การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน(Python) คืออะไร

Python (ไพทอน) เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับสูง โดยถูกออกแบบมาให้เป็นภาษาสคริปต์ที่อ่านง่าย ไม่เหมือนภาษาพูดของมนุษย์ มีการตัดความซับซ้อนของโครงสร้างและไวยากรณ์ของภาษาออกไป เพื่อเอาไว้แปลงเป็นชุดคำสั่ง สั่งการใช้งานต่ออุปกรณ์เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่าง ซึ่งการสั่งงานด้วยภาษา Python เรามักจะเขียนให้มีการทำงานแบบ Interpreter คือเป็นการแปลชุดคำสั่งทีละบรรทัด เพื่อป้อนเข้าสู่หน่วยประมวลผลให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ

นอกจากนี้ภาษาโปรแกรม Python ยังสามารถเขียนโปรแกรมได้หลากหลายมาก โดยไม่ได้จำกัดอยู่ที่งานเฉพาะทางใดทางหนึ่ง (General-purpose language) จึงทำให้มีการนำไปใช้กันแพร่หลายในหลายองค์กรใหญ่ระดับโลก เช่น Google, YouTube, Instagram, Dropbox และ NASA เป็นต้น 

ประวัติของภาษาโปรแกรม Python

สำหรับประวัติของภาษาโปรแกรม Python ได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนธันวาคมปี 1989 โดยนาย Guido van Rossum โปรแกรมเมอร์ชาวดัตช์ ในตอนนั้นทำงานอยู่ที่สถาบันวิจัยแห่งชาติ Centrum Wiskunde & Informatica (CWI) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในเวลานั้น Guido ต้องพัฒนาโปรแกรมสำหรับผู้ดูแลระบบ เพื่อใช้ในโครงการ Amoeba ซึ่งเป็นโครงการเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการแบบกระจาย (Distributed operating system) อย่างไรก็ตามเขารู้สึกว่าภาษาโปรแกรม ABC, C และ Bourne shell มีข้อจำกัดมากมาย ทั้งเรื่องใช้เวลาในการพัฒนานานมากและไม่สามารถตอบโจทย์หลายประการ ดังนั้น Guido จึงได้ตัดสินใจเริ่มพัฒนาภาษาโปรแกรมระดับสูงขึ้นมาใหม่เพื่อใช้งานเองเป็นงานอดิเรก โดยนำเอาสิ่งที่ชอบในภาษา ABC มาพัฒนาลงไปในภาษาโปรแกรม Python รวมถึงได้พัฒนาส่วนอื่น ๆ เพิ่มเติมเข้าไป และในเวลาต่อมาจึงได้เผยแพร่ Python 1.0 เวอร์ชันแรกในปี 1994 ถ้าลองเทียบกับภาษา Java ที่ได้ทำการเผยแพร่เวอร์ชันแรกในปี 1996 จะเห็นได้ว่าภาษา Python มีอายุมากกว่าภาษา Java ถึง 2 ปี

ส่วนที่มาของชื่อภาษาโปรแกรม Python ชื่อแรกที่เข้ามาในความคิดของ Guido ก็คือ มอนตี้ ไพธอน: ละครสัตว์เหินหาว (Monty Python’s Flying Circus) ซึ่งเป็นชื่อรายการโทรทัศน์ทางช่อง BBC แนวตลกชื่อดังจากฝั่งอังกฤษที่เขาชื่นชอบมาก ๆ โดยเขาให้เหตุผลว่า “Python” เป็นชื่อที่สั้น จำได้ง่าย ฉีกแนวนิดๆ และดูลึกลับ ในตอนนั้นโดยทั่วไปมักจะนิยมเอาชื่อของบุคคลที่มีชื่อเสียงมาใช้เป็นชื่อภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น Ada, Pascal และ Eiffel ถึงแม้ว่าทีมนักแสดงในรายการจะไม่ได้มีชื่อเสียงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็ตาม นี่คือเหตุผลที่มาที่ไปของชื่อภาษา Python นอกจากนั้น Guido ยังใช้ชื่อของนักแสดงตลกชาวอังกฤษชื่อดังและเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งทีม Monty Python ที่ชื่อ Eric Idle มาใช้เป็นชื่อ IDE หรือเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมว่า “IDLE” อีกด้วย 

เราควรจะเลือกศึกษาเวอร์ชัน Python 2.x หรือ Python 3.x?

           นับจากวันนั้นถึงวันนี้ Python ได้มีการพัฒนาภาษาขึ้นมาเรื่อย ๆ ในปัจจุบันภาษาโปรแกรม Python มีเวอร์ชันให้เลือกใช้งานคือ Python 2.x และ Python 3.x ซึ่งเผยแพร่มาตั้งแต่ในปี 2000 และ 2008 ตามลำดับ ซึ่งปัญหาทั่วไปของผู้เริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python คือการตัดสินใจเลือกใช้งานระหว่างเวอร์ชัน Python 2.x หรือ Python 3.x ควรใช้เวอร์ชั่นไหนดีกว่ากัน?

