ระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ pgm–fi version 3 เพิ่มตัวตรวจจับออกซิเจนเพื่อทำหน้าที่ใด

หัวฉีด PGM-FI ของ Honda คืออะไรและทำงานอย่างไร เรามาดูกัน

ระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ pgm–fi version 3 เพิ่มตัวตรวจจับออกซิเจนเพื่อทำหน้าที่ใด

Honda MSX ที่มาพร้อมกับระบบหัวฉีด PGM-FI

          เพื่อนๆ ชาวสองล้อคงเคยได้ยินกันมาบ่อยๆ ว่ารถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ของทางค่ายขวัญใจมหาชนอย่าง Honda (ฮอนด้า) นั้นจะมีการใช้ระบบสั่งจ่ายน้ำมันแบบหัวฉีด PGM-FI (พีจีเอ็ม เอ็ฟไอ) ซึ่งก็อาจจะทำให้ใครหลายๆ คนนั้นเกิดความสงสัยว่า เจ้าระบบชื่อเท่ห์ๆ อันนี้มันคืออะไร และทำงานอย่างไร ซึ่งวันนี้ BoxzaRacing ของเราก็ได้นำเกร็ดความรู้ในเรื่องนี้มาฝากครับ ตามมาดูกันเลย

ระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ pgm–fi version 3 เพิ่มตัวตรวจจับออกซิเจนเพื่อทำหน้าที่ใด

เครื่องยนต์ Automatic กับระบบหัวฉีด PGM-FI

          PGM - FI ย่อมาจากคำว่า Programmed Fuel Injection คือ การใช้ระบบอิเล็คโทคนิคส์เข้ามาควมคุมการฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีปริมาณที่เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องยนต์ให้สภาวะต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพปริมาณไอเสียต่ำ ประหยัดน้ำมันและให้สมรรถนะการขับขี่ที่ดีขึ้น

ระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ pgm–fi version 3 เพิ่มตัวตรวจจับออกซิเจนเพื่อทำหน้าที่ใด

เครื่องยนต์ของ Honda กับระบบหัวฉีด PGM-FI

          แล้วมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไรละ? ถือเป็นอีกหนึ่งคำถามที่น่าสนใจ เพราะฉะนั้นเรามาดูกันดีกว่าครับว่าเจ้าหัวฉีด PGM-FI อันนี้มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

ระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ pgm–fi version 3 เพิ่มตัวตรวจจับออกซิเจนเพื่อทำหน้าที่ใด

การทำงานของเครื่องยนต์ระบบหัวฉีด PGM-FI

          ฮอนด้าเริ่มพัฒนาระบบหัวฉีดนี้เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ด้วยเจตนารมณ์ที่จะสร้างระบบเครื่องยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงน้อย ให้ค่าไอเสียต่ำและให้สมรรถนะการขับขี่ที่ดีกว่า ฮอนด้าประสบความสำเร็จในการผลิตมอเตอร์ไซค์ระบบหัวฉีดออกสู่ตลาดเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1982 โดยใช้ชื่อรุ่นว่า CX500 Turbo ซึ่งเป็นรุ่นที่พัฒนาขึ้นมาให้ประหยัดน้ำมันมากกว่ารุ่นมาตรฐาน คือ CX500 ขนาด 496.9 ซีซี

ระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ pgm–fi version 3 เพิ่มตัวตรวจจับออกซิเจนเพื่อทำหน้าที่ใด

Honda CX500 Turbo

         

ในขณะเดียวกันก็มีอัตราเร่งดี สูงกว่ารถ 901 ซีซี. อย่าง CB900F นอกจาก CX500 Turbo จะเป็นมอเตอร์ไซค์หัวฉีดรุ่นแรกของฮอนด้าแล้ว ยังเป็นมอเตอร์ไซค์หัวฉีดรุ่นแรกของโลกที่ออกวางจำหน่ายให้ผู้ใช้ทั่วไปอีกด้วย

      และในปี ค.ศ. 1998 ฮอนด้าได้นำเสนอรถระบบหัวฉีด PGM-FI รุ่น VFR800 FI สู่ผู้ใช้ ซึ่งเป็นรุ่นที่สามารถผ่านมาตราฐานควบคุมมลพิษของสหภาพยุโรป (EUR01) ในขณะนั้นได้

ระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ pgm–fi version 3 เพิ่มตัวตรวจจับออกซิเจนเพื่อทำหน้าที่ใด

