วิศวกรรมอุตสาหการ ทํางานอะไร

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับภาคอุตสาหการ
  • วิศวกรรมอุตสาหการ คืออะไร

วิศวกรรมอุตสาหการ คืออะไร

หน้าที่หลักของวิศวกรรมอุตสาหการ

ออกแบบ พัฒนา ทดสอบ และประเมินผลภาพของระบบ (Integrated systems) เพื่อบริหารจัดการกระบวนการผลิตที่เกี่ยวกับ ตัวประกอบของงานและวิธีการทำงานของมนุษย์ การควบคุมคุณภาพ การควบคุมคงคลังสินค้า โลจิสติกส์และการไหลของวัสดุ การวิเคราะห์ต้นทุน และการสื่อสารงานภายในองค์กร

วิศวกรรมอุตสาหการ ทํางานอะไร

ทักษะและคุณค่าของวิศวกรรมอุตสาหการต่อภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ

วิศวกรรมอุตสาหการ เป็นผู้ที่ต้องมีความสามารถในการสร้างคุณค่าให้กับองค์กรด้วยการวิเคราะห์ การประเมินผล และการปรับปรุงระบบ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรม ด้วยวิธีการและเครื่องมือทางวิศวกรรมอุตสาหการอย่างเหมาะสม

คุณสมบัติและทักษะทางความเป็นผู้นำของวิศวกรรมอุตสาหการ ที่เป็นที่คาดหวัง คือ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้การทำงานข้ามสาขาวิชา เพื่อจัดการและนำพาให้กิจกรรมต่างๆขององค์กรเป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์

วิศวกรรมอุตสาหการ ที่ดีต้องมีแนวคิดและทักษะทางการพัฒนานวัตกรรมทั้ง ระบบและกระบวนการที่ท้าทายต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยรอบด้านที่มีผลต่อการดำเนินงานขององค์กร ด้วยการประยุกต์วิธีการ ออกแบบและการแก้ปัญหาด้วยศาสตร์ของวิศวกรรมศาสตร์อย่างมีระบบ

ทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานของวิศวกรรมอุตสาหการ ในปัจจุบัน และอนาคต

วิศวกรรมอุตสาหการ ทํางานอะไร

ความเชี่ยวชาญ และงานวิจัย

IEMU มีการจัดกลุ่มของความเชี่ยวชาญอย่างมีระบบ โดยปรัชญาของการวิศวกรรมการผลิตที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งของวิศวกร ความรู้ของการกระบวนการ และความเข้าใจถึงวิธีการควบคุมกระบวนการ ทำให้วิศวกร IEMU สร้างบริหารจัดการระบบ และกระบวนการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้การต่อยอดเข้าสู่ขั้นสูงในแขนงต่าง ๆ ยังคงมีหลักที่มั่นคง

อีกทั้ง IEMU มีความพร้อมทาง Workshop และ Laboratory ที่ประกอบไปด้วยเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ทันสมัยอย่างครบครัน ทำให้การวิจัยพัฒนาทางวิศวกรรมการผลิต และความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมสามารถขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็ว ส่งเสริมให้นักศึกษา นักวิจัย และอุตสาหกรรม มีการพัฒนาเทคโนโลยี องค์ความรู้ และผลงานวิจัยที่โดดเด่น

วิศวกรรมอุตสาหการ ทํางานอะไร
 
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการเรียนเกี่ยวกับอะไร



ในการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ ได้จัดให้มีการศึกษาในแขนงต่างๆ ที่สอดคล้องกับความ ต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยมีแขนงการศึกษาดังต่อไปนี้

