ความ คาด หวัง ในการเรียน มี อะไร บ้าง

ชิษณุกร พรภาณุวิชญ์ (2540:6) อธิบายว่า ความคาดหวังหมายถึง ความรู้สึก ความคิดเห็น การรับรู้ การตีความ หรือการคาดการณ์ต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่ยังไม่เกิดขึ้นของบุคคลอื่น ที่คาดหวังในบุคคลที่เกี่ยวข้องกับตน โดยคาดหวังหรือต้องการให้บุคคลนั้นประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ตนต้องการ หรือคาดหวังเอาไว้

พจนานุกรมออกฟซ์ฟอร์ด (Oxford Advanced Leamer's Dictionary:2000) ได้ให้ความหมายของความคาดหวัง เป็นความเชื่อ เป็นความรู้สึกนึกคิด ของบุคคลที่คาดการณ์ล่วงหน้า ต่อบางสิ่งบางอย่างว่า ควรจะเป็น หรือควรจะเกิดขึ้น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2540:18) ได้กล่าวถึง ความคาดหวังของผู้รับบริการว่า เมื่อผู้รับบริการมาติดต่อกับองค์กรหรือธุรกิจบริการใดๆ ก็มักจะคาดหวังว่า จะได้รับการบริการอย่างไดอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ให้บริการจำเป็นที่จะต้องรับรู้ และเรียนรู้เกี่ยวกับ ความคาดหวังพื้นฐาน และรู้จักสำรวจ ความคาดหวังเฉพาะของผู้รับบริการ เพื่อสนองบริการที่ตรงกับ ความคาดหวัง ซึ่งจะทำให้ผู้รับบริการเกิดความพึงพอใจ หรืออาจเกิดความประทับใจขึ้นได้หากการบริการนั้นเกินความ

สิริวรรค์ อัศวกุล ( 2528:1 ) อธิบายว่า ความคาดหวัง หมายถึง ความคาดหวังของมนุษย์เป็นการคิดล่วงหน้าไว้ก่อน ซึ่งอาจจะไม่เป็นไปตามที่คิดไว้ แต่มีบทบาทสำคัญต่อพฤติกรรมของบุคคล
เคลย์ (Clay. 1988:252) ได้กล่าวถึง ความคาดหวังต่อการกระทำหรือสถานการณ์ว่าเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าถึงอนาคตที่ดี เป็นความมุ่งหวังที่ดีงาม เป็นระดับหรือค่าความน่าจะเป็นของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่หวังไว้

ทฤษฎีความคาดหวัง (Expectancy Theory) ของวิคเตอร์วรูม (Vroom) มีองค์ประกอบของทฤษฎีที่สำคัญคือ (อัญชลี อ่านวรุฬหวาณิช. 2539:53)

  • Valence หมายถึง ความพึงพอใจของบุคคลที่มีต่อผลลัพธ์
  • Instrumentality หมายถึง เครื่องมือ อุปกรณ์ วิถีทางที่จะไปสู่ความพึงพอใจ
  • Expectancy หมายถึง ความคาดหวังในตัวบุคคลนั้นๆบุคคลมีความต้องการหลายสิ่งหลายอย่าง ดังนั้น จึงพยามดิ้นรนแสวงหาหรือ กระทำด้วย วิธีใดวิธีหนึ่ง เพื่อตอบสนองความ ต้องการหรือสิ่งที่คาดหวังไว้ ซึ่งเมื่อได้รับการตอบสนองแล้วก็ตามความคาดหวังของบุคคล จะได้รับความพึงพอใจ ขณะเดียวกันก็คาดหวังในสิ่งที่สูงขึ้นเรื่อยๆ

