นโยบายการคลังเป็นนโยบายที่เกี่ยวกับเรื่องใด

ภาครัฐถือได้ว่ามีบทบาทอย่างมากต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังจะเห็นได้จากประสบการณ์ของประเทศต่างๆ ซึ่งภาครัฐทำหน้าที่ในการกำหนดและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ จัดหาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ให้บริการสาธารณะเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้คน รวมไปถึงกำหนดและรักษากฏหมายเพื่อให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

ในหลายครั้งภาครัฐในหลายประเทศก็กลับกลายเป็นต้นตอของปัญหาทางเศรษฐกิจเสียเอง โดยตัวอย่างล่าสุดอยู่ที่ประเทศในแถบทวีปยุโรป ซึ่งภาครัฐของประเทศมีการใช้จ่ายเพื่อให้สวัสดิการกับผู้คนและข้าราชการในประเทศในระดับสูงเกินไป จนก่อให้เกิดสภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวและนำมาซึ่งสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศในท้ายที่สุด

บทบาทของภาครัฐกับพัฒนาการทางเศรษฐกิจจึงได้รับความสนใจจากนักวิชาการอย่างกว้างขวาง โดยแนวทางหนึ่งที่งานศึกษาจำนวนมากให้ความสนใจอยู่ในประเด็นของการดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาลกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ

นโยบายการคลังนั้นหลักๆแล้วจะเกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายและการจัดเก็บภาษีของรัฐบาล โดยประเด็นในอดีตจะให้ความสำคัญกับขนาดของรัฐบาลเป็นหลัก เนื่องจากในมุมมองทางเศรษฐศาสตร์นั้น การทำหน้าที่ของรัฐบาลมักก่อให้เกิดความบิดเบือนซึ่งส่งผลให้เกิดความสูญเสียในแง่ของประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ดังนั้นรัฐบาลควรจำกัดบทบาทตนเองให้ทำหน้าที่เท่าที่จำเป็นเพียงเท่านั้น นั่นคือรัฐบาลควรมีขนาดที่จำกัดเมื่อเทียบกับระดับ GDP ของประเทศ

อย่างไรก็ตาม ประเด็นในระยะหลังได้ปรับเปลี่ยนไป โดยมีคำกล่าวว่าขนาดของรัฐบาลอาจมีความสำคัญน้อยกว่าพฤติกรรมการดำเนินนโยบายของรัฐบาลเอง นั่นคือ รัฐบาลขนาดใหญ่ในบางประเทศกลับสามารถสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ โดยรัฐบาลดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างศักยภาพระยะยาวให้กับประเทศและมีการดำเนินนโยบายอย่างมีวินัย

แนวคิดของงานศึกษาในกลุ่มนี้จะมุ่งเน้นไปที่การเติบโตทางเศรษฐกิจศักยภาพ (potential growth) ของประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านอุปทานมากกว่าด้านอุปสงค์ นั่นคือ ประเทศจะมีการพัฒนาทางศักยภาพถ้าหากภาคการผลิตในประเทศเก่งขึ้น มีความสามารถในการผลิตมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าการจะทำให้ภาคการผลิตเก่งขึ้นได้จำเป็นจะต้องทำให้ปัจจัยการผลิตรูปแบบต่างๆ อาทิ ทุนทางกายภาพ แรงงาน และเทคโนโลยีในการผลิต พัฒนาขึ้นทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ

รายจ่ายของรัฐบาลถูกจัดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ รายจ่ายที่ไม่เพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาคการผลิตในประเทศ ซึ่งจะเกี่ยวโยงกับรายจ่ายเพื่อสนับสนุนการบริโภคของผู้คน ซึ่งจะหมดไปในแต่ละปีและไม่มีผลประโยชน์หลงเหลืออยู่ในระยะยาว และ รายจ่ายที่เพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาคการผลิตของประเทศ ซึ่งจะเกี่ยวโยงกับรายจ่ายเพื่อการพัฒนาปัจจัยการผลิตต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรมนุษย์และระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ

ในกรณีที่ประเทศต่างๆอยู่ในสภาวะปกติเป็นเวลายาวนาน ประเทศจะมีอัตราการเติบโตตามศักยภาพ ซึ่งถ้าหากรัฐบาลของประเทศหนึ่งใช้จ่ายกับรายจ่ายที่ไม่ส่งเสริมประสิทธิภาพของภาคการผลิตในสัดส่วนที่สูงอย่างต่อเนื่องยาวนาน ก็จะส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศอื่นๆได้