  1. วิศวกรรมการผลิต (Production Engineering) ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีของกระบวนการผลิตต่างๆ ทั้งกระบวนการผลิตแบบดั่งเดิม และกระบวนการผลิตที่ทันสมัย การเชื่อมโลหะ การหล่อโลหะ การขึ้นรูปชิ้นงานที่ใช้ในอุตสาหกรรม
  2. วิศวกรรมคุณภาพ (Quality Engineering) ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการนำความรู้ทางสถิติมาประยุกต์ใช้ในการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และสินค้า รวมถึงกลวิธีในการควบคุมคุณภาพของกระบวนการผลิต
  3. การวิจัยดำเนินการและการวางแผนการผลิต (Operation Research and Production Planning) ศึกษาเกี่ยวกับกลวิธีการเปรียบเทียบข้อมูลในเชิงปริมาณ เพื่อใช้ในการวางแผนการผลิต หรือเพื่อใช้สำหรับค้นหาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดในการทำงาน ณ สภาวะต่างๆ
  4. การจัดการวิศวกรรม (Engineering Management) ศึกษาเกี่ยวกับ แนวคิด กลยุทธ์ทางการจัดการ เพื่อนำเอาเครื่องมือทางวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ หรือใช้เป็นดัชนีในการวัดผลการทำงาน เพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพและผลิตภาพของระบบ
  5. วิศวกรรมลอจิสติกส์ (Logistics Engineering) ศึกษาเกี่ยวกับ เทคโนโลยี แนวคิด และกลยุทธ์ ในการจัดการระบบการขนถ่ายวัสดุและสินค้าประเภทต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และมีต้นทุนต่ำที่สุด
  6. การออกแบบวิศวกรรม (Engineering Design) ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างแนวคิดในการออกแบบ การรวบรวมข้อมูลในเชิงวิศวกรรม การแปลงแนวคิดให้ออกมาเป็นตัวผลิตภัณฑ์ การออกแบบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ รวมถึงกระบวนการออกแบบเพื่อการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ได้จริง
  7. การบริหารธุรกิจ (Business Administration) ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการทางด้านธุรกิจ การตลาด เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของอุตสาหกรรม
จรรยาบรรณวิศวกร

–  วิศวกรต้องรับผิดชอบและให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกต่อ สวัสดิภาพ สุขภาพ ความปลอดภัยของสาธารณชน และสิ่งแวดล้อม

–  วิศวกรต้องให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการ ตามที่ตนทราบอย่างถ่องแท้ แก่สาธารณชนด้วยความสัตย์จริง

–  วิศวกรต้องดำรงและส่งเสริมความซื่อสัตย์สุจริต เกียรติยศ และศักดิ์ศรีของวิชาชีพวิศวกรรม

–  วิศวกรต้องปฏิบัติงานเฉพาะที่ตนมีความรู้ความสามารถเท่านั้น

–  วิศวกรต้องสร้างชื่อเสียงในวิชาชีพจากคุณค่าของงาน และต้องไม่แข่งขันกันอย่างไม่ยุติธรรม

–  วิศวกรต้องรับผิดชอบต่องานและผลงานในวิชาชีพของตน

–  วิศวกรต้องใช้ความรู้และความชำนาญในงานวิชาชีพอย่างซื่อตรง เพื่อผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้างหรือลูกค้า ซึ่งตนปฏิบัติงานให้ เสมือนเป็นตัวแทนที่ซื่อตรงหรือเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ

–  วิศวกรพึงพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาชีพของตนตลอดเวลาที่ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม และต้องให้ความสำคัญในการช่วยเหลือส่งเสริมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์ให้แก่วิศวกรในความดูแลของตนอย่างจริงจัง

วิศวกรรมอุตสาหการ ทํางานอะไร

วิศวกรรมอุตสาหการ ทํางานอะไร
 วิศวกรรมอุตสาหการคืออะไร

วิศวกรรมอุตสาหการ เกี่ยวข้องกับ การออกแบบ การปรับปรุง และการจัดตั้ง ระบบผสมผสานระหว่างคน วัสดุ ข้อมูลข่าวสาร เครื่องจักรอุปกรณ์ และพลังงาน ซึ่งในการนี้จะต้องใช้ความชำนาญในเชิงคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และสังคมศาสตร์ ร่วมกันไป โดยอาศัยหลักเกณฑ์และวิธีวิเคราะห์ทางวิศวกรรมศาสตร์มาใช้ออก แบบเพื่อ ระบุ ทำนาย และประเมินผลการทำงานของระบบดังกล่าว