พาราสุมาน, ไซแธมอล และ แบรรี ( Parasuraman , Zeithmal and Berry. 1990 ) ได้ระบุถึงปัจจัยหลักที่มีผลต่อความคาดหวังของผู้บริการแบ่งออกเป็น 5 ประการ ได้แก่
1. การได้รับการบอกเล่า คำแนะนำจากบุคคลอื่น
2. ความต้องการของแต่ละบุคคล
3. ประสบการณ์ในอดีต
4. ข่าวสารจากสื่อ และ จากผู้ให้บริการ
5. ราคา
สรุปได้ว่า ความคาดหวัง คือความรู้สึกความต้องการที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไปจนถึงอนาคตข้างหน้า เป็นการคาดคะเนถึงสิ่งที่จะมากระทบต่อ การรับรู้ของคนเรา โดยใช้ประสบการณ์การเรียนรู้เป็นตัวบ่งบอก

ลักษณะความคาดหวัง

ความคาดหวังเป็นตัวบ่งชี้แห่งความสำเร็จซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจของแต่ละคนในการเลือกการกระทำไว้ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะ และความแตกต่าง ของแต่ละบุคคล และ สภาพแวดล้อมซึ่งเป็นองค์ประกอบทีมีความสำคัญ ที่จะทำให้ความคาดหวังนั้นเป็นจริงขึ้นมาได้
เกทเซนและคณะ( Getzels ;et al 1974 : 132) ได้กล่าวไว้ว่า "ความคาดหวังของบุคคลย่อมแตกต่างกันเพราะคนเราต่างก็มีความคิดและความต้องการแตกต่างกัน"
วูม ( Vroom1964 : 103) ได้มีคติฐานความเชื่อว่าพฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากการตัดสินใจเลือกระหว่างทางเลือกต่างๆ โดยพฤติกรรมเหล่านั้นมีระบบ มีความสัมพันธ์กับ กระบวนการทางจิตใจได้แก่ การรับรู้ ความเชื่อ เจคติ โดยเกิดจากแรงจูงใจ
ศรีนิตย์ (2521 : 10) ได้กล่าวไว้ว่า พฤติกรรมทางสังคมของบุคคลจึงแตกต่างกัน ตามที่บุคคลได้กำหนดต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่ง ความรู้สึกนึกคิดหรือคาดการณ์นั้นๆ ประเมินโดยมาตรฐานของ ตนเองเป็นเครื่องวัดความคาดการณ์ของแต่ละบุคคล

การกำหนดความคาดหวัง

นวลจันทร์ เพิ่มพูนรัตนกุล (2540:11) กล่าวถึงการกำหนดความคาดหวังตามความคิดของเดอเช็คโค ว่าการกำหนดความคาดหวังของบุคคล นอกจาก ขึ้นอยู่กับ ระดับความยากง่ายของงานแล้ว ยังขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ผ่านมาในครั้งนั้นๆด้วยดังที่ เดอเช็คโค ได้กล่าวไว้ว่า การที่บุคคลเคย ประสบความสำเร็จในการทำงานนั้นๆมาก่อน ก็จะกำหนดความคาดหวังในการทำงาน ในคราวต่อไปสูงขึ้น และใกล้เคียงกับ ความสามารถจริงมากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามระดับความคาดหวังต่ำลงมา เพื่อป้องกันมิให้ตนเกิดความรู้สึกล้มเหลว จากการที่วางระดับความคาดหวังไว้สูง
กว่าความสมารถจริง
สมลักษณ์ เพชรช่วย (2540 : 12)ได้สรุปความคาดหวังไว้ว่า การที่บุคคลจะกำหนดความคาดหวังของคนนั้นจะต้องประเมินความเป็นไปได้ด้วย ทั้งนี้เพราะความคาดหวังเป็นความรู้สึกนึกคิด และคาดการณ์ของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยสิ่งนั้นๆ อาจจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม ก็ได้ความรู้สึกนึกคิด หรือคาดการณ์นั้นๆ จะมีลักษณะเป็นการประเมินค่าโดยมาตรฐานของตนเองเป็นเครื่องวัดการคาดการณ์ของแต่ละบุคคล แม้จะเป็นการให้ต่อสิ่งที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรมชนิดเดียวกัน ก็อาจะแตกต่างออกไปได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิหลัง ประสบการณ์ ความสนใจ และการเห็นคุณค่าความสำเร็จของสิ่งนั้นๆ

