สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงานหมายถึงอย่างไร

การทำงานในยุคปัจจุบันนอกจากจะต้องอาศัยปัจจัยในเรื่องของคน และเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนทุกภารกิจให้บรรลุเป้าหมายแล้ว การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการขับเคลื่อนทุกภารกิจให้บรรลุเป้าหมายไม่แพ้กัน เพราะสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือ Working Environment ถือเป็นเครื่องมือพื้นฐานสำคัญที่จะยกระดับคนและเทคโนโลยีให้กลายเป็นนวัตกรรมและนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายหรือผลสัมฤทธิ์สูงสุดของงานหรือภารกิจต่าง ๆ ในขณะเดียวกันหากแม้มีคน และเทคโนโลยี แต่ปราศจากสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี ย่อมไม่อาจส่งผลให้ความสำเร็จในงานบังเกิดขึ้นได้ ดังนั้นทั้งหมดจึงเป็นฟันเฟือนที่มีความเกี่ยวโยงกันโดยที่ไม่อาจขาดหายสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปได้

สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงานหมายถึงอย่างไร
สภาพแวดล้อมในการทำงานในที่นี้ย่อมหมายถึงบรรยากาศแบบองค์รวมทั้งหมดภายในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตัวคนทำงาน กระบวนการทำงาน สถานที่หรืออุปกรณ์ในการทำงาน ระบบบริหารงานบุคคล ไปจนถึงผู้บริหารสูงสุดในหน่วยงาน หากสิ่งเหล่านี้ธำรงอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เชื่อแน่ว่าแทบเป็นไปไม่ได้ที่หน่วยงานนั้น ๆ จะไม่ประสบกับความสำเร็จ

โดยการบริหารทรัพยากรบุคคลนี้ ครอบคลุมตั้งแต่ในเรื่องของการประเมินผลการทำงานของบุคคล การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน การให้สวัสดิการหรือผลประโยชน์ตอบแทน โดยประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถส่งผลให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีได้นั้น ทุกขั้นตอน ทุกกิจกรรมดังกล่าวภายใต้การบริหารทรัพยากรบุคคลจะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ปราศจากระบบอุปถัมภ์ หรือเป็นไปโดยทุจริต โดยเฉพาะการประเมินผลการทำงาน หรือการเลื่อนตำแหน่งจะต้องเป็นไปตามความรู้ความสามารถที่แท้จริงอันเป็นที่ประจักษ์ของบุคลากร ซึ่งถือเป็นค่านิยมที่กลุ่มคนรุ่นใหม่หรือคนในยุคปัจจุบันให้การยอมรับ หากการดำเนินการภายใต้การบริหารทรัพยากรบุคคลในด้านหนึ่งด้านใดเป็นไปในลักษณะนี้ย่อมไม่มีทางที่จะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีได้

2. ด้านสมรรถนะของบุคลากร

สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงานหมายถึงอย่างไร
การยกระดับความรู้ความสามารถ หรือการพัฒนาสมรรถนะของบุคคลกรในหน่วยงานนั้นถือเป็นรากฐานสำคัญยิ่งในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี ที่หลายหน่วยงานอาจมองว่าการพัฒนาในเรื่องอื่น ๆ อาจไม่จำเป็นหรือสำคัญเท่าเรื่องนี้ เนื่องจากการพัฒนาในตัวคนนี้คือหัวใจสำคัญของทุกยุคทุกสมัยในการทำงาน จะเห็นได้ว่าหากหน่วยงานเกิดภาวะวิกฤติ หรือปัญหาต่าง ๆ หรือแม้แต่ความต้องการทำเป้าหมายหน่วยงานให้ประสบความสำเร็จมากกว่าที่เป็นอยู่ หากหน่วยงานไหนได้มีการลงทุนลงแรงในเรื่องของการพัฒนาในตัวของคน หรือบุคลากรในหน่วยงานแล้ว ย่อมไม่มีทางที่หน่วยงานจะพลาดหวังจากเป้าหมาย หรือประสบกับภาวะวิกฤติจนเกิดความเสียหายอย่างแน่นอน เพราะเมื่อคนในหน่วยงานได้รับการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องและรอบด้านแล้วย่อมมีภูมิคุ้มกันทางสติปัญญาและความสามารถที่อยู่ในระดับการรักษาความอยู่รอดของหน่วยงานได้เสมอ

การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรนี้ย่อมหมายความรวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้หรือทักษะจำเป็นทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรง หรือช่วยสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ เช่น การพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทักษะด้านระบบความคิด เช่น การส่งบุคลากรเข้าศึกษาต่อ การจัดอบรม การปลูกฝังจิตสำนึก คุณธรรม จริยธรรมให้แก่บุคลากร การจัดศึกษาดูงาน หรือการแลกเปลี่ยนบุคลากรกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรนี้จะต้องเป็นไปอย่างจริงใจและต่อเนื่อง จึงจะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีได้

3. ด้านสุขภาพของบุคลากร

สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงานหมายถึงอย่างไร
สุขภาพร่างกายของบุคลากรถือเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย หากบุคลากรในหน่วยงานมีทักษะความรู้ที่ดี หรือเป็นผู้ทำงานเก่งรอบด้านแต่ถ้าหากสุขภาพร่างกายอ่อนแอ ไม่แข็งแรง และเต็มไปด้วยโรคภัย ย่อมส่งผลกระทบต่อหน่วยงานในท้ายที่สุด ดังนั้นการสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่บุคลากรจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน ผ่านการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีที่เอื้อต่อสุขภาพของบุคลากร ซึ่งมีหลากหลายวิธีการ แต่สิ่งสำคัญคือควรจะครอบคลุมในทุกด้านตั้งแต่การป้องกัน และการรักษา

ตัวอย่างเช่นในเรื่องของการป้องกันการเกิดปัญหาด้านสุขภาพ โดยการกำหนดเวลาการทำงานที่ไม่ควรอยู่ดึกจนเกินไป หรือการสร้างความยืดหยุ่นในระบบการทำงานไม่ให้เกิดความตึงเครียด การสร้างพื้นที่เพื่อการออกกำลังกาย หรือการให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปี (ที่มีความหลากหลาย) รวมทั้งการจัดให้มีการตรวจสุขภาพอย่างละเอียดเป็นประจำทุกปี เป็นต้น ในส่วนของการรักษาเช่นการให้ระยะเวลาในการรักษาที่เหมาะสมเพียงพอ รวมทั้งสวัสดิการในการรักษาพยาบาลที่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน เป็นต้น โดยการสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่บุคลากรนี้จะต้องเป็นไปทั้งในแง่ของสุขภาพกายและสุขภาพใจ ซึ่งจะต้องเป็นไปอย่างสมดุลจึงจะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีได้

4. ความมีชีวิตชีวาหรือบรรยากาศในหน่วยงาน

สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงานหมายถึงอย่างไร
เป็นเรื่องจริงที่ว่าหากหน่วยงานใดแม่จะเป็นหน่วยงานที่เต็มไปด้วยภารกิจที่เคร่งเครียด หรือเป็นงานที่ไม่สามารถจะผิดพลาดได้เลย แต่ถ้าหากหน่วยงานนั้นมีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา หรือมีบรรยากาศของสถานที่ การตกแต่ง และอุปกรณ์ในการทำงานที่สวยงาม ทันสมัย หรือเอื้อต่อการทำงาน ย่อมส่งผลให้การทำงานดูง่าย ผ่อนคลาย และประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราจะเห็นตัวอย่างเหล่านี้ได้จากบริษัทหรือองค์กรในต่างประเทศหลายแห่งที่เน้นการสร้างบรรยากาศในที่ทำงานเพื่อลดความเครียดของพนักงาน ซึ่งส่วนใหญ่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี เช่น การตกแต่งห้องทำงานให้เหมือนอยู่ในสวนดอกไม้ หรือกลางเป่า หรือการจัดบริเวณต่าง ๆ ภายในที่ทำงานให้เหมือนกับบ้านเพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายให้มากที่สุดซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการทำงาน การคิดวิเคราะห์ และการตัดสินใจต่าง ๆ ของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญ

การสร้างความมีชีวิตชีวาหรือบรรยากาศในหน่วยงานนี้ นอกจากในเรื่องการจัดอาคารสถานที่แล้ว ความพร้อมของอุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็นในการทำงานให้ดูน่าทำงานแล้ว การสร้างพื้นที่หรือบริเวณเฉพาะสำหรับพนักงานก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่น้อย เช่น การมี Public Space หรือพื้นที่สาธารณะเพื่อให้พนักงานสามารถพักสมองหรือสร้างสมาธิระหว่างวัน หรือการสร้างพื้นที่ที่มีอิสระทางความคิดและเปิดโอกาสให้นำเสนอไอเดียสร้างสรรค์ต่าง ๆ ให้แก่บริษัทหรือหน่วยงานได้อย่างไร้ขีดจำกัด เช่น การสร้างเวทีแข่งขันหรือการจัดประชันความคิดการสร้างยอดขายหรือมูลค่าเพิ่ม หรือการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น

