พระเอกาทศรถ สวรรคตเพราะอะไร

 

พระเอกาทศรถ สวรรคตเพราะอะไร

สมเด็จพระเอกาทศรถ

           สมเด็จพระเอกาทศรถ หรืออีกพระนามหนึ่งว่า พระสรรเพชญ์ที่ ๓ พระนามเดิมว่า พระองค์ขาว  เสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองพิษณุโลก เป็นพระราชโอรสองค์สุดท้ายในสมเด็จพระมหาธรรมราชา กับพระวิสุทธิกษัตรี
           หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง เมื่อปี พ.ศ.๒๑๒๗ สมเด็จพระเอกาทศรถก็ได้เสด็จออกร่วมทำการรบคู่กับสมเด็จพระนเรศวร ได้โดยเสด็จในการทำศึกสงครามด้วยทุกครั้งนับแต่นั้นมาจนสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ฯ เป็นจำนวนถึง ๑๗ ครั้ง
           ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวร ฯ พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาพระเอกาทศรถ เป็นสมเด็จพระเอกาทศรถ ที่พระมหาอุปราชา แต่ให้มีพระเกียรติยศเสมอพระเจ้าแผ่นดิน
           เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.๒๑๔๘ พระองค์ก็ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระนเรศวร ในปีเดียวกันในรัชสมัยของพระองค์ บ้านเมืองเป็นปกติสุข เป็นที่เคารพยำเกรงแก่ประเทศเพื่อนบ้าน อันเป็นผลจากการที่สมเด็จพระนเรศวร และพระองค์เองได้ทรงสร้างอานุภาพ ของราชอาณาจักรอยุธยาไว้อย่างยิ่งใหญ่ มีพระราชอาณาเขตแผ่ออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล พระองค์ไม่มีพระราชประสงค์จะแผ่พระราชอาณาเขตออกไปอีก
           ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการยอมรับชาวต่างชาติเข้ามาเป็นทหาร เรียกว่า ทหารอาสาโดยได้จัดแบ่งออกเป็นพวก ๆ ตามเชื้อชาติ และตามความชำนาญในการรบ เกิดหน่วยทหารอาสาขึ้นหลายหน่วย เช่น กรมอาสาญี่ปุ่น กรมอาสาจาม กรมทหารแม่นปืน (โปรตุเกส) นอกจากนั้นในรัชสมัยของพระองค์ ยังมีชื่อเสียงในด้านความสามารถหล่อปืนใหญ่สำริดที่มีคุณภาพสูง ซึ่งน่าจะได้เรียนรู้มาจากโปรตุเกสและฮอลันดา เมื่อมาผสมผสานกับขีดความสามารถ ในด้านการหล่อโลหะของไทยที่มีการหล่อ ระฆังและพระพุทธรูป ที่มีมาแต่เดิม จึงทำให้การหล่อปืนใหญ่ของไทยในครั้งนั้นเป็นที่ยกย่องชมเชยไปถึงต่างประเทศ ดังจะเห็นได้จากการที่โชกุนของญี่ปุ่น ได้มีหนังสือชมเชยคุณสมบัติของปืนใหญ่ไทยเป็นอันมาก พร้อมกับขอให้ไทยช่วยหล่อปืนใหญ่ให้อีกด้วย
           สมเด็จพระเอกาทศรถมีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระอัครมเหสี สององค์คือ เจ้าฟ้าสุทัศน์ และเจ้าฟ้าศรีเสาวภาค และมีพระราชโอรสที่ประสูติจากพระสนม อีกสามองค์คือ พระอินทรราชา พระศรีศิลป์ และพระองค์ทอง
           สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๓ พระชนม์พรรษาได้ ๕๐ พรรษาเศษ ครองราชย์ได้ห้าปี 

๒. เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดาเป็น"สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์" เพียง ๑ ปี ๒ เดือน ก่อนถูกสำเร็จโทษ

● มีพระราชโอรสที่ประสูติกับพระสนม ๓ พระองค์ คือ

๑. พระอินทรราชา ภายหลังครองราชย์เป็น "สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม"

