ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์เชื่อมอะไรได้บ้าง

ลวดเชื่อมฟลักคอร์วาย ยี่ห้อ VEMAC – AWS E71T-1C Mild Steel Flux core เป็นลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์  ใช้ร่วมกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (C02) เหมาะสำหรับการเชื่อมเหล็กเหนียว  เหล็กทนแรงดึงสูง  การเชื่อมต่อชนต่อฉาก  งานโครงสร้าง  งานอุตสาหกรรมรถยนต์  อุปกรณ์การเกษตร  โครงสร้างสะพาน งานโครงสร้างเหล็กและงานอุตสาหกรรมเหล็กทั่วไป

ขนาด 1.2mm.

ขนาดบรรจุ 5, 15 กิโลกรัม/แพค

♦ กระบวนการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์

กระบวนการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์ หรือ กระบวนการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์ (Flux Cored Arc Welding Process) นั้น บางท่านอาจคิดว่า เป็นกระบวนการเชื่อมที่ต่างไปจากกระบวนการเชื่อมแบบ MIG/MAG และหากต้องการ เชื่อมด้วยลวดฟลักซ์คอร์ ก็จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องเชื่อมที่ต่างไปจากเครื่อง MIG/MAG แบบเดิมที่มีอยู่แล้ว

ในความเป็นจริง กระบวนการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์นั้น มิได้ต่างไปจากกระบวนการเชื่อมแบบ MIG/MAG มากนัก  ถึงแม้ว่าการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์นั้น จะมีทฤษฎี    การแบ่งประเภท  และข้อกำหนดด้านลวดเชื่อมรวมถึงข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยเฉพาะก็ตาม  ถ้ามองเพียงผิวเผินแล้ว การเปลี่ยนกระบวนการเชื่อมจากกระบวนการเชื่อมแบบ MIG/MAG มาเป็นกระบวนการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์  สามารถทำได้ง่ายเพียงแค่เปลี่ยนจากลวดเส้นตัน  (Solid wire) มาเป็นลวดฟลักซ์คอร์ (Flux Cored Wire) เท่านั้น โดยท่านยังคงสามารถใช้เครื่องเชื่อม MIG/MAG ที่มีได้เช่นเดิม

เครื่องเชื่อมสำหรับกระบวนการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์  

เครื่อเชื่อมที่ใช้กับกระบวนการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์นั้น โดยทั่วไปจะใช้เครื่องเดียวกับการเชื่อมแบบ MIG/MAG ทั่วไป เว้นแต่ว่าในบางกรณีอาจจะจำเป็นต้องเปลี่ยนล้อขับลวดเชื่อม (Roller)  และ คอนแทคทิพหากกรณีที่ใช้ลวด ฟลักซ์คอร์ไวร์ขนาดใหญ่

ปกติแล้ว เครื่องเชื่อมที่ใช้สำหรับ MIG/MAG และฟลักซ์คอร์ไวร์ เป็นเครื่องเชื่อมชนิดกระแสตรง แบบแรงดันเชื่อมคงที่ (DC-Constant Voltage)  โดยสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งแบบการเชื่อมอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ

ในปัจจุบัน ผู้ผลิตเครื่องเชื่อมได้มีการพัฒนาเครื่องเชื่อมที่ออกแบบสำหรับการเชื่อม ฟลักซ์คอร์โดยเฉพาะ แต่เครื่องประเภทนี้ จะใช้ในอุตสาหกรรมการเชื่อมขนาดหนัก เครื่องเชื่อมที่ออกแบบมาเฉพาะนี้จะมีความสามารถในการจ่ายกระแสเชื่อมและแรง ดันเชื่อมระดับสูงได้อย่างต่อเนื่อง หรือมีค่า Duty Cycle ในระดับ 100 %  หรือแม้แต่เลือกการใช้ขั้วเชื่อมสำหรับลวดเชื่อมเฉพาะแบบได้ แต่ถ้าหากท่านไม่ได้เป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การใช้เครื่องเชื่อมที่ออกแบบสำหรับการเชื่อมฟลักซ์คอร์ไวร์โดยเฉพาะนั้น ก็คงไม่จำเป็นนัก

ลวดเชื่อมสำหรับกระบวนการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์  

ลวดเชื่อม เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในกระบวนการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์ไวร์ และแตกต่างจากการเชื่อมแบบ MIG/MAG ทั่วไปอย่างสิ้นเชิง  ลวดเชื่อมชนิดฟลักซ์คอร์ จะผลิตจากลวดเหล็กชนิดแบนขนาดเล็ก แล้วผ่านกระบวนการบรรจุผงฟลักซ์หลังจากนั้นจึงม้วนเข้าตะเข็บ เพื่อกักให้ผงฟลักซ์อยู่ภายในลวดเชื่อม  ตามรูปที่ 1

ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์เชื่อมอะไรได้บ้าง

ในขณะที่ทำการเชื่อม  ลวดเชื่อมจะถูกดึงออกจากม้วนลวดเชื่อมผ่านไปยังสายเชื่อมและปืนเชื่อมจนกระ ทั่งอาร์คกับชิ้นงานเชื่อมในที่สุด  เมื่อเกิดการอาร์คขึ้น ฟลักซ์ที่อยู่ในลวดเชื่อมจะหลอมละลายและให้คุณสมบัติแก่เนื้อเชื่อมดังนี้

  1. ให้คุณสมบัติด้านเชิงกล  เชิงโลหะวิทยา  และคุณสมบัติด้านการต้านทานต่อการกัดกร่อนของแนวเชื่อม โดยการปรับส่วนผสมทางเคมี
  2. ให้ความสามารถในการเติมเนื้อลวดเชื่อมได้สูงกว่าการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมตัน ที่ใช้ในกระบวนการเชื่อมแบบ MIG/MAG  ถึง 3 เท่า
  3. เพิ่มความสมบูรณ์ของแนวเชื่อม โดยการปกคลุมบ่อหลอมละลายของแนวเชื่อมจากก๊าซอ๊อกซิเจนและไนโตรเจนในอากาศ
  4. ปฏิกิริยาของฟลักซ์กับน้ำโลหะ จะช่วยขจัดสิ่งที่เป็นมลทินออกจากบ่อหลอมละลาย
  5. สร้างชั้นสแลกปกคลุมแนวเชื่อมที่กำลังแข็งตัวจากอากาศ และยังช่วยควบคุมลักษณะของแนวเชื่อม ในตำแหน่งท่าเชื่อมต่างๆ
  6. สร้าง ความเสถียรของอาร์ค โดยให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ดี ทำให้ช่วยลดการเกิดเม็ดโลหะกระเด็น (Spatter)  ทำให้แนวเชื่อมเนียนเรียบ และมีขนาดแนวเชื่อมที่สม่ำเสมอ

 โดยปกติ ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์  ที่ผลิตขายในปัจจุบัน จะมีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้

  1. ลวดฟลักซ์คอร์ ชนิดที่ต้องใช้ก๊าซปกคลุมแนวเชื่อม  เรียกว่า Gas Shielded Flux Cored Wire  หรือ Outer Shielded Flux Cored Wire. การใช้ลวดประเภทนี้จะต้องมีก๊าซปกคลุมแนวเชื่อมจากภายนอกร่วมด้วยเสมอ เมื่อทำการเชื่อม  ซึ่งชนิดของก๊าซปกคลุมนั้น จะต้องพิจารณาจากข้อกำหนดของการใช้ลวดแต่ละชนิด  เช่น การเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนด้วยลวดเชื่อมเกรด E71T-1 จะใช้ก๊าซปกคลุมเป็นคาร์บอนได อ๊อกไซด์ (CO2)หรือสามารถใช้ก๊าซผสมระหว่างอาร์กอนกับ CO2 ก็ได้ (รูปที่ 2)

ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์เชื่อมอะไรได้บ้าง

รูปที่ 2  การเชื่อมฟลักซ์คอร์  โดยใช้ลวดเชื่อมชนิด Gas Shielded

           2.  ลวดฟลักซ์คอร์ ชนิดที่ไม่จำเป็นต้องใช้ก๊าซปกคลุมแนวเชื่อม เรียกว่าSelf-Shielded Flux Cored Wire หรือ Inner Shielded Flux Cored Wire. การใช้ลวดประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ก๊าซปกคลุมแนวเชื่อมจากภายนอก เนื่องจากฟลักซ์ที่บรรจุอยู่ในลวดเชื่อม จะสามารถแตกตัวออกเป็นก๊าซปกคลุมแนวเชื่อมได้ด้วยตัวเองในขณะที่ทำการเชื่อม ลวดเชื่อมประเภทนี้มักจะใช้กับอุตสาหกรรมหนักหรืองานที่อยู่กลางแจ้ง และอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องเชื่อมที่เหมาะสมกับการใช้ลวดเชื่อมชนิดนี้ด้วย  (รูปที่ 3)

ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์เชื่อมอะไรได้บ้าง

รูปที่ 3  การเชื่อมฟลักซ์คอร์  โดยใช้ลวดเชื่อมชนิด Self-Shielded

นอกจากนั้นลวดเชื่อมที่ใช้สำหรับกระบวนการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์นั้น อาจจะแบ่งตามกลุ่มโลหะได้อีกดังนี้