Honda NSR500

          ต่อมาเรามาดูว่าเจ้าระบบ PGM-FI กับรถในสนามแข่งนั้น มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง

      ในแวดวงสนามแข่งก็มีการนำเทคโนโลยีหัวฉีด PGM-FI เข้ามาใช้ในมอเตอร์เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น รุ่น NSR500 ที่นำมาใช้แข่งขันทางเรียบในรายการ World Grand Prix เมื่อปี ค.ศ.1993 และล่าสุดในปี ค.ศ. 2002 ระบบหัวฉีด PGM-FI ถูกนำมาบรรจุในรถมอเตอร์ไซค์รุ่น RC211V ที่ใช้แข่งขันในรายการ โมโตจีพี สามารถประสบความสำเร็จ และได้รับชัยชนะในหลายสนาม รวมทั้งครองตำแหน่งแชมป์ผู้ผลิต ระดับโลก ถึง 3 ปีซ้อน นับตั้งแต่งปี ค.ศ. 2002 เป็นต้นมา เบื้องหลังความสำเร็จดังกล่าวอยู่ที่ระบบหัวฉีด PGM-FI ซึ่งถูกออกแบบการทำงานให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ทรงพลังที่สามารถตอบสนองต่อการขับขี่ของนักแข่งในทุกสภาวะได้อย่างสูงสุด

ระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบ pgm–fi version 3 เพิ่มตัวตรวจจับออกซิเจนเพื่อทำหน้าที่ใด

ระบบหัวฉีด PGM-FI ของ Honda

          และนี่ก็คือเกร็ดความรู้ดีๆ เกี่ยวกับเจ้าหัวฉีด PGM-FI ของ Honda นะครับ ซึ่งก็ต้องยอมรับเลยว่ามันเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยี ที่มีส่วนช่วยให้วงการยานยนต์ระดับโลกนั้นก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่งเลยก็ว่าได้ และสำหรับครั้งหน้าเราจะนำเกร็ดความรู้ในเรื่องไหนมาให้เพื่อนๆ ได้ดูกันอีก สามารถติดตามกันได้เลยที่ BoxzaRacing ที่นี่ที่เดียวเท่านั้น สำหรับวันนี้ขอตัวลาไปก่อน สวัสดีครับ

