กระเพาะอาหารติดเชื้อเกิดจากอะไร

สาเหตุการเกิดโรคกระพาะอาหารที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori) นั้นมักเกิดจากการนำเชื้อเข้าปากโดยไม่รู้ตัว รวมถึงการบริโภคอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อ ซึ่งเชื้อดังกล่าวเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบและเป็นแผลในกระเพาะอาหาร รวมถึงก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย โดยมากผู้ติดเชื้อมักจะไม่แสดงอาการ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นได้ ดังนี้

  • ปวดหรือแสบร้อนที่ท้องส่วนบน
  • จุกเสียดลิ้นปี่
  • คลื่นใส้ อาเจียน
  • ท้องอืด

อาการที่บ่งว่าอาจมีแผลในกระเพาะอาหาร

  • อาเจียนเป็นเลือด หรือสีดำ
  • อุจจาระเป็นเลือด หรืออุจจาระสีดำเหนียวและมีกลิ่นเหม็นรุนแรง
  • โลหิตจางโดยไม่ทราบสาเหตุ

หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น หรือเป็นเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและการรักษาอย่างเหมาะสม

ที่มา : รศ.(พิเศษ)พญ.รภัส พิทยานนท์

คือ ภาวะติดเชื้อไวรัสในกระเพาะอาหารและลำไส้ อาจเกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรค หรือใช้เครื่องใช้ที่มีอุจจาระ อาเจียน หรือน้ำลายปนเปื้อนเชื้อโรคติดอยู่ รวมทั้งการคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคนี้โดยตรง ผู้ป่วยมักอุจจาระเป็นน้ำ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีไข้ โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักหายจากโรคนี้ได้เอง แต่เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแออาจมีอาการรุนแรงหรือเสียชีวิตได้ อีกทั้งยังไม่มีวิธีรักษาภาวะนี้โดยตรง ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการรักษาประคับประคองตามอาการจนกว่าจะหายดี ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารและน้ำดื่มที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค และล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอเพื่อป้องกันโรค
กระเพาะอาหารติดเชื้อเกิดจากอะไร

อาการของไวรัสลงกระเพาะ

ไวรัสลงกระเพาะอาจมีอาการคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารจากแบคทีเรีย โดยมีอาการเบื้องต้น ดังนี้

  • อุจจาระเป็นน้ำ ซึ่งมักไม่มีเลือดปนแต่อาจเกิดขึ้นได้หากติดเชื้อรุนแรง
  • เป็นตะคริวบริเวณท้อง และปวดท้อง โดยไม่ได้ปวดเฉพาะที่จุดใดจุดหนึ่ง
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือทั้ง 2 อย่าง
  • ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อ หรือข้อ
  • มีไข้ต่ำ รู้สึกหนาวสั่น
  • ไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด

อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นหลังจากติดเชื้อ 12-48 ชั่วโมง และอาจมีอาการรุนแรงแตกต่างกันตามเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรค ซึ่งอาการป่วยมักหายได้เองภายใน 1-3 วัน แต่อาจป่วยยาวนานได้ถึง 10 วัน

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรหมั่นสังเกตอาการ และไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการรุนแรง ดังต่อไปนี้

ทารก

  • อาเจียนนานหลายชั่วโมง
  • ไม่ปัสสาวะนานกว่า 6 ชั่วโมง
  • อุจจาระเป็นเลือดหรือเหลวมาก
  • กระหม่อมบุ๋ม ตาโหล
  • ปากแห้ง หรือร้องไห้โดยไม่มีน้ำตา
  • นอนมาก ซึมลง หรือไม่ตอบสนอง

เด็กเล็ก

  • มีไข้สูง
  • ซึมลง หรือกระสับกระส่ายผิดปกติ
  • งอแง ไม่สบายตัว หรือปวดท้องมาก
  • อุจจาระเป็นเลือด
  • เสี่ยงเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรง โดยควรสังเกตจากการเปรียบเทียบปริมาณน้ำที่ดื่มกับการปัสสาวะว่าผิดปกติหรือไม่