  1.  ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์สำหรับโลหะกลุ่มเหล็กกล้าคาร์บอนทั่วไป (Mide Steel)  และจะมีมาตรฐานกำหนดตาม ANSI/AWS A5.20
  2.  ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์สำหรับโลหะกลุ่มเหล็กกล้าผสมต่ำ (Low Alloy Steel และจะมีมาตรฐานกำหนดตาม ANSI/AWS A5.29
  3. ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์สำหรับโลหะกลุ่มเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel) และจะมีมาตรฐานกำหนดตาม ANSI/AWS A5.22
  4. ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์สำหรับกลุ่มโลหะฐานนิกเกิล  (Nickel Base ) และจะมีมาตรฐานกำหนดตาม ANSI/AWS A5.34

การปรับตั้งเครื่องเชื่อมสำหรับการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์

การปรับตั้งเครื่องเชื่อมที่เหมาะสม เป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับการเชื่อมแบบ ฟลักซ์คอร์  เริ่มต้นตั้งแต่การปรับแรงกดของล้อขับลวด  จะต้องปรับเพียงแค่ให้ลวดสามารถถูกขับออกไปได้โดยไม่มีการลื่นหรือหมุนฟรี เท่านั้น  จะต้องไม่ปรับให้กดแรงเกินไป เนื่องจากจะทำให้ลวดเชื่อมถูกกดจนเสียรูป และเกิดการตัดขัดในสายเชื่อมในที่สุด

ทั้งการเชื่อมแบบ MIG/MAG  และการเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์  จะต้องปรับตั้งแรงดันเชื่อมและกระแสเชื่อม ให้สัมพันธ์กัน การปรับความเร็วลวดจะเป็นการปรับระดับของกระแสเชื่อม ส่วนการปรับค่าแรงดันเชื่อมจะมีผลต่อลักษณะแนวเชื่อม หากปรับแรงดันเชื่อมสูงมากเกินไป จะทำให้เกิดรูพรุนในแนวเชื่อม และหากแรงดันเชื่อมต่ำเกินไป จะทำให้แนวเชื่อมนูนมากเกินไป ซึ่งเป็นลักษณะของแนวเชื่อมที่ไม่ดี

เทคนิคการเชื่อมสำหรับการเชื่อมแบบ ฟลักซ์คอร์

  • การ เชื่อมแบบฟลักซ์คอร์นั้นไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคหรือทักษะในการเชื่อมมากนัก  เพียงแค่เรียนรู้วิธีการเดินแนวเชื่อมแบบเดินหน้า (Forehand Welding) และการเดินแนวเชื่อมแบบถอยหลัง (Backhand Welding ) เท่านั้น
  • การ เดินแนวเชื่อมแบบเดินหน้า (Forehand Welding)  จะให้แนวเชื่อมที่กว้างแต่มีการหลอมลึกน้อยกว่าการเชื่อมแบบเดินแนวเชื่อม ถอยหลัง ซึ่งเหมาะสำหรับการเชื่อมชิ้นงานที่มีความหนาน้อย
  • การ เดินแนวเชื่อมแบบถอยหลัง (Backhand Welding ) จะให้แนวเชื่อมที่แคบ แต่มีการหลอมลึกสูง ซึ่งเหมาะสำหรับการเชื่อมโลหะที่มีความหนามาก
  • การ เชื่อมแบบส่ายลวด เพื่อให้แนวเชื่อมมีความกว้างมากขึ้น  สามารถใช้เทคนิคการเชื่อมคล้ายกับการเชื่อมด้วยลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลักซ์ หรือการเชื่อม MIG/MAG ทั่วไป โดยสามารถกระทำได้ทั้งการส่ายแบบวงกลม  ครึ่งวงกลม หรือซิกแซก แล้วแต่ความถนัดของช่างเชื่อม แต่ควรรักษาความเร็วในการเดินแนว และระยะการส่ายลวดให้สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะทำการเดินแนวเชื่อมแบบเดินหน้าหรือถอยหลัง
  • การ เชื่อมในตำแหน่งท่าตั้ง (Vertical Position) สามารถกระทำได้โดยตั้งปลายปืนเชื่อมให้ตั้งฉากกับชิ้นงานที่จะเชื่อม แล้วเอียงปลายปืนเชื่อมลงมา45  องศาในแนวดิ่ง  โดยปกติการเชื่อมในตำแหน่งท่าตั้ง จะเดินแนวเชื่อมแบบเดินขึ้น (Uphill Welding)  แต่ที่สำคัญมากไปกว่านั้นคือ ในการเชื่อมแบบท่าตั้งและท่าเหนือศีรษะนั้น จะต้องปรับค่าของเครื่องเชื่อมให้ถูกต้องและเหมาะสม

ระยะยื่นของลวดเชื่อม ในกรณีลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์แบบ Gas Shielded  และ Self –Shielded

ระยะยื่นของลวดเชื่อม หมายถึงระยะของลวดเชื่อมที่พ้นออกมาจากคอนแทคทิพ ถึงชิ้นงานเชื่อม (รูปที่ 4 )  ในกรณีของลวดเชื่อม  แบบ  Gas shielded  ควรใช้ระยะยื่นไม่เกิน ? นิ้ว  (19 มม.) มิเช่นนั้น ก๊าซที่จ่ายปกคุลมแนวเชื่อมอาจจะไม่สามารถปกคลุมแนวเชื่อมได้ดีพอ  ส่วนลวดเชื่อมแบบ Self-Shielded ระยะยื่นควรมากกว่า  ? นิ้ว  (19 มม.) เพื่อเปิดโอกาสให้ลวดเชื่อมได้ใช้ความร้อนขจัดความชื้นที่อาจจะตกค้างอยู่ ภายในลวดให้หมดไป

แต่ทั้งนี้   การใช้ระยะยื่นที่มากเกินไป ทำให้ปลายลวดเชื่อมเกิดความร้อนสูง เนื่องจากมีความต้านทานไฟฟ้าที่สูงขึ้น ส่งผลให้ลวดเชื่อมสามารถละลายได้เร็วหรือเพิ่มอัตราการหลอมละลายของลวด เชื่อม แต่จะทำให้เริ่มต้นการเชื่อมทำได้ยากขึ้น รวมทั้งจะลดการหลอมลึกของแนวเชื่อมลง ดังนั้น การเลือกใช้ระยะยื่นควรศึกษาคำแนะนำของผู้ผลิตลวดเชื่อมด้วย

ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์เชื่อมอะไรได้บ้าง

รูปที่ 4  ระยะยื่นของลวดเชื่อม

ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์มีกี่ประเภท

ลักษณะและขนาดของลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ (Flux Cored Wire) มีลักษณะเป็นม้วน ขนาด 1.2 mm. (ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ เหล็ก - ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ สแตนเลส) และ ขนาด 0.8มม.,1.0มม. (เฉพาะลวดฟลักซ์คอร์ เหล็ก แบบไม่ใช้แก๊ส) ​

ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ คืออะไร

ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์ เป็นลวดเชื่อมเปลือยที่มีไส้ฟลักซ์ อยู่ในแกนกลางของลวด เป็นการเอาข้อดีของลวดเชื่อมไฟฟ้ากับลวดเชื่อมมิกมารวมกัน แนวเชื่อมที่ได้จึงสวยงาม เพราะ ฟลักซ์ที่อยู่ในแกนลวด ทำหน้าที่คลุมแนวเชื่อมไว้ (ลวดเชื่อมฟลักซ์คอร์บางชนิดจึงไม่ต้องใช้แก๊สซีโอทูมาปกคลุมแนวเชื่อม) เหมาะกับงานเชื่อมที่ต้องการคุณภาพสูง และ ...

กระบวนการเชื่อมไส้ฟลักซ์สามารถเชื่อมได้ด้วยวิธีใด

กระบวนการเชื่อมฟลักซ์คอร์ (Flux Cored Arc Welding Process) เป็นกระบวนการเชื่อมอาร์คแบบหนึ่ง ซึ่งการอาร์คจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการป้อนลวด เชื่อมแบบต่อเนื่อง (Continuous Filler Metal or Consumable Electrode) แก๊สปกคลุมแนวเชื่อมมาจาก แหล่งภายนอกหรือจากการแตกตัวเป็นแก็สปกคลุมจาก ไส้ฟลักซ์ภายในแกนลวดเชื่อม (กรณีเป็น ...

การเชื่อมอาร์กใต้ฟลักซ์เหมาะกับงานประเภทใด

โลหะที่เหมาะแก่การเชื่อมใต้ฟลักซ์ การเชื่อมใต้ฟลักซ์จะใช้ในการเชื่อมโลหะไม่ผสม (Plain carbon steel) สำหรับเหล็กกล้าคาร์บอนที่เหมาะสมแก่การเชื่อมจะมีคาร์บอนไม่เกิน 0.30 ฟอสฟอรัสไม่เกิน 0.05% และกำมะถันไม่เกิน 0.05% ส่วนเหล็กกล้าปานกลางและเหล็กกล้าผสมต่ำก็สามารถทำการเชื่อมได้ดี ถึงแม้ว่าจะต้อง Pre – heat Post heat โดยใช้ ...