นายสถานีรถไฟฟ้าต้องทำอะไรบ้าง

ผมเคยถามตัวเองว่า “ทำไมมาทำงานที่รถไฟ?” แต่จริง ๆ แล้ว คำถามประโยคนี้ เคยมีคนถามผมแล้วหลายครั้ง ครั้งแรกเมื่อ 29 ปีก่อน ตอนนั้นผมยังเป็นวัยรุ่น อายุเพียง16 ปี พึ่งได้เข้ามาเรียนที่โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ชั้นที่ปี 1 แผนกการเดินรถ ซึ่งคำตอบตอนนั้นคือ “คุณพ่ออยากให้มาสอบเข้าครับ”

หลังจากนั้นอีกกว่า 10 ปี มีอาจารย์ท่าหนึ่งถามผมด้วยคำถามเดิมนี้ ว่า ทำไหมถึงมาทำงานที่การรถไฟฯ คำตอบของผมเริ่มเปลี่ยนไป คือ “เพราะเป็นหน่วยงานนี้มั่นคง และมีสวัสดิการดีครับ” ขณะที่ตอนผมกำลังเรียนปริญญาตรี ภาคค่ำ ผมเลือกเรียนสาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ เพราะผมโอนย้ายมาทำงานที่ฝ่ายการพาณิชย์ ในตำแหน่งเสมียน มีหน้าที่รวบรวมข้อมูล เพื่อให้หัวหน้านำไปใช้ในด้านการขาย การตลาด และการบริการ เป็นงานที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ทุกวัน และต้องอาศัยความรู้ทางบริหารธุรกิจมาประกอบด้วย ซึ่งผมเองก็ไม่เคยคิดที่อยากจะมาเรียนทางด้านนี้เลยด้วยซ้ำ

เพราะเป็นหน่วยงานนี้มั่นคง และมีสวัสดิการดีครับ

เนื่องจากจริง ๆ แล้วผมต้องไปทำงานเป็นนายสถานีตามแผนกงานที่ผมเรียนจบมา ไม่นานผมก็เรียนประสบความสำเร็จในระดับปริญญาตรีมาพร้อมกับคำพ่วงท้ายปริญญาตรีว่า “เกียรติ์นิยม” ผมไม่รู้หลอกครับ ว่าผมจะได้รับเกียรติ์นี้ แต่ที่ผมทำคือการตั้งใจเรียน ฝึกฝนทำการบ้านให้ดีที่สุดเท่าที่ผมจะทำได้ หรืออาจเป็นเพราะค่าเทอมที่แพงเอามาก ๆ จึงเป็นอีกหนึ่งแรงพลักดันให้ผมต้องตั้งใจเรียนมากขึ้นกว่าเดิม เพราะมหาวิทยาลัยที่ผมเลือกเรียนนั้น คือ มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่มีชื่อเสียงด้านวิชาการบริหารธุรกิจ และเป็นที่ยอมรับขององค์กรมากมาย

ในระหว่างการเรียน ผมไม่ลืมที่จะร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัยอยู่เสมอ เพราะคิดว่า การเรียนอย่างเดียวจะได้แต่ความรู้ แต่ถ้าร่วมกิจกรรมด้วย เราจะได้ทั้งเพื่อน ทั้งสังคมใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยได้รู้จัก รวมทั้งเราจะได้ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์และที่สุดคือเราจะได้ประสบการณ์ที่ท้าทายกลับมาซึ่งสิ่งเหล่านี้ในห้องเรียนไม่มีวันสอนคุณ

ในที่สุดสิ่งเหล่านี้ที่ผมทำ ทำให้ผมไปได้มีโอกาสสอบชิงทุนเรียนต่อในระดับปริญญาโท 100% ซึ่งในรุ่นมีเพียงผมคนเดียวที่ได้รับทุนนี้ รวมทั้งผมยังได้รับความไว้วางใจจากเพื่อน ๆ ที่เรียนด้วยกัน ให้ทำหน้าที่ประธานสาขาบริหารธุรกิจ และเป็นประธานคณะกรรมการนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย หรือที่ทุกคนเรียกกันว่า ท่านประธานรุ่น ในที่สุดนั้นเอง