การที่บุคคลจะทุ่มเทความพยายามในการทำงานมากน้อยแค่ไหน จึงขึ้นอยู่กับปัจจัย 2อย่าง คือระดับความเข้มข้นของความต้องการรางวัลนั้น และความคาดหวังของบุคคลนั้นเองที่จะมองว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดในการได้รับการตอบสนองความต้องการในสิ่งนั้น ถ้าเห็นว่ารางวัลที่จะได้จาก ความพยายามนั้นมีคุณค่ากับตนมาก และเป็นไปได้สูง บุคคลก็จะทุ่มเทความสามารถให้มากขึ้น แต่ถ้าคิดว่าความเป็นไปได้มีน้อย หรือรางวัลที่ได้น้อย ก็จะไม่พยายามเพราะคิดว่าเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า

...”เราต่างเลี้ยงลูกอย่าง ‘คาดหวัง’”... หากใครบอกว่าเราเลี้ยงลูกอย่างไม่คาดหวัง บอกได้ทันทีว่า “พูดไม่จริง”

เพราะอย่างน้อยเราก็เลี้ยงลูกอย่างคาดหวังให้เขาเติบโตมีร่างกายที่แข็งแรง มีความสุข มีความมั่นใจในตัวเอง เติบโตไปมีอาชีพ มีทักษะเอาไว้เลี้ยงตัวเลี้ยงใจได้ และไม่เป็นภาระสังคม และในเชิงมโนธรรมพ่อแม่หลายคนก็คงคาดหวังว่า ลูกน่าจะเติบโตไปเป็นคนที่คืนสิ่งดี ๆ กลับสู่สังคมให้ประเทศและโลกของเราดีขึ้นสักทางหนึ่ง

เพราะทุกคนที่มีสัมมาอาชีพ ต่างมีคุณต่อสังคมเสมออยู่แล้ว คงจะดี หากเราจะเห็นลูกของเราเป็นคนที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเป็นที่รักของคนที่ผ่านเข้ามาในชีวิตเขา อย่างน้อยเราก็ไม่ต้องมานั่งไอหรือสำลักตอนดึก ๆ เพราะมีคนมาด่าลูกว่า "พ่อแม่ไม่สั่งสอน" 

เราคาดหวัง เพราะเราต่างรู้ทุกครั้งเมื่อเราสบตามองตาน้อย ๆ นั้นว่า เขาดีได้ เก่งได้ เพราะลูกเรามีค่าควรคาดหวัง เขาซึ่งเป็นที่รักของเรา โดยเราเองก็ต้องสร้างสมดุลให้ความคาดหวังและความปรารถนาดีของเราไม่สร้าง "ภาระ" บนไหล่ของลูกจนเกินไป 

บางคนรักมาก คาดหวังมาก จนลูกแทบสำลักความรักและความคาดหวัง บางคนแทบจะสิงลูกอยู่แล้ว บางคนโยนความคาดหวังของเราให้ลูกว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้แล้วขีดเส้นให้ลูกเดินโดยที่ไม่รู้เลยว่านั่นเป็นสิ่งที่เขาต้องการและมีความสุขจริง ๆ หรือไม่ แบบนี้ก็เกินไป 

ความคาดหวังที่ดี ย่อมเกิดบนพื้นฐานในความเป็นตัวตนของเขาที่จะเติบโตในแบบที่เป็นเขาเพราะนั่นคือชีวิตของลูก มิใช่ชีวิตของเรา 

