ใบเปลี่ยน นามสกุล คือ อะไร

ใบเปลี่ยน นามสกุล คือ อะไร

เปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสและ/หรือคำนำหน้าชื่อหลังสมรส

หญิงไทยสามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส เช่น โดยการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อจาก “นางสาว” เป็น “นาง” และ/หรือขอเปลี่ยนนามสกุลหลังการสมรสได้ดังนี้

ก. การแจ้งเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อและนามสกุลหลังการสมรสชั่วคราวในหนังสือเดินทาง

การแจ้งเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อและ/หรือนามสกุลหลังสมรสชั่วคราวทำได้แต่ในหนังสือเดินทางรูปแบบเก่าเท่านั้น
ในหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต) ไม่สามารถขอแจ้งเปลี่ยนได้แต่อย่างใด

  1. นำใบสำคัญการสมรสเยอรมัน (Heiratsurkunde) หรือ สำเนาคัดจากทะเบียนการสมรสแบบหลายภาษา (internationaler Auszug aus dem Heiratseintrag)
    ไปรับรองที่หน่วยงานราชการเยอรมันที่เกี่ยวข้องในแต่ละรัฐ (ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารที่
    "หน่วยงานราชการเยอรมันสำหรับการรับรองเอกสารราชการเยอรมัน")
    และหากท่านจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายของประเทศอื่น เช่น เดนมาร์ก ต้องนำทะเบียนสมรสดังกล่าว ไปรับรองที่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงต่างประเทศของเดนมาร์ก และที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโคเปนเฮเกน ตามลำดับ (ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารที่
    "การรับรองทะเบียนสมรสเดนมาร์ก")

    โปรดทราบ

    "บันทึกฐานะแห่งครอบครัว" (Familienbuch) และ "ใบรับรองการสมรส" (Bescheinigung über die Eheschließung) นำมาใช้เป็นหลักฐานแทนใบสำคัญการสมรสไม่ได้
  2. นำใบทะเบียนสมรสที่รับรองมาแล้ว (สำเนา 1 ชุด) มายื่นคำร้องขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ และ/หรือ ขอเปลี่ยนนามสกุลที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ โดยยื่นเอกสารประกอบต่อไปนี้
  • สำเนาทะเบียนบ้านไทย หรือ บัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด
  • หนังสือเดินทางตัวจริง และสำเนาหนังสือเดินทาง 1 ชุด
  • ซองเปล่าติดแสตมป์ 4.25 ยูโร (หากยื่นทางไปรษณีย์)
  • ค่าธรรมเนียม 3 ยูโร (ส่งเป็นเงินสดเท่านั้น)

ข. การแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวและเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย

  1. นำทะเบียนสมรสที่รับรองแล้วไปให้นักแปลภาษาไทยที่มีใบอนุญาตจากศาลเยอรมัน4 แปลเป็นภาษาไทย และมอบสำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านให้ล่ามด้วย 1 ชุด เพื่อให้ล่ามแปลชื่อ-นามสกุลของท่านให้ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ล่ามต้องเย็บคำแปลภาษาไทยและต้นฉบับภาษาเยอรมันเข้าด้วยกัน เป็น 1 ชุด พร้อมประทับตราและลงลายมือชื่อรับรองการแปลด้วย
  2. นำทะเบียนสมรสและคำแปล (เอกสารจากข้อ 1) มารับรองที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ (ค่ารับรองเอกสาร 30 ยูโร) (ดูข้อมูลการรับรองทะเบียนสมรสที่ "การรับรองเอกสาร")
  3. นำทะเบียนสมรสและคำแปล (เอกสารจากข้อ 2) ที่รับรองมาจากสถานกงสุลใหญ่ ฯ ไปรับรองครั้งสุดท้ายที่ กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพ ฯ 10210 โทร. 02-575-1056-59, แฟกซ์ 02-575-1054
  4. นำทะเบียนสมรสและคำแปลที่รับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ (เอกสารจากข้อ 3) ไปแจ้งนายทะเบียนที่เขต/อำเภอในประเทศไทยที่ท่านมีชื่อในทะเบียนบ้าน เพื่อขอให้บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรส
  5. (คร. 22)
    และขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อและ/หรือเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านภายหลังการสมรสตามสามีต่อไป หลังจากนั้นจึงนำทะเบียนบ้านไปติดต่อขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ บัตรประจำตัวประชาชนนี้ ต้องไปทำด้วยตัวเองที่ประเทศไทยเท่านั้น

!!โปรดทราบ!!

ข้อมูลใหม่: สำหรับท่านที่ใช้นามสกุลของสามีเป็นนามสกุลหลังสมรส เวลาไปแจ้งเปลี่ยนนามสกุล ต้องยื่นหนังสือยินยอมของสามีประกอบด้วย โดยใช้แบบฟอร์ม "หนังสือยินยอมของคู่สมรส" ที่ทางสถานกงสุลใหญ่ ฯ จัดเตรียมไว้ให้ และต้องให้สถานกงสุลใหญ่ ฯ รับรองก่อนนำไปยื่นที่ประเทศไทย โดยต้องชำระค่าธรรมเนียมรับรองจำนวน 15 ยูโร

หมายเหตุ

โดยปกติแล้ว หากชายและหญิงใช้นามสกุลของคู่สมรสเป็นนามสกุลหลังสมรส ชายและหญิงต้องแจ้งเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสในทะเบียนบ้านไทย ภายใน 90 วัน หลังจากสมรส สำหรับท่านที่อาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนี ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยไปดำเนินการเปลี่ยนนามสกุล ท่านสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่บรรลุนิติภาวะ เช่น ญาติ พี่น้อง ไปดำเนินการแทนได้ โดยท่านต้องมายื่นคำร้องมอบอำนาจด้วยตัวเองที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ ดูข้อมูลการทำมอบอำนาจที่

"มอบอำนาจและหนังสือยินยอม"

การเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสมีความสำคัญและจำเป็นมาก เช่น เมื่อท่านยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต) ท่านต้องยื่นบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่เปลี่ยนเป็นนามสกุลหลังสมรสสมบูรณ์แล้ว นามสกุลหลังสมรสที่สถานทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ ฯ เปลี่ยนให้ท่านในหนังสือเดินทาง ไม่ใช่การเปลี่ยนนามสกุลแบบสมบูรณ์ตามกฎหมายไทย การเปลี่ยนนามสกุลที่สมบูรณ์ ท่านต้องไปเปลี่ยนในทะเบียนบ้านไทยเท่านั้น

การเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนราษฎร (ที่ประเทศไทย)

ผู้ที่ได้จดทะเบียนสมรสหรือจดทะเบียนหย่า ตามแบบกฎหมายของเดนมาร์ก สามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนฐานะทางครอบครัวหลังการสมรสและการหย่า เช่น ขอเปลี่ยนนามสกุลหลังการสมรสและการหย่า และ/ หรือ การเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อจาก “ นางสาว” เป็น “ นาง” ได้ โดยมีวิธีดำเนินการดังต่อไปนี้

  1. นำทะเบียนสมรส หรือ ทะเบียนหย่าเดนมาร์ก แบบหลายภาษา ไปรับรองที่กระทรวงการต่างประเทศเดนมาร์ก (Udenrigsministeriet) | ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
  2. นำทะเบียนสมรส หรือทะเบียนหย่าที่รับรองแล้วไปให้ นักแปลภาษาไทยที่มีใบอนุญาตจากศาลเดนมาร์ก แปลเป็นภาษาไทย และมอบสำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านให้ล่ามด้วย 1 ชุด เพื่อให้ล่ามแปลชื่อ-นามสกุลของท่านให้ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ล่ามต้องเย็บคำแปลภาษาไทยและต้นฉบับทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่าเดนมาร์กเข้าด้วยกัน เป็น 1 ชุด พร้อมประทับตราและลงลายมือชื่อรับรองการแปลด้วย
  3. นำทะเบียนสมรสและคำแปล หรือ ทะเบียนหย่าและคำแปล (เอกสารจากข้อ 2) มารับรองที่้สถานเอกอัครราชทูตฯ
  4. นำเอกสารในข้อ 3 ที่รับรองจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ไปรับรองครั้งสุดท้ายที่ กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพ ฯ 10210 โทร. 02-575-1056-59, แฟกซ์ 02-575-1054
  5. นำเอกสารในข้อ 4 ที่รับรองจากกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศไทย ไปยื่นที่ว่าการอำเภอที่ท่านมีชื่อในทะเบียนบ้าน เพื่อขอให้บันทึกฐานะแห่งครอบครัว และขอเปลี่ยนนามสกุล และ/หรือ เปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ (นางหรือนางสาว) ในทะเบียนบ้าน หลังจากนั้นจึงนำทะเบียนบ้านไปติดต่อขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ บัตรประจำตัวประชาชนนี้ ต้องไปทำด้วยตัวเองที่ประเทศไทยเท่านั้น

