ต่อประกันตนเองต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

กระทู้คำถาม

ประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม

คือจะไปทำประกันสังคม ม.39 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างค่ะ ต้องมีเอกสารจากทางที่ทำงานเก่าไหม... ถ้ามีจะเป็นเอกสารประมาณไหน ขอบคุณค่ะ

0

0

ต่อประกันตนเองต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

สมาชิกหมายเลข 3992738

กำลังโหลดข้อมูล...

แสดงความคิดเห็น

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

++ ไปทำประกันตน มาตรา 39 นาน ไหมครับ / มอบอำนาจให้คนอื่นไปทำแทนได้หรือเปล่า

ไม่ค่อยสะดวกไปทำเอง ไม่ทราบว่า ใช้เวลานานไหมครับ แล้วใช้เอกสารหลักฐานอะไรนอกเหนือจาก บัตร ปชช. ทะเบียนบ้านไหมครับ แล้วก็ถ้าจะมอบอำนาจให้คนอื่นไปทำแทน ได้ไหมครับ ขอบคุณครับ

Sir Isaac

เจ้าของธุรกิจ

มนุษย์เงินเดือน

การเงิน

การส่งเงินประกันสังคม กรณีที่เราเลิกทำงานแล้ว (ส่งตัวเอง)

กรณีที่เราลาออกจากพนักงานบริษัท เราส่งขั้นสูงสุด เป็นเวลา 24 ปี แล้ว แต่เราลาออกจากงาน เพื่อไปทำธุรกิจส่วนตัว ตอนนี้อายุ 47 ปี เราสามารถส่งประกันตนเองไปเรื่อย ๆ ได้ถึงอายุเท่าไหร่ค่ะ เพื่อที่จะเอาสิท

Green-apple

ประกันสังคม

ประกันสุขภาพ

ทรัพยากรบุคคล

กฎหมายแรงงาน

พนักงานบริษัท

บริษัทยื่นประกันสังคมครั้งแรก ใช้เอกสารอะไรและมีขั้นตอนการยื่นอย่างไร (PLEASE)

พอดี จะยื่นสังคมของบริษัทเปิดใหม่ ลองอ่านดูในอินเตอร์เนตเเล้วแต่ยังไม่ชัวร์ เลยขอความรู้จากกูรู ในพันทิป เพื่อเพิ่มความมั่นใจกิกิ ตามหัวข้อกระทู้เลยจ้ะ - ใช้เอกสารอะไร - ใช้แบบ ประกันสังคม อะไรบ้าง (ท

สมาชิกหมายเลข 2256262

มนุษย์เงินเดือน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีนิติบุคคล

บัญชี

เจ้าของธุรกิจ

ประกันสังคมมาตรา33 กับมาตรา39ต่างกันอย่างไรค่ะ

ประกันสังคมมาตรา33 กับมาตรา39 ต่างกันอย่างไรค่ะ มาตรา39สิทธิในการรักษาโรคหรือสิทธิอื่นๆ เหมือนมาตรา33ทุกประการรึเปล่าค่ะ หรือลดหย่อนกว่า แล้วถ้าเราทำงานประจำอยู่ ได้ประกันสังคมมาตรา33มาได้9ปี แล้วเราจ

สมาชิกหมายเลข 1288831

ประกันสังคม

ทำประกันสังคม กี่เดือนถึงจะได้บัตร

ผมสมัครทำงานบริษัทแห่งหนึ่ง เค้าให้สมัครประกันสังคมตั้งแต่วันแรกที่เริ่มมาทำงาน (เค้าให้สมัครเลย ทำงานวันแรก ยังไม่ได้ผ่านโปร) ตอนนี้ผมทำงานมา 4 เดือนกว่าๆ แล้ว ผมยังไม่ได้บัตรประกันสังคมเลย (ผมจ่ายทุ

สมาชิกหมายเลข 1450751

มนุษย์เงินเดือน

พนักงานบริษัท

กู้บ้านกับออมสินไม่มีสลิปเงินเดือน

สอบถามหหน่อยค่ะ พอดีเราจะกู้ซื้อคอนโด กับธนาคารออมสิน แต่ทางเซล แจ้งว่าต้องใช้สลิปเงินเดือนเท่านั้น บริษัทเราไม่ได้ออกให้ค่ะ เอกสารที่เรายื่น มี หนังสือรับรองเงินเดือน ทั้งที่บริษัทเก่าและที่ใหม่ ส

สมาชิกหมายเลข 5050816

เงินสงเคราะห์บุตรไม่เข้า

เราคลอดบุตรวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 วันที่ 4 สิงหาคม ไปยื่นเอกสารรับเงินสงเคราะห์บุตร จนถึงวันนี้ 6 ตุลาคม เงินสงเคราะห์บุตรยังเข้า มีใครเป็นแบบนี้ไหมคะเเล้วต้องทำยังไงต่อ

สมาชิกหมายเลข 6685324

อยากรู้ว่า ตำรวจจะจัดการกับภัยสังคม แบบนี้ไหม หรือก็แค่เป็นคลิปที่ผ่านมา แล้วก็ผ่านไป

อยากรู้ว่า ตำรวจจะจัดการกับภัยสังคม แบบนี้ไหม  หรือก็แค่เป็นคลิปที่ผ่านมา แล้วก็ผ่านไป พอดีวิดีโออยู่ในเฟสบุ๊ค ต้องขออภัย ที่นำคลิปมาใส่กระทู้เลยไม่ได้ครับ https://fb.watch/

แง่มๆ น้องหมา 2 ปี

ขอปรึกษาเรื่องหมายเลขผู้ป่วยโรงพยาบาล รามาฯ

แฟนผมจะไปรักษาหลอดอาหารตามสิทธิ์ประกันสังคม โรงพยาบาลเกษมราษฏ์ส่งต่อไปที่โรงพยาบาลศิริราช แต่แฟนผมเคยรักษาเคสนี้ที่โรงพยาบาลรามาฯเมื่อ20กว่าปีก่อนแล้วไม่ได้รักษาต่อพึ่งมาเริ่มรักษาใหม่ ทางศิริราชขอให้

สมาชิกหมายเลข 4041463

เปลี่ยน ม.33 เป็น ม.39 รออัพเดตสถานะกี่วันคะ

สวัสดีค่ะ พอดีลาออกจากงานวันที่ 20 มีนาคม 2565 ค่ะ เพิ่งไปยื่นเรื่องเปลี่ยนจาก ม.33 เป็น ม.39 มาเมื่อวาน คือ วันที่ 12 กันยายน 2565 ค่ะ วันนี้เลยลองเข้าเช็คสถานะในระบบดู กลับขึ้นสถานะว่า "ไม่เป็น

สมาชิกหมายเลข 4909250

อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม

ต่อประกันตนเองต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2561 และพระราชกฤษฎีกากำหนดคุณสมบัติของบุคคลซึ่งอาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2561 นั้น

1. คุณสมบัติของผู้สมัคร

1.1 มีสัญชาติไทย

1.2 เป็นชนกลุ่มน้อยซึ่งอพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทย โดยมีมติคณะรัฐมนตรีผ่อนผันให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข 6 หรือ เลข 7

1.3 เป็นบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว   เพื่อรอการส่งกลับ ที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย โดยเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข 0 ทั้งนี้ ไม่รวมถึงกรณีที่มีบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยแต่มีเลขประจำตัวหลักแรกและหลักที่สองเป็นเลข 0 (00)

1.4 ผู้สมัครต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบุูรณ์

1.5 ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39

1.6 ไม่เป็นสมาชิกของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการท้องถิ่น หรือไม่เป็นสมาชิกกองทุนของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีลักษณะอย่างเดียวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญของส่วนราชการ รวมทั้งไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร หรือกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการท้องถิ่น