แน่นอนว่า “การศึกษา” เป็นสิ่งแรก ๆ ที่ลูกจะต้องผจญภัยและเติบโตภายนอกบ้าน หากมีสิทธิ์ที่จะเลือกระบบการศึกษาได้ พ่อแม่อย่างเราก็จะคัดสรร "ระบบ" การศึกษาที่คิดว่าดีที่สุดในกรอบความคิดและฐานะการเงินของแต่ละครอบครัว เพราะการศึกษาในระบบอย่างในอดีต (ที่ยังคงเป็นระบบการศึกษาหลักของประเทศ) อาจไม่ตอบโจทย์ทั้งหมดในการประกอบอาชีพในอนาคตอีกต่อไปแล้วก็ได้ 

“โรงเรียนทางเลือก” ได้แก่ ระบบมอนเตสซอรี (Montessori) วอลดอร์ฟ (Woldorf) เรกจิโอเอมิเลีย (Reggio Emilia) และวีถีพุทธ ที่ว่ากันว่า ‘ดี’ ต่อพัฒนาการของลูก แต่อาจไม่ดีต่อกระเป๋าเงินของพ่อแม่ ที่สำคัญก็คือ หลังจากจบการศึกษาจากระบบโรงเรียนทางเลือกแล้ว

หากจำเป็นต้องกลับเข้าสู่ระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยที่เน้นการแข่งขันเชิงวิชาการ ลูกจะสามารถปรับตัวได้หรือไม่อย่างไร โดยตามพัฒนาการของสมองและวิธีการเรียนรู้ของระบบการศึกษาที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้นั้นน่าจะส่งเสริมให้เด็กเติบโตขึ้นมาแล้วตัวรอดได้ และมีสมองที่ยืดหยุ่นพอที่จะใช้ชีวิตได้แน่นอน 

จริงหรือ ?

ในประเทศนี้ ในประเทศที่ห้องสมุดดี ๆ สังคมดี ๆ ที่เอื้อต่อพัฒนาการเด็ก ในประเทศที่บอกว่า เด็กไทยจะไประดับโลก แต่ผู้ใหญ่ส่วนหนึ่งในประเทศยังขูดเลข ไหว้คนทรงเจ้า หาโชคลาภ ?

มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยที่ดี ๆ ครูดี ๆ มีทั่วถึงทั่วประเทศมีพอแล้วหรือยัง หากไม่มีที่บ้านที่มีกำลังทุนทรัพย์พอที่จะสนับสนุนไปไกล ๆ เราจะประคองลูกไปไหวไหมกับการเรียนโรงเรียนทางเลือกกันยาว ๆ ? โดยเฉพาะถ้าอยู่ที่ต่างจังหวัดแล้วเรียนโรงเรียนทางเลือก เมื่อจบแล้วไปไหนต่อ บางที่ก็มีแค่ระดับอนุบาลหรือประถมศึกษาเท่านั้น นี่คือโจทย์ที่พ่อแม่จะต้องหาคำตอบที่เหมาะสมให้กับลูกของตัวเองต่อไป  

“โรงเรียนเร่งเรียนวิชาการ” ที่อาจไม่ดีต่อพัฒนาการของเด็กนัก แต่ก็ยังคงเป็นระบบการศึกษาหลักของประเทศ และพ่อแม่อย่างเราก็เป็นหนึ่งใน “ผู้รอด” จากระบบนี้และเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีสัมมาอาชีพได้ เราต่างผ่านการสอบแข่งขันเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาจากข้อสอบแบบระบบเร่งเรียน ซึ่งวันนี้อาจไม่เหมือนวันวาน หลายคนก็เริ่มเห็นแล้วว่า ในอนาคตถ้าเรายังให้ลูกเน้นท่องจำแบบนี้ ไม่น่ารอดในอนาคตในอีก 20 ปีข้างหน้า ใบปริญญาอาจไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป 

จริงหรือ ?