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก : aphonda.co.th

กรุงเทพฯ--28 มี.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
ฮอนด้าพัฒนาเทคโนโลยีก้าวล้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม ด้วยระบบหัวฉีด PGM-FI สำหรับรถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก พร้อมเริ่มต้นติดตั้งในรุ่นใหม่ ปี 2008
ฮอนด้าก้าวล้ำหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีรถจักรยานยนต์ สนองตอบ ทั้งความพึงพอใจสูงสุดของผู้บริโภค และที่สำคัญยังส่งเสริมสภาพสิ่งแวดล้อม ด้วยระบบหัวฉีด PGM-FI สำหรับรถขนาดเล็ก ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง โดยควบคุมการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างแม่นยำ และลดค่าไอเสีย ประกอบกับ ออกแบบโครงสร้างเครื่องยนต์แบบใหม่ ช่วยลดการสูญเสียพลังงาน ส่งผลให้มีไอเสียสะอาดขึ้น อัตราการประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนสมรรถนะสูงขึ้น พร้อมเริ่มต้นติดตั้งในรถรุ่นใหม่ปี 2008 และขยายให้ ครอบคลุมทุกรุ่นภายในปี 2009
บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด เปิดเผยถึงความก้าวล้ำหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ในรถจักรยานยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งเป็นรถจักรยานยนต์โดยส่วนใหญ่ในประเทศไทย รวมทั้งรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กนี้ยังมีสัดส่วนปริมาณการใช้ ในทั่วโลกสูงถึง 90% จากรถจักรยานยนต์รวมทุกประเภท โดยการพัฒนาครั้งนี้มุ่งเน้นวัตถุประสงค์หลักสองประการสำคัญคือสนองตอบความพึงพอใจสูงสุดของผู้บริโภค และโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งเสริมการอนุรักษ์สภาพสิ่งแวดล้อม
โดยเทคโนโลยีใหม่สำหรับรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กนั้น นับเป็นความสำเร็จของพัฒนาการที่ต่อเนื่อง ด้วยการนำเทคโนโลยีชั้นสูงระดับโลกในรถจักรยานยนต์รุ่นใหญ่ (Big Bike) ถ่ายทอดสู่เครื่องยนต์เล็ก คือ เทคโนโลยีระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงแบบหัวฉีด หรือ Programmed Fuel Injection (PGM-FI) ซึ่งระบบนี้ได้รับการพัฒนาใหม่ ให้โครงสร้างทุกชิ้นส่วนของกระบวนการทำงาน มีขนาดกะทัดรัดสอดคล้องกับขนาดของเครื่องยนต์ อันนับเป็น
การพัฒนาให้อุปกรณ์ของระบบแบบหัวฉีดมีขนาดเล็กที่สุดในโลก ในขณะที่ควบคุมการทำงานด้วยสมองกลอัจฉริยะ ECU (Engine Control Unit) รวมทั้งอุปกรณ์เชื่อมโยงระบบทั้งหมดเป็นเทคโนโลยีล้ำสมัย โดยเฉพาะ O2 เซ็นเซอร์ ซึ่งตรวจวัดระดับออกซิเจนในไอเสีย พร้อมเซ็นเซอร์คำนวณการผสมผสานการจ่ายน้ำมันอย่างแม่นยำรวม 5 จุด ส่งผลให้ PGM-FI ยุคใหม่สำหรับรถขนาดเล็ก มีประสิทธิภาพสูงทั้งในด้านการตอบสนองอัตราเร่ง รวมถึงทำให้ไอเสียสะอาด และเพิ่มอัตราการประหยัดน้ำมัน
เทคโนโลยีระบบหัวฉีด PGM-FI ยุคใหม่ล่าสุด ทั้งนี้ความโดดเด่นพิเศษและหน้าที่การทำงานของเทคโนโลยีระบบนี้ คือ โครงสร้างชิ้นส่วนที่มีขนาดกะทัดรัด
ทั้งปั๊มน้ำมัน หัวฉีด และ ECU โดยเล็กลงจากที่ใช้ในรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ถึง 25% 70% และ 40% ตามลำดับ โดยขนาดหัวฉีดที่มีขนาดเล็กนั้นทำให้ใช้ปริมาณไอดีเพียง 1/2 และใช้น้ำมัน 1/3 ของระบบหัวฉีด ในรถขนาดใหญ่ ต่อการจุดระเบิดหนึ่งครั้ง ประกอบกับเรือนลิ้นเร่ง (Throttle Body) ที่มีการติดตั้งเซ็นเซอร์สามจุด คือ เซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิอากาศ , เซ็นเซอร์ตรวจจับตำแหน่งลิ้นเร่ง และเซ็นเซอร์ตรวจจับแรงดันในท่อไอดี รวมถึงการทำหน้าที่ของเซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิน้ำมันเครื่อง ทำให้สามารถควบคุมการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและอากาศได้อย่างแม่นยำ
