เรียนบัญชีต้อง รู้ อะไรบ้าง

เพราะเรื่องของการจัดการการเงินหรือทำบัญชีนั้นถือเป็นส่วนงานที่สำคัญอย่างมากของสถาบัน อุตสาหกรรม และหน่วยงานทุกภาคส่วน ดังนั้นถ้าน้องๆ คนไหนเห็นโอกาสในการทำงาน และมีใจรักการคิดคำนวณอย่างเป็นระบบ แต่ยังลังเลหรือไม่เห็นภาพข้อดีของการเรียนสาขานี้ ก็ตามมาดูนี่เลย แล้วน้องจะได้รู้ว่า เรียนบัญชี มันดีแค่ไหน!!

1. มีงานรองรับ 99.99%
อย่างที่บอกไปตอนต้นว่า "นักบัญชี" คืออาชีพที่ทุกบริษัทหรือองค์กรจำเป็นต้องมี จะเห็นได้ชัดจากผลการจัดอันดับของเว็บหางานและองค์กรต่างๆ ที่ให้สาขาบัญชีเป็นอาชีพขาดแคลนและเป็นที่ต้องการที่สุดอยู่ตลอด ถ้าใครเรียนดี หมั่นเข้าร่วมกิจกรรมเสริมประสบการณ์ น้องๆ จะโดนจองตัวทำงานกันตั้งแต่ยังเรียนไม่จบเลยก็ได้ (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ 10 อันดับ สาขาปริญญาตรีที่บริษัทต้องการมากที่สุดในปี 2017)

2. ค่าตัวสูงงงง และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามประสบการณ์
เพราะ นักบัญชี เป็นอาชีพที่ขาดแคลนที่สุดอาชีพหนึ่งในทุกยุค! องค์กรหรือบริษัทต่างๆ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ต่างก็แย่งชิงตัวนักบัญชีหรือผู้สอบบัญชีที่มากประสบการณ์ ด้วยข้อเสนอและค่าตอบแทนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

3. เป็นอาชีพเสรี มีโอกาสโกอินเตอร์ทั่วโลก
นักบัญชี ถือเป็น 1 ใน 8 อาชีพที่มีข้อตกลงให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานได้อย่างเสรีในประเทศสมาชิกอาเซียน นอกจากความต้องการในประเทศจะสูงมากแล้ว นักบัญชีที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญภาษา ก็ยังมีโอกาสโกอินเตอร์สามารถไปทำงานในต่างประเทศพร้อมกับรายได้ที่สูงยิ่งขึ้นไปอีกหลายเท่าตัวด้วย

4. เป็นได้ทั้งเจ้าของกิจการหรือจะทำฟรีแลนซ์ก็รุ่ง
นอกจากจะทำงานประจำนั่งโต๊ะแล้ว นักบัญชีก็ยังสามารถรับทำบัญชีแบบอิสระหรือฟรีแลนซ์ได้ และค่าตอบแทนก็ดีมากด้วย เพราะอาชีพนักบัญชี ถือเป็นวิชาชีพอิสระ เป็นงานที่ต้องมีการควบคุม ดังนั้นหากใครไม่ต้องการกินเงินเดือนเป็นลูกจ้างองค์กร ก็สามารถออกมาทำงานเป็นงาน “ผู้ตรวจสอบบัญชี” หรือตั้งบริษัทรับทำบัญชีเป็นนายตัวเองได้แน่นอน

5. ไม่มีใครมาแย่งงานเรา แต่เราแย่งงานเขาได้ (เอาสิ)
เพราะอาชีพ นักบัญชี และ ผู้สอบบัญชี (Auditor) ถือเป็นวิชาชีพอย่างหนึ่งที่ต้องผ่านการเรียนและสอบใบประกอบวิชาชีพ มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาบัญชีเท่านั้นถึงจะมาทำหน้าที่นี้ได้ จึงไม่ต้องกังวลว่าจะมีคนสายอื่นมาแย่งงานเรา แต่คนเรียนจบบัญชีไปแย่งงานเขาได้นะ ถ้าน้องๆ จบบัญชีแต่อยากทำงานสายอื่น เช่น งานธนาคาร งานที่ปรึกษา งานวางแผนควบคุมภายใน งานวางระบบบัญชี หรืออื่นๆ ในฝั่งบริหารก็สามารถไปทำได้หมด แม้กระทั่งงานราชการ หรือธุรกิจส่วนตัว 

อ่ะๆ สนใจเรียนบัญชีกันขึ้นมาบ้างแล้วใช่มะ งั้นก็มาเริ่มวางแผนการเรียนและหาข้อมูลเพื่อเรียนต่อเพิ่มเติมกันได้เลยจ้าาาา

