การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนำ GIS มาใช้ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับอะไร

มีใครสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า “การไฟฟ้า” แต่ละหน่วยงานทั้ง MEA PEA และ EGAT มีหน้าที่ต่างกันอย่างไร?
มีใครสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า “การไฟฟ้า” แต่ละหน่วยงานทั้ง MEA PEA และ EGAT มีหน้าที่ต่างกันอย่างไร? วันนี้ เราจะมาหาคำตอบกันครับ ! 

การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA มีหน้าที่จำหน่ายพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ  

ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA จะจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ยกเว้นพื้นที่ 3 จังหวัดที่ MEA ดูแลอยู่ ซึ่งทั้ง 2 จะทำหน้าที่เหมือนกันคือ การจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้คนไทยทุกคนมีไฟฟ้าใช้ มั่นคง และปลอดภัยในทุก ๆ บ้าน

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ EGAT เป็นผู้จัดหาแหล่งพลังงานไฟฟ้า มีทั้งผลิตเอง และรับซื้อจากโรงไฟฟ้าเอกชนและประเทศเพื่อนบ้าน โดยทำการส่งไปให้แก่ MEA PEA และผู้ใช้บริการรายอื่น ๆ เพื่อนำพลังงานไฟฟ้าเหล่านั้นส่งต่อให้ผู้ให้บริการในพื้นที่ต่อไป

.

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการไฟฟ้าหน่วยงานใด เราก็พร้อมส่งต่อพลังงานไฟฟ้า และสิ่งดี ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทุกคนตลอด 24 ชม.เลยครับ

#พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร

Energy for city life, Energize smart living

https://www.facebook.com/497340003626475/posts/3406859116007868/ 

Article Sidebar

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนำ GIS มาใช้ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับอะไร

เผยแพร่แล้ว: เม.ย. 27, 2020

คำสำคัญ:

ระบบสนับสนุนการบริการ ไอทิล ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

Main Article Content

บทคัดย่อ

ปัญหาพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการบริการผู้ใช้ไฟฟ้า กรณีศึกษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชุมพร โดยการนำกรอบการปฏิบัติงาน ITIL version 3 มาประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์มีการประเมินประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ประเมินคุณภาพระบบจากผู้เชี่ยวชาญและประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานทั่วไป โดยใช้โปรแกรมภาษา PHP และฐานข้อมูล MySQL ในการเขียนโปรแกรม ระบบนี้พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความถูกต้องในการให้บริการผู้ใช้ไฟฟ้า รับแจ้งติดตามผล คำร้องขอใช้บริการ และเรื่องร้องเรียนการบริการ สามารถแสดงรายงานทางสถิติรูปแบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ก่อให้เกิดการจัดการงานบริการลูกค้าได้อย่างมีมาตรฐานจากการวิจัยพบว่า ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบในการค้นหาและแสดงผลข้อมูลทางพิกัดสถานที่ขอรับบริการมีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพโดยรวม F-Measure ร้อยละ 92  และผลการประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญอยู่ใน

ระดับดีโดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานทั่วไปอยู่ในระดับดีโดยค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.42 จากผู้ประเมินทั้ง 2 กลุ่ม สรุปได้ว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องต้องผ่านการพิจารณาคุณภาพทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิประจำศาสตร์ (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ

2. ข้อความหรือข้อคิดเห็นในวารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ฉบับนี้เป็นของผู้เขียนบทความ คณะผู้จัดวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย

3. กองบรรณาธิการวารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา

References

ศิริสุดา สุภาวรรณ. (2556). การนำมาตรฐาน ITIL มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการระบบสารสนเทศ กรณีศึกษา บริษัท ดีคอมพ์กรุ๊ป จำกัด. สารนิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

ภัทรพล รสชา. (2556). ระบบบริหารจัดการงานรับแจ้งปัญหาการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ. สารนิพนธ์ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

ธนาเศรษฐ์ วสุธนเวโรจน์. (2556). การบริหารงานด้านการเบิกเวชภัณฑ์ด้วยกระบวนการ ITIL กรณีศึกษา: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. สารนิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. ประวัติความเป็นมา. [ออนไลน์].[สืบค้นวันที่ 21 มิถุนายน 2557]. จากhttp://www.pea.co.th.