นอกจากนั้นแล้ว อุปกรณ์เชื่อมโยงการทำงาน อันได้แก่ ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ยังได้รับการออกแบบให้มีขนาดเล็กโดยผลิตขึ้นจากเรซินชนิดพิเศษ ซึ่งมีคุณสมบัติในการยืดหยุ่น รวมถึงมีการยกเลิกท่อน้ำมันไหลกลับ ส่งผลให้ ลดความซับซ้อนของโครงสร้างระบบ และที่สำคัญมีการติดตั้งออกซิเจนเซ็นเซอร์ หรือ O2 เซ็นเซอร์ ที่มีหน้าที่ตรวจสอบสภาพการเผาไหม้ โดยตรวจวัดค่าออกซิเจนในไอเสีย แล้วส่งข้อมูลไปยัง ECU สำหรับใช้เป็นข้อมูล ในการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ในขณะที่ระบบกำเนิดไฟฟ้าได้รับการพัฒนาขึ้นใหม่ สามารถควบคุมการทำงาน ของจังหวะการจุดระเบิดได้ถูกต้อง รวมถึงระบบกรองไอเสียออกแบบให้โครงสร้างภายในเป็นกรองแบบรังผึ้ง (Metal Honeycomb) ซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงในการกรองไอเสีย
จากการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ทั้งหมดในภายโครงสร้างระบบ PGM-FI ยุคใหม่ของเครื่องยนต์ขนาดเล็ก จะส่งผลให้การจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงมีความแม่นยำสูง อีกทั้งการเผาไหม้สมบูรณ์ ซึ่งนอกจากจะให้ค่าไอเสียสะอาด และประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว ยังตอบสนองอัตราเร่งได้รวดเร็ว ทำให้ขับขี่ได้อย่างเพลิดเพลินและสนุกสนาน
นอกจากนั้นภายในเครื่องยนต์รุ่นใหม่ยังได้รับการปรับโครงสร้างและรายละเอียดต่างๆ เพื่อลดแรงเสียดทานลง มากถึง 14% อันเป็นส่วนช่วยทำให้ลดการสูญเสียพลังงานในเครื่องยนต์ได้ในระดับสูง
โครงสร้างเครื่องยนต์ใหม่ ลดแรงเสียดทานภายในสำหรับการปรับโครงสร้างและรายละเอียดต่างๆ ของเครื่องยนต์ใหม่ประกอบด้วย กระเดื่องวาล์วที่เป็นแบบโรลเลอร์ ซึ่งส่งผลให้จุดสัมผัสที่เป็นโรลเลอร์หรือเป็นแบบล้อของกระเดื่องวาล์วกับแคม มีการเสียดสีลดน้อยลง , ผิวลูกสูบออกแบบใหม่ให้มีคุณสมบัติลดแรงเสียดทาน ด้วยการทำให้บริเวณสเกิร์ตของผิวลูกสูบเป็นร่อง เพื่อเก็บกักน้ำมันหล่อลื่นอันเป็นผลลดการเสียดสี , ลูกสูบออกแบบใหม่ให้มีน้ำหนักเบาขึ้น 10% ทำให้เครื่องยนต์โดยรวม มีน้ำหนักเบา , เพลาข้อเหวี่ยงแบบมีระยะเยื้องศูนย์ (offset) ซึ่งลดแรงเสียดทานระหว่างเสื้อสูบกับลูกสูบ , ติดตั้ง Oil Jet ที่ด้านหลังลูกสูบ เพื่อฉีดน้ำมันหล่อลื่นไปที่ลูกสูบ โดยจะเพิ่มประสิทธิภาพในการหล่อลื่น รวมทั้งระบายความร้อนให้กับลูกสูบ และที่สำคัญเครื่องยนต์รุ่นใหม่เป็นขนาด 110 ซีซี แบบ 4 จังหวะ ทำให้ลดรอบการทำงานของเครื่องยนต์ ในขณะที่มีสมรรถนะสูงขึ้น และประหยัดน้ำมันมากขึ้น
ทั้งนี้ด้วยระบบ PGM-FI ยุคใหม่ พร้อมการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและรายละเอียดเครื่องยนต์ เป็นขนาด 110 ซีซี แบบ 4 จังหวะ เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องยนต์ในรถจักรยานยนต์ขนาดเล็กในปัจจุบัน คือ ฮอนด้าเวฟ 100 แล้ว
ปรากฏว่าเทคโนโลยีใหม่นี้ ให้การขับขี่ที่สนุกสนานด้วยสมรรถนะที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 20% ในขณะที่ประหยัดน้ำมัน มากกว่า 15% และที่สำคัญมีค่าไอเสียเพียง 1 ใน 5 ของมาตรฐานควบคุมไอเสียระดับ 5 ซึ่งบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยเทคโนโลยีใหม่นี้สามารถรองรับมาตรฐานควบคุมไอเสียระดับ 6 ที่จะประกาศบังคับใช้ในอนาคต
ด้วยพัฒนาการอันล้ำหน้าเพื่อสนองตอบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับผู้บริโภค ทางฮอนด้าเตรียมพร้อมสำหรับการติดตั้งเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดนี้ เพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับรถจักรยานยนต์ ด้วยประสิทธิภาพสูงทั้งในด้านเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จากไอเสียที่สะอาดมากยิ่งขึ้น และประหยัดน้ำมันสูงขึ้นรวมถึงสมรรถนะสูง ให้การขับขี่ที่สะดวกสบายและสนุกสนาน โดยเทคโนโลยีใหม่นี้จะเริ่มต้นติดตั้งใน รถจักรยานยนต์ฮอนด้ารุ่นใหม่ในปี 2008 และจะขยายให้ครอบคลุมในรถจักรยานยนต์ทุกรุ่นของฮอนด้าภายในปี 2009
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ
แผนกส่งเสริมการจำหน่าย บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด
จุฑามาศ อินปริงกานันท์ โทร. 0 2757 6111 ต่อ 2502 หรือ 08 1920 6830
ธัญลักษณ์ ไชยปะ โทร. 0 2757 6111 ต่อ 2508 หรือ 08 9810 7713
อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์
สาธิดา ศรีธัญญาธรณ์ หรือ วิทวัส เอกอัศดร โทร. 0-2252-9871