ศิลปศาสตร์สาขาภาษาไทยทำงานอะไร

ทำงานเกี่ยวกับอะไร

กองบรรณาธิการ, นักประชาสัมพันธ์, อาจารย์สอนวิชาภาษาไทย, อาจารย์สอนภาษาไทยให้ชาวต่างประเทศ, พนักงานต้อนรับ, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน, เลขานุการ, นักเขียน, นักแปล/ล่าม, เจ้าหน้าที่สถานทูต/สถานกงสุลต่างประเทศ, มัคคุเทศก์ ฯลฯ

คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย

เรียนเกี่ยวกับ

ศิลปศาสตร์สาขาภาษาไทยทำงานอะไร

     ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะสำคัญ และวิวัฒนาการ ของภาษา วรรณกรรมไทย ตลอดจนศิลปะการใช้ทักษะทางภาษาทั้ง 4 ด้าน อย่างมีวิจารณญาณภาควิชาภาษา ไทยมุ่งที่จะให้นักศึกษาได้รู้จักและตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทยในทุก ๆ ด้าน จนเกิดความ ซาบซึ้งสามารถเป็นผู้นำในการศึกษาวิจัย เผยแพร่และถ่ายทอดสรรพวิทยาการ รวมทั้งประยุกต์ใช้ความรู้ทาง ภาษาไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่การประกอบอาชีพ พัฒนาสังคม และประเทศชาติสืบไป

คุณสมบัติ

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หรือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หรือ ประกาศนียบัตรอื่นๆที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า สำหรับผู้สมัครที่จบหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ต้องมีคุณสมบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการดำเนินงานการศึกษานอก เขตโรงเรียนสายสามัญศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544
2. ต้องไม่เป็นผู้กำลังศึกษาเกินกว่าชั้นปีที่ 1 ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่ร่วมในการคัดเลือกนี้ เว้นแต่ได้ลาออกจากสถาบันอุดมศึกษานั้นเสียก่อน
3. สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกแผนการเรียน หรือเทียบเท่า
4. สนใจศึกษาภาษาไทย และวรรณกรรมไทย
5. ต้องการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับภาษาไทยและวรรณกรรม
6. มีจุดมุ่งหมายที่จะใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

#มหาวิทยาลัยคณะ/สาขาระดับชั้นที่เปิดรับปวช.ปวส.ป.ตรีป.โทป.เอก
ปวช.ปวส.ป.ตรีป.โทป.เอก

แนวทางการประกอบอาชีพ

1. ข้าราชการ
2. นักเขียนบทโฆษณา
3. ครูอาจารย์
4. นักอ่านบทโฆษณา
5. นักวิจัยภาษา
6. บรรณาธิการ
7. นักแปล
8. นักเขียน
9. นักข่าวและประมวลข่าว
10. ประชาสัมพันธ์
11. นักหนังสือพิมพ์
12. นักวิเคราะห์-วิจารณ์
13. เลขานุการ
14. งานการท่องเที่ยว-มัคคุเทศก์
15. นักประชาสัมพันธ์
16. งานด้านวัฒนธรรมไทย
17. ผู้ประกาศ-โฆษก
18. งานวิเทศสัมพันธ์
19. นักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์
20. พัฒนากร
21. นักแต่งเพลง

ที่มาข้อมูล

http://www.tu.ac.th/org/arts/th.htm
http://humannet.chandra.ac.th/thai
https://www.facebook.com/thai.major.ssru
http://www.cnxnews.net/สัมมนาพัฒนาการศึกษาและ

SHARED

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

  •   ปริญญาตรี
  • หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
  • สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาดนตรีสมัยนิยม
  • สาขาวิชาสังคมศึกษา
  • สาขาวิชาการประถมศึกษา
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
  •   ประกาศนียบัตร
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
  •   ปริญญาโท
  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  •   ปริญญาเอก
  • สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Education Program in Thai

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็ม(ไทย) : ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ภาษาไทย)
ชื่อย่อ(ไทย) : ศษ.บ. (ภาษาไทย)
ชื่อเต็ม(อังกฤษ) : Bachelor of Education (Thai)
ชื่อย่อ(อังกฤษ) : B.Ed. (Thai)

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1. ครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือระดับอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
2. นักวิชาการทางการศึกษา
3. รับราชการตำแหน่งอื่น ๆ ตามที่ กพ.ประกาศรับ
4. นักวิจัยทางการศึกษาหรือผู้ช่วยวิจัย
5. บุคลากรทางการศึกษาและอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
6. ประกอบอาชีพอิสระ
7. อาชีพอื่นๆ

ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตวิชาชีพครู ที่มีความรู้ความสามารถทางภาษาไทย มีคุณธรรม จริยธรรม และมีคุณลักษณะบัณฑิตอันพึงประสงค์ สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยคือ รู้คิด รู้ธรรม รู้สำเร็จ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณสมบัติดังนี้

1. มีคุณธรรมจริยธรรม ยึดมั่นจรรยาบรรณวิชาชีพ มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างกัลยาณมิตร และมีบุคลิกภาพเป็นแบบอย่างที่ดีเหมาะสมกับความเป็นครูวิชาชีพ

2. มีความรอบรู้ ใฝ่รู้ในศาสตร์ภาษาไทยอย่างกว้างขวาง ลึกซึ้งและเป็นระบบ มีทักษะการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลายและเชี่ยวชาญ โดยใช้หลักการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ และนวัตกรรมได้อย่างเหมาะสม สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้เกิด ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์

3. มีทักษะและประสบการณ์ในการสอนแบบบูรณาการ โดยสามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ และศิลป์ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและพัฒนาการของผู้เรียน เพื่อเชื่อมโยง ความรู้และปรับตัวสู่ความเป็นสากลได้

4. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการจัดการเรียนรู้ การวิจัย มีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การประมวลผล การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

5. มีความสามารถในการแสวงหา และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาทางวิชาการ วิชาชีพและสังคมอย่างมีเหตุผล โดยการบูรณาการศาสตร์แบบสหวิทยาการและ พหุวิทยาการเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน