องค์การ หมาย ถึง อะไร มี องค์ประกอบ ที่ สําคัญ อะไร บาง

องค์การ หมาย ถึง อะไร มี องค์ประกอบ ที่ สําคัญ อะไร บาง

(Meaning of the organization)

            องค์การ (Organization)  พจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542  (2542 : 1321)     ให้ความหมายขององค์การ คือ  ศูนย์กลางของกิจการที่รวมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย เดียวกัน  เพื่อดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายหรือในตราสารที่จัดตั้งขึ้น

                  สมคิด  บางโม (2555 : 16) ให้ความหมาย ขององค์การว่า  กลุ่มบุคคลหลาย ๆ คนร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้  การร่วมกันของกลุ่มต้องถาวร  มีการจัดระเบียบภายในกลุ่มเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละคน ตลอดจนกำหนดระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ให้ยึดถือปฏิบัติ

                  ณัฎฐพันธ์  เขจรนันทน์ และ ฉัตยาพร  เสมอใจ (2547 : 17)  องค์การ เป็นระบบสังคมที่มีเกิดจากการรวมตัวของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่ตัดสินใจเข้ามาร่วมมือและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน

                  จากความหมายที่กล่าวมา  สรุปว่าองค์การ คือ  การรวมกันของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป  โดยมีความสัมพันธ์อย่างมีแบบแผน  มาร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่วางแผนไว้ โดยมอบหมายหน้าที่ให้สมาชิกได้ดำเนินกิจกรรมเหล่านั้น  ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

                  โดยทั่วไปองค์การที่ตั้งขึ้น  มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน คือ  องค์การทางสังคมมีวัตถุประสงค์เพื่อรับผิดชอบต่อสังคม  ให้บริการแก่สังคมโดยรวม  องค์การทางธุรกิจ  มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้ได้กำไร  ส่วนองค์การทางราชการ  มีวัตถุประสงค์เพื่อบริการแก่ประชาชน  ให้ประชาชนได้รับความพึงพอใจ 

2.  ประเภทขององค์การ (Type of organization)

              ในองค์การหนึ่ง ๆ มีการกำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน และมีการแบ่งงานกันทำ  เพื่อให้การดำเนินงานเกิดการประสานงานกันแล้วทำให้บรรลุวัตถุประสงค์  ซึ่งประเภทขององค์การแบ่งได้ดังนี้

                    2.1  องค์การทางสังคม  ได้แก่ครอบครัว  สถาบันทางศาสนา  สโมสร  ชมรม  และกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ  ที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อความรัก  ความสงบสุข  และ ความสามัคคีหมู่คณะองค์การทางสังคม  เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นอยู่กับประเภทขององค์การ เช่นครอบครัวต้องมีการแต่งงาน  หากเป็นมูลนิธิ  วัด  สโมสร   ชมรม  ส่วนใหญ่ต้องขออนุมัติจากทางราชการ  โดยการยื่นขอจดทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เป็นต้น

องค์การ หมาย ถึง อะไร มี องค์ประกอบ ที่ สําคัญ อะไร บาง

                   ภาพที่ 6.1  องค์การทางสังคม  ครอบครัว

                 2.2  องค์การทางราชการ  ได้แก่ หน่วยงานราชการต่าง ๆ  ซึ่งครอบคลุมถึงกระทรวง ทบวง  กรม ที่เรียกกันว่า ระบบราชการ  เป็นองค์การที่มีขนาดใหญ่โต  มีโครงสร้างที่สลับซับซ้อนมาก  ดำเนินกิจการเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของมวลชนให้กินดีอยู่ดี  มีความสงบสุขการจัดตั้งองค์กรทางราชการ  อาศัยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 สรุปได้ดังนี้  ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ  กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรมเนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น ส่วน คือ 

องค์การ หมาย ถึง อะไร มี องค์ประกอบ ที่ สําคัญ อะไร บาง

ภาพที่ 6.2  องค์การราชการ 

                                 2.2.1  การบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ  ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้

                                     2.2.1.1  สำนักนายกรัฐมนตรี

                                     2.2.1.2  กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง

                                     2.2.1.3  ทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง                          

                                     2.2.1.4  กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม  ซึ่งสังกัดหรือ  ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง  ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวง  การต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม

                                 2.2.2  การบริหารราชการส่วนภูมิภาค  หมายถึงหน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดแบ่งออกได้ดังนี้

                                     2.2.2.1  จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด        

                                     2.2.2.2  อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค รองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ

