รอบเดือนที่ผิดปกติเป็นอย่างไร

การมีรอบเดือนในแต่ละเดือนนั้นสร้างความทรมานและกังวลใจให้แก่ผู้หญิงจำนวนไม่น้อย แต่กระนั้นหลายคนก็ได้แต่เก็บความกังวลใจไว้กับตัว และยอมทนทุกข์อยู่เงียบๆ

Better Health ฉบับพิเศษเพื่อคุณผู้หญิงนี้ มีคำอธิบายเกี่ยวกับความผิดปกติของรอบเดือนมาให้คุณได้อ่านกัน

จะทราบได้อย่างไรคะว่ารอบเดือนเราปกติหรือไม่

ผู้หญิงส่วนมากมักจะสงสัยว่าตัวเองอาจมีความผิดปกติบางประการเกี่ยวกับรอบเดือน แต่ก็ไม่อาจแน่ใจอะไรได้ มีวิธีง่ายๆ ที่จะดูได้เบื้องต้นว่าคุณประสบกับภาวะรอบเดือนผิดปกติเข้าแล้วดังนี้

  • รอบเดือนแต่ละรอบของคุณห่างกันเกินกว่า 35 วัน หรือห่างกันน้อยกว่า 2 สัปดาห์
  • คุณต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 1 - 2 ชั่วโมง
  • ในแต่ละรอบนั้น คุณมีประจำเดือนนานเกินกว่า 7 วัน
  • มีอาการปวดหน่วงๆ รุนแรงแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
  • เมื่อคุณหมดประจำเดือนไปแล้ว หรืออายุน้อยกว่า 11 ปีแต่มีเลือดออกคล้ายประจำเดือน
  • คุณมีอายุเกิน 16 ปีแล้วแต่ยังไม่มีประจำเดือน

หากคุณมีอาการผิดปกติตามที่กล่าวมาข้างต้น รีบปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อรับการตรวจและรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องต่อไป

อาการปวดประจำเดือนเป็นเรื่องปกติของการมีรอบเดือนอย่างนั้นหรือ

ในระหว่างมีรอบเดือน ผู้หญิงส่วนมากจะมีอาการปวด หรือปวดหน่วงๆ มากบ้าง น้อยบ้างตามการการบีบตัวของมดลูก ซึ่งถือว่าเป็นอาการปกติ แต่อาการปวดรุนแรงถึงขั้นที่คุณไม่สามารถไปทำงาน หรือทำกิจวัตรประจำวันได้นั้นไม่ใช่เรื่องปกติแน่นอน

โดยทั่วไปแพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดอัยบูโพรเฟน เพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือนที่อาจมาพร้อมกับอาการปวดหลัง ปวดศีรษะไมเกรน ส่วนในรายที่เป็นมากนั้นแพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดเพื่อให้ฮอร์โมนในเม็ดยาช่วยปรับรอบเดือน รวมทั้งช่วยลดอาการต่างๆ ที่เกิดระหว่างมีรอบเดือน

อย่างไรก็ตามหากรับประทานยาดังกล่าวข้างต้นแล้วไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียด เพราะอาการปวดผิดปกตินี้อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ร้ายแรงก็เป็นได้

รอบเดือนดิฉันดูจะมาช้าอยู่เสมอ บางครั้งก็ไม่มาเลย ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใดคะ

โดยปกติแล้วรอบเดือนจะห่างกันทุกๆ 28 วัน ผิดพลาดได้บวกลบไม่เกิน 7 วัน หมายความว่ารอบเดือนนั้นอาจจะเป็น 21- 22 วัน หรือ 30 - 35 วันก็ยังถือว่าเป็นปกติอยู่ ก่อนที่คุณจะเป็นกังวลลองสำรวจตัวเองว่าคุณมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อไร อยู่ในระหว่างคุมกำเนิดหรือไม่ ตั้งครรภ์หรือไม่

สาเหตุที่ทำให้รอบเดือนมาช้ากว่าปกติ หรือขาดไปนั้นมีหลายประการตามแต่สภาวะสุขภาพ และการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล ปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุให้รอบเดือนมาช้า หรือขาดไปได้แก่ การตั้งครรภ์ อยู่ในระหว่างให้นมบุตร มีพฤติกรรมการกินผิดปกติ ออกกำลังกายหักโหมเกินไป ความเครียด หรือวิตกกังวล การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาที่มีฮอร์โมน หรือยาเสพติด