ใบปริญญาของมหาวิทยาลัยที่ดีก็ยังคงเป็นใบเบิกทางนำลูกไปหาสิ่งที่ดี ๆ ได้อีกมากมายในอนาคต อย่างน้อยก็ให้โอกาสลูกได้พบปะผู้คนใหม่ ๆ สังคมใหม่ ๆ และเป็นหนึ่งในใบเบิกทางไปสู่โอกาสใหม่ ๆ ของชีวิตอีกมากมาย 

“โรงเรียนนานาชาติ” เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีตมาก โดยสนนราคาที่สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง เหมาะกับคุณพ่อคุณแม่ที่ให้ความสำคัญของ ‘ภาษา’ และมีทัศนคติที่ดีต่อระบบการศึกษาในระดับสากลที่มีมาตรฐานไม่ว่าจะเป็นระบบของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ และระบบ IB (International Baccalaureate) โดยความได้เปรียบเกี่ยวกับความสามารถในการใช้ภาษาอาจเป็น ‘กุญแจ’ ที่นำไปสู่โอกาสในอนาคตของลูกได้โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและจีนที่จะทำให้ลูกไปยังระดับนานาชาติได้ง่ายขึ้น ดังนั้นหลายครอบครัวจึงเลือกที่จะส่งลูกเรียนที่โรงเรียนนานาชาติ 

จริงหรือ ?

อนาคตเครื่องแปลภาษาอาจทำงานแบบใส่หูฟังแล้วพูดภาษาถิ่นใส่กันแบบแปลได้ 100% แบบเรียลไทม์จริง ๆ ก็ได้ (ซึ่งมีโอกาสสูงมาก) ดังนั้นภาษาอาจไม่ได้จำเป็นอีกต่อไปก็ได้ในอนาคต ใครจะรู้ 

ดังนั้นเรื่องของระบบการศึกษาจึงไม่มีข้อสรุปชัดเจนว่าระบบใดเป็นระบบที่ดีที่สุด หากแต่มีเพียงระบบการศึกษาที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนในบริบทของแต่ละครอบครัว เพราะไม่ว่าจะส่งลูกเรียนแบบไหนก็ตามก็อย่าให้ระบบของโรงเรียนทำร้ายลูก 

“อย่าหลงดี” คือ คำที่หมอพัฒนาการเด็กคนหนึ่งพูดกับพ่อหมอถึงระบบการเรียนของไทย ไม่ว่าจะระบบไหนก็ตาม ระบบปกติ ทางเลือก หรือนานาชาติ เราต่างคิดว่าสิ่งนี้ "ดี" สำหรับเด็ก และเมื่อเราหลงดี ยึดมั่นถือมั่น อีโก้สูงเท่าเขาเอเวอร์เรสต์ว่าสิ่งที่เลือกนั้นดีที่สุด ผิดจากนี้ไม่ได้ โดยที่ไม่ได้หันมามองลูกน้อยที่อยู่ตรงหน้า ไม่ได้มองรอบตัวว่าสถานการณ์ตอนนี้ของครอบครัว ของเรา ของสังคมว่าเป็นอย่างไร ก็ต้องระมัดระวังกันด้วย

...ผู้เขียนจึงมักจะบอกว่า อย่ายึดมั่นถือมั่น ทางสายกลางไว้ก่อน...

หากมีสิทธิ์เลือกโรงเรียนให้ลูกได้ มันมักเริ่มต้นที่ “ความถูกจริตของพ่อแม่” ต่อวิถีของระบบการศึกษานั้น ๆ โดยควรประเมินลูกสม่ำเสมอว่า มัน "ใช่" สำหรับเขาหรือไม่ รวมถึงปัจจัยอื่นด้วยเช่นกัน ถ้าไม่ใช่ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยมีพ่อแม่เป็นแรงสนับสนุนให้ลูกเติบโตตามศักยภาพของเขาได้เต็มที่ในแบบของเขาได้ 