ระบบ GIS/AM/FM การไฟฟ้านครหลวง

กลุ่มบริษัทซีดีจี ได้รับมอบหมายจากการไฟฟ้านครหลวงให้เป็นผู้จัดทำระบบฐานข้อมูลสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า
โดยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ในระบบ GIS/AM/FM และจัดทำข้อมูลแผนที่ฐาน และระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่มีความละเอียด 1:1,000 ในเขตรับผิดชอบ 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยทำการสำรวจข้อมูลแผนที่ภาคสนาม ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ และข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีการจัดเก็บในรูปแบบเอกสารให้อยู่ในระบบ GIS เพื่อการใช้งานเชิงประยุกต์ต่อไป ซึ่งผลงานครั้งนี้ การไฟฟ้านครหลวงได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทโครงการบริการและบริหารข้อมูลดีเด่น จากคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ในการจัดงานสัปดาห์เทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2543

กลุ่มบริษัทฯ ยังได้รับมอบหมายให้พัฒนาแอปพลิเคชันให้กับการไฟฟ้านครหลวง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและการบริการได้อย่างสมบูรณ์ และสามารถนำข้อมูลที่มีการจัดเก็บในฐานข้อมูลไปใช้งานที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานได้อย่างเต็มที่ โดยปัจจุบันระบบดังกล่าวทำงานบนระบบ Windows และ Web Application ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบ GIS/AM/FM กับระบบ ERP (SAP) ของการไฟฟ้านครหลวง ซึ่งช่วยให้ระบบต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ด้วยเครื่องมือ และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ทั้งยังสามารถปรับปรุงและเพิ่มเติมความสามารถได้ง่าย ส่งผลให้ทั้งลูกค้าภายใน และลูกค้าภายนอกได้รับการบริการที่ถูกต้องแม่นยำและสะดวกรวดเร็ว โดยระบบนี้ถูกติดตั้งไว้ภายในห้องมั่นคง (Strong Room) อันดับแรก ๆ ของประเทศ

การไฟฟ้านครหลวงยังได้นำฐานข้อมูลจากโครงการจัดทำระบบแผนที่ และข้อสนเทศระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (ระบบ GIS/AM/FM) ซึ่งมีข้อมูลต่าง ๆ เช่น ถนน เส้นทาง ตำแหน่งอาคารสถานที่สำคัญ และข้อมูลระบบไฟฟ้ากรุงเทพมหานครและปริมณฑล มาจัดตั้งระบบ Call Center เพื่อให้ประชาชนสอบถามปัญหา หรือข้อมูลต่าง ๆ ผ่านหมายเลขเดียว เพิ่มช่องทางการติดต่อให้แก่ประชาชน พร้อมความพึงพอใจในการบริการที่มากขึ้น ซึ่งทำให้
การไฟฟ้านครหลวงได้รับรางวัลจากคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ในการจัดงานสัปดาห์
เทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2543 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทโครงการบริการประชาชน
ดีเด่นอีกด้วย

นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทฯ ร่วมมือกับการไฟฟ้านครหลวง จัดทำระบบ GIS Net เป็นบริการการเรียกใช้ข้อมูลผ่านระบบ Web Service บนพื้นฐานข้อมูลชุดเดียวกับระบบ GIS/AM/FM มุ่งเน้นให้บริการระบบแผนที่แก่หน่วยงานภายนอก รวมทั้งเป็นช่องทางในการซื้อขายข้อมูลแผนที่รูปแบบแผนที่กระดาษและข้อมูลดิจิทัล และเพิ่มโอกาสสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่ ๆ ของการไฟฟ้านครหลวง

ภายหลังเมื่อการไฟฟ้านครหลวงได้รับใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคม (แบบที่สาม ระยะเวลา 20 ปี)
จาก กทช. (กสทช. ในปัจุบัน) จึงได้มีการปรับปรุงข้อมูลสายสื่อสารต่าง ๆ ในระบบ GIS ให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น โดยได้พัฒนาระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์สำหรับบริหารโครงการใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) สำหรับฝ่ายปฏิบัติการระบบสื่อสารและคอมพิวเตอร์ (ฝสค.) และฝ่ายระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ฝสภ.) ใช้ในการนำเข้าข้อมูลสายสื่อสารของการไฟฟ้านครหลวง และผู้ให้บริการอื่น ๆ ที่มีการเช่าพาดสายติดตั้งซ้อนทับอยู่บนเสาไฟฟ้าในระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง นับเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และขยายโอกาสของการไฟฟ้านครหลวงในธุรกิจโทรคมนาคมในอนาคต

ด้วยการนำเทคโนโลยีแผนที่และภูมิศาสตร์มาใช้งานอย่างครบวงจร ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงนโยบายและ
เชิงปฏิบัติการ รวมทั้งส่วนของการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และส่วนของการบริการลูกค้าผู้ใช้บริการ ทำให้การบริการประชาชนของการไฟฟ้านครหลวงมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จากเดิมที่การติดต่ออาจเสียเวลาเกินครึ่งวัน ลดลงเหลือเพียง 10-15 นาทีโดยเฉลี่ย ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฯ ได้นำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในงานประจำวัน (Day to Day Operation) ของการไฟฟ้านครหลวงเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องมายาวนานกว่า 15 ปีแล้ว

Company: GISC