การเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนาอยู่ในพิธีใด

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์

การเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนาอยู่ในพิธีใด

เวียนเทียน : คำวัด โดยพระธรรมกิตติวงศ์

              

วันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา ที่พุทธศาสนิกชนนิยมประกอบพิธีกรรม มีการบูชาเพื่อระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเป็นพิเศษ แต่เดิมกำหนดไว้สามวัน คือ วันวิสาขบูชา วันอัฏฐมีบูชา และวันมาฆบูชา ต่อมาได้เพิ่มวันอาสาฬหบูชา เข้ามาอีกวันหนึ่ง รวมเป็นสี่วัน นอกเหนือไปจากประชุมทำวัตร สวดมนต์ และฟังเทศน์ การบูชาพิเศษในวันสำคัญทั้งสี่วันดังกล่าวแล้ว คือ การเวียนเทียน

               พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทั้งสี่วัน มีระเบียบปฏิบัติเหมือนกัน ต่างกันแต่คำบูชาก่อนเวียนเทียนเมื่อถึงเวลากำหนด ทางวัดจะตีระฆังสัญญาณให้พุทธบริษัท ทั้งภิกษุสามเณร อุบาสก และอุบาสิกา ประชุมพร้อมกันที่หน้าพระอุโบสถหรือลานพระเจดีย์ อันเป็นหลักของวัดนั้นๆ พระภิกษุอยู่แถวหน้า ถัดไปเป็นสามเณร ท้ายสุดเป็นอุบาสก อุบาสิกา เมื่อพร้อมแล้วทุกคนจุดเทียนและธูป จากนั้นถือดอกไม้ธูปเทียนประนมมือ หันหน้าเข้าหาปูชนียสถานที่จะเวียนนั้น

               พิธีการเวียนรอบปูชนียวัตถุหรือปูชนียสถานเพื่อเป็นการแสดงความเคารพนั้น ไทยได้รับคตินี้มาจากอินเดียพร้อมกับพระพุทธศาสนา โดยปรากฏหลักฐานการแสดงความเคารพโดยการเวียนเทียนในพระไตรปิฎก ซึ่งใช้คำว่าเวียนประทักษิณาวัตร คือ เวียนขวา ๓ รอบ เป็นเครื่องหมายถึงการแสดงออกซึ่งการเคารพบูชาต่อสิ่งนั้นๆ อย่างสูงสุด

               ประเทศไทยได้รับคตินิยมนี้มาและปรับประยุกต์ให้เข้ากับพื้นฐานทางวัฒนธรรมของไทยโดยนำมาใช้เป็นการแสดงความบูชาต่อพระรัตนตรัยมาตั้งแต่โบราณ มีหลักฐานปรากฏเป็น "ฐานประทักษิณ" สำหรับการกระทำพิธีเวียนเทียน ในโบราณสถานทางศาสนา มาตั้งแต่สมัยทวารวดี รวมทั้งปรากฏข้อความในพงศาวดารว่ามีการกระทำพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนาสืบมาจนถึงปัจจุบัน

               คำว่า "เวียนเทียน" พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายไว้ว่า การที่พุทธศาสนิกชน ถือดอกไม้ธูปเทียนจุดธูปเทียนแล้วประนมมือเดินเวียนขวา ที่เรียกว่า ทำประทักษิณ รอบปูชนียวัตถุในวัด หรือในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง จำนวน ๓ รอบ

               ในขณะที่เวียนเทียนนิยมสำรวม กาย วาจา ให้สงบเรียบร้อย ส่งใจระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย โดยรอบที่ ๑ ระหว่างเดินเวียนพึงตั้งใจระลึกถึงพระพุทธคุณ โดยนัยบท อิติปิโส ภควา ในรอบที่ ๒ ระลึกถึงพระธรรมคุณ โดยนัยบท สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ฯลฯ  รอบที่ ๓ ระลึกถึงพระสังฆคุณ โดยนัยบท สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ

               เมื่อครบสามรอบแล้ว นำดอกไม้ธูปเทียนไปวางบูชาไว้ตามที่ที่ได้เตรียมไว้ ต่อจากนั้นจึงเข้าไปประชุมพร้อมกันในพระอุโบสถ วิหาร หรือศาลาการเปรียญ เริ่มทำวัตรค่ำ และสวดมนต์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ อย่างพิธีกรรมวันธรรมสวนะธรรมดา เสร็จแล้วมีเทศน์พิเศษที่เกี่ยวกับวันสำคัญนั้นๆ ๑ กัณฑ์ เป็นอันเสร็จพิธี

