คณะจิตรกรรม จบมาทํางานอะไร

เรียนศิลปะจบแล้วไปทำอะไรกิน...

คณะจิตรกรรม จบมาทํางานอะไร
หมื่นแดด /2538 / สีอะครีลิคบนผ้าใบ

เรียนศิลปะจบแล้วไปทำอะไรได้บ้าง                         

อนันต์  ประภาโส

          ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางแล้วว่า  การประกอบอาชีพทางด้านศิลปะได้ขยายตัวออกไปในทุกวงการและทุกกิจการ  ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทไหนต่างก็ต้องใช้คนที่มีความรู้ด้านศิลปะเป็นส่วนหนึ่ง  ตำแหน่งหนึ่ง  หรือแผนกหนึ่งของกิจการนั้นๆ  เพื่อช่วยในเรื่องธุรกิจการขายหรือการบริการต่าง ๆ  ให้คล่องแคล่วกว้างขวางขึ้น  เพราะคนที่เรียนทางด้านศิลปะมามักจะเป็นคนที่มีความคิดและไอเดียในการออกแบบและรู้จักค้นหาวิธีล่อใจให้ลูกค้าสนใจที่จะซื้อหาสินค้านั้นๆ  หรือเกิดความสนใจที่จะใช้บริการต่าง ๆ  ที่มีศิลปะในการเสนอที่ดี  โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่มีการแข่งขันกันมากมายหลายยี่ห้อยิ่งจำเป็นจะต้องใช้วิธีการทางศิลปะนำเสนอให้ลูกค้าตัดสินใจเลือก  หรือบริการของตนมากขึ้น

          เราก็เลยยกโขยงไปเรียนศิลปะกันมากมาย  สถาบันต่างๆ  ก็มีคณะวิชาศิลปะให้เลือกเรียนกันมากขึ้น  จำนวนคนเรียนศิลปะมีมากขึ้นทุกปีจนหลายคนชักเป็นห่วงกันแล้วว่า       จบออกไปแล้วจะต้องไปเตะฝุ่นเหมือนคนที่จบสาขาอื่นๆ  หรือเปล่า...

          เมื่อวงการธุรกิจมีความต้องการ  ฝ่ายศิลปะ-ออกแบบ  มากขึ้นตามความเติบโตของสังคมและการแข่งขัน  การเรียนวิชาชีพศิลปะจึงเป็นเรื่องเชิดหน้าชูตาไม่แพ้วิชาชีพอื่นๆ  เท่านั้นยังไม่พอเราสามารถเลือกเรียนวิชาชีพศิลปะได้มากมายหลายสาขาโดยไม่ต้องมาแย่งอาชีพเดียวกันอีกด้วย

          และเพราะวงการศิลปะมันกว้างอย่างนี้เอง  ถึงแม้จะมีคนเรียนศิลปะมากมายก็ยังหาคนตกงานไม่ได้  (ยกเว้นคนไม่ยอมทำงาน  หรือเลือกงานมากเกินไปนะ  อย่างนั้นเขาไม่เรียกว่าตกงาน)  ดังนั้นคำพูดที่ว่า  เรียนศิลปะแล้ว  จบออกไปก็ต้องเป็นศิลปินไส้แห้ง  จึงไม่มีใครคิดจะพูดอีกต่อไป  เพราะมันเชยมากและคำตอบที่สำคัญที่สุดว่าเรียนศิลปะไปทำไม  หรือทำไมต้องเรียนศิลปะก็คือ...คุณอยากเรียน...