เรียนบัญชีต้อง รู้ อะไรบ้าง

บทความงาน > บทความนักศึกษาจบใหม่ > เด็กอาชีวะกับงาน > ปวส. สาขาบัญชี ยังเป็นที่ต้องการของตลาดงานอยู่หรือไม่

ปวส. สาขาบัญชี ยังเป็นที่ต้องการของตลาดงานอยู่หรือไม่

  • 11 October 2021

เรียนบัญชีต้อง รู้ อะไรบ้าง
เรียนบัญชีต้อง รู้ อะไรบ้าง
เรียนบัญชีต้อง รู้ อะไรบ้าง
เรียนบัญชีต้อง รู้ อะไรบ้าง
เรียนบัญชีต้อง รู้ อะไรบ้าง
เรียนบัญชีต้อง รู้ อะไรบ้าง
เรียนบัญชีต้อง รู้ อะไรบ้าง

           น้อง ๆ นักเรียนที่กำลังมองหาข้อมูลเพื่อเลือกเรียนต่อ ปวส. สาขาบัญชี อาจยังลังเลและมีคำถามมากมายว่า สถานการณ์แบบนี้ เราควรต่อ ปวส. สาขาบัญชีดีไหมนะ สาขานี้น่าสนใจอย่างไรบ้าง เรียนจบแล้วหางานได้ง่ายหรือยากมากน้อยแค่ไหน มีตลาดงานรองรับมากน้อยเพียงใด เงินเดือนประมาณเท่าไหร่ ต้องเรียนจบอะไร มีคุณสมบัติอย่างไรจึงจะเรียน ปวส. สาขาบัญชี ได้ และสาขานี้ต้องเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง วันนี้ JobsDB ได้รวบรวมข้อมูลมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนกัน

เรียนบัญชีต้อง รู้ อะไรบ้าง

           สำหรับน้อง ๆ ที่อยากเรียนต่อสาขาบัญชี ต้องเริ่มต้นจากการวางแผนการเรียนเอาไว้ล่วงหน้าก่อนว่าจะตัดสินใจเลือกเรียนสายสามัญ (เพื่อต่อเข้ามหาวิทยาลัย) หรือเรียนสายอาชีพ (อาชีวศึกษา) เนื่องจากทั้ง 2 สายมีความแตกต่างกัน

           สำหรับคนที่ตัดสินใจได้แล้วว่าจะเรียนสาขาบัญชีสายอาชีพ การจะต่อวุฒิ ปวส. ได้นั้น หลังเรียนจบระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 น้อง ๆ ต้องเข้าเรียน ปวช. สาขาบัญชี 3 ปี เพื่อให้ได้วุฒิเสียก่อน หลังจากนั้นจึงจะสามารถเข้าเรียนในระดับ ปวส. ได้ เมื่อเรียน ปวส. ครบ 2 ปีแล้ว ก็สามารถเลือกเรียนต่อวุฒิปริญญาตรีอีก 2 ปี หรือจะเรียนต่อเพื่อเพิ่มวุฒิอีกก็ย่อมได้ 

           เนื้อหาที่ ปวส. สาขาบัญชี จะได้เรียนโดยทั่วไป 

  • การทำงบการเงินของสถานประกอบการ  
  • การตรวจสอบทั้งบัญชีภายใน ภายนอก ของสถานประกอบการ 
  • การวิเคราะห์งบการเงิน 
  • การทำบัญชีเกี่ยวกับภาษีอากร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 
  • การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์กับงานบัญชี

            ดังนั้น คนที่เรียนจบ ปวส. สาขาบัญชี มาจะมีความรู้ในเรื่องของการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ มีความสามารถในการวิเคราะห์ แปลความหมายของข้อมูลทางบัญชีและการเงิน เพื่อช่วยให้ข้อมูลในการพิจารณาทางเลือกในการตัดสินใจให้แก่ผู้บริหารได้อย่างถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์ เพราะหลักสูตรจะครอบคลุมทั้งเนื้อหาพื้นฐานและความรู้ที่จำเป็นที่ช่วยในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจทั้งวิธีการและแนวทางที่สามารถนำไปใช้ประยุกต์ในโลกการทำงานจริง

           หากสำเร็จการศึกษาเนื้อหาของหลักสูตร ปวส. สาขาบัญชี แล้ว สำหรับใครที่อยากจะต่อวุฒิ ปริญญาตรี อีก 2 ปีในสาขาบัญชี ยังสามารถสมัครเข้าศึกษาต่อเพื่อเรียนรู้เนื้อหาเหล่านี้ในระดับมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชนได้ เราก็จะได้เรียนรู้เนื้อหาเพิ่มเติมอย่าง 