เรียนในระบบเร่งวิชาการ ก็อย่าลืมบทเรียนชีวิตนอกห้องเรียน เล่นให้เต็มที่ ให้โอกาสได้ลองอะไรใหม่ ๆ ที่ลูกชอบนอกเหนือจากตำรา เรียนโรงเรียนทางเลือก อย่าลืมให้เขาเรียนรู้ว่า โลกนี้มีการแข่งขันจริงด้วยเสมอ (แม้ว่าโตมา เขาก็จะเจอเองอยู่แล้ว แต่เตรียมไว้หน่อยก็ดี) หรือเรียนทางเลือกแล้วประเมินว่า ไปต่อไม่ได้แล้ว พ่อแม่ไม่มีพลังหรือปัจจัยพอจะสนับสนุนในวิถีของทางเลือกนั้น ๆ ปรับเปลี่ยนก็ได้ เด็กยังปรับตัวได้เสมอ เรียนนานาชาติ ก็อาจต้องวางแผนการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาให้กับลูกด้วย (โดยเฉพาะการวางแผนการเงิน) 

หากประสบวิกฤตเศรษฐกิจต้องย้ายกลับมาโรงเรียนในระบบไทยก็ต้องถือเป็นโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ชีวิตจริง ๆ กับสถานะการเงินจริง ๆ ของที่บ้านก็เป็นเรื่องดีเช่นกัน

...”ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วดีเสมอ”...

ดังนั้นหากใครยังไม่ได้ตัดสินใจ และมีสิทธิ์ที่จะเลือกโรงเรียนให้ลูกได้ก็แนะนำให้เยี่ยมโรงเรียนเพื่อหาข้อมูลไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมั่นใจว่านี่จะเป็นทางเลือกที่เราเห็นว่าดีที่สุดสำหรับลูกแล้วนั่นเอง โดยสิ่งที่ไม่แนะนำก็คือ ให้ลูกไปเรียนในระบบที่พ่อแม่ไม่ได้เห็นด้วยว่า “ดี” (เลือกตามคนอื่นบอก) พ่อแม่มักทนไม่ไหวและเครียดเอง

บางคนให้ลูกเรียนโรงเรียนทางเลือกในระดับอนุบาล ลูกเขียนอ่านไม่ได้ก็เครียดอีก หรือไปโรงเรียนแบบเร่งเรียน แต่พ่อแม่คือเข้าไปกดดันครูตลอดว่า "แม่ไม่ได้คาดหวังอะไร อย่ากดดันลูกแม่นะคะ" "ไม่เอาการบ้านนะคะ" "ไม่เอานั่นนี่นะคะ" เขาคงแก้ให้เรายากนั่นเอง

นักเรียนคาดหวังจะได้รับอะไรจากการเรียนวิชาสังคมศึกษา

เด็กจะได้รับประโยชน์อะไรจากสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม? ในวัยประถมต้น (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3) เด็กๆจะได้ประโยชน์จากการเรียนรู้สาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ดังนี้ ได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและผู้ที่อยู่รอบข้าง ตลอดจนสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น ที่อยู่อาศัยและเชื่องโยงประสบ การณ์ไปสู่โลกกว้าง

คาดหวังอะไรกับครู

สิ่งที่ประชาชนคาดหวังจาก 'ครู อาจารย์และการศึกษาไทย'.
31.72% ระบุว่า อบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์เต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ.
27.82% ระบุว่า รักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริม ให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์เสมอ.

เราคาดหวังอะไรกับการเรียนออนไลน์

คาดหวังว่าการเรียนE-Learning สามารถให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้เรียนสามารถเป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะในการเรียนไปใช่ได้จริงในชีวิตประจำวันและสร้างสรรค์ผลงานจากที่เรียนมาได้อย่างมีประสิทธิผล

คาดหวังอะไรจากการเรียนวิชาคณิตศาสตร์

วิชาคณิตศาสตร์มีบทบาทส าคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ท าให้มนุษย์มี ความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถคิดวิเคราะห์ปัญหาหรือ สถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และน าไปใช้ใน ชีวิตประจ าวันได้อย่างเหมาะสม (กระทรวงศึกษาธิการ.