นายสถานีรถไฟฟ้าต้องทำอะไรบ้าง

หน้าที่ ความรับผิดชอบในครั้งนั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับผมเป็นอย่างมาก แม้ในช่วงเวลาเดียวกันหน้าที่และความรับผิดชอบประจำในการรถไฟฯ จะเริ่มมีมากขึ้น ๆ แต่ผมมองว่าทั้งการทำงานพร้อมควบคู่ไปกับการเรียนปริญญาตรีและต่อไปยังปริญญาโท ตลอด 7 ปีกว่าของผมจะหล่อหลอมให้ผมเข้มแข็ง และประสบความสำเร็จอย่างในทุกวันนี้ สร้างความภาคภูมิใจให้ผมและครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง

การรถไฟฯ​ ไม่ขาดทุนและมีกำไร นั่นคือ ความฝันอันสูงสุดของผม

แต่คำถามลักษณะเดิมจากเพื่อนร่วมรุ่นปริญญาโท 2 คน ก็กลับมาหาผมอีกครั้ง เพราะเพื่อนคนแรกชักชวนให้ผมลาออกไปสมัครทำงานใหม่ในอีกองค์กรรัฐวิสาหกิจที่มีกำไรและได้โบนัส ส่วนอีกคนขอให้ลาออกไปเป็นผู้บริหารบริษัทใหม่ที่เค้าลงทุนและตั้งขึ้นมา โดยให้ผมลงทุนแรงกายและสติปัญญาบริหาร ด้วยคำพูดที่ว่า “ข้าเชื่อใจเอ็ง” แต่ผมก็ได้ปฏิเสธความหวังดีของเพื่อนรักทั้ง 2 คนนั้นไป และตอบคำถามที่ว่า “เอ็งจะทำงานรถไฟไปทำไม” ว่า เพราะในใจผมมีสิ่งเดียวที่ต้องการทำให้สำเร็จ และเห็นก่อนถึงวัยเกษียณอายุราชการของผม คือ การรถไฟฯ​ ไม่ขาดทุนและมีกำไร นั่นคือ ความฝันอันสูงสุดของผม

ถามว่าทำไม? คำตอบ คงเพราะตั้งแต่ผมเกิดลืมตาดูโลกในนี้ สิ่งที่ผมคุ้นเคยและชินตาที่สุด คือ เสียงหวูดรถไฟ เสียงระฆังสถานีรถไฟ ชุดเครื่องแบบพนักงานการรถไฟฯ ของคุณพ่อผมที่ท่านให้ผมช่วยถอดเครื่องหมาย ใส่เครื่องหมายให้ ชุดที่คุณแม่คอยซักรีด แบบกรีบคมกริบ คีมหนีบตั๋วสีเงินเงาวั๊บของคุณพ่อ ที่ผมแอบเอามาเล่นจนพลาดสับผ่ามือจนฮ่อเลือด เพราะใช้มันไม่เป็น รวมทั้งตลอดช่วงวันหยุดหรือปิดเทอม คุณพ่อจะพาผมนั่งรถไฟไปทำงานด้วยตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางในยามเย็นค่ำ

ผมชอบนั่งดูวิวทิวทัศน์สองข้างรถไฟ เพราะมันทำให้ผมมีความสุข คิดถึงสมัยตอนเป็นเด็ก ซึ่งตอนเด็ก ๆ ผมจำได้ทันทีว่าตอนนี้รถไฟกำลังวิ่งอยู่ระหว่างไปสถานีไหน เพียงแค่ดูจากภูมิประเทศสองข้างทางเท่านั้น นั้นคือความทรงจำในวัยเด็กของผม

นายสถานีรถไฟฟ้าต้องทำอะไรบ้าง

ตอนนี้ผมทำงานมาแล้วกว่า 26 ปี ผมอยู่ในช่วงวัยกลางคน เวลานี้การรถไฟฯ กำลังเข้าสู่วิสัยทัศน์ใหม่ รวมทั้งโอกาสใหม่ ซึ่งโอกาสนี้อาจทำให้ความฝันของผมได้เป็นความจริง แต่ผมคงทำให้มันเกิดขึ้นเพียงคนเดียวไม่ได้ ผมเป็นเพียงฟันเฟืองเล็ก ๆ หนึ่งอัน ที่ประกอบรวมกันให้เป็นการรถไฟฯ และขับเคลื่อนไปสู่อนาคต