  • เศรษฐศาสตร์มหภาค
  • เศรษฐศาสตร์จุลภาค
  • การเงินการบัญชี
  • วิธีการทำวิจัยทางสถิติ
  • การลงทุนร่วม
  • การจัดการบัญชีและการตัดสินใจ
  • การวิเคราะห์งบการเงินและบัญชี
  • ข้อกำหนดทางกฎหมาย
  • พฤติกรรมของเศรษฐศาสตร์และการเงิน
  • การเงินขั้นสูง
  • ภาษี

           เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง 

           นักบัญชี เจ้าหน้าที่ทางการเงิน (Accountant)

           หน้าที่หลัก ๆ ของนักบัญชี คือ การจัดการงบประมาณ ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำและรวบรวมเอกสารทางบัญชี บันทึกรายการและจัดทำรายงานการเงินและงบการเงินต่าง ๆ วิเคราะห์และร่วมวางแผน ตรวจสอบดูแลทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเงินของบริษัทหรือองค์กร ดังนั้น แทบทุกองค์กรจึงต้องมีเจ้าหน้าที่การเงิน และการบัญชี เช่น ธนาคาร บริษัทประกันภัย องค์กรธุรกิจเอกชน รัฐบาล และสถานประกอบการต่าง ๆ รวมไปถึงบริษัทที่รับทำบัญชีให้บริษัทอื่นอีกที

           อัตราเงินเดือน

           จบใหม่: 15,000 – 25,000 บาท

           มีประสบการณ์: 28,000 – 40,000 บาท

           ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี (Tax Specialist) 

           เรียกได้ว่าเป็นที่ปรึกษาด้านภาษี อาชีพนี้มีหน้าที่ให้คำปรึกษากับองค์กรด้านภาษีอากรต่าง ๆ ทั้งกฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากรและภาษีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงทางภาษี เช่น การคำนวณภาษีไม่ถูกต้อง การยื่นแบบรายการทางภาษี การวางแผนภาษีให้หน่วยงานหรือบริษัท เพื่อเสียภาษีที่ถูกต้องและประหยัด และแก้ปัญหาภาษีต่าง ๆ ให้แก่องค์กร ยื่นแบบรายการภาษีเงินได้ทุกประเภท ซึ่งปัจจุบันอาชีพนี้เป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานเป็นอย่างมาก

           อัตราเงินเดือน

            จบใหม่: 18,000 – 25,000 บาท 

           มีประสบการณ์: 30,000 – 50,000 บาท

           รายได้ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ หน้าที่ความรับผิดชอบ และขนาดของบริษัท

           ผู้ตรวจสอบบัญชี (Auditor) 

           ผู้ตรวจสอบบัญชีหรือผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditor) ทำหน้าที่วางแผน ตรวจสอบการปฏิบัติงานหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กร ออกแบบและจัดทำรายงานผลการตรวจสอบให้สอดคล้องกับมาตรฐานและความต้องการของผู้บริหาร ปรับปรุงแนวทางการจัดเก็บเอกสารให้สอดคล้องกับมาตรฐานการควบคุมภายใน ออกแบบและปรับปรุงผังการทำงาน (Workflow) เพื่อควบคุมติดตามการปฏิบัติงานต่าง ๆ และกำกับดูแลการทำงานให้แก่สถานประกอบการ สถาบัน บริษัท หรือหน่วยงานรัฐบาล การตรวจสอบภายในนี้ยังช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กรที่ตั้งไว้ ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง การควบคุม และกระบวนการกำกับดูแลกิจการอย่างเป็นระบบระเบียบ หากเป็นผู้ตรวจสอบภายในสากล (CIA) จะมีโอกาสก้าวหน้าในวิชาชีพมากยิ่งขึ้น ทำได้ทั้งอาชีพอิสระและทำงานในองค์กรโดยตรง

           อัตราเงินเดือน

           จบใหม่: 20,000 – 28,000 บาท 

           มีประสบการณ์: 30,000 – 60,000 บาท 

           กรณีทำงานอิสระ รายได้ขึ้นอยู่กับจำนวนบริษัทที่รับงานตรวจสอบภายใน ขนาดของบริษัทและชั่วโมงการทำงาน เฉลี่ยประมาณปีละ 3 ล้าน ถึง 10 ล้านบาท

           ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

           หากน้องคนไหนสนใจอยากทำงานนี้ อาจต้องต่อวุฒิปริญญาตรีก่อน เนื่องจากคุณสมบัติที่เปิดรับคือต้องเรียนจบวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี โดยผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชี จะมีคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี (กกบ.) เป็นผู้ออกระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์การปฏิบัติงานการตรวจสอบบัญชี เพื่อกำกับควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ซึ่งผู้สอบบัญชีรับอนุญาต มีหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสาร กระบวนการการจัดทำรายงานการเงินของบริษัทต่าง ๆ เพื่อรวบรวมหลักฐานจากการตรวจสอบที่เหมาะสมและเพียงพอเพื่อการแสดงความเห็นต่อความถูกต้องและครบถ้วนของรายงานการเงินของบริษัท ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นอาชีพอิสระรายได้ดี และเป็นที่ใฝ่ฝันของนักบัญชีหลายคน

           อัตราเงินเดือน

            จบใหม่: 20,000 – 28,000 บาท 

            มีประสบการณ์: 30,000 – 60,000 บาท

            รายได้ขึ้นอยู่กับจำนวนบริษัทที่รับงานสอบบัญชีและขนาดของบริษัทเฉลี่ยประมาณปีละ 100,000 ถึง 3,000,000 บาท

            ที่ปรึกษาทางบัญชี 

             อาชีพนี้จะรับผิดชอบให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำด้านการบัญชีการเงิน การบัญชีบริหาร อาจรวมถึงการวางแผนการเงินและการวางระบบ ปรับปรุงระบบสารสนเทศทางบัญชีของบริษัท เป็นได้ทั้งอาชีพอิสระและทำงานในองค์กรโดยตรง ซึ่งเป็นอีกสายงานที่มีรายได้สูง เพราะต้องเป็นผู้มีประสบการณ์

             อัตราเงินเดือน

             จบใหม่: 20,000 – 28,000 บาท 

             มีประสบการณ์: 30,000 – 60,000 บาท

             รายได้ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญ หน้าที่ความรับผิดชอบ ขนาดของบริษัทและ ชั่วโมงการทำงาน

            ธุรกิจส่วนตัว

            หากเรียนจบด้านพาณิชย์และการบัญชีมา เราสามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปประกอบธุรกิจส่วนตัวได้โดยง่าย เพราะมีความเข้าใจในระบบการบริหารจัดการรายได้ต่าง ๆ อย่างดี โดยนักบัญชีที่ผันตัวมาประกอบธุรกิจส่วนตัว ส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์การทำงานมานานและเก็บเกี่ยวความรู้ ทักษะการทำธุรกิจและการบริหารงานมาแล้วพอสมควร แต่รายได้ก็จะขึ้นอยู่กับผลประกอบการของธุรกิจ

            คุณครู อาจารย์ หรือติวเตอร์ด้านบัญชี

             นอกเหนือจากการทำงานด้านบัญชีโดยตรงแล้ว นักบัญชียังสามารถใช้วิชาชีพที่มีไปถ่ายทอดแก่ผู้อื่นด้วยการเป็นอาจารย์หรือติวเตอร์ ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้ด้วย ซึ่งปัจจุบันผู้ที่จะเป็นอาจารย์ไม่จำเป็นต้องจบครุศาสตร์เท่านั้น เพียงแค่ใช้วิชาชีพที่จบมาสอนได้ แต่ถ้าน้อง ๆ จบปริญญาตรี ระดับที่สามารถสอนได้คือ ปวช. ปวส. แต่ถ้าอยากเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ต้องเรียนต่อปริญญาโท สาขาบัญชี ก็สามารถกลับมาเป็นอาจารย์เพื่อถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่นักศึกษาได้เช่นกัน

            อัตราเงินเดือน

           จบใหม่: 15,000 – 28,000 บาท 

           มีประสบการณ์: 30,000 – 45,000บาท

           ข้าราชการ

            การเป็นนักบัญชี ผู้อำนวยการบัญชี นักวิเคราะห์และวางแผนการเงิน หรือตำแหน่งอื่น ๆ ในหน่วยงานราชการ อันดับแรก ต้องเริ่มจากเริ่มจากสมัครและสอบเข้า ก.พ. หรือสอบตรง แล้วจึงจะสามารถสมัครเข้าทำงานอีกที ข้อดีของการเป็นพนักงานบัญชีของรัฐนั้นก็คือ ความมั่งคง สวัสดิการดี ดูแลเรื่องการเจ็บป่วยของพ่อแม่และครอบครัว ถ้าอยู่จบเกษียณก็จะมีเงินบำนาญไว้ให้อุ่นใจในบั้นปลายชีวิตนั่นเอง นักบัญชีที่รับราชการ เงินเดือนที่ได้รับจะตามฐานรายได้ของราชการ โดยมีฐานเงินเดือนปัจจุบัน ดังนี้ 

