การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคอย่างช้า ๆ ทำให้เกิดอะไร

แผ่นธรณีเคลื่อนที่ออกจากกัน (Divergent boundaries) การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีในลักษณะนี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวไม่รุนแรง โดยมีศูนย์กลางอยู่ในระดับตื้น (ลึกจากพื้นผิวน้อยกว่า 70 กิโลเมตร) เช่นบริเวณกลางมหาสมุทรแอตแลนติก โดยรอยต่อซึ่งเกิดจากแผ่นธรณีเคลื่อนที่ออกจากกันมี 2 ลักษณะ คือ แผ่นธรณีทวีปเคลื่อนที่ออกจากกัน และแผ่นธรณีมหาสมุทรเคลื่อนที่ออกจากกัน

แผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน (Convergent boundaries) เกิดขึ้นในบริเวณที่แผ่นธรณีปะทะกันซึ่งเรียกว่า “เขตมุดตัว” (Subduction zone) การปะทะกันเช่นนี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงที่ระดับลึก (300 – 700 กิโลเมตร)  และหากเกิดขึ้นในมหาสมุทรก็จะทำให้เกิดคลื่นสึนามิ เช่น สันเขาใต้สมุทรใกล้เกาะสุมาตรา และ เกาะฮอนชู ประเทศญี่ปุ่น โดยรอยต่อของแผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากันมี 3 รูปแบบคือ แผ่นธรณีมหาสมุทรชนกัน แผ่นธรณีมหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีทวีป และแผ่นธรณีทวีปชนกัน

แผ่นธรณีเคลื่อนที่ผ่านกัน (Transform fault) แม้ว่าแผ่นธรณีจะเคลื่อนที่ผ่านกันด้วยความเร็วเพียงปีละประมาณ 3 – 6 เซนติเมตร แต่เมื่อเวลาผ่านไปเป็นเวลานาน จะสามารถปลดปล่อยพลังงานมหาศาลได้ ดังเช่น รอยเลื่อนซานแอนเดรียส์ที่เคยทำลายเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา จนประสบความเสียหายหนักเมื่อปี พ.ศ.2449 แต่โดยทั่วไปแล้วปรากฏการณ์จะนี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวในระดับตื้น มีความรุนแรงปานกลาง ถ้าเกิดขึ้นบนแผ่นดินจะทำให้ถนนขาด สายน้ำเปลี่ยนทิศทางการไหล หรือทำให้เกิดหน้าผาและน้ำตก

    1. ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน
เกิดจากการดันตัวของแมกมา ทำให้เกิดรอยแยก จนแมกมาถ่ายโอนความร้อนสู่เปลือกโลกได้ ทำให้อุณหภูมิและความดันลดลง ทำให้เปลือกโลกทรุดตัวกลายเป็นหุบเขาทรุดในระยะเวลาต่อมาเมื่อมีน้ำ ไหลมาสะสมเกิดเป็นทะเล และเกิดเป็นรอยแยกทำให้เกิดร่องลึก แมกมาจึงเคลื่อนตัวแทรกดันขึ้นมาอีก ทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรแยกจากไปทั้งสองด้านเกิด การขยายตัวของพื้นทะเล (Sea floor spreading) และทำให้เกิดเทือกเขากลางสมุทร เช่น บริเวณทะเลแดง อ่าวแคลิฟอร์เนีย แอฟริกาตะวันออก มีลักษณะหุบเขาทรุด มีร่องรอยแยก เกิดแผ่นดินไหวตื้นๆ มีภูเขาไฟและลาวาไหลอยู่ใต้มหาสมุทร