เรียนเกี่ยวกับอะไร

วิศวกรรมอุตสาหการเป็นการประยุกต์ที่เกี่ยวกับการวิจัยดำเนินงาน ทรัพยากรต่างๆ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงานและทรัพยากร เพื่อบรรลุจุดประสงค์การดำเนินงานตามทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้หลักการและวิธีการทางด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์ทางวิศวกรรมรวมถึงคณิตศาสตร์ สถิติ ฟิสิกส์ การตลาด การบริหารการจัดการ สารสนเทศ เศรษฐศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ จิตวิทยา

ผู้ที่จะเข้าศึกษาต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง

การศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการจะมุ่งเน้นทางด้านการพัฒนาความสามารถของนักศึกษา ให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ และออกแบบระบบการทำงาน เพราะฉะนั้นผู้ที่จะเข้าศึกษา ควรมีใจชอบทางด้านนี้ เป็นผู้ที่ชอบคิดวิเคราะห์ และชอบแก้ไขปัญหา มีมนุษย์สัมพันธ์ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

เรียนจบแล้วสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง

สามารถทำงานทั้งในภาคเอกชน เช่น ฝ่ายการผลิต ฝ่ายวางแผนการผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายจัดซื้อ รวมถึงงานต่างๆ ในระดับบริหารจัดการ ที่ต้องอาศัยทักษะทางด้านวิศวกรรม และงานภาครัฐต่างๆ เช่น กรมโรงงาน การนิคมอุตสาหกรรม BOI ฯลฯ ทั้งนี้ ความต้องการวิศวกรในสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ในตลาดแรงงานยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ความรู้จากวิชาต่างๆ ที่สอนในสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดตั้งบริษัทของตัวเองได้ เพราะนักศึกษาได้เรียนรู้ในหลายๆ ด้านทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎี ที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจส่วนตัว หรือธุรกิจของครอบครัว

เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง

งานของวิศวกรรมอุตสาหการสามารถประยุกต์ใช้ในองค์กรต่างๆ ทั้งภาคเอกชน และ ภาครัฐบาล บริษัทหรือหน่วยงานที่นักศึกษาวิศวกรรมอุตสาหการ (IE) ปฏิบัติงานมีอยู่มากมาย อาทิเช่น Toyota, Mitsubishi, Uni-venture, Accenture, Nestle, ฯลฯ รวมถึงงานในองค์กรของรัฐ อาทิเช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม, BOI ฯลฯ

เรียนต่อด้านไหนได้บ้าง 

สามารถแบ่งเป็นสาขาย่อยๆ ตามความถนัดได้อีก เช่น สาขาการผลิต สาขาการออกแบบ สาขาการควบคุมคุณภาพ สาขาการจัดการ สาขากายศาสตร์ สาขาการวิจัยการดำเนินงาน (OR) ฯลฯ ซึ่งนิสิตที่จบทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ไม่เพียงแต่เรียนต่อเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เหล่านี้ได้เท่านั้น ยังสามารถเรียนต่อในสาขาใกล้เคียงได้อีก เช่น MBA การเงิน การลงทุน คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ทั้งนี้ในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ มีการเปิดคอร์สเหล่านี้อยู่แล้ว

วิศวกรรมอุตสาหการ ทํางานอะไร

วิศวกรรมอุตสาหการ ทํางานอะไร
วิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์คืออะไร

วิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ เป็นแขนงวิชาที่ผสมผสานหลักการและวิธีการทางด้านวิศวกรรมอุตสาหกรรมการจัดการและเทคโนโลยีข้อมูล โดยนำมาใช้ในการจัดการองค์กรเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการสูงสุดและมีผลผลิตมากที่สุดวิศวกรรมการจัดการจะเน้นที่การออกแบบ วางแผน และบริหารหน่วยงานต่างๆในองค์กร โดยจะพิจารณาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานและองค์กร เช่น การเงิน บุคลากร การจัดซื้อ การวางแผนและควบคุมการผลิต ( และการให้บริการ ) การจัดการคุณภาพ การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การจัดการโซ่อุปทาน เป็นต้น

เรียนเกี่ยวกับอะไร

วิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์เป็นศาสตร์ที่เรียนเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ในการผลิตและการให้บริการ โดยจะเน้นที่การวางแผนและการจัดการปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานขององค์กร หัวข้อที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ ประกอบด้วยการจัดการการผลิตและการปฏิบัติงาน การพิจารณาการลงทุน การจัดการวัสดุคงคลังการออกแบบส่วนการผลิตและบริการ การออกแบบและวิเคราะห์งาน การจัดการระบบการขนส่ง การจัดการโครงงาน การจัดการการตลาด การจัดการการเงินและการบัญชี การจัดการระบบข้อมูลขององค์กร เป็นต้น โดยจะเน้นทางด้านทฤษฏีและภาคปฏิบัติ

ผู้ที่จะเข้าศึกษาต้องมีพื้นฐานอะไรบ้าง

ผู้ที่จะเข้าศึกษาในสาขาวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ ควรจะต้องมีพื้นฐานในระดับดีในความรู้ด้านการวิเคราะห์เชิงปริมาณและด้านคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ จะต้องเป็นผู้ที่ชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์ การวางแผนและการแก้ไขปัญหา เป็นผู้ที่มี มนุษย์สัมพันธ์ดี สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นผู้ที่ชอบการเรียนรู้และสามารถมองประเด็นต่างๆ ในภาพกว้าง

เรียนจบแล้วสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง

บัณฑิตทางด้านวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ สามารถทำงานในองค์กรต่างๆทั้งในภาคเอกชน ภาครัฐ และ ภาครัฐวิสาหกิจ โดยสามารถทำงานในองค์กรที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมนานาประเภท ทั้งประเภทการผลิตและประเภทการให้บริการ ปัจจุบันนี้ ( และในอนาคต ) ความต้องการบัณฑิตที่มีความรู้และความสามารถทางด้านการจัดการโดยใช้วิธีการสมัยใหม่ ประกอบกับ การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ มาช่วยในการจัดการข้อมูลและปฏิบัติงาน ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้บัณฑิต สามารถเลือกทำงานที่ตังเองชอบ และในองค์กรที่ตังเองสนใจ รวมทั้งสามารถริเริ่มก่อตั้งธุรกิจของตัวเองได้

เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง

บัณฑิตทางด้านวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ สามารถทำงานในองค์กรต่างๆ ทั้งในภาครัฐ ภาครัฐ และภาครัฐวิสาหกิจ เช่น บริษัทข้ามชาติต่างๆ บริษัทที่ปรึกษา หน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ธนาคาร โรงพยาบาล บริษัทประกันภัย เป็นต้น

เรียนต่อด้านไหนได้บ้าง

บัณฑิตทางด้านวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ ที่มีจุดประสงค์จะศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และ/ หรือปริญญาเอก สามารถศึกษาต่อได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในสาขาต่างๆ เช่น สาขาการบริหารธุรกิจ สาขาการวางแผนและการจัดการผลิต สาขาควบคุมคุณภาพ สาขาการจัดการ สาขาการจัดการบุคลากร สาขาการตลาด สาขาการเงิน สาขาการวิจัยการดำเนินงาน สาขาการวิเคราะห์เชิงปริมาณ สาขาการจัดการระบบข้อมูล เป็นต้น