การมีส่วนร่วมในสังคม มีอะไรบ้าง

การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม

  เมื่อบุคคลมาอยู่รวมกันเป็นสังคม ปัญหาต่าง ๆ ก็ย่อมจะเกิดตามมาเสมอ ยิ่งสังคมมีขนาดใหญ่ ปัญหาก็ยิ่งจะมีมากและสลับซับซ้อนเป็นเงาตามตัว ปัญหาหนึ่งอาจจะกลายเป็นสาเหตุอีกหลายปัญหาเกี่ยวโยงกันไปเป็นลูกโซ่ ถ้าปล่อยไว้ก็จะเพิ่มความรุนแรง เพิ่มความสลับซับซ้อน และขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ ยากต่อการแก้ไข ความสงบสุขของประชาชนในสังคมนั้นก็จะไม่มี

 แนวคิดในการพัฒนาสังคม

1. กระบวนการ (Process) การแก้ปัญหาสังคมต้องกระทำต่อเนื่องกันอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากลักษณะหนึ่งไปสู่อีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งจะต้องเป็นลักษณะที่ดีกว่าเดิม

2. วิธีการ (Method) การกำหนดวิธีการในการดำเนินงาน โดยเฉพาะเน้นความร่วมมือของประชาชนในสังคมนั้นกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลที่จะทำงานร่วมกัน และวิธีการนี้ต้องเป็นที่ยอมรับว่า สามารถนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมได้อย่างถาวรและมีประโยชน์ต่อสังคม

3. กรรมวิธีเปลี่ยนแปลง (Movement) การพัฒนาสังคมจะต้องทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ได้ และจะต้องเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะเ น้นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของตน เพื่อให้เกิดสำนึกในการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อผลประโยชน์ของส่วนรวม และรักความเจริญก้าวหน้าอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางวัตถุ

4. แผนการดำเนินงาน (Planning) การพัฒนาสังคมจะต้องทำอย่างมีแผน มีขั้นตอน สามารถตรวจสอบ และประเมินผลได้ แผนงานนี้จะต้องมีทุกระดับ นับตั้งแต่ระดับชาติ คือ แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ลงมาจนถึงระดับผู้ปฏิบัติ แผนงานจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาสังคม

  การพัฒนาสังคมไทย สามารถกระทำไปพร้อม ๆ กันทั้งสังคมในเมืองและสังคมชนบท แต่เนื่องจากสังคมชนบทเป็นที่อยู่อาศัยของชนส่วนใหญ่ของประเทศ การพัฒนาจึงทุ่มเทไปที่ชนบทมากกว่าในเมือง และการพัฒนาสังคมจะต้องพัฒนาหลาย ๆ ด้าน ไปพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะที่เป็นปัจจัยต่อการพัฒนาด้านอื่น ๆ ได้แก่การศึกษา และการสาธารณสุข

1. ความสำคัญและประโยชน์ของการมีส่วนร่วม 

        เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ต้องการปฏิรูปการเมืองไปสู่สังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง

ดังนั้น สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญจึงมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนทุกคน โดยสรุปดังนี้

  1. ส่งเสริมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
  2.  ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง
  3.  มีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและ  ประสิทธิภาพ

สิทธิ คือ ผลประโยชน์หรืออำนาจอันชอบธรรมที่กฎหมายรับรอง คุ้มครองให้มีทั้งสิทธิเอกชนส่วนบุคคล) และสิทธิมหาชน (สาธารณะ) 

 เสรีภาพ คือ สิทธิที่จะทำหรือไม่ทำอะไรก็ได้โดยไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น ดังนั้นเสรีภาพที่กฎหมายรับรองจึงเป็นสิทธิ

สิทธิชุมชน ที่ประชาชนมีสิทธิตามกฎหมาย ได้แก่  การจัดการท้องถิ่น การจัดการสิ่งแวดล้อม    การประชาพิจารณ์ เป็นต้น

สิทธิในการดำรงชีวิต ทุกคนมีสิทธิที่จะดำรงชีวิตได้โดยอิสระตามกฎหมายกำหนด สิทธิดังกล่าวนั้นประกอบด้วย  สิทธิที่จะได้รับการศึกษา การรับข้อมูลข่าวสาร และการฟ้องหน่วยราชการ ฯลฯ

การมีส่วนร่วมของประชาชนคือ การให้โอกาสประชาชนเป็นฝ่ายตัดสินใจกำหนดปัญหาความต้องการของตนเองอย่างแท้จริง เป็นการเสริมพลังอำนาจให้แก่ประชาชน/กลุ่มองค์กรชุมชนให้สามารถระดมขีดความสามารถในการจัดการทรัพยากร การตัดสินใจ และการควบคุมดูแลกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนมากกว่าที่จะเป็นฝ่ายตั้งรับ สามารถกำหนดการดำรงชีวิตได้ด้วยตนเอง ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามความจำเป็นอย่างมีศักดิ์ศรีและสามารถพัฒนาศักยภาพของประชาชน/ชุมชนในด้านภูมิปัญญา ทักษะ ความรู้ ความสามารถ และการจัดการและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกได้ และประชาชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการอย่างมีอิสระ การทำงานต้องเน้นในรูปกลุ่มหรือองค์กรชุมชนที่มีวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมอย่างชัดเจน เนื่องจากพลังกลุ่มจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานพัฒนาต่างๆ บรรลุสำเร็จตามความมุ่งหมายได้