  • ระดับ ปวช. 9,400 บาท/เดือน
  • ระดับ ปวท. และอนุปริญญา หลักสูตร 2 ปี 10,840 บาท/เดือน
  • ระดับ ปวส. และอนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี 11,500 บาท/เดือน
  • ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี 15,000 บาท/เดือน
  • ระดับปริญญาโท 17,500 บาท/เดือน
  • ระดับปริญญาเอก 21,000 บาท/เดือน

           ถึงแม้ว่าคู่แข่งในตลาดแรงงานของคนที่เรียนจบ ปวส. สาขาบัญชีจะเป็นคนที่เรียนจบปริญญาตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก็ตาม แต่จุดเด่นและข้อได้เปรียบของ ปวส. สาขาบัญชี ที่มีเหนือกว่าคือเรื่องของประสบการณ์จากการเรียนและทำงานไปด้วย เนื่องจากนักเรียนสายอาชีพทุกคนจะได้ทำงานจริง หยิบจับอุปกรณ์จริง และได้สร้างผลงานเป็นของตนเอง รวมถึงยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานโดยไม่ต้องรอฝึกงานจากการต่อมหาวิทยาลัย เมื่อต้องการจะสมัครงาน บริษัทส่วนใหญ่มักจะต้องการคนที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้ว หรือระบุเลยว่าต้องจบมาในวุฒิ ปวช./ปวส. อยู่ในคุณสมบัติของผู้สมัคร ทำให้คนที่จบ ปวส. สาขาบัญชี มามีงานรองรับ และยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานแน่นอน

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

เรียนบัญชีต้อง รู้ อะไรบ้าง

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

เส้นทางสู่การขอขึ้นทะเบียนการเป็นนักทำบัญชี
วางแผนภาษีอย่างไรให้ได้เงินคืน

Accountant  การค้นหางาน  งานบัญชี  งานภาษี  อัตราเงินเดือน

บทความยอดนิยม

เรียนบัญชีต้อง รู้ อะไรบ้าง

20 ประเภทเพื่อนร่วมงานชวนป่วน พร้อมวิธีรับมือ

ในหนึ่งวันชาวออฟฟิศอย่างเรา ๆ ใช้เวลาอยู่ที่ออฟฟิศไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ถ้าไม่นับเวลาที่เราต้องนอนในแต่ละวัน...

คณะบัญชีต้องเรียนวิชาอะไรบ้าง

สาขาการบัญชี (Accounting) เรียนเกี่ยวกับการจัดการบันทึกรายการทางการค้าการบัญชีภาษีอากร การบัญชีระหว่างประเทศ การสอบบัญชี ระบบสารสนเทศทางการบัญชี เศรษฐศาสตร์ การจัดการบัญชีและการตัดสินใจ การวิเคราะห์งบการเงินและบัญชี ข้อกำหนดทางกฎหมาย การเงินขั้นสูง

เรียนบัญชีอย่างไร

เคล็ดลับ เรียนบัญชีอย่างไรให้เรียนเก่งและเกรดดี.
1. ฝึกทำโจทย์บัญชีบ่อย ๆ ... .
2. ไม่เข้าตรงไหนให้ถามอาจารย์ ... .
3. ติวหนังสือกับเพื่อน ๆ ที่เก่งกว่า ... .
4. เข้าใจสมการของบัญชี ... .
5. อ่านหนังสือที่เกี่ยวกับบัญชีเพิ่มเติม.

สาขาการบัญชี มีอะไรบ้าง

สาขาของคณะบริหารธุรกิจและบัญชีมีสาขาไหนบ้าง ?.
สาขาวิชาการบัญชี ... .
สาขาวิชาการตลาด ... .
สาขาวิชาการเงิน ... .
สาขาวิชาการจัดการ ... .
สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ... .
สาขาวิชาการเป็นเจ้าของธุรกิจ ... .
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ... .
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ.

การเรียนบัญชีที่ดีควรทำอย่างไร

1. มีงานรองรับ 99.99% ... .
2. ค่าตัวสูงงงง และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามประสบการณ์ ... .
3. เป็นอาชีพเสรี มีโอกาสโกอินเตอร์ทั่วโลก.
4. เป็นได้ทั้งเจ้าของกิจการหรือจะทำฟรีแลนซ์ก็รุ่ง ... .
5. ไม่มีใครมาแย่งงานเรา แต่เราแย่งงานเขาได้ (เอาสิ).