ศาสนพิธีของศาสนาพุทธ

ศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาและหน้าที่ชาวพุทธ

การเวียนเทียน ขั้นตอนการเวียนเทียน

การเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนาอยู่ในพิธีใด

เวียนเทียนเพื่อประกาศเกียรติคุณเทิดทูนพระคุณสมบัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

การเวียนเทียน

    การเวียนเทียน คือ การถือดอกไม้ธูปเทียนที่จุดแล้วเวียนขวา (เวียนประทักษิณ โดยให้สิ่งที่เวียนอยู่ทางขวามือของตน) รอบปูชนียวัตถุหรือปูชนียสถาน 3 รอบ ด้วยอาการสำรวมเคารพพร้อมทั้งน้อมใจระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในขณะนั้นด้วยเป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัยด้วยกาย วาจา และใจ อย่างสูงสุด จัดเป็นบุญกิริยาอย่างหนึ่ง

การเวียนเทียนมีความมุ่งหมายดังนี้

     ที่ท่านกำหนดให้มีพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนาขึ้นนั้นก็เพื่อประกาศเกียรติคุณ เทิดทูนพระคุณสมบัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้สมกับที่พระองค์เป็นพระศาสดาของเทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพื่อเป็นการเตือนใจพุทธศาสนิกชนให้ซาบซึ้งในพระคุณสมบัติของพระองค์และพระรัตนตรัย เจริญภาวนามัยกุศลอีกส่วนหนึ่ง ดังปรากฏตามความในประกาศคณะสงฆ์ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พุทธศักราช 2496 ใจความว่า

“การเวียนเทียนที่เรียกว่าทำประทักษิณนั้น มีความมุ่งหมายให้แสดงความเคารพต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาของพุทธศาสนิกชนทั้งปวง ด้วยการเดินให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เบื้องขวาของตน และสำรวมใจนึกถึงพระคุณของพระองค์ วาจาบริกรรมคือกล่าวพระคุณของพระองค์ตลอดเวลาที่เวียนเทียน มือถือเครื่องสักการบูชา ถือธูปเทียนดอกไม้ประนมเสมออก เพื่อให้จิตใจของตนอยู่กับพระ ไม่ส่งใจไปสู่ที่อื่นซึ่งมิใช่สิ่งที่ตนเคารพบูชาหรือมิใช่สรณะที่พึ่งสูงสุดของตน การเวียนเทียนนี้เป็นการแสดงความเคารพบูชาตามหลักวัฒนธรรมของไทย เป็นระเบียบที่นิยมปฏิบัติกันมาแต่โบราณกาล”

การบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มุ่งหมายให้ทำในวันเวียนเทียนนั้นมี 2 อย่างคือ

1. อามิสบูชา บูชาด้วยสิ่งของ เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เป็นต้น

2. ปฏิบัติบูชา บูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น เสียสละ ให้ทาน รักษาศีล เว้นจากการทำความชั่วทุจริต เว้นจากการเบียดเบียนกัน งดเว้นจากอบายมุขทางแห่งความวิบัติทั้งหลาย ไม่เสพสุรายาเมา ไม่เล่นการพนัน ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต งดเว้นจากการเที่ยวเตร่เฮฮา เว้นจากความฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย เป็นต้น เมื่อเว้นแล้วก็อบรมจิตใจ ให้สงบ ให้นิ่งด้วยการเจริญภาวนาทำสมาธิ หรือฟังธรรม อ่านหนังสือธรรม สนทนาธรรมเพื่อให้เกิดปัญญา เป็นต้น

การเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนาอยู่ในพิธีใด

การเวียนเทียนบูชาพระรัตนตรัยย่อมเกิดผลดีต่อผู้กระทำ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเวียนเทียน

    การได้บูชาพระรัตนตรัยด้วยการเวียนเทียนก็ดี ด้วยการปฏิบัติบูชาตลอดวันนั้นก็ดี ย่อมเกิดผลดีต่อผู้กระทำเอง คือ

1. ได้ชื่อว่าเป็นศาสนิกที่ดี ปฏิบัติกิจทางศาสนาตามหน้าที่ที่พึงทำ แสดงถึงความไม่ย่อหย่อนทางจิตใจและศรัทธาต่อพระศาสนา

2. ได้รับความแช่มชื่นเบิกบานใจหลังจากได้ประกอบพิธีในวันนั้นแล้ว

3. ได้สั่งสมบุญบารมีอันเกิดจากการให้ทาน รักษาศีลและเจริญภาวนา อันจะส่งผลให้ได้รับโภคสมบัติ รูปสมบัติ และปัญญาสมบัติสืบไป

4. ได้ทำชีวิตตนให้มีค่ายิ่งขึ้นด้วยการงดเว้นจากอบายมุข มุ่งปฏิบัติธรรมความดีเพิ่มพูนยิ่งขึ้น