ผู้ใหญ่

  • อาเจียนนานกว่า 2 วัน หรืออาเจียนเป็นเลือด
  • เกิดภาวะขาดน้ำรุนแรง โดยกระหายน้ำมาก ปากแห้ง ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มหรือไม่ปัสสาวะ รู้สึกอ่อนเพลียมาก และวิงเวียนศีรษะ
  • อุจจาระเป็นเลือด
  • มีไข้สูง

สาเหตุของไวรัสลงกระเพาะ

ไวรัสลงกระเพาะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่เยื่อเมือกของกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ซึ่งติดเชื้อได้จากพฤติกรรมต่อไปนี้

  • การรับประทานอาหารหรือการดื่มน้ำซึ่งปนเปื้อนเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร หรือการกลืนเชื้อไวรัสจากเครื่องใช้ที่เปื้อนอุจจาระ อาเจียน หรือน้ำลายของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ รวมทั้งการรับประทานอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อนโดยไม่ผ่านการปรุงสุก เช่น หอยนางรมดิบ เป็นต้น
  • การคลุกคลีกับผู้ป่วยโรคนี้โดยตรงจนทำให้ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เช่น การใช้แก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน หรือส้อมร่วมกับผู้ป่วย และการสัมผัสมือ เสื้อผ้า หรือผ้าอ้อมที่มีเชื้อไวรัสติดอยู่

ผู้ที่เสี่ยงเป็นไวรัสลงกระเพาะสูง ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคนี้มีหลายชนิด เช่น

  • Adenovirus เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารที่มักเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้ป่วยจะเริ่มท้องเสียและอาเจียนหลังจากได้รับเชื้อ 8-10 วัน และอาจมีอาการป่วยนาน 5-12 วัน
  • Rotavirus เป็นสาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารที่มักเกิดกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะทารกอายุ 3-15 เดือน ซึ่งชอบเอามือเข้าปากหรือหยิบสิ่งของเข้าปาก ผู้ป่วยมักมีอาการปรากฏหลังได้รับเชื้อแล้ว 1-3 วัน และอาจป่วยนาน 3-7 วัน แม้ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่มักไม่แสดงอาการ แต่อาจเป็นพาหะแพร่เชื้อสู่เด็กเล็กได้เช่นกัน
  • Norovirus เป็นสาเหตุกว่า 18 เปอร์เซ็นต์ของการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารจากไวรัสที่พบทั่วโลกในช่วงปี 2008-2014 มักพบทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะระบาดในบ้านที่มีคนอยู่อาศัยร่วมกันหลายคน หรือในที่ชุมชน เช่น โรงเรียน หอพัก สถานเลี้ยงเด็ก และสถานดูแลคนชรา ผู้ป่วยมักมีอาการหลังจากได้รับเชื้อแล้ว 1-2 วัน และป่วยนาน 1-3 วัน นอกจากนี้ เชื้อไวรัสอาจยังปนเปื้อนอยู่บนพื้นผิวทั่ว ๆ ไปได้นานหลายเดือน จึงควรหมั่นล้างมือให้สะอาดหลังใช้ห้องน้ำหรือทำกิจกรรมใด ๆ

การวินิจฉัยไวรัสลงกระเพาะ

แพทย์มักวินิจฉัยภาวะไวรัสลงกระเพาะจากอาการของผู้ป่วยร่วมกับการตรวจร่างกาย รวมถึงซักประวัติการบริโภคโดยเฉพาะการรับประทานอาหารนอกบ้าน ประวัติอาการท้องเสียของคนในบ้าน และการแพร่ระบาดของโรคนี้ในชุมชน

อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือแพทย์สงสัยเกี่ยวกับการติดเชื้อ อาจต้องส่งตรวจอุจจาระ ตรวจเลือด ตรวจเพาะเชื้อ และวัดระดับเกลือแร่ในเลือดของผู้ป่วยเพิ่มเติม

การรักษาไวรัสลงกระเพาะ

ขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษาภาวะไวรัสลงกระเพาะแบบเฉพาะเจาะจง จึงทำได้เพียงประคับประคองตามอาการ และป้องกันภาวะขาดน้ำเป็นหลัก ซึ่งบางกรณี แพทย์อาจรักษาโดยให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ ให้ใช้ยาบางชนิด และแนะนำวิิธีดูแลอาการด้วยตนเองในระหว่างพักฟื้น