5. ด้านการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน

สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงานหมายถึงอย่างไร
เรื่องความสัมพันธ์ของคนในหน่วยงานก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย แม่ว่าหลายหน่วยงานมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีในทุก ๆ ด้าน แต่ในเรื่องสภาพแวดล้อมในเรื่องความสัมพันธ์ของผู้คนในหน่วยงานกลับอยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้าย เช่น บุคลากรไม่มีความรักต่อองค์กร ไม่มีความรักใคร่กลมเกลียวสามัคคี เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ไม่ให้ความช่วยเหลือ ไม่เอื้อเฟื้อแบ่งปัน ไม่ทำงานเป็นทีม เต็มไปด้วยการกลั่นแกล้ง ไม่มีพี่น้องในการทำงาน ไม่เคยให้อภัยกันแต่เต็มไปด้วยความอาฆาต ริษยาเมื่อเห็นผู้อื่นประสบความสำเร็จ และจ้องทำลายกันทุกเมื่อเพื่อให้ได้สิ่งที่ตนต้องการ ฯลฯ ลองคิดดูว่าหากหน่วยงานหรือองค์กรใดมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีลักษณะดังกล่าวนี้ แม้อย่างหนึ่งอย่างใด ก็ไม่อาจทำให้งานบรรลุผลสำเร็จ หรือเกิดงานที่มีประสิทธิภาพได้ รวมถึงผลเสียหายที่อาจทำบุคลากรที่ตั้งใจทำงาน มีความรู้ความสามารถไม่อาจอยู่ทำงานให้กับหน่วยงานต่อไปได้ในระยะยาว

ดังนั้นการสร้างสภาพแวดล้อมการที่ดีหัวใจสำคัญจะต้องมีการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานด้วย ซึ่งมีหลากหลายวิธีการ โดยพื้นฐานสำคัญคือจะต้องป้องกันการเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น เช่น ต้องสร้างให้หน่วยงานปราศจากระบบอุปถัมภ์อย่างแท้จริง ส่งเสริมคนดีคนเก่งความมีความสามารถให้มีที่ยืน ไม่สนับสนุนพฤติกรรมการเห็นแก่ตัว เช่น การให้ค่าตอบแทนการทำงานเป็นทีม การจัดให้มีที่ปรึกษาและการถ่ายทอดงานพี่สู่น้อง การจัดกิจกรรมเพื่อจูงใจให้เกิดการช่วยเหลือกันระหว่างพนักงานในโอกาสต่าง ๆ เช่น การประกวดกองงาน หรือฝ่าย ที่มีผลการดำเนินงานเป็นเลิศ การแลกเปลี่ยนหมุนเวียน หรือ Rotate การทำงาน เพื่อลดความมีอิทธิพลหรือผลประโยชน์ต่อตัวบุคคล เป็นต้น

ทั้งหมดนี้คือวิธีการหรือปัจจัยสำคัญที่จะช่วยยกระดับให้เกิดสภาพการทำงานที่ดีขึ้น สิ่งสำคัญที่น่าพิจารณาคือ ยุคสมัยปัจจุบัน คนหรือบุคลากรต่าง ๆ มีความชาญฉลาดขึ้น เก่งขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีที่มีวิวัฒนาการและความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง เมื่อปัจจัยหลัก 2 สิ่งนี้ผสานเข้าด้วยกันจึงทำให้งานหรือภารกิจต่าง ๆ ประสบความสำเร็จและเป็นไปอย่างก้าวกระโดด แน่นอนว่าย่อมส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในทุก ๆ แวดวงของการทำงาน เพื่อไปสู่การบรรลุเป้าหมายสูงสุดและการเป็นที่หนึ่งในแวดวงนั้น ๆ หนึ่งในปัจจัยที่มีส่วนสำคัญจึงอยู่ที่การยกระดับและผลักดันการทำงานของหน่วยงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งก็คือการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีนั่นเอง

ขอบคุณภาพหน้าปกจาก unsplash, ภาพที่ 1 unsplash, ภาพที่ 2 unsplash, ภาพที่ 3 unsplash, ภาพที่ 4 unsplash, ภาพที่ 5 unsplashและภาพที่ 6 unsplash