โรมิโอแอนจูเรียส เมืองอะไร

นางในวรรณคดี พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

จูเลียต: นางเอกในโศกนาฏกรรมแบบเชคสเปียร์

ผู้เขียน สายป่าน ปุริวรรณชนะ
บรรณาธิการ ชนัญญา เตชจักรเสมา

เมื่อกล่าวถึง “จูเลียต” นางเอกในพระราชนิพนธ์เรื่อง โรเมโอและจูเลียต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลมาจากวรรณกรรมบทละครโศกนาฏกรรม Romeo and Juliet ของวิลเลียมส์ เชคสเปียร์ (Williams Shakespeare) มหากวีชาวอังกฤษในช่วงสมัยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ ๑ แน่นอนว่าทุกคนต้องนึกถึงเรื่องราวความรักอันจบลงด้วยความตายของนางกับโรเมโอ ชายคนรักผู้เป็นทายาทของตระกูลคู่อริ

ชะตากรรมน่าสลดใจของทั้งคู่เริ่มต้นจากวันที่โรเมโอแห่งตระกูลมอนตะคิวได้เข้าร่วมงานเลี้ยงของตระกูลคาปูเล็ตแล้วเผอิญได้พบกับจูเลียตลูกสาวของตระกูลดังกล่าวและเกิดความรักต่อกัน คืนนั้นโรเมโอจึงลักลอบเข้าไปในอุทยานของคฤหาสต์คาปูเล็ต เช่นเดียวกับที่จูเลียตออกมารำพึงถึงโรเมโออยู่ริมระเบียงห้องนอน นำไปสู่การฝากคำพันรักโต้ตอบกันซึ่งกลายเป็น “ฉากประทับใจ” ของเรื่อง โดยเฉพาะ “บทสาบานรัก” อันลึกซึ้งคมคาย

ต่อมาแม้ว่าทั้งสองจะลักลอบสมรสกันอย่างลับๆ ทว่าเมื่อโรเมโอพลั้งมือฆ่าญาติของจูเลียตจนทำให้ต้องโทษเนรเทศออกจากเมืองเวโรนา จูเลียตจึงจำต้องเข้าพิธีสมรสกับปารีสคู่หมายเดิม เช้าวันนั้นนางจึงตัดสินใจดื่มยาที่ทำให้หมดสติเสมือนตายไปชั่วคราวเพื่อแก้ปัญหา เมื่อโรเมโอกลับมาพบนางก็เข้าใจว่าหญิงผู้เป็นที่รักตายแล้วจริงๆ โรเมโอจึงดื่มยาพิษฆ่าตัวตายด้วยความเสียใจ ส่วนจูเลียตเมื่อฟื้นขึ้นมาพบว่าโรเมโอตายไปแล้วจึงใช้มีดสั้นที่ชายคนรักพกติดตัวแทงตัวเองถึงแก่ชีวิต ฝ่ายตระกูลมอนตะคิวและคาปูเล็ตเห็นลูกหลานต้องมาสิ้นชีพบูชาความรักก็สลดใจ เลิกเป็นอริต่อกันแต่นั้นมา

ในการพระราชนิพนธ์แปลบทละครเรื่องโรเมโอและจูเลียตนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชาธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า “ในการประพนธ์คำกลอนภาษาไทยในเรื่องลครนี้ ฃ้าพเจ้าตั้งใจให้ใกล้สำนวนโวหารเดิมของเชกสเปียร์” ทั้งยังตั้งพระราชหฤทัยให้ผู้รู้ได้สอบทานบทพระราชนิพนธ์กับบทประพันธ์เดิมของเชคสเปียร์ด้วย จนอาจกล่าวได้ว่าทรงพยายามจะรักษาทั้ง “เรื่องราว” และ “ลีลา” ของสำนวนทรงแปลให้เป็นไปตามต้นฉบับเดิมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ดังนี้แล้ว “จูเลียต” ในพระราชนิพนธ์จึงเรียกได้ว่าเป็นการถ่ายทอดบุคลิกของนางเอกผู้นี้จากบทละครของเชคสเปียร์ออกมาอย่างตรงไปตรงมา กล่าวคือ เป็นสาวงามวัยแรกรุ่นดรุณีผู้ไม่เคยรักใครมาก่อน จนเมื่อได้พบกับโรเมโอผู้เป็นทั้งรักครั้งแรกและรักแรกพบ ความรักนั้นจึงเข้มข้นรุนแรงจนลืมอาลัยแก่ชีวิต กระทั่งจูเลียตถึงแก่เอ่ยปากออกมาเองหลังจากที่เพิ่งพบกันทว่ายังไม่รู้จักว่าโรเมโอเป็นใครว่า “แม้ภรรยาของเฃามี หลุมศพของฃ้านี้จะแทนแท่นนอนอาวาห์” ต่อเมื่อรู้ว่าโรเมโอเป็นคนตระกูลมอนตะคิว นางก็ยังแสดงความปรารถนาในตัวเขาถึงขั้นสละได้แม้ตัวตนและตระกูลของตนเอง

		จูเลียต:	โอ้โรเมโอ! อ้า, เธอเปนโรเมโอไย? 
			ตัดขาดจากบิดา และแปลงนามเสียเป็นไร; 
			หรือเธอยอมมิได้. ขอเพียงปฏิญญารัก, 
			แล้วฃ้าจะเลิกเปนคาปูเล็ตด้วยใจภักดิ์

ในขณะเดียวกันก็ไม่ใส่ใจถือเอาเรื่องชาติตระกูลของโรเมโอมาเป็นข้อจำกัดของความรักที่มีต่อเขา