แม้ผู้ป่วยอาจหายได้เองภายใน 2-3 วัน แต่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลตนเองดังต่อไปนี้

  • ดื่มน้ำมาก ๆ โดยเฉพาะหลังจากอาเจียนหรืออุจจาระเป็นน้ำ และควรดื่มน้ำเพิ่มขึ้นทั้งในระหว่างหรือหลังรับประทานอาหาร และจิบน้ำทีละน้อยหากดื่มน้ำลำบาก
  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำผลไม้ เพราะไม่สามารถทดแทนเกลือแร่ที่เสียไปได้ แต่อาจทำให้ท้องเสียมากขึ้น
  • รับประทานอาหารทีละน้อย โดยเน้นอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าว มันฝรั่ง ขนมปัง ธัญพืช เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และกล้วย เพื่อลดการระคายเคืองและช่วยให้กระเพาะอาหารฟื้นตัว
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันกับน้ำตาลสูง รวมทั้งอาหารประเภทนม คาเฟอีน และแอลกอฮอล์ จนกว่าจะหายเป็นปกติ
  • เด็กควรรับประทานอาหารทันทีที่หิว และทารกควรดื่มน้ำนมหรือรับประทานอาหารตามปกติหากมีอาการป่วยไม่รุนแรง แต่หากทารกท้องเสียอย่างรุนแรง ควรให้ดื่มนมที่ไม่มีน้ำตาลแลคโตส เช่น นมถั่วเหลืองธรรมชาติ นมอัลมอนด์ และน้ำนมข้าว เป็นต้น
  • พักผ่อนมาก ๆ เพราะผู้ป่วยโรคนี้มักรู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย
  • ผู้ป่วยอาจรับประทานผงเกลือแร่เพื่อช่วยเพิ่มพลังงาน ชดเชยเกลือแร่และน้ำในร่างกาย ป้องกันอาการอ่อนเพลียและภาวะขาดน้ำ โดยผสมผงเกลือแร่กับน้ำตามปริมาณที่กำหนดและจิบทีละน้อย
  • ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานยาบรรเทาอาการใด ๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นซึ่งไม่ควรใช้ยาแอสไพรินเพราะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่อาจรับประทานยารักษาตามอาการ เช่น โลเพอราไมด์ ซึ่งช่วยลดการบีบตัวและการอักเสบของลำไส้ แต่ไม่ควรรับประทานกลุ่มยาปฏิชีวนะ เพราะไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส

ภาวะแทรกซ้อนของไวรัสลงกระเพาะ

ภาวะแทรกซ้อนของไวรัสลงกระเพาะที่พบบ่อย คือ ภาวะขาดน้ำจากการอาเจียน ท้องเสีย และดื่มน้ำไม่เพียงพอ ซึ่งทำให้ร่างกายสูญเสียสมดุลเกลือแร่ ทั้งนี้ หากเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรงอาจทำให้อวัยวะในร่างกายเสียหาย จนผู้ป่วยอาจช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจึงควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด

สัญญาณที่บ่งชี้ถึงภาวะขาดน้ำที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่

ผู้ใหญ่

  • กระหายน้ำมาก
  • ปัสสาวะน้อยและมีสีเข้ม
  • ผิวแห้ง
  • อ่อนแรง เวียนศีรษะ หรือหน้ามืด

เด็กเล็กและทารก

  • ปากและลิ้นแห้ง
  • ร้องไห้โดยไม่มีน้ำตา
  • ไม่ปัสสาวะนานกว่า 3 ชั่วโมง
  • มีไข้สูง
  • เซื่องซึม หรือกระสับกระส่ายผิดปกติ
  • ตาโหล แก้มตอบ หรือกระหม่อมบุ๋ม

การป้องกันไวรัสลงกระเพาะ

การรับวัคซีน

การป้องกันไวรัสลงกระเพาะจากการติดเชื้อ Rotavirus ทำได้โดยนำเด็กแรกเกิดเข้ารับวัคซีนป้องกันไวรัสนี้ ซึ่งมีวัคซีน 2 ชนิด ได้แก่