5. ได้ชื่อว่าได้บูชาพระรัตนตรัยด้วยการบูชาอย่างยิ่งย่อมได้มงคลในชีวิตตลอดไป

วันสำคัญทางศาสนาวันสำคัญทางศาสนาที่นิยมทำพิธีเวียนเทียนนั้น ท่านกำหนดไว้ 4 วัน คือ

     1. วันวิสาขบูชา

     2. วันอัฐมีบูชา

     3. วันมาฆบูชา

     4. วันอาสาฬหบูชา

ระเบียบปฏิบัติในการเวียนเทียน

- เมื่อวันสำคัญนั้นๆ เวียนมาถึง ให้ทางวัดประกาศให้พระภิกษุสามเณรและชาวบ้านทราบทั่วกันว่าจะประกอบพิธีเวียนเทียนในวันไหน เวลาเท่าไร และสถานที่ไหน

- เมื่อถึงเวลากำหนด ทางวัดให้สัญญาณระฆังประชุมพระภิกษุสามเณร ทายกทายิกา พร้อมกันที่อุโบสถหรือศาลาการเปรียญแล้วแต่จะกำหนด

- เพื่อรอเวลาให้ชาวบ้านมาพร้อมกัน พระภิกษุสามเณรควรทำวัตรเย็นและสวดพระสูตรที่เกี่ยวกับวันสำคัญนั้นๆ ไปก่อน จบแล้วอาจให้ทายกทายิกาทำวัตรเย็นต่อก็ได้

การเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนาอยู่ในพิธีใด

การเวียนเทียนคือการถือดอกไม้ธูปเทียนที่จุดแล้วเวียนขวารอบปูชนียวัตถุหรือปูชนียสถาน 3 รอบ

- โดยทั่วไปจะมีพระธรรมเทศนาหรือปาฐกถาอธิบายพระสูตรที่สวดในวันนั้นหลังจากเสร็จเวียนเทียนแล้ว แต่ปรากฏว่าชาวบ้านจะกลับเสียเป็นส่วนมาก ที่เหลือฟังอยู่จะมีก็แต่พระภิกษุสามเณรและทายกทายิกาแก่ๆ ไม่กี่คน เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องอันนี้ ทางวัดจึงควรจัดให้มีการแสดงธรรมหรือปาฐกถาธรรมก่อนจะทำพิธีเวียนเทียน เป็นการให้ธรรมเป็นทานแก่ชาวบ้านได้ทั่วถึง ทั้งทำให้เขาได้รับประโยชน์จากการฟังธรรมโดยไม่รู้สึกตัวว่าถูกบังคับด้วย

- เมื่อพร้อมกันแล้ว หัวหน้าสงฆ์จุดเทียนและธูป ทุกคนจุดตาม (บางแห่งจุดทีหลัง) แล้วหันหน้าไปทางพระปฏิมาหรือปุชนียวัตถุปูชนียสถานที่จะเวียน หัวหน้าสงฆ์กล่าวคำบูชาเป็นวรรคๆ ตามแบบ ทุกคนว่าตามด้วยการเปล่งเสียงได้ยินชัดเจน

- ต่อนั้น หัวหน้าสงฆ์เดินประนมมือถือดอกไม้ธูปเทียนนำแถวเวียนประทักษิณ ทุกคนเดินเรียงเป็นแถวหน้ากระดาน แถวละ 2-3-4 คน แล้วแต่จะเหมาะ เว้นระยะห่างกันพอสมควร ตามหัวหน้าไปช้าๆ

- ระหว่างเดินเวียนรอบที่หนึ่ง พึงตั้งใจระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า ด้วยบทว่า อิติปิ โส ภควา..... รอบที่สอง ระลึกถึงพระธรรมคุณด้วยบทว่า สวากขาโต ภควตา ธมโม.....รอบที่สาม ระลึกถึงพระสังฆคุณด้วยบทว่า สุปฏิปนโน ภควโต สาวกสงโฆ.....