2.  ประโยชน์ของการมีส่วนร่วม

1. เพิ่มคุณภาพในการตัดสินใจ (ตรงตามความต้องการ)

2. สร้างฉันทามติ (ลดความขัดแย้ง)

3. เพิ่มความง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ (ความเป็นเจ้าของร่วม)

4. ดำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ/ชอบธรรม

ทำไมประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วม

1. ประชาชนมีความรู้ ความสามารถ

2. เพื่อแก้ปัญหาสังคม “ปัญหาของเรา”

3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน

4. เพื่อสร้างผู้นำในอนาคต

5. สร้างแนวในการแก้ปัญหาร่วมกัน

การเมืองภาคพลเมือง

การเมืองภาคพลเมือง หมายถึง การมีส่วนร่วมของประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมืองในเรื่องต่อไปนี้

  1. การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม
  2. การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลในเรื่องเกี่ยวกับสาธารณชนและชุมชน
  3. การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่ม และของชุมชนในฐานะสมาชิกหรือผู้นำ
  4. การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือความขัดแย้งโดยสันติวิธีและมีความรับผิดชอบ
  5. การปฏิบัติตนต่อผู้อื่นในสถานที่ทำงานด้วยความยุติธรรมทั้งในฐานะนายจ้าง ลูกจ้างและเพื่อนร่วมงาน

การที่จะทำให้การเมืองภาคพลเมืองเกิดผลสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือ การมีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยของบุคคล ซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมที่แสดงออก 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. คารวะธรรม

       - เคารพในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

       - เคารพซึ่งกันและกันทางกาย

       - เคารพทางวาจา

       - เคารพในสิทธิของผู้อื่น

       - เคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น

       - เคารพในกฎ ระเบียบของสังคม

       - มีเสรีภาพและใช้เสรีภาพในขอบเขต

 2. สามัคคีธรรม

       - รู้จักประสานประโยชน์โดยถือประโยชน์ของส่วนรวมหรือของชาติเป็นที่ตั้ง

       - ร่วมมือกันในการทำงาน

       - เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

       - รับผิดชอบต่อหน้าที่

       - มีน้ำหนึ่งใจเดียว รักหมู่คณะ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

3. ปัญญาธรรม

       - การไม่ถือตนเป็นใหญ่

       - เน้นการใช้ปัญญา ใช้เหตุผล และความถูกต้องในการตัดสินปัญหา

       - เมื่อมีปัญหาโต้แย้ง ต้องพยายามใช้เหตุผลให้เห็นคล้อยตาม วิธีสุดท้ายคือการออกเสียงหรือใช้เสียงข้างมาก

       - เมื่อได้รับข่าวสารข้อมูลแล้ว วิเคราะห์ประมวลเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยสติปัญญา 

แนวทางการมีส่วนร่วม

  1. สนใจติดตามข้อมูลข่าวสารด้านการเมือง
  2. ติดตาม ตรวจสอบการทำงานและพฤติกรรมของนักการเมือง
  3. สนับสนุนผู้สมัครและพรรคการเมืองที่ดี
  4. ต่อต้านนักการเมืองที่ไม่ดี
  5. ให้ความร่วมมือกับทางราชการในการพัฒนาประเทศ เช่น เสียภาษี ปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
  6. คัดค้านนโยบายที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ส่วนรวม โดย

       - ศึกษาข้อเท็จจริงให้ถี่ถ้วน

       - นำเสนอปัญหาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ

       - ชุมนุมคัดค้านโดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

  7. ร่วมกันปกป้องสิทธิของตนไม่ให้ถูกละเมิด

  8. เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องทางการเมือง

การเมืองภาคตัวแทน

                การเมืองภาคตัวแทน หมายถึง การปกครองที่ไม่ได้ให้ประชาชนกำหนดนโยบายของรัฐได้โดยตรง แต่ประชาชนจะมอบอำนาจด้วยการเลือกตัวแทนไปใช้อำนาจแทน

                มีข้อเสียคือ เนื่องจากประชาชนไม่ได้กำหนดนโยบายของรัฐโดยตรง ดังนั้นตัวแทนอาจบิดเบือนไม่ได้ใช้อำนาจตามเจตนารมณ์ของประชาชน แต่มีข้อดีตรงที่ประชาชนไม่ต้องยุ่งยาก และข้อดีที่สำคัญที่สุดคือ หากให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจนโยบายของรัฐในบางเรื่องที่ประชาชนไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่เพียงพอ อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากได้ ดังนั้น การให้ประชาชนพิจารณาเลือกคนดีที่มีความรู้ดีในเรื่องนั้นๆ ไปตัดสินใจแทนน่าจะประสบผลดีกว่า