นอกจากนี้ ความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ อาทิ ซีสต์ในรังไข่ เนื้องอกที่มดลูก การทำงานของรังไข่ล้มเหลวก่อนวัยอันควรก็เป็นสาเหตุของการมีรอบเดือนผิดปกติเช่นกัน อย่าลืมตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ และขอคำแนะนำจากแพทย์หากสงสัยว่าเกิดความผิดปกติขึ้น

รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

  • ศูนย์สูติ-นรีเวช
    8.00-20.00  (BKK Time)
    Hot line tel. +66 63 189 3406

    20.00-8.00 (BKK Time)
    เบอร์ Contact center +662 066 8888 และ 1378


รอบเดือนที่ผิดปกติเป็นอย่างไร

สำหรับสาวๆ แล้วประจำเดือนถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามอย่างยิ่ง เพราะหากสังเกตดีๆ สิ่งนี้อาจมีโรคภัยซ่อนอยู่ในการผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นได้

“อาการของรอบเดือนที่ไม่ควรมองข้าม”

การมีรอบเดือนหรือประจำเดือนที่มาแบบปกตินั้นจะเกิดขึ้นในช่วง 21 – 35 วัน นับจากรอบเดือนที่ผ่านมาอย่างสม่ำเสมอ โดยจะมาอยู่ประมาณ 3 – 5 วัน ปริมาณเลือดที่ออกมาประมาณ 30 – 50 มิลลิลิตรต่อรอบเดือน ลักษณะเลือดที่ออกมักไม่เป็นลิ่มเลือด ทั้งนี้ความผิดปกติของรอบเดือนเกิดขึ้นได้หลายแบบ ซึ่งได้แก่อาการเหล่านี้

  1. ปวดประจำเดือนมากผิดปกติ อาจสังเกตได้โดยจำเป็นต้องเปลี่ยนผ้าอนามันบ่อยกว่าปกติ และมีก้อนเลือดขนาดใหญ่ออกมากับประจำเดือน
  2. ปริมาณเลือดออกมามากกว่าปกติ หรือมากกว่า 80 มิลลิลิตรต่อรอบเดือน
  3. รอบเดือนมาสั้นกว่า 21 วัน หรือยาวนานกว่า 35 วัน
  4. ประจำเดือนมามากกว่า 7 วัน
  5. ลักษณะเลือดที่ออกเป็นแบบกะปริดกะปรอย

ทั้งหมดนี้ไม่เพียงแต่โรคมะเร็งที่สาวๆ กลัวกันแต่เพียงอย่างเดียว แต่นั้นหมายถึงโรคน่ากังวลอื่นๆ ที่ส่อเค้าเริ่มต้นอีกด้วย ดังนั้นเมื่อมีอาการเหล่านี้ ควรให้มาพบแพทย์

“โรคอันตรายที่อาจมาพร้อมรอบเดือนที่ปกติ”

แน่นอนที่อาการผิดปกติของร่างกายมักมาพร้อมโรคที่คาดไม่ถึง ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่มะเร็งเท่านั้นแต่ยังมีโรคที่น่ากลัวอื่นๆ เช่น

โรคเนื้องอกมดลูก เป็นโรคยอดฮิตที่พบบ่อยมาก โดยจะพบถึง 4 ใน 10 คนของผู้หญิง ซึ่งส่วนใหญ่หากเป็นระยะเริ่มต้นจะไม่แสดงอาการใดๆ ประจำเดือนยังมีมาตามปกติ แม้มีโอกาสกลายเป็นเนื้อร้ายไม่มาก แต่หากเนื้องอกมีขนาดใหญ่มากจน ไปเบียดอวัยวะข้างเคียงก็จะทำให้เป็นปัญหาได้

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เป็นอีกโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ถ้าไปเจริญที่รังไข่ จะทำให้เกิดเป็นถุงน้ำที่มีของเหลวคล้ายช็อกโกแล็ตอยู่ภายใน (Chocolate cyst) ถ้าแทรกตัวเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก จะทำให้มดลูกมีขนาดโตผิดปกติ (Adenomyosis) ซึ่งโดยส่วนใหญ่ทั้งสองโรคนี้มักจะทำให้มีอาการปวดประจำเดือน ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์ หรือปวดถ่วงเวลาถ่ายอุจจาระรุนแรงขณะมีประจำเดือนได้ และยังส่งผลให้มีบุตรยากได้ด้วย แต่ในบางรายก็ไม่แสดงอาการอาการใดๆ

