเป็นวิธีป้องกันการเป็นโรคกระเพาะอาหารได้ดีที่สุด รวมทั้งป้องกันการนำไปสู่โรคอื่นๆ ได้อีกด้วย

ปวดท้องโรคกระเพาะเป็นแบบไหน

สำหรับอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหารนั้น ผู้ป่วยจะปวดจุก แสบ แน่นบริเวณเหนือสะดือกลางท้องหรือบริเวณลิ้นปี่ โดยอาจเป็นได้ทั้งการปวดแบบเฉียบพลันและปวดแบบเรื้อรัง

อาการของโรคกระเพาะเป็นยังไง

อาการโรคกระเพาะอาหารอักเสบ.
ปวด เสียด ตื้อ จุก และแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่.
ปวดท้อง รู้สึกไม้สบายช่องท้องส่วนบน.
ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอบ่อย.
ปวดท้องก่อนและหลังรับประทานอาหาร.
ปวดท้องตอนท้องว่างหรือปวดท้องกลางดึก.
มีอาการปวดแบบเป็นๆ หายๆ.
คลื่นไส้หรืออาเจียนหลังรับประทานอาหาร.
อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร.

แผลในกระเพาะอาหารปวดตรงไหน

อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหาร ปวดแสบ ปวดร้อนในกระเพาะอาหาร ตำแหน่งระหว่างหน้าอกและสะดือ โดยอาจปวดเมื่อท้องว่างระหว่างมื้ออาหาร ปวดกลางดึก หรือเวลาใดก็ได้ ปวดท้องมาก โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด อาการปวดมักเป็นๆ หายๆ

จะรู้ได้ไงว่ากระเพาะเป็นแผล

อาการสำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหาร.
ปวดหรือจุกบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือหน้าท้องช่วงบน.
ปวดท้องมากเฉพาะหลังรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด.
ปวดๆหายๆ เป็นแรมปี.
ปวดแน่นท้องยามดึกหลังจากหลับไปแล้ว.
แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี แต่สุขภาพทั่วไปไม่ทรุดโทรม น้ำหนักไม่ลด ไม่ขึ้นลง.