1.7 หากเป็นบุคคลซึ่งเป็นผู้พิการ ให้ระบุลักษณะหรืออาการของผู้พิการโดยละเอียด (ยกเว้น  ผู้พิการทางสติปัญญาและผู้พิการที่ไม่อาจรับรู้สิทธิที่พึงจะได้รับจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่สามารถสมัครและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ได้)

2. หลักฐานการสมัคร

2.1 บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้แทนบัตรประจำตัวประชาชน

2.2 แบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40) กรณีไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ให้ใช้การประทับลายนิ้วมือแทนการลงชื่อและให้มีผู้รับรองลายมือชื่อจำนวน 2 คน

3. สถานที่ในการสมัคร

3.1 สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สาขา  ทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)

3.2 อินเตอร์เน็ต WWW.sso.go.th/section40_regist

3.3 บริษัทเคาน์เตอร์เซอร์วิส เซเว่น อีเลฟเว่น (7-11)

4ทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40 มี 3 ทางเลือก ดังนี้

ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  3  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย

ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  4  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ

กรณีตาย และกรณีชราภาพ

ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  5  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร

หมายเหตุ :

1)  ผู้ประกันตนทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 3 สามารถจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม (ออมเพิ่ม) ได้ไม่เกิน 1,000 บาท ต่อเดือน

2)  กำหนดให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่เกินกึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตน

5. ช่องทางการชำระเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 40

5.1 เคาน์เตอร์บริการ 

5.2 หักผ่านบัญชีเงินฝากธนาคาร

ชำระงวดปัจจุบัน  ได้ที่

1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (มหาชน)

4. ธนาคารออมสิน

5. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

6. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

7. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)

8. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

9. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

5.3 ช่องทางอื่น

ชำระงวดปัจจุบัน งวดล่วงหน้า 12 เดือน และออมเพิ่มไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน ได้ที่ ไปรษณีย์ (ธนาณัติ)

เสียค่าธรรมเนียมตามที่ไปรษณีย์กำหนด

หมายเหตุ

1. การจ่ายเงินสมทบผ่านทางเคาน์เตอร์เซอร์วิส โปรดแจ้งพนักงานให้ชัดเจนว่าจะจ่ายเงินสมทบล่วงหน้าหรือจ่ายเงินออมเพิ่ม เพื่อไม่ให้จ่ายเงินผิดพลาด

2. จ่ายเงินสมทบผ่านการหักบัญชีธนาคาร ธนาคารจะหักเงินในบัญชีของผู้ประกันตน ทุกวันที่ 20 ของเดือน

3. ลืมหรือขาดส่งเงินสมทบ ไม่สามารถส่งเงินสมทบย้อนหลังได้ แต่ไม่ถือเป็นการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน สามารถส่งเงินสมทบงวดปัจจุบันและส่งเงินล่วงหน้าได้ไม่เกิน 12 เดือน

4. เงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จ่าย สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้

5. ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ไม่ถูกตัดสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

6. การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูล

6.1 เมื่อเป็นผู้ประกันตนแล้ว หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น เปลี่ยนคำนำหน้านามชื่อ - สกุล ที่อยู่ที่ติดต่อ เปลี่ยนแปลงสำนักงานประกันสังคมรับผิดชอบ หรือเปลี่ยนทางเลือกจ่ายเงินสมทบ เป็นต้น ให้ยื่นแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหรือทางเลือกการจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40/1) พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง

6.2 กรณีขอเปลี่ยนทางเลือกการจ่ายเงินสมทบจะทำได้ปีละ 1 ครั้ง โดยเมื่อยื่นขอเปลี่ยนแปลงทางเลือกแล้ว  จะมีผลในเดือนถัดไป

6.3 หากไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ต่อไป (ลาออก) ให้ยื่นแบบแจ้งความจำนงไม่ประสงค์เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 (สปส.1-40/2)