การบริหารทรัพยากรมนุษย์จบแล้วทำอะไร

          หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบทำงานปฏิสัมพันธ์กับ “คน” รักการบริการ ชอบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและผู้อื่นอยู่เสมอ…รู้หรือไม่ว่าคุณอาจเป็นคนหนึ่งที่เหมาะกับตำแหน่ง งาน HR ก็เป็นได้ หลายคนอาจมองว่าตำแหน่งงาน HR เป็นงานที่ไม่น่าสนใจ และไม่ตื่นเต้น จึงส่งผลให้ไม่ค่อยมีคนสมัครงานในตำแหน่งนี้เท่าที่ควร แต่ในทางกลับกัน ตำแหน่งงานนี้เป็นงานที่ท้าทายศักยภาพของคนทำงานอย่างมาก เพราะต้องใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารทั้งงานและคนในองค์กรให้มีความสุข มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน เรียกได้ว่า HR จะต้องเป็นทั้งผู้นำ คนทำงาน และที่ปรึกษาในคราวเดียวกันนั่นเอง

การบริหารทรัพยากรมนุษย์จบแล้วทำอะไร

          ที่สำคัญตำแหน่งงานด้าน HR เป็นสายงานหนึ่งที่มีความต้องการรับสมัครพนักงานจำนวนมาก เปิดรับตลอดทั้งปี และเปิดกว้างสำหรับคนที่เรียนจบทุกสาขา เพียงแค่คุณมีใจรักและกล้าเปิดโอกาสให้ตัวเอง ตำแหน่งงานนี้อาจเหมาะกับคุณก็ได้…มาดูกันค่ะว่า งาน HR มีสายงานด้านใดให้คุณเลือกทำบ้าง

1. งานสรรหาและคัดเลือกบุคลากร

  • รับผิดชอบด้านการวางแผนกำลังคน
  • รับสมัคร คัดกรอง สัมภาษณ์งาน ต่อรองเงินเดือน
  • ทำสัญญาจ้าง
  • ปฐมนิเทศพนักงาน
  • ทำ exit interview เมื่อพนักงานลาออก

          สาขาที่ต้องการ ได้แก่ จิตวิทยา จิตวิทยาอุตสาหกรรม รัฐศาสตร์ เอกบริหารรัฐกิจ เอกการปกครอง รัฐประศาสนศาสตร์ บริหารธุรกิจ เอกบริหารทรัพยากรมนุษย์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง

2. งานแรงงานสัมพันธ์

  • ดูแลกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ภายในองค์กรต่าง ๆ ของพนักงาน เช่น การแข่งกีฬาพนักงาน การจัดการท่องเที่ยวประจำปี การจัดงานเลี้ยงปีใหม่ เป็นต้น
  • ตักเตือน ลงโทษพนักงานกรณีที่ทำผิดกฎระเบียบของบริษัท
  • ประสานงานระหว่างสหภาพแรงงานกับบริษัท และดูแลเรื่องกฎหมายแรงงาน
  • สร้างวัฒนธรรมองค์กรให้น่าทำงานและน่าอยู่ด้วย
  • ดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงาน

          สาขาที่ต้องการ ได้แก่ จิตวิทยา จิตวิทยาอุตสาหกรรม รัฐศาสตร์ เอกบริหารรัฐกิจ เอกการปกครอง รัฐประศาสนศาสตร์นิติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ นิเทศศาสตร์ จป. มนุษยศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง

3. งานบริหารค่าจ้าง และผลตอบแทน

  • รับผิดชอบงานด้านผลประโยชน์ของพนักงาน เช่น เงินเดือน โบนัส ประกันสังคม ภาษี สวัสดิการต่าง ๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล เบี้ยขยัน ค่าน้ำมัน ประกันอุบัติเหตุ ประกันชีวิต ค่าล่วงเวลา ชุดยูนิฟอร์ม การตรวจสุขภาพประจำปี ฯลฯ
  • บันทึกสถิติการขาดลา มาสาย และบันทึกค่าแรงของพนักงานทุกเดือน เพื่อนำไปสรุปส่งภาษีประจำปี
  • การปรับค่าจ้าง และผลประโยชน์ของพนักงานและขององค์กร

