หลักฐานใดที่แสดงให้เห็นถึงร่องรอยของเมืองเก่าของอยุธยา

ก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยาบริเวณนี้เคยมีเมืองเก่ามาแล้ว ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของตัวเมืองปัจจุบัน มีชื่อว่า อโยธยา หรืออยุธยาเช่นเดียวกัน ซากเมืองที่ยังเหลือร่องรอยให้เห็นบ้างจากแนวคูน้ำคันดิน และบรรดาศาสนสถานที่ได้รับการเสริมแต่งต่อเติมเรื่อยมา อาทิ วัดอโยธยา (วัดเดิม) วันมเหยงค์ วัดเจ้าพญาไท หรือวัดใหญ่ชัยมงคล และวันพนัญเชิง โดยเฉพาะวัดพนัญเชิงนั้น เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่แบบอู่ทอง ที่พงศาวดารระบุว่าสร้างขึ้นก่อนการสร้างพระนครศรีอยุธยา 26 ปี โบราณสถานและศาสนสถานดังกล่าวนี้คือประจักษ์พยานที่เด่นชัดว่าบริเวณนี้มีความรุ่งเรืองจึงขึ้นเป็นนครใหญ่มาช้านานแล้ว

อโยธยา อยุธยา หรือศรีรามเทพนคร คำเรียกชื่อพระนครว่า อโยธยา อยุธยา หรือศรีรามเทพนครดังกล่าวนี้ นอกจากแสดงให้เห็นว่าเป็นการนำเอาชื่อ และความหมายที่สัมพันธ์กับพระราม ในคัมภีร์รามายณะ ของอินเดียโบราณมาใช้ให้เป็นเอกลักษณ์ ของเมืองสำคัญและรัฐที่แต่กต่างไปจากเมือง และรัฐอื่น ๆ แล้ว ยังทำให้ทราบได้ว่า นครอโยธยาหรืออยุธยานี้ เป็นเมืองสำคัญในรัฐละโว้ หรือลวรัฐ ที่ดำรงอยู่มาแต่สมัยทวารวดีในพุทธศตวรรษที่ 12

เมืองอโยธยาที่มีมาก่อนหน้าการสร้างพระนครศรีอยุธยานั้นคือเมืองหลวงของรัฐละโว้ ที่มีกษัตริย์วงศ์ใหม่ ๆ ที่นับถือพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ครองอยู่ ได้อ้างความสืบเนื่องมาแต่สมัยที่เมืองหลวงของรัฐยังอยู่ทีละโว้ การต่อเนื่องของรัฐนี้ที่มีมาแต่เดิมอีกอยางหนึ่งก็คือ การเรียกพระนามของพระมหากษัตริย์และเจ้านายพระองค์สำคัญ ๆ ได้แก่ สมเด็จพระรามาธิบดี และพระราเมศวร ซึ่งล้วนแต่สะท้อนให้เห็นถึงความสอดคล้องกับชื่อพระนคร และเมืองที่ลอกเลียนมาจากคัมภีร์รามายณะของอินเดีย

การย้ายจากเมืองอโยธยาเดิมทางด้านตะวันออกมาสร้างพระนครศรีอยุธยาขึ้นใหม่นั้น มีสาเหตุมาจากการเกิดอหิวาตกโรคระบาด เจ้านาย ขุนนาง และผู้คนคงเสียชีวิตกันมาก เพราะในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาเองก็ระบุว่า เมื่อสร้างพระนครใหม่แล้ว สมเด็จพระรามาธิบดีโปรดให้ขุดศพเจ้าแก้วเจ้าไทยซึ่งเป็นอหิวตกโรคสิ้นพระชนม์ขึ้นพระราชทานเพลิง ณ วัดป่าแก้ว การเกิดโรคระบาดทำให้สมเด็จพระรามาธิบดีต้องย้ายพระราชฐานมาสร้างพระราชวังที่ประทับชั่วคราว ณ เวียงเล็ก คือบริเวณที่ต่อมาได้สร้างเป็นวัดพุทธไธสวรรย์ขึ้น ทรงเลือกบริเวณหนองโสนซึ่งเป็นที่ดอนอันเกิดจากการทับถมของลำน้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำลพบุรีเป็นที่สร้างพระนครใหม่อันที่จริงแล้ว บริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของการขยายตัวของเมืองอโยธยามาแต่เดิมแล้ว เพราะการย้ายไปทางตะวันออกนั้นติดลำน้ำและที่ราบลุ่มต่ำ ส่วนทางด้านตะวันตกนั้นนอกจากเป็นที่ดอนแล้ว ยังมีลำน้ำลพบุรีและแม่น้ำเจ้าพระยาไหลโอบทางด้านเหนือ ด้านตะวันตก และด้านใต้ ทำให้เป็นคูเมืองธรรมชาติและเส้นทางคมนาคมในเวลาเดียวกัน