                                  2.2.3  การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หมายถึง กิจกรรมบางอย่างซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้ท้องถิ่นจัดทำกันเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะ  โดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินงานโดยตรงและมีอิสระในการบริหารงาน  การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล  สุขาภิบาล ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่ สภาตำบลองค์การบริหารตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด

                     2.3  องค์การทางธุรกิจ  ได้แก่ ร้านค้ากิจการเจ้าของคนเดียว  ห้างหุ้นส่วน  บริษัท  ที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อผลกำไร  ผลประโยชน์ทางธุรกิจ

องค์การ หมาย ถึง อะไร มี องค์ประกอบ ที่ สําคัญ อะไร บาง

ภาพที่ 6.3  องค์การทางธุรกิจ  

                              2.3.1  การจัดตั้งธุรกิจตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499  บัญญัติไว้ดังนี้   2.3.1.1  ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ คือ บุคคลธรรมดาคนเดียวหรือหลายคน  (ห้างหุ้นส่วนสามัญ) รวมทั้งนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย หรือชาวต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย  ซึ่งประกอบกิจการอันเป็นพานิชยกิจตามที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด

                               2.3.1.2  กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ออกประกาศให้ผู้ประกอบกิจการที่ต้องจดทะเบียน

                                          1)  ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจัก

                                          2)  ผู้ประกอบการขายสินค้า  ไม่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง  คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งรายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป  หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขาย  มีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป

                                          3)  นายหน้าหรือตัวแทนการค้าต่าง ๆ ซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ  อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่  20 บาทขึ้นไป

                                          4)  ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรม  ไม่ว่าอย่างใด  ๆ  อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม  และขายสินค้าที่ผลิตได้คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป  หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าผลิตได้มีค่ารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป

                                          5)  ผู้ประกอบการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับจำนำ และการทำโรงแรม

                                2.3.1.3  กิจการที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์  คือ การค้าเร่ การค้าแผงลอย กิจการเพื่อบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล กิจการของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น  กิจการของกระทรวง ทบวง กรม กิจการของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์  กิจการ  ซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา

                          2.3.2  รูปแบบขององค์การธุรกิจ   ได้แก่ 

                               2.3.2.1  กิจการเจ้าของคนเดียว เป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก  เป็นองค์กรที่มีเจ้าของคนเดียว  ใช้เงินลงทุนไม่มากนัก  ส่วนใหญ่ใช้เงินลงทุนของตนเองหรือยืมผู้ใกล้ชิด  หรือกู้ยืมจากสถาบันการเงิน เจ้าของกิจการจะเป็นผู้จัดการเอง เช่นร้านตัดเย็บเสื้อผ้าร้านขายของชำร้านซักอบรีดหาบเร่   แผงลอย ร้านอาหาร  ร้านตัดผม เป็นต้น

                               2.3.2.2  ห้างหุ้นส่วน คือการประกอบธุรกิจที่มีคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาลงทุนร่วมกัน อาจนำเงิน  ทรัพย์สินอื่น ๆ  หรือ  แรงงานมาลงทุนร่วมกัน  ตกลงดำเนินธุรกิจแบ่งผลกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้  หากมีหนี้สินจากการลงทุนก็จะร่วมกันรับผิดชอบ   ห้างหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2  ประเภทคือ

                                           1)  ห้างหุ้นส่วนสามัญ  (Ordinary  partnership)  เป็นห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายก็ได้  เพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดข้อบังคับไว้  แต่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ไว้กับนายทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท  หากเกิดความเสียหายใด ๆ  สามารถฟ้องร้องได้โดยไม่จำกัดจำนวน  ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน  เรียกว่าห้างหุ้นส่วนสามัญ  ไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย  เมื่อประกอบธุรกิจแล้ว  เกิดความเสียหาย  เจ้าหนี้สามารถเรียกร้องโดยการฟ้องร้องจากหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวน ส่วนห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล  เรียกว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล  นอกจากจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ด้วย  จะมีสภาพเป็นบุคคลตามกฎหมาย  การกระทำกิจกรรมหรือนิติกรรมใด ๆ จะกระทำในนามของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลนั้น และหากเกิดความเสียหายใด ๆ  อันเกิดจากห้างหุ้นส่วนสามารถทำการฟ้องร้องความเสียหายในนามห้างหุ้นส่วนก่อน  หากไม่ครอบคลุมหรือเพียงพอต่อความเสียหายจึงจะสามารถฟ้องร้องจากหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งหรือหลายคนรวมกันจนกว่าจะครบจำนวนความเสียหาย