  • Monovalent Vaccine ทารกต้องเข้ารับวัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 6 สัปดาห์ และเข้ารับวัคซีนครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรกอย่างน้อย 4 สัปดาห์ แต่ต้องมีอายุไม่เกิน 24 สัปดาห์
  • Pentavalent Vaccine ทารกต้องเข้ารับวัคซีนชนิดนี้ 3 ครั้ง เมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน

การดูแลสุขอนามัย

  • หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบหรืออาหารที่ปรุงไม่สุก และต้องล้างผักผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทานเสมอ
  • หากต้องเดินทาง ควรเตรียมน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดไปด้วย ควรดื่มน้ำหรือแปรงฟันโดยใช้น้ำที่เตรียมไว้ และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำจากที่สาธารณะซึ่งอาจปนเปื้อนเชื้อโรค
  • หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย และไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วย
  • ล้างมือ เล็บ และซอกเล็บให้สะอาดเป็นประจำด้วยสบู่กับน้ำสะอาด ใช้เวลาอย่างน้อย 20 วินาที โดยเฉพาะหลังเข้าห้องน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม หรือสัมผัสอาหาร ซึ่งผู้ใหญ่ควรแนะนำวิธีล้างมือที่ถูกต้องแก่เด็กเล็ก รวมทั้งควรพกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและผ้าเช็ดมือสำหรับใช้นอกบ้านด้วย
  • หมั่นทำความสะอาดพื้นผิวที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น พื้นโต๊ะ เตียงเปลี่ยนผ้าอ้อม ก๊อกน้ำ พื้นห้องน้ำ โถสุขภัณฑ์ และด้ามจับประตูด้วยน้ำผสมสารฟอกขาว โดยผสมสารฟอกขาว 2 ถ้วยในน้ำ 1 แกลลอน
  • สำหรับสถานเลี้ยงเด็ก ต้องแยกห้องเปลี่ยนผ้าอ้อมกับห้องเตรียมอาหารออกจากกัน ควรมีอ่างล้างมือที่ถูกสุขลักษณะ และมีวิธีการกำจัดผ้าอ้อมที่ใช้แล้วอย่างเหมาะสม

    ติดเชื้อในกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร

    สาเหตุการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบยังไม่ทราบได้อย่างชัดเจน แต่พบว่าส่วนใหญ่มักมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ดังนี้ การติดเชื้อแบคทีเรียนเอชไพโลไร (H.pylori) การรับประทานยากลุ่มยาต้านการอักเสบหรือยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน เป็นต้น สาเหตุอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น

    ติดเชื้อในกระเพาะอาหารมีอาการอย่างไร

    อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียดลิ้นปี่ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย บางรายอาจมีอาการอิ่มเร็วหลังรับประทานอาหาร หรือมีอาการหิวมากในตอนเช้าที่ตื่นนอน อาจเกิดจากการติดเชื้อ H. Pylori (เอชไพโลไร) ในระบบทางเดินอาหารก็เป็นได้

    ติดเชื้อทางเดินอาหาร ทำไง

    ไม่มีการักษาที่เฉพาะเจาะจง เป็นการรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้และเช็ดตัวเวลามีไข้ ให้ยาแก้อาเจียน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ดื่มน้ำเกลือแร่ (ORS) เพื่อชดเชยการสูญเสียสารน้ำและเกลือแร่ โดยการดื่มทีละน้อยแต่บ่อยๆ ควรงดทานดื่มนม ยกเว้นนมแม่ หรือให้นมที่ไม่มีน้ำตาลแล็กโตส(lactose free) งดทานผักผลไม้ไปก่อน (ยกเว้นกล้วยและฝรั่ง ...

    H Pyroli ติดต่ออย่างไร

    การติดต่อ จากการศึกษาปัจจุบันยังหาสาเหตุของการติดเชื้อ H. Pyloriได้ไม่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่า เกิดจากการสัมผัสเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผ่านทางการรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อ เช่น อาหารและน้ำที่ไม่สะอาด อาหารแช่งแข็งที่ปรุงไม่สุก อาหารดิบ