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคอย่างช้า ๆ ทำให้เกิดอะไร

          2. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน มี 3 แบบ
          - แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกันกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร แผ่นธรณีภาคอีกแผ่นหนึ่งจะมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง ปลายของแผ่นที่มุดลงจะหลอมกลายเป็นแมกมา และปะทุขึ้นมา บนแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร เกิดเป็นแนวภูเขาไฟใต้มหาสมุทร และมีร่องใต้ทะเลลึก มีแนวการเกิดแผ่นดินไหวตามขอบแผ่นธรณีภาคลึกลงไปถึงชั้นเนื้อโลก จนมีภูเขาไฟที่ยังมีพลัง เช่น ที่หมู่เกาะมาริอานาส์ อาลูเทียน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์
          - แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป
แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรซึ่งหนักกว่ามุดตัวลง ข้างล่างใต้แผ่นธรณีภาคภาคพื้น ทวีป เกิดเป็นร่องใต้ทะเลและเกิดเทือกเขา ตามแนงขอบทวีปเป็นแนวภูเขาไฟชายฝั่ง และแผ่นดินไหวรุนแรง เช่น อเมริกาใต้แถบตะวันตก
          - แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ซึ่งทั้งสองแผ่นมีความหนามาก ทำให้แผ่นหนึ่งมุดลงแต่อีกแผ่นหนึ่งเกยขึ้นเกิดเป็นเทือกเขาแนวยาวอยู่กลาง ทวีปหรือแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป เช่นเทือกเขาหิมาลัย ในทวีปเอเชีย เทือกเขาแอลป์ ในทวีปยุโรป

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคอย่างช้า ๆ ทำให้เกิดอะไร

          3. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ผ่านกัน
เกิดจากอัตราการเคลื่อนตัวของแมกมาในชั้น เนื้อโลกไม่เท่ากัน จึงทำให้แผ่นธรณีภาคเคลื่อนที่ไม่เท่ากันด้วยส่งผลให้เปลือกโลกและเทือกเขา ใต้มหาสมุทรเลื่อนไถลผ่านและเฉือนกัน เกิดเป็นรอยเลื่อนเฉือนระนาบด้านข้างขนาดใหญ่ สันเขากลางมหาสมุทรเลื่อนเป็นแนวเหลื่อมกันอยู่ มีลักษณะเป็นแนวรอยแตกแคบยาวมีทิศทางตั้งฉากกับเทือกเขากลางมหาสมุทรและร่อง ใต้ทะเลลึก มักจะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในระดับตื้นๆ ระหว่างขอบของแผ่นธรณีภาคที่ซ้อนเกยกัน เช่น รอยเลื่อนซานแอนเดรียส ประเทศอเมริกา รอยเลื่อนอัลไพล์ ประเทศนิวซีแลนด์

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคอย่างช้า ๆ ทำให้เกิดอะไร


    หลักฐานที่สนับสนุนสมมุติฐานทวีปเลื่อน

    หลักฐานการเลื่อนไหลของทวีปนั้นมีกว้างขวาง ซากพืชและสัตว์ดึกดำบรรพ์ถูกพบรอบชายฝั่งต่างทวีปกัน การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์เลื้อยคลานบก ไลโทรซอรัส จากหินอายุเดียวกันในทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกาและแอนตาร์กติกา นอกจากนี้ยังมีหลักฐานมีชีวิตอยู่ คือ สัตว์ชนิดเดียวกันที่ถูกพบทั้งสองทวีป เช่น ไส้เดือนดินบางตระกูลพบทั้งในอเมริกาใต้และแอฟริกา