- เมื่อครบสามรอบแล้ว นำดอกไม้ธูปเทียนไปวางหรือปักไว้ ณ ที่ที่ทางวัดจัดเตรียมไว้ แล้วเข้าไปยังสถานที่ประชุมอีกครั้งหนึ่ง กราบพระ 3 ครั้งแล้วสวดบทแผ่เมตตา กรวดน้ำอุทิศส่วนบุญ กราบพระอีก 3 ครั้ง แล้วกลับบ้านได้

- ถ้าไม่ได้ทำวัตรสวดมนต์หรือเทศน์ก่อนทำพิธีเวียนเทียนจึงเมื่อเวียนเทียนแล้วควรทำวัตรสวดมนต์และมีเทศน์ในตอนนี้

การเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนาอยู่ในพิธีใด

การเวียนเทียนให้นึกอยู่เสมอว่าวันนี้เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ เป็นวันสำคัญของศาสนา

ข้อเตือนใจในการเวียนเทียน

     เพื่อให้พิธีกรรมนี้เกิดความเรียบร้อย เป็นแบบแผนที่ดีของอนุชน และเกิดผลดีแก่ผู้ปฏิบัติอย่างแท้จริง ในขณะที่เวียนเทียนจึงควรคำนึงถึงข้อต่อไปนี้

- ให้นึกอยู่เสมอว่าวันนี้เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ เป็นวันสำคัญของศาสนา เป็นการแสดงความเคารพบูชาตามหลักวัฒนธรรมไทย จึงต้องปฏิบัติให้ถูกระเบียบแบบแผนอย่าแสดงกิริยาวาจาคะนองอันส่อถึงความไม่เคารพเช่นส่งเสียงอึกทึกโวยวาย โห่ร้อง เย้าแหย่หยอกล้อกันควรเดินด้วยอาการอันสงบ สำรวมมือเท้าและปากในขณะเดินเวียนเทียน

- ขณะเดินเวียนเทียนควรเว้นระยะให้ห่างกันพอควร อย่าให้ไฟธูปเทียนลวกลนผู้อยู่ใกล้ตน หรือทำเทียนหยดใส่หลังผู้เดินข้างหน้าตน เป็นการรบกวนผู้ที่ตั้งใจสำรวมจิตให้สงบด้วยการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยอยู่ให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญ เป็นการตัดหรือขัดขวางการทำความดีของผู้อื่น

- ผู้ใหญ่ที่เป็นครูบาอาจารย์ บิดามารดา หรือผู้ปกครองควรแนะนำตักเตือนหรือควบคุมศิษย์ลูกหลานหรือคนในปกครองของตนให้ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามระเบียบในการเวียนเทียน อย่าให้ประพฤติผิดระเบียบ อันเป็นการสร้างความรำคาญแก่ผู้อื่น และเป็นการทำลายวัฒนธรรมของชาติของศาสนาเป็นที่น่าละอายแก่คนต่างชาติต่างศาสนาอย่างมาก

- ผู้มีอำนาจและผู้ใหญ่ควรจะได้ทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดี ด้วยการไปร่วมประกอบพิธีกรรมนี้ด้วยตนเองพร้อมทั้งชักชวนให้ผู้น้อยไปร่วมด้วย จักเป็นการปลูกฝังนิสัยรักประเพณีวัฒนธรรมไทยแก่อนุชนไทยได้ดีกว่าการชักชวนให้ทำเพียงอย่างเดียว

รับชมวิดีโอ

รายการวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพิธีต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา

พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญจัดเป็นศาสนพิธีใด

๑. กุศลพิธี คือ พิธีกรรมที่เนื่องด้วยการอบรมความดีงามทางพระพุทธศาสนาเฉพาะตัวบุคคล เช่น การรักษาศีล การฟังธรรม การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ การเวียนเทียนในวันสาคัญทางพระพุทธศาสนา

พิธีเวียนเทียนเกิดขึ้นในสมัยใด

5. ตั้งแต่... สำหรับการกระทำพิธีเวียนเทียนในโบราณสถานทางศาสนา มีมาตั้งแต่ สมัยทวารวดี รวมทั้งปรากฏข้อความในพงศาวดารว่า...มีการกระทำพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนาสืบมาจนถึงปัจจุบัน

การประกอบพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาควรปฏิบัติตนอย่างไร

อิ่มบุญอิ่มใจ!.
อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด ทำจิตใจเบิกบาน.
แต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย เหมาะสมกับสถานที่.
เตรียมเครื่อบูชาให้พร้อม เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน.
ควรเดินทางมาถึงวัดหรือสถานที่ประกอบพิธีเวียนเทียนก่อนเวลาเริ่มเดินเวียนเทียน.

พิธีเวียนเทียน ทําอะไรบ้าง

การเวียนเทียน คือ การถือดอกไม้ธูปเทียนที่จุดแล้วเวียนขวา (เวียนประทักษิณ โดยให้สิ่งที่เวียนอยู่ทางขวามือของตน) รอบปูชนียวัตถุหรือปูชนียสถาน 3 รอบ ด้วยอาการสำรวมเคารพพร้อมทั้งน้อมใจระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในขณะนั้นด้วยเป็นการแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัยด้วยกาย วาจา และใจ อย่างสูงสุด จัดเป็นบุญกิริยาอย่างหนึ่ง