● และมีพระราชโอรสประสูติกับชาวบ้านบางปะอินอีก ๑ พระองค์ คือ

๑. เจ้าไล (ศรี) ต่อมาได้รับราชการตำแหน่งสำคัญในสมัยพระเจ้าทรงธรรม จนได้เป็น"เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์" และปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์พระนามว่า "พระเจ้าปราสาททอง" และสถาปนาราชวงศ์ปราสาททอง

พระเอกาทศรถ สวรรคตเพราะอะไร

ทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยเราเคยมีพระมหากษัตริย์ครองราชย์พร้อมกัน ๒ พระองค์ ซึ่งนับเป็นเรื่องแปลกของการครองราชย์บัลลังก์ที่ไม่เห็นที่ไหนมีแบบนี้ทั้งยุโรปและเอเชีย มีแต่น้องฆ่าพี่ พี่ฆ่าน้อง หรือพ่อลูกฆ่ากันเพื่อชิงความเป็นใหญ่ ซึ่งเรื่อง ๒ กษัตริย์ของไทยนี้ไม่เกี่ยวกับการแย่งชิงราชบัลลังก์กันแต่อย่างใด และเหตุผลใน ๒ สมัยก็แตกต่างกัน แต่ทั้ง ๒ ครั้งนี้ได้แสดงอย่างชัดเจนอย่างหนึ่งถึงความรักของ ๒ กษัตริย์พี่น้อง

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถได้ทรงรับรู้ถึงความรู้สึกในการเสียเอกราชตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อพระเจ้าบุเรงนองยกทัพจะมาตีกรุงศรีอยุธยาโดยเข้าล้อมเมืองพิษณุโลก พระมหาธรรมราชา หรือ ขุนพิเรนทรเทพ ผู้จับเจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์และขุนวรวงศาสำเร็จโทษ ซึ่งสมเด็จพระมหาจักรพรรดิโปรดฯให้ไปครองเมืองพิษณุโลก เห็นว่าทัพของพระเจ้าบุเรงนองใหญ่หลวงเกินกว่าจะรับได้ จึงแต่งเครื่องราชบรรณาการแล้วพาพระสุพรรณกัลา ราชธิดาวัย ๑๖ พรรษา กับพระนเรศวรและพระเอกาทศรถ ๒ พระโอรสออกไปสวามิภักดิ์ พระเจ้าบุเรงนองทรงยินดีและประกาศมิให้ไพร่พลทำร้ายอาณาประชาราษฎร์ แล้วให้พระเอกาทศรถซึ่งมีพระชนม์เพียง ๑๒ พรรษา เยาว์วัยกว่าพระนเรศวร ๒ พรรษาอยู่รักษาเมืองพิษณุโลก ให้พระมหาธรรมราชา พระสุพรรณกัลยา และพระนเรศวร เสด็จไปในกองทัพเข้าตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อพิชิตกรุงศรีอยุธยาได้แล้ว พระเจ้าบุเรงนองได้มอบราชสมบัติให้พระมหาธรรมราชา และพาพระสุพรรณกัลยากับพระนเรศวรไปกรุงหงสาวดีด้วย

ต่อมาเมื่อพระเจ้าบุเรงนองทรงโปรดฯให้พระสุพรรณกัลยาเป็นพระชายา จึงคืนพระนเรศวรให้มาช่วยพระราชบิดาบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงแต่งตั้งให้เป็นพระมหาอุปราช ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก ศูนย์กลางการปกครองภาคเหนือ

ในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชซึ่งครองราชย์อยู่ ๒๑ ปี พระราชโอรสสองพี่น้องซึ่งใฝ่พระทัยจะกู้ชาติให้เป็นปึกแผ่น ได้ออกศึกแทนพระราชบิดาเคียงคู่กันมาตลอด จนเมื่อพระราชบิดาสวรรคต สมเด็จพระนเรศวร มหาอุปราชจึงขึ้นครองราชย์ และทรงสถาปนาพระอนุชาขึ้นเป็นมหาอุปราช ครองเมืองพิษณุโลก แต่มีฐานะเทียบเท่าพระมหากษัตริย์ ปกครองเมืองเหนือทั้งหมด