แต่พวกเรา พี่น้องทุกคน ทุกหน่วยงาน ทุกหน้าที่ ไม่เกี่ยงว่าจะเป็นผู้บริหารระดับสูงหรือเป็นเพียงลูกจ้างรายเดือนที่ทำหน้าที่ด้านปฏิบัติการระดับล่าง เพราะถ้าขาดใครคนใดคนหนึ่ง หรือหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งไป องค์กรก็ยากที่จะขับเคลื่อนไปสู่อนาคตที่สดใสได้

ณ เวลานี้ พวกเรากำลังเป็นส่วนหนึ่งของช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด ขอเพียงให้เราร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันอย่างจริงใจและใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่มีให้ดีที่สุด เพื่อมอบการบริการที่เปี่ยมไปด้วยความรักและความสุขให้แก่ผู้มาใช้บริการของเรา ผมเชื่อว่า ผมจะได้เห็นความฝันของผมเป็นจริงก่อนผมเกษียณ ผมจะได้เห็นวันที่คนรถไฟทุกคนกล้าพูดกับใคร ๆ ที่ถาม ด้วยความภาคภูมิใจพร้อมรอยยิ้มที่มีความสุขว่า “ผมทำงานที่การรถไฟแห่งประเทศครับ” 

นายสถานีรถไฟฟ้าต้องทำอะไรบ้าง

    เมื่อพูดถึงปัญหาขาดพนักงานปฏิบัติหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่มีมายาวนาน ซึ่งจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เดิมเมื่อปี 2541 ที่กำหนดให้ รฟท.รับพนักงานใหม่ได้เพียง 5% ของพนักงานที่เกษียณ ทำให้ปัจจุบัน รฟท.ขาดพนักงานปฏิบัติงาน รวมกว่า 8,000 อัตรา ครอบคลุมทั้งพนักงานประจำขบวนรถ พนักงานห้ามล้อ และเจ้าหน้าที่ประจำสถานี
    สำหรับหน้าที่ที่กล่าวมานั้น ล้วนแล้วส่งผลโดยตรงทั้งต่อความปลอดภัยผู้โดยสาร และคุณภาพบริการ แม้ว่าฝ่ายบริหารได้นำเสนอให้กระทรวงคมนาคม และรัฐบาลทราบปัญหาแล้ว รวมถึงก่อนหน้านี้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางมาตรวจเยี่ยม รฟท. ก็ให้ความสำคัญต่อปัญหาดังกล่าว โดยปัจจุบันพนักงาน รฟท.ยังติดตามว่ารัฐบาลจะมีมติ ครม.ใหม่ปลดล็อกมติ ครม.เดิมที่ชัดเจนเมื่อใด
    จากรายงานพบว่า อัตราเจ้าหน้าที่ที่ขาดในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 พบว่าอัตราพนักงานที่ขาดมากที่สุด ได้แก่  พนักงานฝ่ายการช่างกล ที่ทำหน้าที่เป็นพนักงานขับรถ ช่างเครื่อง พนักงานซ่อมบำรุงรถจักร ตู้โดยสารต่างๆ มีอัตราที่ขาด 2,280 คน รองลงมาก็คือ ฝ่ายการช่างโยธา ที่ทำหน้าที่ซ่อมบำรุง ดูแลความปลอดภัยของระบบราง สะพานต่างๆ  ทั่วประเทศ มีอัตราที่ขาด 1,884 คน ฝ่ายปฏิบัติการเดินรถ ที่ทำหน้าที่ประจำตามสถานีต่างๆ ทั่วประเทศ ดูแลเรื่องความปลอดภัย
    รวมถึงพนักงานที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารภายในสถานี เช่น นายสถานี เสมียนขายตั๋ว พนักงานประจำสถานี มีอัตราที่ขาด 1,655 คน และฝ่ายบริการโดยสาร ที่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวก ดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสารบนขบวนรถ เช่น พนักงานรักษารถ พนักงานห้ามล้อทั้งรถโดยสารและสินค้า พนักงานตรวจตั๋ว พนักงานรถนอน มีอัตราที่ขาด 570 คน
    เมื่อถามว่าปัญหาการขาดแคลนเจ้าหน้าที่นั้น ส่งผลต่อด้านใดบ้าง ต้องบอกเลยว่าจะส่งผลให้พนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ต้องควงกะ จนหลายครั้งอ่อนล้า แต่ไม่สามารถลาหยุดงานได้ โดยเมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา พบมีพนักงานรักษารถ พนักงานห้ามล้อเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่บนขบวนรถขาดถึง 36 คน ทำให้ในขณะนี้ฝ่ายบริหารกำลังพิจารณาแก้ไขปัญหาขาดพนักงานโดยการยกเลิกเดินขบวนรถที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในหลายเส้นทาง หรือจะนำรถโดยสารมาปรับวิ่งให้บริการเฉพาะในวันเสาร์-อาทิตย์ หรือวิ่งเฉพาะวันจันทร์-วันศุกร์เท่านั้น
    ไม่เพียงเท่านี้ จากคำบอกเล่าจากพนักงานรักษารถ ที่ปกติทำหน้าที่รักษาความปลอดภัย และตรวจตั๋ว ปกติขบวนหนึ่งจะมีปฏิบัติหน้าที่ขบวนละ 3 คน ตอนนี้เหลือเพียง 1 คน ส่วนพนักงานประจำสถานีขาด ปกติจะต้องมีผู้ปฏิบัติงานตามเวรแทนวันหยุด แต่ปัจจุบัน เช่น แขวงธนบุรี ทั้งแขวงเหลือพนักงานที่ทำหน้าที่แทนแค่ 2 คน พนักงานป่วยก็ไม่สามารถลางานได้ ในเมื่อสภาพร่างกายไม่มีความพร้อม แต่ต้องมาทำหน้าที่ดูแลผู้โดยสารจำนวนมาก
    ดังนั้น จากที่ได้รับรายงานมาเรื่องนี้คนรถไฟฯ ทราบดี และเกรงว่าปัญหาเหล่านี้เมื่อสะสมจะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา ทั้งด้านความปลอดภัย และคุณภาพบริการ ปัญหารถจักรรถโดยสารที่มีไม่เพียงพอ ชำรุดบ่อย ขาดคนซ่อมบำรุง สภาพทาง โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังมาถึง มีการเดินทางของผู้โดยสารจำนวนมาก และต้องเพิ่มขบวนรถขึ้นอีก ทุกคนยังตั้งความหวังที่จะมีการปลดล็อกมติ ครม.เก่าโดยเร็ว เพราะงานขณะนี้มันเกินกำลังของพนักงาน รฟท.ไปมาก
    นอกจากนี้ ปัญหาดังกล่าวยังครอบคลุมการผลิตบุคลากร ทั้งที่จะนำมาปฏิบัติงานในการเดินรถไฟปัจจุบัน  และรองรับงานระบบรางที่ รฟท.เป็นผู้ลงทุน และอาจต้องดูแลการเดินรถในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นรถไฟทางคู่อีกหลายเส้นทาง ที่จะทำให้รถไฟต้องจัดหาขบวนรถเพิ่ม โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ขณะที่นักเรียนจากโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ที่จบการศึกษาปี 60 ที่ผ่านมา มีจำนวน 173 คน ซึ่งได้กระจายกำลังทำงานให้การรถไฟฯ ไปแล้ว แต่อยู่ในสถานะการจ้างแค่ลูกจ้างชั่วคราว จากปัญหาปลดล็อกมติ ครม.ดังกล่าว
    ซึ่งก็เป็นที่หน้าเห็นใจว่า ที่ผ่านมาการเพิ่มบุคลากรของการรถไฟฯ มักจะไม่ได้รับการเหลียวแล อย่างไรก็ตาม ในอนาคตเราจะมีระบบรางให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ ดังนั้นถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหันมาสนใจและใส่ใจในเรื่องนี้อย่างจริงจัง.