                                        2)  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  (Limited  partnership)  เป็นธุรกิจที่มีลักษณะจะทำกิจกรรมร่วมกันในลักษณะของสัญญาแบบที่นายทะเบียนกำหนดต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล  ต้องจดทะเบียนพาณิชย์  และภาษีมูลค่าเพิ่ม  การทำนิติกรรมใด ๆ  ต้องกระทำในนามของห้างหุ้นส่วนและต้องมีการแบ่งหุ้นส่วนเป็น 2  ประเภท  คือ  หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบจะรับผิดชอบในทรัพย์สินและหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน  ผู้ถือหุ้นประเภทนี้มีสิทธิในการเข้าไปบริหารจัดการห้างหุ้นส่วน  เรียกว่า  หุ้นส่วนผู้จัดการ   และ  หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ  ในหนี้สินของธุรกิจไม่เกินจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่ตกลงว่าจะนำมาลงทุนแต่หุ้นส่วนประเภทนี้ไม่มีสิทธิในการบริหารจัดการห้างหุ้นส่วน  แต่อาจมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะได้

                                        3)  บริษัทจำกัด  (Company  limited)  เป็นองค์กรที่เป็นนิติบุคคลที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์  ซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้น  มีมูลค่าหุ้นเท่า ๆ  กัน  ผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบไม่เกินจำนวนที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ  มีผู้ริเริ่มก่อตั้ง 3 คน ขึ้นไป  เข้าชื่อกันพร้อมจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ  ที่แสดงจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจอย่างชัดเจน  ผู้ถือหุ้น  มีฐานะเป็นเจ้าของหุ้นที่ไม่ใช่เจ้าของบริษัท  ผู้ถือหุ้นจะได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบ เงินปันผล  ผู้เป็นเจ้าของคือนิติบุคคลที่เป็นบริษัท   บริษัทจำกัดมีผู้ถือหุ้นจำนวนน้อย  และส่วนใหญ่เป็นเครือญาติ หากมิได้นำหุ้นออกขายแก่ประชาชนทั่วไปจะเป็นบริษัทครอบครัว  คณะกรรมการบริษัทจะต้องมีไม่น้อยกว่า 3 คน  เกิดจากการเลือกตั้งในที่ประชุม  ตามกฎหมายระบุว่ามูลค่าหุ้นของบริษัทจำกัดต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 5 บาท  หุ้นของบริษัทจำกัดจะแบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ หุ้นสามัญ  และหุ้นบุริมสิทธิ ผลตอบแทนจากการลงทุน คือเงินปันผลและกำไรสะสม   หากบริษัทมีขนาดใหญ่มีผู้ก่อตั้ง 15 คนขึ้นไปและนำหุ้นขายให้แก่ประชาชนมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป จะเป็นบริษัทมหาชน

องค์การหมายถึงอะไร มีองค์ประกอบที่สําคัญอะไรบ้าง

องค์การ หมายถึงการนำเอาส่วนต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันมารวมกันอย่างมีระเบียบ หรือเป็นการรวมกลุ่มกันอย่างมีเหตุผลของบุคคลกลุ่มหนึ่ง เพื่อเป็นศูนย์อำนวยการให้การดำเนินงานลุล่วงไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีการใช้อำนาจการบริหารที่ชัดเจนมีการแบ่งงานและหน้าที่ มีลำดับขั้นของการบังคับบัญชาและความรับผิดชอบ

องค์การจะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

องค์ประกอบพื้นฐานที่สาคัญขององค์การ 1. ประกอบดวยบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป 2. บุคคลเหล่านั้นต้องปฏิสัมพันธ์หรือการกระทาอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวข้องกันและกัน 3. ลักษณะการปฏิสัมพันธ์เป็นการทางานร่วมกันของคนในองค์การตามที่ระบุไว้ในโครงสร้าง

จุดเด่นขององค์การ คือข้อใด

- จุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายใน องค์กรนั้นเอง ว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรน ามาใช้ในการ พัฒนาองค์กรได้และควรดารงไว้เพื่อการเสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร

องค์การมีความหมายว่าอย่างไรบ้าง

องค์การหมายถึง การนำเอาส่วนต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกันมารวมกันอย่างมีระเบียบหรือเป็นการรวมกลุ่มกันอย่างมีเหตุผลของบุคคล กลุ่มหนึ่ง เพื่อเป็นศูนย์อำนวยการให้การดำเนินงานลุล่วงไปตามเป้าหมาย ที่กำหนดไว้ โดยมีการใช้อำนาจการบริหารที่ชัดเจน มีการแบ่งงานและหน้าที่ มีลำดับขั้นของการบังคับบัญชาและความรับผิดชอบ