		จูเลียต:	นามเธอเท่านั้นหนอที่นับว่าเปนอรี; 
			เธอเปนตัวเธอนี่, มิใช่มอนตะคิวนา.
			ใดเปนมอนตะคิว? ไม่ใช่หัตถ์หรือบาทา,
			หรือแขน, หรือใบหน้า, หรืออวัยวะใด
			ที่เปนของบุรุษ. เปนนามอื่นเถิดเปนไร!-

ยิ่งเมื่อจูเลียตและโรเมโอรู้ว่าต่างมีใจตรงกัน ความเข้มข้นรุนแรงของอารมณ์รักจึงยิ่งเพิ่มเป็นทวีคูณจนกลายเป็นความปักใจมั่นถึงกับลักลอบสมรสกันเอง ความรักปักใจอย่างลึกซึ้งมั่นคงประกอบกับความรู้สึกว่าตนเองได้สมรสกับโรเมโอแล้วได้กลายเป็นแรงขับดันให้จูเลียตไม่เพียงแต่จะกล้าเสี่ยงกินยาที่ทำให้หมดสติเสมือนตายเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งความโศกสาหัสจนตัดสินใจเลือกตายตามโรเมโอไปในที่สุด

หากผู้มีความรู้ด้านวรรณคดีและภาษาอังกฤษได้มีโอกาสอ่านพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนี้เทียบกับต้นฉบับของเชคสเปียร์ จะพบว่าพระองค์ทรงถ่ายทอด “รสวรรณคดี” ทั้งความรัก ความสุข และความโศกออกมาได้อย่างงดงามไม่ผิดเพี้ยนจากสำนวนเดิม ด้วยเหตุนี้ “จูเลียตของเชคสเปียร์” จึงปรากฏกายให้คนไทยได้รู้จักผ่านบทพระราชนิพนธ์ได้อย่างสมบูรณ์


บรรณานุกรม

ภาษาไทย
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. โรเมโอและจูเลียต ของวิลเลียมส์ เชคส์เปียร์ สมเด็จพระรามาธิบดี
	ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ทรงแปลและประพนธ์เป็นภาษาไทย. กรุงเทพฯ: 
	โรงพิมพ์ไทเขษม พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรชายา
	ในรัชกาลที่ ๖ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๑๙, 
	๒๕๑๙.
	
ภาษาอังกฤษ
Bullen, Arthur Henry (editor). The Complete Works of Williams Shakespeare. London: 
	CRW Publishing Limited, 2005. 
		
เชิญพบกับจูเลียตได้ใน โรเมโอและจูเลียต ฉบับดิจิทัลออนไลน์เปิดอ่านได้ฟรี
โรมิโอแอนจูเรียส เมืองอะไร

http://eresource.car.chula.ac.th/chula-ebooks/redirect.php?name=K6-00006

โรมิโอและจูเลียต

โรมิโอแอนจูเรียส เมืองอะไร

โรมิโอและจูเลียต (อังกฤษ: Romeo and Juliet) เป็นละครโศกนาฏกรรมประพันธ์โดย วิลเลียม เชกสเปียร์ แต่งในปี ค.ศ. 1595 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแปลเป็นภาษาไทยและจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2465

เนื้อเรื่องเกี่ยวกับเรื่องราวความขัดแย้งของสองตระกูล คือ ตระกูล มอนตะคิว และ คาปุเล็ต ในเมืองเวโรนา ซึ่งระบุชัดเจนความขัดแย้งของสองตระกูลชัดเจนในตอนต้นของบทละครว่า

โรมิโอแอนจูเรียส เมืองอะไร

สองตระกูลใหญ่ซึ่งมีเกียรติยศเสมอกัน
ณ เมืองเวโรนาอันเป็นฉากแห่งเรื่องนี้
ต่างสั่งสมความแค้นมาแต่หนหลัง ก่อให้เกิดโทสะใหม่
จนญาติวงศาพากันนองเลือดทั้งสิ้น

เรื่องนี้เกิดขึ้น ณ เมืองเวโรนา ได้มี 2 ตระกูลใหญ่ คือ ตระกูลคาปุเล็ตและมอนตะคิวซึ่งไม่ถูกกันมาช้านาน

เรื่องเริ่มขึ้นเมื่อโรมิโอแห่งตระกูลมอนตะคิวได้แอบแฝงกายเข้าไปในงานเลี้ยงของตระกูลคาปุเล็ต และได้พบกับจูเลียต เพียงทั้งคู่สบตากันทั้งคู่ก็ตกหลุมรักกัน แต่กลับมีอุปสรรคเพราะความบาดหมางกันของทั้ง 2 ตระกูล โรมิโอกับจูเลียตจึงได้จัดการแต่งงานแต่งงานกันอย่างลับๆ

วันหนึ่งเมอร์คิวชิโอ เพื่อนรักของโรเมโอเกิดการทะเลาะกับน้องชายของจูเลียตและน้องชายของจูเลียตก็ได้ฆ่าเพื่อนรักของโรเมโอตาย โรเมโอโกรธมากจึงได้พลั้งมือฆ่าน้องชายของจูเลียตตาย

โรเมโอจึงได้รับคำตัดสินให้เนรเทศออกนอกเมืองตลอดกาล จูเลียตรู้เรื่องจึงกินยาวิเศษที่ทำให้เหมือนตายแล้วแต่จริงๆ ยังไม่ตาย โรเมโอรู้เรื่องเข้าใจว่าจูเลียตตายจริงๆ จึงเสียใจมากจึงฆ่าตัวตาย พอจูเลียตรู้เรื่องจูเลียตก็ฆ่าตัวตายตามโรเมโอ บิดามารดาทั้งสองฝ่ายมากถึงก็โศกเศร้ามาก จึงตกลงจะเลิกวิวาทบาดหมางกันต่อไป

โรมิโอแอนจูเรียส เมืองอะไร

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube


วิดีโอ YouTube