          เรียนศิลปะจบแล้วไปทำอะไรกิน...นี่คืออีกคำถามหนึ่งที่ส่วนใหญ่แล้วพ่อแม่ผู้ปกครองของเรามักจะเป็นผู้ถามเสียมากกว่า  สมัยที่ผมเรียนจบชั้นมัธยมต้นใหม่ ๆ และบอกทางบ้านว่าจะเรียนต่อทางด้านศิลปะ  คำถามแรกที่แม่ถามก็คือ  แล้วแกจะไปทำอะไรกิน  แน่นอนว่าสมัยนั้นเราคงจะหาคำตอบดีๆให้กับทางบ้านไม่ได้แน่  เพราะวงการศิลปะบ้านเรายังแคบมากบริษัทโฆษณาก็ยังไม่มีมาก  ศิลปินเศรษฐีอย่างพี่เฉลิมชัยก็ยังไม่มีให้เห็นเป็นตัวอย่าง  คอมพิวเตอร์กราฟฟิคก็ยังไม่มีสมัยนั้นยังไม่มีอะไรเลยนอกจากกระดาษ  สี  ปากการอตติ้ง  ไม้ที...แค่นี้เราทำงานกันได้สบายแล้ว  แต่ปัจจุบันนี้เรามีคำตอบดี ๆ  ให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้มากมายหลายคำตอบ  จนบางครอบครัวถึงกับโทรมาปรึกษาผมด้วยซ้ำไปว่า  อยากให้ลูกเรียนทางด้านศิลปะจะต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

          สมัยที่ผมเรียนศิลปากรปีหนึ่งก็เห็นรุ่นพี่รับงานจ๊อบมาทำกันโครมๆ เราก็สงสัยว่าเขาไปเอางานที่ไหนมาทำ  ใครหนอช่างไว้ใจจ้างนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบให้ทำงาน  พี่ ๆ  เขาต้องเก่งกันมาก ๆ  เลยจึงมีคนมาจ้างวาดรูป  จ้างปั้นรูป  จ้างออกแบบ  ฯลฯ  แต่พอเรากระเถิบขึ้นมาอยู่ปี  3  ปี  4  มั่งก็มีคนมาจ้างเราเหมือนกัน  เรียกว่ามีงานให้ลองทำตั้งแต่ยังเรียนไม่จบแสดงว่าตลาดแรงงานด้านศิลปะนั้นกว้างขวางมาก  พวกเราชาวศิลป์ทั้งหลายคุ้นเคยกับการติดต่อ-ทำงานมาตั้งแต่ยังเรียนอยู่และส่งผลต่อเนื่องมาจนจบการศึกษา  ทำให้เป็นคนที่  ทำงานเป็น  อีกด้วย  ทีนี้พอเรียนจบออกมาจริง ๆ  ละ  เราจะไปทำอะไรกัน  ต่อไปนี้คือการงานอาชีพที่น้อง ๆ  สามารถจะออกไปทำงานได้  เมื่อเรียนจบสายศิลปะ-ออกแบบ

          1.  เป็นศิลปินอิสระ  ผลิตผลงานขาย  เช่น  ภาพเขียน  ภาพประดับผนัง  รูปปั้นต่างๆ  ภาพพิมพ์  หรืองานศิลปะอื่น ๆ  อันก็มีตัวอย่างของผู้ที่ประสบความสำเร็จให้เราได้เห็นกันแล้วว่า  เป็นศิลปินไม่จำเป็นต้องไส้แห้ง  เช่น  ศิลปินเฉลิมชัย  โฆษิตพิพัฒน์  อาจารย์ประเทือง  เอมเจริญ  อาจารย์ถวัลย์  ดัชนี  ฯลฯ  และอีกมากมาย

          2.  เป็นช่างฝีมือ  ผลิตของใช้ต่าง ๆ  ออกขาย  เช่น  เครื่องหนัง  ผ้าบาติก  ตุ๊กตาที่ระลึก  งานกระดาษ  (เปเปอร์มาเช่)  ของกระจุกกระจิกสวย ๆ  งาม ๆ  ที่เป็นหัตถกรรม

          3.  เป็นนักเขียนภาพประกอบตามนิตยสาร  หนังสือต่าง ๆ  เช่น  อาจารย์เกริกบุระ  ยมนาค  นพดล  ขาวสำอางค์