ถุงน้ำรังไข่ (ซีสต์ในรังไข่) มีทั้งที่สามารถยุบเองได้และถุงน้ำที่ที่ไม่สามารถ ชนิดอื่นที่ไม่ใช่ช็อกโกแลตซีสต์ป่วยโรคนี้อาจจะไม่มีอาการใดๆ แต่บางคราวจะมีอาการปวดท้องน้อยรุนแรงเฉียบพลันได้ ถ้าถุงน้ำนั้นเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การบิดของขั้วถุงน้ำรังไข่พวกนี้ ก็อาจจะต้องเข้ารับการผ่าตัดฉุกเฉิน

“ป้องกันอย่างไรให้ห่างไกลโรคร้าย”

จากที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นสาวๆ สามารถดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรค แถมไม่ทรมานกับการมีรอบเดือนได้ง่ายๆ ด้วยการเริ่มต้นดูแลตัวเองให้ดีตั้งแต่เริ่มวัยสาวโดย

  1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างสม่ำเสมอ ยิ่งในช่วงใกล้มีประจำเดือนให้เน้นการรับประทานผักใบเขียว เพื่อช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและควรหลีกเลี่ยงชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อลดอาการปวดก่อนมีประจำเดือน
  2. เวลามีประจำเดือนใครว่าไม่ควรออกกำลังกาย ไม่จริงทั้งสิ้น เพราะแท้จริงแล้วการออกกำลังกาย จะช่วยให้ร่างกายหลั่งสารเอนโดรฟิน ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ แต่พึงระวังเรื่องความสะอาดไว้ด้วย
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อพักฟื้นและฟื้นฟูพลังงานที่เสียไประหว่างการมีประจำเดือน
  4. ช่วงมีประจำเดือนเป็นช่วงที่สาวๆ ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายและเลือดประจำเดือนยังเป็นแหล่งอาหารชั้นดีของเชื้อแบคทีเรีย
  5. ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างน้อย 2 – 3 ชั่วโมง หรือเมื่อผ้าอนามัยที่รองรับเต็มแผ่นแล้ว

อย่างไรก็ตามเมื่อถึงเวลาที่เหมาะคุณควรปรึกษาแพทย์ พร้อมตรวจภายในและตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ใช้สารเสพย์ติด เป็นต้น ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เพียงแต่จะช่วยวัยสาวของคุณให้สดใส แต่จะช่วยให้เมื่อคุณอยากมีครอบครัว จะได้ไม่ประสบปัญหามีบุตรยาก อีกด้วย ทั้งนี้ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ เรายังมีทีมแพทย์ที่ยินดีอย่างยิ่งที่จะให้คำปรึกษาคุณในทุกช่วงวัย

ให้คะแนนบทความนี้

[คะแนนบทความนี้: 2.9]

ประจำเดือนมาไม่ปกติเป็นอย่างไง

1. การมีเลือดออกจากช่องคลอดกระปริดกระปรอย เช่น มีเลือดออกทุกวัน หรือ วันเว้นวัน 2. การมีรอบประจำเดือนที่มาเร็วกว่าทุก 21 วัน 3. มีเลือดออกนอกรอบประจำเดือน 4. มีเลือดออกจากช่องคลอดปริมาณมากและลักษณะเป็นลิ่มเลือดหรือเป็นก้อน ๆ และใช้ผ้าอนามัยมากกว่าวันละ 5 แผ่น

ประจำเดือนมากี่วันถึงจะดี

ประจำเดือนปกติเป็นอย่างไร? ผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุกๆ 28 – 30 วัน (หรืออยู่ในช่วง 21- 35วัน) ผู้หญิงจะมีประจำเดือนมาประมาณ 3 - 5 วัน หรือไม่ควรมาเกิน 7 วัน ปริมาณประจำเดือนที่ออกมาในแต่วันไม่ควรเกิน 80 ซีซี หรือเทียบได้กับการเปลี่ยนผ้าอนามัยประมาณ 4 ผืนต่อวัน (แบบที่มีเลือดชุ่มเต็มแผ่น)

ประจำเดือนผิดปกติเกิดจากอะไร

สาเหตุของเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด รังไข่ทำงานผิดปกติ ใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนผู้หญิงทดแทนในวัยหมดประจำเดือน ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ โรคติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ เช่น โรคเนื้องอกในมดลูกที่สามารถพบได้บ่อย รวมถึงมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

ประจำเดือนมาเกิน7วันเป็นอะไรไหม

หากมีประจำเดือนมามากกว่า 7 วัน จะเรียกว่า ประจำเดือนมามาก ผู้หญิง 9-14% จะมีประจำเดือนมามาก คือมามากกว่า 7 วัน หากถ้าประจำเดือนมานานเกิด 8 วัน จะถือว่ามามากผิดปกติ ซึ่งเกิดในผู้หญิงราว 4%