          สาขาที่ต้องการ ได้แก่ บริหารทรัพยากรมนุษย์ บริหารธุรกิจ จิตวิทยา จิตวิทยาอุตสาหกรรม รัฐศาสตร์ บัญชีการเงิน เศรษฐศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง

4. งานพัฒนาบุคลากรและฝึกอบรม

  • วางแผนการอบรมพัฒนา ทำสถิติ ความต้องการในการจัดอบรม การหาและกำหนดตัวของวิทยากรที่ให้ความรู้
  • จัดฝึกอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะพนักงาน

          สาขาที่ต้องการ ได้แก่ บริหารทรัพยากรมนุษย์ จิตวิทยา จิตวิทยาอุตสาหกรรม รัฐศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง

5. งานบุคคลอื่น ๆ

  • งานพัฒนาระบบประเมินผลการปฎิบัติงานของพนักงาน เช่น  งานประเมิน KPIs ระบบความสามารถ competency ระบบ Balanced Scorecard รวมถึง iso และอื่น ๆ
  • งานด้านระบบข้อมูลสารสนเทศพนักงาน งานวิเคราะห์และประเมินผลข้อมูลเชิงสถิติ
  • งานด้านการวางแผนกลยุทธ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายขององค์กร

          สาขาที่ต้องการ ได้แก่ วิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์สาขาสถิติ และสาขาที่เกี่ยวข้อง

          หากคุณสนใจงานด้านนี้จริง ๆ แต่ไม่ได้เรียนมาโดยตรง หรืออยากเปลี่ยนสายงาน ไม่ว่าคุณจะจบจากสาขาไหน โอกาสมีอยู่เสมอ หากคุณพยายามชี้จุดแข็งของตัวเองให้ชัดเจนในวันสัมภาษณ์งาน เชื่อมโยงทักษะที่คุณมีให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าคุณมีความสามารถเพียงพอที่จะ รับผิดชอบงานได้ โอกาสที่จะคว้างานที่ใฝ่ฝันย่อมไม่เกินความตั้งใจจริงของคุณ

แนะนำงาน HR ที่น่าสนใจ

งานสรรหาบุคลากร

งานแรงงานสัมพันธ์

งานบริหารค่าจ้าง

งานฝึกอบรม

งานบุคคลอื่น ๆ

นักทรัพยากรบุคคล ต้องจบอะไร

ช่องทางการเข้าสู่อาชีพการทำงาน HR ที่ตรงกับความต้องการของนายจ้างมากที่สุด คือการเรียนจบในคณะต่าง ๆ ดังนี้ คณะศิลปศาสตร์ (เอกจิตวิทยา/เอกจิตวิทยาอุตสาหกรรม) คณะรัฐศาสตร์ (เอกบริหารรัฐกิจ/เอกการปกครอง/เอกรัฐประศาสนศาสตร์) คณะพาณิชยศาสตร์ (เอกบริหารทรัพยากรมนุษย์) คณะและสาขาวิชาดังที่กล่าวมา จะสอนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ ...

ทรัพยากรมนุษย์ คณะอะไร

(Human Resource Administration) ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.B.A. (Human Resource Administration) การจัดการเรียนการสอน จัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ และความเชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ โดยมีกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เรียน เช่น กิจกรรมธุรกิจจำลอง การศึกษาดูงาน เป็นต้น

ทำไมถึงเลือกเรียนสาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์

1. เพื่อสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในองค์กร (Recruitment and Selection) 2. เพื่อใช้ศักยภาพของพนักงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Utilization) 3. เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรให้ก้าวหน้า (Development) 4. เพื่อบำรุงรักษาพนักงานที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์กรนานๆ (Maintenance)

การจัดการธุรกิจและทรัพยากรมนุษย์เรียนเกี่ยวกับอะไร

Human Resource Management (HRM) สาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ ออกแบบ และประเมินระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร รายวิชาที่จะได้เรียนเช่นเรื่องของพฤติกรรมองค์กร ความสัมพันธ์แรงงาน การสรรหาและคัดเลือกบุคลากร สวัสดิการและเงินเดือน การจัดการฝึกอบรม รวมไปถึงกฎหมายการจ้างงาน ครอบคลุมทั้ง HR เลยก็ว่าได้