4.  เป็นนักออกแบบตกแต่งภายใน  อาคารบ้านเรือนและสำนักงานต่าง ๆ 

5.  เป็นนักออกแบบสิ่งแวดล้อม  เช่น  จัดสวน  สนามหญ้า  สื่อต่าง ๆ  ที่ใช้ในสาธารณะ

6.  เป็นนักคิดโฆษณา  (CREATIVE) 

7.  เป็นนักออกแบบโฆษณา

8.   เป็นนักเขียนคำโฆษณา  (COPPY  WRITER)

9.     เป็นครู  อาจารย์สอนศิลปะ

10.  เป็นนักเขียน  (เช่น  ชาติ  กอบกิตติ  วานิช  จรุงกิจอนันต์)

11.  เป็นนักวิจารณ์ศิลปะ  วัฒนธรรม  บันเทิงคดี

12.  เป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์  เช่น  โต๊ะ  เก้าอี้  เครื่องเรือนต่าง ๆ  เครื่องใช้ไฟฟ้า  ฯลฯ

13.  เป็นนักออกแบบเซรามิค  (เครื่องเคลือบ  เครื่องปั้นดินเผา)

14.  เป็นช่างภาพ  นักถ่ายรูปประเภทข่าว  ภาพแฟชั่น  สารคดี  หรือถ่ายภาพสร้างสรรค์

15.  เป็นนักออกแบบจัดรูปเล่มหนังสือ  ทำอาร์ตเวิร์ค  ออกแบบหนังสือและสิ่งพิมพ์

ต่าง ๆ

16.   เป็นนักออกแบบแฟชั่น  เสื้อผ้า  เครื่องประดับต่าง ๆ 

17.   เป็นนักออกแบบเครื่องหมายการค้า  ดวงตราต่าง ๆ 

18.  เป็นนักออกแบบหีบห่อ  เช่น  ซองบุหรี่  กล่องใส่ขนม  กระป๋อง  ฉลากยา  แชมพู 

และ  ฯลฯ

19.  เป็นนักเขียนการ์ตูน ภาพล้อ  ภาพคนเหมือน

 20.  เป็นข้าราชการฝ่ายศิลปะ

เหนื่อยไหมครับ...นี่เขียนเท่าที่นึกออกตอนนี้เท่านั้นนะ  ทีนี้เชื่อหรือยังว่าเรียนศิลปะจบแล้วไม่อดตาย

แล้วอย่ามาถามอีกนะว่า  เรียนศิลปะไปทำไม...?

          ^_^

ภาพพิมพ์ ทํางานอะไร

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา รับราชการฝ่ายศิลป์ ช่างศิลป์ เจ้าของกิจการโรงพิมพ์ ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ พนักงานบริษัทฝ่ายศิลป์ โฆษณา ออกแบบฯ นักพัฒนาวิชาชีพทางศิลปะภาพพิมพ์ ศิลปกรรมประยุกต์

ประติมากรรม ทํางานอะไร

ประติมากรรม เป็น งานศิลปะที่สร้างขึ้นด้วยการจัดองค์ประกอบความงามลงบนสื่อต่างๆ เช่นการปั้น การแกะสลัก การหล่อ ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ ฯลฯ เพื่อเป็นสื่อที่สามารถบอกเล่าถึงวัตถุประสงค์ที่นักประติมากรต้องการจะสื่อ

เรียนศิลปะ เข้าคณะอะไรได้บ้าง

แนะนำ 5 คณะยอดฮิตของเด็กสายศิลป์.
ออกแบบภายใน (Interior Design).
นิเทศศิลป์ (Commercial Design).
ออกแบบเครื่องแต่งกาย (Fashion Design).
สถาปัตยกรรม (Architecture Design).
จิตรกรรม / วิจิตรศิลป์ (Fine Art).

งานศิลปกรรมมีอะไรบ้าง

โดยถ้าจะแบ่งประเภทของงานศิลปกรรมอาจจะแบ่งประเภทของงานศิลปกรรมอาจจะจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทคือ.
วาดเส้น (Drawing) ... .
จิตรกรรม (Painting) ... .
ประติมากรรม (Sculpture).