นอกจากนั้นแล้ว งานศึกษาในกลุ่มนี้ยังได้เชื่อมโยงองค์ประกอบด้านรายจ่ายเข้ากับตัวชี้วัดวินัยทางการคลังของรัฐบาลเพิ่มเติมด้วย โดยตัวชี้วัดวินัยการคลังหลักๆจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ ระดับหนี้สาธารณะของประเทศ และการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาล (รายจ่ายรัฐบาลสูงกว่ารายได้ของรัฐบาลในแต่ละปี)

ถ้าหากรัฐบาลไม่รักษาวินัยทางการคลัง จะก่อให้เกิดความกังวลถึงสภาวะเศรษฐกิจในอนาคต รวมไปถึงการคาดหมายว่ารัฐบาลจะต้องปรับขึ้นการจัดเก็บภาษีและปรับลดการใช้จ่ายในที่สุดเพื่อให้งบประมาณกลับมาสู่สมดุลและหนี้สาธารณะของประเทศปรับลดลง ความกังวลดังกล่าวจะก่อให้เกิดการปรับลดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนในที่สุด

ยิ่งถ้าหากรัฐบาลขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่องโดยที่ใช้จ่ายในแต่ละปีไปกับรายจ่ายที่ไม่เพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาคการผลิตในประเทศด้วยแล้ว ก็จะยิ่งส่งผลให้อัตราการเติบโตตามศักยภาพปรับตัวลดต่ำลงไปอีก งานศึกษาเชิงประจักษ์ในต่างประเทศชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ลักษณะนี้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นงานที่ศึกษากลุ่มประเทศทั้งหมดหรืองานที่ศึกษาเฉพาะเจาะจงไปที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศด้อยพัฒนาก็ตาม

ในกรณีของประเทศไทยนั้น อาจกล่าวได้ว่ายังคงมีหนี้สาธารณะอยู่ในระดับที่พอรับได้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยมีการขาดดุลงบประมาณต่อเนื่องยาวนานกว่า 15 ปี โดยมีปี 2548 เพียงปีเดียวเท่านั้นที่รัฐบาลมีการเกินดุลอยู่เล็กน้อย ซึ่งการขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลให้ระดับหนี้สาธารณะของประเทศเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนั้น รัฐบาลไทยในยุคหลังกลับให้ความสำคัญกับโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในระยะสั้นด้วยน้ำหนักที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เช่น โครงการแจกเช็คช่วยชาติ โครงการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก เบี้ยยังชีพคนชรา โครงการธงฟ้า โครงการจำนำข้าว โครงการประกันราคาสินค้าเกษตรอื่นๆ การพยุงราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น ในขณะที่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์กลับมีน้ำหนักความสำคัญรองลงมา

ถ้าหากว่าแนวโน้มนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง อนาคตของประเทศไทยก็น่ากังวลเป็นอย่างยิ่ง ในตอนหน้า รศ.ดร.ศาสตรา สุดสวาสดิ์ หนึ่งในทีมงาน Thai PBO จะมานำเสนอแนวคิดบางประการซึ่งอาจช่วยจัดการกับแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นกับภาพทางการคลังของประเทศไทยดังกล่าว

คำว่านโยบายการเงินและการคลังเป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนอาจได้ยินอยู่บ่อยและพอจะเข้าใจว่าคืออะไร แต่หากจะอธิบายรายละเอียดปลีกย่อย และเปรียบเทียบหลักการใช้นโยบายทั้งสองรูปแบบแล้ว เราอาจจำเป็นต้องเรียนรู้ วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และรับมือกับการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาของนโยบายการเงินการคลังที่การตัดสินใจมาจากธนาคารกลางแห่งประเทศไทย

 

นโยบายการเงิน

คือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงิน ได้แก่ ปริมาณเงิน (Money supply) อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) และอัตราดอกเบี้ย (Interest rate) ทำโดยการปรับลดเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจที่จะมีผลต่อการกำหนดทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนให้แข็งค่าหรืออ่อนค่า และการปรับลด – เพิ่มของอัตราดอกเบี้ย ตอบสนองต่อภาวะเงินเฟ้อ หรือเงินฝืด ซึ่งเป็นหน้าที่ของธนาคารกลาง หรือธนาคารแห่งประเทศไทยในการกำหนดทิศทางของการดำเนินนโยบาย

 

ยกตัวอย่างเช่น
1. อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) กำหนดให้คงที่ หรือ อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าหรืออ่อนค่า เช่น กรณีค่าเงินบาทอ่อนค่า ก็จะทำให้สามารถส่งออกสินค้าได้มากขึ้น เนื่องจากเงินสกุลอื่นจะมีมูลค่ามากขึ้น สามารถซื้อของจากประเทศไทยได้มากขึ้น
2. อัตราดอกเบี้ย (Interest rate) กำหนดให้ปรับลด หรือเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เช่น กรณีเมื่อมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนักลงทุนก็จะกู้เงินมาลงทุนมากขึ้น เนื่องจากดอกเบี้ยต่ำ ตามหลักการทางเศรษฐศาสตร์การลงทุนจะก่อให้เกิดการกระตุนเศรษฐกิจ ผ่านภาคการผลิตและการบริโภค เป็นต้น