                สำหรับการเมืองภาคตัวแทนในประเทศไทย ได้กำหนดให้ประชาชนเลือกฝ่ายนิติบัญญัติแล้วให้ ฝ่ายนิติบัญญัติเลือกฝ่ายบริหาร ดังนั้นระบบนี้จะมีการคานอำนาจถ่วงดุลกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร และที่เรียกว่า ประชาธิปไตยทางอ้อมระบบรัฐสภาก็เพราะว่า กำหนดให้รัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ)  มีอำนาจมากกว่าฝ่ายบริหาร กล่าวคือ รัฐสภาเป็นผู้เลือกและตรวจสอบฝ่ายบริหาร รวมถึงสามารถปลดฝ่ายบริหารออกได้ (ด้วยการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ) แต่ก็ให้ฝ่ายบริหารคานอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติได้ด้วยการยุบฝ่ายนิติบัญญัติ (ยุบสภาฯ) แต่มีผลให้ฝ่าบริหารต้องพ้นจากตำแหน่งไปด้วย

การมีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง

                การเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. รวมทั้งการเลือกตั้งท้องถิ่น เป็นสิทธิและหน้าที่ของประชาชน การเลือกตั้งจะบรรลุเป้าหมายของการคัดเลือกตัวแทนของประชาชนเข้าไปออกกฎหมายและเข้าไปบริหารประเทศ รวมทั้งการกลั่นกรองกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นก็ต่อเมื่อประชาชนเข้าใจการเมือง และเข้าใจว่าการเลือกตั้งที่ทุจริตคือบ่อเกิดของการฉ้อราษฎร์บังหลวง ดังนั้นประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งและถือว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องช่วยกันทำให้การเลือกตั้งสุจริตและเที่ยงธรรม เพื่อให้คนดีเข้าไปพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ

ประชาชนมีส่วนร่วมได้ดังนี้

  1. สมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
  2. สอดส่องดูแลการเลือกตั้ง คอยแจ้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ เมื่อพบเบาะแสการทุจริตและการซื้อสิทธิขายเสียง
  3. ไปใช้สิทธิเลือกตั้งโดยพร้อมเพรียงกัน
  4. สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจสอบการเลือกตั้ง สามารถทำได้โดยเข้าไปเป็นสมาชิก หรืออาสาสมัครขององค์การเอกชนที่คณะกรรมการการเลือกตั้งรับรอง และสนับสนุนให้ตรวจสอบการเลือกตั้ง
  5. สำหรับผู้ที่ต้องการจัดการเลือกตั้ง อาจเข้ามามีส่วนร่วมโดยการเป็นกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด กรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง กรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง (กปน.)  หรือกรรมการนับคะแนนเลือกตั้ง (กนค.) ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.   (2554).  คู่มือการฝึกอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ระดับผู้นำ  ขั้นความรู้ชั้นสูง  โครงการลูกเสืออาสา กกต. เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ:   สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมมีอะไรบ้าง

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสังคมมีขั้นตอนต่อไปนี้ - การมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา - การมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน - การมีส่วนร่วมในการลงทุนและปฏิบัติงาน

การมีส่วนร่วมในชุมชน มีอะไรบ้าง

การเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนจึงควร ประกอบด้วย (1) การวิเคราะห์สังเคราะห์ปัญหาของชุมชน (2) การวางแผนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิต (3) การก าหนดกิจกรรม (4) การด าเนินกิจกรรม และ (5) การประเมินผลกิจกรรม โดยให้ความส าคัญกับการใช้ชุมชน เป็นศูนย์กลางในการเข้ามามีส่วนร่วม หน่วยงานภาครัฐคอย ช่วยเหลือ ให้คาแนะนาหรืออานวยความ ...

กิจกรรมทางสังคม มีอะไรบ้าง

🥰🤩กิจกรรมทางสังคม (Social Activities) เป็นกิจกรรมที่กลุ่มคนในสังคม ร่วมจัดขึ้น เน้นการรวมตัวกันของบุคคลอันจะก่อให้เกิดสัมพันธภาพอันดีต่อกัน เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานเลี้ยงวันเกิด การฉลองในโอกาสพิเศษต่าง ๆ หรือกิจกรรมสร้างสรรค์ที่จัดขึ้นในชุมชน

การมีส่วนร่วมกับชุมชนมีความสำคัญอย่างไร

การมีส่วนร่วมในชุมชนมีความสาคัญเป็นอย่างยิ่งต่อองค์กรพันธมิตรและชุมชนในการส่งเสริมให้: 1. พลเมืองในท้องถิ่นมีพลังความสามารถในการดูแลตนเองได้ 2. ความไม่เท่าเทียมกันลดลงและช่วยลดช่องว่างระหว่างพื่นที่ที่ขาดแคลนมากที่สุดและน้อยที่สุดได้ 3. เกิดการบริการต่าง ๆ ที่ตอบสนองความจาเป็นของผู้รับบริการได้อย่างแท้จริงและทาให้เกิด ...