จากข้อมูลเบื้องต้น Python 2.x จะไม่มีการเพิ่มเติมฟีเจอร์และฟังก์ชันใหม่ใด ๆ และไม่ได้รับการสนับสนุนไปตั้งแต่วันที่ 1 เดือนมกราคมปี 2020 แล้ว

ดังนั้นผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python จึงขอแนะนำให้ตัดสินใจเลือกเวอร์ชัน Python 3.x ไปเลย ยิ่งไปกว่านั้น Python 3.x จะมีการพัฒนาฟีเจอร์และฟังก์ชันใหม่เพิ่มเติมอีกในอนาคต ส่วนโมดูลและไลบรารีต่าง ๆ ในปัจจุบัน สามารถรองรับการทำงานของเวอร์ชัน Python 3.x ได้แล้ว

ทำไมต้องเรียน Python?

           อย่างที่บอกไปว่า Python เป็นภาษาที่บริษัทเทคโนโลยีใหญ่ ๆ หลายบริษัทได้นำภาษานี้มาใช้ในการพัฒนาระบบต่าง ๆ ต่อองค์กร และเทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างที่อยู่รอบตัวเราส่วนใหญ่ก็มาจากคำสั่ง Python เพื่อให้รับมือและเท่าทันเทคโนโลยีแห่งโลกอนาคต การเรียนรู้ Python ไว้จะทำให้เราเข้าใจและเท่าทันกับเรื่องเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี อีกทั้งภาษา Python จะช่วยฝึกฝนการใส่ชุดคำสั่งอย่างเป็นระบบ ฝึกกระบวนการคิด ที่แม้ว่าคุณจะไม่ได้เก่งเทคโนโลยีก็สามารถเริ่มต้นได้

บทความนี้ได้อธิบายเกี่ยวกับภาษาโปรแกรม Python ว่าคืออะไร? รวมถึงเรื่องราวเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับที่มาของชื่อ “Python” และ “IDLE” ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ส่วนผู้ที่สนใจอยากรู้ว่าว่ารายการ Monty Python’s Flying Circus มีความตลกมากแค่ไหนถึงทำให้ Guido ชื่นชอบมากจนนำเอามาตั้งเป็นชื่อของภาษา ได้ก็สามารถเข้าไปชมได้ที่ Netflix ได้นะครับ

อ้างอิง

http://python-history.blogspot.com/2009/01/personal-history-part-1-cwi.html

Show

ทำไมต้องไพธอน


1. ง่ายต่อการเรียนรู้

ไพธอนเป็นภาษาโปรแกรมระดับสูง (High-level programming) มีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน ทำให้ง่ายต่อการเรียนรู้เมื่อเปรียบเทียบกับภาษาโปรแกรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเด็กวัยประถมหรือผู้ใหญ่วัยทำงานก็สามารถที่จะเรียนรู้ได้ ข้อดีดังกล่าวทำให้เราเน้นความสนใจไปกับการแก้ปัญหาจริงๆ มากขึ้น และช่วยลดเวลาสำหรับการตรวจสอบโครงสร้างและสัญลักษณต่างๆ ของภาษาให้น้อยลง ดังนั้นการเลือกภาษาไพธอนเป็นภาษาแรก จะทำให้ผู้ที่เริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรมสามารถใช้เวลาตั้งแต่การเรียนรู้ไปจนถึงการเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานจริงในระยะเวลาที่เร็วขึ้นได้

2. นำไปใช้งานจริงได้

นอกจากไพธอนจะเป็นภาษาโปรแกรมที่นำมาใช้เพื่อศึกษาการเขียนโปรแกรมแล้ว แต่เราก็สามารถนำไปใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพได้ ทำให้บริษัทและองค์กรใหญ่ระดับโลก เช่น Google, Facebook, YouTube, Netflix, Dropbox, Agoda และ NASA เลือกที่จะนำภาษาไพธอนมาใช้ในการพัฒนาเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ โดยมีผู้ใช้งานจริงหลายล้านคนทั่วโลก

3. มีไลบรารีครอบคลุมการใช้งานต่าง ๆ

เนื่องจากภาษาโปรแกรมไพธอนสามารถนำไปพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อตอบสนองความต้องการในงานทางด้านต่างๆ ได้ ทำให้มีนักพัฒนาจำนวนมากต้องการแบ่งปันผลงานร่วมกับนักพัฒนาคนอื่นๆ เพื่อให้ภาษาไพธอนมีความสามารถมากขึ้น โดยมี Python Package Index (PyPI) ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมโมดูลและไลบรารีครอบคลุมการใช้งานทางด้านต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ข้อมูล พัฒนาเว็บไซต์ ระบบคอมพิวเตอร์ฝังตัว ระบบเครือข่าย และอื่นๆ อีกมากมาย โดยสามารถเข้าไปค้นหาและดาวน์โหลดโมดูลที่ต้องการได้ที่ https://pypi.org/ หลังจากนั้นก็สามารถนำมาใช้งานในโปรแกรมของเราได้ทันที ภาษาไพธอนมีไลบรารีสำหรับงานทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล

4. งานทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล

ในปัจจุบันงานทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากบนอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมีปริมาณข้อมูลระดับมหาศาล (Big Data) ดังนั้นหากเรานำข้อมูลเหล่านี้มาทำวิเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ทางด้านธุรกิจหรือด้านอื่นๆ จะทำให้องค์กรสามารถสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งได้ สำหรับภาษาโปรแกรมไพธอนมีไลบรารีที่ครอบคลุมการทำงานทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่มีคุณภาพ เป็นที่นิยม และพร้อมใช้งานอยู่จำนวนมาก โดยสามารถแสดงข้อมูลดังตารางด้านล่างนี้

5. เขียนโปรแกรมได้หลายกระบวนทัศน์ (Multi-paradigms programming)

กระบวนทัศน์การเขียนโปรแกรม (Programming Paradigm) คือแนวคิดหรือสไตล์ในการเขียนโปรแกรม โดยภาษาไพธอนสนับสนุนการเขียนโปรแกรมได้หลายกระบวนทัศน์ เช่น 1) Imperative programming 2) Event driving programming 3) Object Oriented Programming (OOP) และ 4) Functional programming เป็นต้น ทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถเขียนโปรแกรมในรูปแบบที่เหมาะสมกับงานประเภทต่างๆ ได้

6. มีชุมชนนักพัฒนาที่แข็งแกร่ง

ในปัจจุบันภาษาไพธอนได้รับความนิยมสูงอย่างต่อนื่อง ไพธอนมีชุมชนนักพัฒนาจำนวนมาก นอกจากนั้นการเขียนโปรแกรมไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในแวดวงของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (Computer Science) เท่านั้น แต่ผู้ที่ทำงานสาขาอื่นก็อาจมีความต้องการจะนำไปใช้ประโยชน์ในงานทางด้านอื่นๆ ด้วย ทำให้มีชุมชนนักพัฒนาที่ใช้งานภาษาไพธอนเกิดขึ้นบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก หากต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ก็มีเนื้อหาที่มีคุณภาพในรูปแบบต่างๆ เช่น วิดีโอ หนังสือ บทความ และเอกสารบนอินเทอร์เน็ตให้ค้นคว้าเพิ่มเติมได้ ถ้าหากติดปัญหาใดๆ ก็สามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาของคนที่เคยพบปัญหามาก่อน หรืออาจจะขอความช่วยเหลือจากสังคมนักพัฒนาที่ชอบแบ่งปันข้อมูลความรู้ระหว่างกันและกันบนอินเทอร์เน็ต เช่น Stack Overflow และ Quora

7. ทำงานได้หลายแพลตฟอร์ม

แม้ว่าในช่วงแรกภาษาไพธอนได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Unix เพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามได้มีการพัฒนาให้สามารถนำไปใช้งานได้หลายระบบปฏิบัติการอื่นๆ ได้ด้วย เช่น Windows Mac และ Linux ดังนั้นนักพัฒนาสามารถเขียนโปรแกรมเพียงครั้งเดียว แต่สามารถนำไปใช้งานบนคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ ทำให้ช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการพัฒนา ทดสอบ และบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ให้สามารถใช้งานเป็นปกติได้ทุกระบบปฏิบัติการ นักพัฒนาภาษาไพธอนมีรายได้ดีและเป็นที่ต้องการขององค์กรต่างๆ 8.รายได้ดีและเป็นที่ต้องการขององค์กรต่างๆ นักพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาไพธอนเป็นที่ต้องการในสายงานทางด้านพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างมาก โดยข้อมูลล่าสุดของเว็บไซต์ https://indeed.com (ข้อมูลเดือนตุลาคม ปี 2018) ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีอัตราการจ้างงานนักพัฒนาด้วยภาษาไพธอนจำนวนมาก โดยมีรายได้เฉลี่ยสูงถึงประมาณ $120,432 เหรียญ/ปี ดังนั้นผู้ที่เขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพธอนได้ ก็จะสามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเอง และมีโอกาสในการทำงานกับองค์กรทุกระดับได้

8. สามารถนำไปใช้งานได้ฟรี

ภาษาไพธอนยังเป็นซอฟต์แวร์ประเภทโอเพนซอร์ส (Opensource) หมายความว่าเราสามารถนำซอร์สโค้ด (Source code) มาดัดแปลง แก้ไขได้ทั้งหมด โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาต และที่สำคัญเราสามารถนำไปใช้งานได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องค่าลิขสิทธิ์ใดๆ