แม้จะไม่มีเอกสารยืนยันเรื่องนี้ แต่ก็ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับราชการเมืองเหนือ จะเป็นประกาศพระราชกฤษฎีกาของสมเด็จพระเอกาทศรถ ถ้าเป็นราชการฝ่ายเมืองใต้ ก็จะเป็นประกาศพระราชกฤษฎีกาของสมเด็จพระนเรศวร และพงศาวดารในช่วงนี้จะกล่าวถึงสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถว่า “พระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์” หรือ “สมเด็จพระบาทบรมนาถบพิตรทั้งสองพระองค์”

ส่วนในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนิพนธ์ถึงเบื้องหลังการครองราชย์ ๒ กษัตริย์ไว้ตอนหนึ่งว่า

“วันหนึ่ง เจ้าพระยาภาณุวงศ์มาหา เวลานั้นท่านอายุ ๘๐ ปีแล้ว แต่ความทรงจำของท่านแม่นยำ ฉันเคยถามได้ความรู้เรื่องโบราณคดีมาจากท่านหลายครั้ง วันนั้นเมื่อสนทนากันฉันนึกถึงเรื่องที่ทูลถวายราชสมบัติทั้งสองพระองค์ ถามท่านว่าท่านทราบหรือไม่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตนั้น เพราะเหตุใดสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (บิดาของท่านเมื่อครั้งเป็นเจ้าพระยาพระคลัง) ซึ่งเป็นหัวหน้าในราชการ ถึงแนะนำให้ถวายราชสมบัติแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยกันทั้ง ๒ พระองค์ ไม่ถวายแต่พระองค์เดียวเหมือนอย่างเมื่อเปลี่ยนรัชกาลก่อนๆ ท่านบอกว่าเรื่องนี้ท่านทราบ ด้วยได้ยินกับหูของท่านเอง และเล่าต่อไปว่า วันหนึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวใกล้จะสวรรคต สมเด็จเจ้าพระยาฯไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงผนวชอยู่ ณ วัดบวรนิเวศ กราบทูลให้ทรงทราบว่า จะเชิญเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสว่า ถ้าจะถวายราชสมบัติแก่พระองค์ ขอให้ถวายแก่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งตรัสเรียกว่า “ท่านฟากข้างโน้น” ด้วย เพราะพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯพระชาตาแรงนัก ตามตำราโหราศาสตร์ว่า ผู้มีชาตาเช่นนั้นจะต้องได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ถ้าทรงรับราชสมบัติแต่พระองค์เดียวจะเกิดอัปมงคล ด้วยไปกีดบารมีของพระอนุชา แม้ถวายราชสมบัติด้วยกันทั้ง ๒ พระองค์ จะได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระอนุชาให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินด้วยอีกพระองค์หนึ่ง เหมือนอย่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสถาปนาสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นพระเจ้าแผ่นดินด้วยกัน เช่นนั้นจึงจะพ้นอัปมงคล สมเด็จเจ้าพระยาฯก็ไม่ขัดพระราชอัธยาศัย ออกจากวัดบวรฯ ข้ามฟากไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ณ พระราชวังเดิม ตัวท่านเองเวลานั้นอายุได้ ๑๘ ปี นั่งไปหน้าเก๋งเรือของบิดา เมื่อไปถึงพระราชวังเดิม เป็นเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯประทับอยู่ที่แพหน้าวัง เสด็จออกมารับสมเด็จเจ้าพระยาฯที่แพลอย ตัวท่านอยู่ในเรือได้ยินสมเด็จเจ้าพระยาฯเล่าถวายสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯดังกล่าวมา จึงทราบเรื่องตามที่เจ้าพระยาภาณุวงศ์ฯเล่า ก็สมกับประกาศของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าทรงสถาปนาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามแบบอย่างครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสถาปนาสมเด็จพระเอกาทศรถ...”

ครั้นถึงวันที่ ๓ เมษายน ๒๓๙๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว พระราชวงศ์และเสนาบดีพร้อมด้วยราชาคณะจึงปรึกษาหารือกัน เห็นควรถวายราชสมบัติแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ กับ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ทั้ง ๒ พระองค์ ทรงพระนาม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระเอกาทศรถ สวรรคตเพราะอะไร

พระเอกาทศรถ สวรรคตเพราะอะไร



  • เรื่องเก่าเล่าสนุก
  • โรมบุนนาค
  • กษัตริย์
  • พระนเรศวร
  • พระเอกาทศรถ
  • พระจอมเกล้า
  • พระปิ่นเกล้า