ตราสัญลักษณ์

ความหมายของตราเทศบาล ดวงตราที่เป็นรูปวงกลมมีเครื่องขอบเบื้องบนระบุข้อความว่า "เทศบาลเมืองอโยธยา" และมีกิ่งใบโพธิ์ปรกลงมา ตรงกลางเป็นรูปวิหารและพระปรางค์ 3 องค์ ส่วนขอบเบื้องล่างเป็นรูปกำแพงเมือง และระบุข้อความว่า "จังหวัดพระนครศรีอยุธยา " เหตุผลในการกำหนดรูปเครื่องหมายตามแบบก็คือบริเวณพื้นที่ที่กำหนดเป็นเขตเทศบาลเมืองอโยธยานั้นมี ประวัติความเป็นมาว่า เป็นที่ตั้งเมืองอโยธยาในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของประเทศไทย และในสมัยนั้นประชาชนชาวไทยมีความเป็นอยู่ด้วยความสงบสุข และมีความมั่นคั่งสมบูรณ์จึงได้สร้างวัดวาอารามขึ้นมากมาย ซึ่งในปัจจุบันนี้วัดวาอารามที่สร้างขึ้นในสมัยก่อน ก็ยังคงมีปรากฎแก่สายตาเป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างมาก

ฉะนั้นการที่นำเอารูปวิหาร และพระปรางค์ 3 องค์ มาเป็นแบบเครื่องหมาย ของเทศบาลเมืองอโยธยาก็เพื่อเป็นสัญลักษณ์ แสดงความหมายทางประวัติศาสตร์ และให้เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรือง ความสมบูรณ์พูนสุขของเทศบาล และประชาชนที่อยู่อาศัยในเขตเทศบาลในปัจจุบัน และในอนาคตต่อไป สำหรับกิ่งใบโพธิ์ที่ปรกลงมานั้นก็เพื่อเป็นตราสัญลักษณ์ของความร่มเย็นเป็นสุข ที่เทศบาลจะพึงให้แก่ประชาชนในโอกาสต่อไป ส่วนกำแพงเมืองในขอบวงกลมเบื้องล่างนั้น ให้เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นระเบียบเรียบร้อยในเขตเมืองอโยธยา

               �ҡ��ô��Թ��âش�鹷ҧ��ҳ��վ�鹷�����ͺ������ͧ�ҧ��ҹ����˹��   ��ȵ��ѹ�͡ (��¸��)   ��з����    ��ҡ���ͧ��¢ͧ�������ҳ�������ѡ�ҹ��õ�駶�蹰ҹ������ҧ��ʹʶҹ�ҵ����������ظ�ҵ͹������׺���ͧ�Ҷ֧������ظ�ҵ͹����                                            

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ.1893 กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางของประเทศสยามสืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สูญเสียเอกราชแก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรกใน พ.ศ. 2112 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราชคืนมาได้ใน พ.ศ. 2127 และเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ในปลายปีเดียวกัน แล้วทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ กวาดต้อนผู้คนจากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรีเพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่ให้มั่นคง แต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคนที่รักถิ่นฐานบ้านเดิมอาศัยอยู่ และมีราษฎรที่หลบหนีไปอยู่ตามป่ากลับเข้ามาอาศัยอยู่รอบๆเมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการยกเป็นเมืองจัตวาเรียกว่า "เมืองกรุงเก่า"

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงยกเมืองกรุงเก่าขึ้นเป็นหัวเมืองจัตวา เช่นเดียวกับในสมัยกรุงธนบุรี หลังจากนั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้จัดการปฏิรูปการปกครองส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครอง ส่วนภูมินั้นโปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3 - 4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่างๆ คือ กรุงเก่าหรือ อยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี หรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี ต่อมาโปรดให้รวมเมืองอินทร์และเมืองพรหมเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา และในปี พ.ศ. 2469 เปลี่ยนชื่อมณฑลกรุงเก่าเป็นมณฑลอยุธยา ซึ่งจากการตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครองมากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายหย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา จนเมื่อยกเลิก การปกครองระบบเทศาภิบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน


  • หลักฐานใดที่แสดงให้เห็นถึงร่องรอยของเมืองเก่าของอยุธยา

    ในปีพุทธศักราช 1893 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงย้ายพระนครมาสร้างเมืองใหม่ ทรงเห็นว่าตำบลหนองโสนอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม เพราะมีน้ำล้อมรอบ จึงทรงกะเขตปักราชวัตรฉัตรธง ตั้งศาลเพียงตา ชีพ่อพราหมณ์ได้ฤกษ์กระทำพิธีกลบบาตสุมเพลิง (ชื่อพิธีอย่างหนึ่ง ทำเพื่อแก้เสนียด) แล้วให้พนักงานขุดดินทั่วบริเวณ เพื่อสร้างพระราชวัง เมื่อขุดมาได้ถึงบริเวณต้นหมัน พนักงานพบสังข์ทักษิณาวัตรสีขาวบริสุทธิ์ 1 ขอน พระเจ้าอู่ทองทรงโสมนัสในศุภนิมิตรนั้นยิ่งนัก จึงทรงโปรดให้สร้างปราสาทน้อยขึ้นเป็นที่ประดิษฐานสังข์ดังกล่าว ทางราชการจึงถือว่า "สังข์" ซึ่งประดิษฐานบนพานทองภายในปราสาทใต้ต้นหมัน เป็นตราประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (จากหนังสือ "กรุงศรีอยุธยา ราชธานีไทย")