    ทฤษฎีที่ใช้อธิบายการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
    ทฤษฎีการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ได้อธิบายว่า ปรากฏการณ์แผ่นดินไหว เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเป็นลำดับขั้นตอนดังนี้ เมื่อโลกแยกตัวจากดวงอาทิตย์ มีสภาพเป็นกลุ่มก๊าซร้อน ต่อมาเย็นตัวลงเป็นของเหลวร้อน แต่เนื่องจากบริเวณผิวเย็นตัวลงได้เร็วกว่า จึงแข็งตัวก่อน ส่วนกลางของโลกยังคงประกอบด้วยของธาตุหนักหลอมเหลว ในทางธรณีวิทยา ได้แบ่งโครงสร้างของโลกออกเป็น ๓ ส่วนใหญ่ๆ เรียกว่า เปลือกโลก (crust) เนื้อโลก (mantle) และแก่นโลก (core) เปลือกโลกเป็นส่วนที่เป็นของแข็งและเปราะ ห่อหุ้มอยู่ชั้นนอกสุดของโลก จนถึงระดับความลึกประมาณ ๕๐ กิโลเมตร เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรณีภาคชั้นนอก หรือลิโทสเฟียร์ (Lithosphere) ใต้ชั้นนี้ลงไปเป็นส่วนบนสุดของชั้นเนื้อโลก เรียกว่า ฐานธรณีภาค หรือแอสเทโนสเฟียร์ (asthenosphere)
    ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก
การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคอย่างช้า ๆ ทำให้เกิดอะไร
1. รอยต่อที่แผ่นเปลือกโลกแยกจากกัน (Divergent plate)
    เกิดขึ้นตรงรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น ที่อยู่ใต้มหาสมุทรมากกว่าบนพื้นทวีป เช่น รอยต่อของแผ่นอเมริกาเหนือกับแผ่นยูเรเซีย โดยที่แผ่นทั้งสองมีการเคลื่อนที่แยกออกจากกัน ทาให้เกิดรอยแยกใต้ท้องมหาสมุทร และหินหลอมละลายที่อยู่ลึกลงไปจะดันออกมาตามรอยแยก เมื่อกระทบกับความเย็นจะแข็งตัว และกลายเป็นหินเปลือกโลกใหม่ และเกิดเป็นสันเขา เมื่อแผ่นเปลือกโลกแยกตัว ต่อไปหินหลอมละลายก็จะออกมาและดันหินที่แข็งตัวออกไปด้านข้าง พื้นมหาสมุทรก็จะแผ่ขยายออกไปเรื่อยๆ ด้วยเหตุนี้จึงมีเปลือกโลกที่เกิดใหม่ใต้มหาสมุทรแอตแลนติกอยู่ตลอดเวลา และทาให้ทวีปอเมริกาเหนือแยกจากทวีปยุโรป

2. แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้ามากัน (Convergent plate) มี 3 แบบ คือ

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคอย่างช้า ๆ ทำให้เกิดอะไร

2.1 แผ่นธรณีมหาสมุทรชนกัน
    แผ่นธรณีมหาสมุทรเกิดขึ้นและเคลื่อนที่ออกจากจุดกำเนิด บริเวณรอยต่อที่แผ่นธรณีเคลื่อนที่ออกจากกัน แรงขับดันจากเซลล์การพาความร้อน (Convection cell) ในชั้นฐานธรณีภาค ทำให้แผ่นธรณีมหาสมุทรสองแผ่นเคลื่อนที่ปะทะกัน ดังภาพที่ 1 แผ่นธรณีที่มีอายุมากกว่า มีอุณหภูมิต่ำกว่า และมีความหนาแน่นมากกว่า จะจมตัวลงในเขตมุดตัว ทำให้เกิดร่องลึกก้นสมุทร (Mid oceanic trench) เมื่อแผ่นธรณีจมตัวลง เปลือกมหาสมุทรและเนื้อโลกชั้นบนสุดซึ่งมีจุดหลอมเหลวต่ำจะหลอมละลายเป็นหินหนืด ซึ่งมีความหนาแน่นต่ำกว่าเนื้อโลกในชั้นฐานธรณีภาค จึงลอยตัวขึ้นดันพื้นผิวโลกให้เกิดเป็นหมู่เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (Volcanic island arc) เรียงตัวขนานกับแนวร่องลึกก้นสมุทร บรรดาหินปูนซึ่งเกิดจากสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล เช่น ปะการัง เป็นตะกอนคาร์บอนเนตมีจุดเดือดต่ำ เมื่อถูกความร้อนจะเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ลอยตัวสูงขึ้นปลดปล่อยออกทางปล่องภูเขาไฟ ทำให้เกิดการหมุนเวียนของวัฏจักรคาร์บอนและธาตุอาหาร ตัวอย่างหมู่เกาะภูเขาไฟที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการนี้ ได้แก่ หมู่เกาะปิลิปปิส์น และ หมู่เกาะญี่ปุ่น
การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคอย่างช้า ๆ ทำให้เกิดอะไร
2.2 แผ่นธรณีมหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีทวีป
    แผ่นธรณีมหาสมุทรเป็นหินบะซอลต์ มีความหนาแน่นมากกว่าแผ่นธรณีทวีปซึ่งเป็นหินแกรนิต เมื่อแผ่นธรณีทั้งสองปะทะกัน แผ่นธรณีมหาสมุทรจะจมตัวลงและหลอมละลายเป็นหินหนืด เนื่องจากหินหนืดมีความหนาแน่นน้อยกว่าเนื้อโลกในชั้นฐานธรณีภาค มันจึงยกตัวขึ้นดันเปลือกโลกทวีปให้กลายเป็นเทือกเขาสูง เกิดแนวภูเขาไฟเรียงรายตามชายฝั่ง ขนานกับร่องลึกก้นสมุทร ดังภาพที่ 2 ตัวอย่างเทือกเขาที่เกิดขี้นด้วยกระบวนการนี้ ได้แก่ เทือกเขาแอนดิส บริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้
การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคอย่างช้า ๆ ทำให้เกิดอะไร
2.3 แผ่นธรณีทวีปชนกัน
    แผ่นธรณีทวีปมีความหนามากกว่าแผ่นธรณีมหาสมุทร ดังนั้นเมื่อแผ่นธรณีทวีปปะทะกัน แผ่นหนึ่งจะมุดตัวลงสู่ชั้นฐานธรณีภาค อีกแผ่นหนึ่งจะถูกยกเกยสูงขึ้น กลายเป็นเทือกเขาที่สูงมาก เป็นแนวยาวขนานกับแนวปะทะ ดังภาพที่ 3 ตัวอย่างเทือกเขาสูงที่เกิดขึ้นด้วยกระบวนการนี้ ได้แก่ เทือกเขาหิมาลัย ในประเทศเนปาลเทือกเขาแอลป์ ในทวีปยุโรป
การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคอย่างช้า ๆ ทำให้เกิดอะไร