 

นโยบายการคลัง

คือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการหารายได้ และรายจ่ายของรัฐบาล รายได้ส่วนใหญ่ของรัฐบาลมาจากการเก็บภาษี (Tax) ประเภทต่าง ๆ เช่น ภาษีสรรพาสามิต ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการปรับสมดุลทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่ง หรือที่เรียกว่าการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

 

เมื่อรัฐบาลตัดสินใจเพิ่มหรือลดภาษี ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น การขึ้นอัตราภาษีมีผลให้เงินสดที่อยู่ในมือเราลดลง เนื่องจากรายได้ส่วนหนึ่งต้องนำไปจ่ายภาษีมากขึ้น เงินที่เหลือจะใช้จ่ายก็จะลดลง ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว

 

นโยบายการคลังสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท เช่น เดียวกับนโยบายการคลัง ได้แก่
1. นโยบายการคลังแบบขยายตัว (Expansionary fiscal policy) คือ การที่รัฐบาลใช้จ่ายมากกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ หรือที่เรียกว่า “งบประมาณขาดดุล” (deficit budget) กรณีนี้จะใช้เมื่อเศรษฐกิจถดถอย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เปรียบเสมือนการอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ
2. นโยบายการคลังแบบหดตัว (contractionary fiscal policy) คือ การที่รัฐบาลจ่ายน้อยกว่ารายได้ภาษีที่จัดเก็บได้ หรือการเพิ่มภาษีเพื่อดูดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ อาจจะเรียกว่า งบประมาณเกินดุล (surplus budget) จะใช้ก็ต่อเมื่อยามที่เกิดปัญหาเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจ

 

ดังนั้น นโยบายการเงินการคลังที่ตัดสินใจโดยธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นสำคัญอย่างยิ่ง กระทบต่อค่าครองชีพ เสถียรภาพของเศรษฐกิจ คุณภาพความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศ เราในฐานะพลเมืองที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายเหล่านี้ไม่ว่าจะในเชิงบวกหรือลบ จำเป็นต้องคอยติดตามการตัดสินใจและดำเนินนโยบายเพื่อปรับตัวเข้ากับความเป็นไปได้ที่กำลังจะเกิดขึ้น หลังนโยบายนั้นถูกบังคับใช้

นโยบายการคลังมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องใด

ภายในและภายนอกประเทศ 2. นโยบายการคลังและเครื่องมือหรือมาตรการของนโยบายการคลัง คือ แนวทางและวิธีการทางการคลัง ที่เกี่ยวข้องกับรายจ่ายและรายรับที่รัฐบาลใช้ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ นโยบาย การคลังที่สำคัญคือนโยบายงบประมาณขาดดุล นโยบายงบประมาณเกินดุล และนโยบายงบประมาณสมดุล

นโยบายด้านการคลัง มีอะไรบ้าง

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy) คือ นโยบายเกี่ยวกับการใช้จ่ายและรายได้ของรัฐ เป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแนวทาง เป้าหมาย และการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ นโยบายการคลังประกอบด้วย นโยบายภาษีอากร นโยบายด้านรายจ่าย นโยบายการก่อหนี้และบริหารหนี้สาธารณะ และนโยบายในการบริหารเงินคงคลัง

Fiscal Policy คือข้อใด

นโยบายการคลัง, Example: แสดงโดยงบประมาณรายรับ-รายจ่ายของรัฐบาล อันได้แก่ การตัดสินใจเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐ หรือการลดลงในการเก็บภาษี เพื่อกระตุ้นให้เกิด การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์รวม ถือเป็นนโยบายการคลังแบบหลวม ส่วนการเพิ่มการเก็บภาษีหรือลดการใช้จ่ายภาครัฐ ถือเป็นนโยบายการคลังแบบเคร่งครัด [สิ่งแวดล้อม]

การคลังรัฐบาลเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง

1.กิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาครัฐบาล (การคลังรัฐบาล) ประกอบด้วย การผลิต การบริโภค การเก็บภาษี และการจ่ายเงินโอน การบริโภค การลงทุน การเก็บภาษี และการกู้ยืม การซื้อสินค้าและบริการของรัฐบาล การเก็บภาษี การจ่ายเงินโอน และการกู้ยืม