เนื่องจากปัจจุบัน มีผู้ประสงค์จะเปลี่ยนนามสกุลจำนวนมาก เพื่อป้องกันความสับสนในกรณีไม่สามารถไปยื่นขอบันทึกฐานะแห่งครอบครัว ณ ที่ว่าการอำเภอด้วยตนเองได้ ขอให้ท่านติดต่อสอบถามข้อมูลจากอำเภอตามสำเนาทะเบียนบ้านของท่านก่อนว่าท่านสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่บรรลุนิติภาวะ เช่น ญาติ พี่น้อง ไปดำเนินการแทนได้หรือไม่และต้องการใช้เอกสารใดบ้าง  หากอำเภอของท่านแจ้งว่าทำได้ ท่านต้องมายื่นคำร้องมอบอำนาจด้วยตัวเองที่สถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อให้สถานเอกอัครราชทูตฯ รับรองลายมือชื่อของท่านในหนังสือมอบอำนาจ |ดูรายละเอียดการทำหนังสือมอบอำนาจ|

เอกสารและหลักฐานที่จะต้องยื่นในการขอรับรองเอกสารพร้อมคำแปลที่สถานเอกอัครราชทูตฯ

  • กรอกแบบคำร้องนิติกรณ์ | ดาวน์โหลด |
  • ต้นฉบับเอกสารที่ผ่านการรับรองลายมือชื่อโดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศเดนมาร์กและคำแปล พร้อมสำเนา 1 ชุด
  • สำเนาหนังสือเดินทางและสำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน
  • ค่าธรรมเนียม 120 โครนเดนมาร์ก
    ชำระเป็นด้วย เงินสด ( กรุณาเตรียมเงินมาให้พอดี)

หมายเหตุ ท่านสามารถยื่นคำร้องด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์

การยื่นคำร้องทางไปรษณีย์

  • ส่งคำร้อง เอกสารและหลักฐานดังกล่าวข้างต้นไปยังสถานเอกอัครราชทูตฯ พร้อมค่าธรรมเนียม 120 โครนเดนมาร์ก
  • หากประสงค์ให้สถานเอกอัครราชทูตฯ จัดส่งกลับให้ทางไปรษณีย์ โปรดแนบซอง จ่าหน้าถึงตัวท่านเองให้ชัดเจน พร้อมติด แสตมป์สำหรับค่าไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้เพียงพอสำหรับน้ำหนักหนังสือเดินทาง และเอกสารที่ต้องการให้ส่งคืน (หากมี) ตามอัตราของ สำนักงานไปรษณีย์เดนมาร์ก (ประมาณ 150 โครนเดนมาร์ก) หากชำระค่าไปรษณีย์ไม่ครบถ้วน สถานเอกอัครราชทูตฯ จะไม่สามารถส่งหนังสือเดินทางกลับให้กับท่านได้
    ** ดูรายละเอียดอัตราค่าไปรษณีย์ได้ที่  Post Danmark **

หมายเหตุ สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่รับผิดชอบกรณีเอกสารที่ส่งทางไปรษณีย์ชำรุดหรือสูญหาย ไม่ว่ากรณีใด

ระยะเวลาดำเนินการ

  • ใช้เวลา 2 วันทำการ นับจากวันชำระค่าธรรมเนียม
  • กรณีส่งเอกสารกลับทางไปรษณีย์ รวมใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์นับจากวันที่ได้รับคำร้อง

___________________________________________________________________________

ใบเปลี่ยน นามสกุล คือ อะไร