3. รอยต่อที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่สวนกัน (Transform Boundary)
    เมื่อแผ่นเปลือกโลกทั้งสอง เคลื่อนที่สวนกันจะทาให้เกิดรอยเลื่อนขนาดใหญ่ขึ้น และหากแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่กระทบกันอย่างรุนแรงจะทาให้เกิดการสั่นสะเทือนและเกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้ แต่มักจะไม่พบภูเขาไฟ

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีภาคอย่างช้า ๆ ทําให้เกิดอะไร

แผ่นธรณีเคลื่อนที่ออกจากกัน (Divergent boundaries) แมกมาจากชั้นฐานธรณีภาคดันให้แผ่นธรณีโก่งตัวอย่างช้าๆ จนแตกเป็นหุบเขาทรุด (Rift valley) หรือสันเขาใต้สมุทร (Oceanic Ridge) ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเบาที่ระดับตื้น (ลึกจากพื้นผิวน้อยกว่า 70 กิโลเมตร) เช่นบริเวณกลางมหาสมุทรแอตแลนติก

การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกทำให้เกิดอะไร

การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหว โดยเฉพาะที่บริเวณรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก หินเหนืดที่ถูกแรงดันอัดให้แทรกรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลก โดยมีแรงปะทุหรือแรงระเบิดเกิดขึ้น เรียกว่าภูเขาไฟ ซึ่งมักเกิดขึ้นที่บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก

การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีจะส่งผลต่อเปลือกโลกอย่างไร

ทำให้เกิดภูเขา การเคลื่อนที่เข้าชนกันของแผ่นเปลือกโลกทำให้แผ่นเปลือกโลกบางส่วน โก่งตัวขึ้นกลายเป็นภูเขาสูง ทำให้แผ่นเปลือกโลกบางส่วนหายไป การเคลื่อนที่ชนกันของแผ่นเปลือกโลก นอกจากจะทำให้แผ่นเปลือกโก่งตัวขึ้นแล้ว ยังทำให้แผ่นเปลือกโลก มุดตัวหายไปอยู่ใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหนึ่ง แผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงในชั้นแมนเทิลนั้น ...

การเคลื่อนที่แยกออกจากกันของเปลือกโลกภาคพื้นทวีป 2 แผ่น จะทำให้เกิดสิ่งใด

รอยต่อแผ่นธรณีเคลื่อนที่ออกจากกัน (Divergent plate boundaries) เกิดขึ้นเนื่องจากแรงดันในชั้นฐานธรณีภาค ดันให้แผ่นธรณีโก่งตัวขึ้นจนเกิดรอยแตก แมกมาอยู่ภายในดันตัวออก ทำให้แผ่นธรณีเคลื่อนที่แยกจากกัน การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีในลักษณะนี้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวไม่รุนแรง โดยมีศูนย์กลางอยู่ในระดับตื้น รอยต่อซึ่งเกิดจากแผ่นธรณี ...