เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

แนวคิด  หลักการหรือทฤษฎี

         หัวใจของการวิจัยอยู่ที่ข้อมูล  ข้อมูลต้องเชื่อถือได้  ถูกต้อง  ทันเวลา  ข้อมูลดีต้องได้จากเครื่องมือที่ดี ที่สามารถเก็บข้อมูลได้ครบถ้วนตามที่ต้องการ และสามารถตอบวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้

         เครื่องมือในการเก็บข้อมูลมีหลายอย่างจะใช้วิธีไหน  เมื่อไร  อย่างไร  ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการวิจัย  ลักษณะข้อมูล  และปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการ  เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล  เช่น  แบบทดสอบ  แบบสอบถาม  แบบสำรวจ  การสัมภาษณ์ การสังเกต  ข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้แก่  เอกสาร  รายงานและระเบียนสะสม  เป็นต้น  ถ้าผู้วิจัยสร้างขึ้นเองจะต้องหาความเชื่อมั่น  โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญหรือสถิติวิเคราะห์  แต่ถ้าเป็นของคนอื่นก็ต้องมีการอ้างอิงด้วย

ตัวอย่าง

         หัวข้อการวิจัย   : การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านคำที่ใช้อักษร  ร  ล  ว  ควบกล้ำ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6

         เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

         1.   แบบทดสอบการอ่านคำที่ใช้อักษร  ร  ล  ว  ควบกล้ำ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 จำนวน  1 ชุด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง

         2.   แบบฝึกทักษะการอ่านคำที่ใช้อักษร  ร  ล  ว  ควบกล้ำ  จำนวน  15   ชุด  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง

         3.   แบบสอบถามแสดงความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  จำนวน  1  ฉบับ  รวม  20  ข้อ

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

กิจกรรม

เครื่องมือการเก็บข้อมูล

 1. แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือการวิจัยประเภทเขียนตอบ ที่กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบจะอ่านและเขียนตอบด้วยตนเอง โดยทั่วไปแล้ว แบบ สอบถามแบ่ง ออกเป็น 2 ส่วน คือ

    1.1 แบบสอบถามปลายปิด (Closed Questionnaire) เป็นการให้กลุ่มตัวอย่างผู้ตอบใช้วิธีการเลือกตอบตามผู้วิจัยที่กำหนดไว้ เช่น ข้อมูลทั่วไป เพศ อายุ ศาสนา  เป็นต้น และข้อมูลความคิดเห็นต่อตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม โดยเลือกตอบว่า    เห็นด้วยมาก ที่สุด มาก ปานกลาง น้อย หรือน้อยที่สุด

    1.2 แบบสอบถามปลายเปิด (Open Questionnaire) เป็นการให้กลุ่มตัวอย่าง       ผู้ตอบได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เช่น ให้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ ซึ่งโดยทั่วไปมักอยู่ในตอนท้ายของแบบสอบถาม

          ผู้วิจัยอาจใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่

          1) การส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ให้กลุ่มตัวอย่างตอบ  โดยแบบสอบถามจะส่งไปยังกลุ่มตัวอย่างทางไปรษณีย์ และเมื่อกลุ่มตัวอย่างตอบเสร็จแล้วก็ส่งแบบสอบถามกลับมายังผู้วิจัย  ข้อดี เหมาะสมกับประชากรมีขอบเขตที่กว้างที่กระจายไปตามพื้นที่ซึ่งกว้างขวางและยากแก่การติดตามเก็บข้อมูล ข้อเสีย อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามมักมีไม่มาก

           2) การให้มีผู้รับผิดชอบในการส่งและรวบรวมแบบสอบถาม โดยแบบสอบถามจะส่งไปให้แก่ผู้รับผิดชอบซึ่งอาจจะเป็นเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องนั้นโดยตรง โดยฝากให้แจกแบบสอบถามแก่กลุ่มตัวอย่าง และเก็บกลับคืนเพื่อส่งให้แก่ผู้วิจัยต่อไป ข้อดี สะดวกรวดเร็ว ข้อเสีย เป็นการสร้างภาระให้แก่ผู้ปฏิบัติ นอกจากนี้แล้วข้อมูลที่ได้มาอาจไม่ได้มาจากกลุ่มตัวอย่างจริง

2. การสัมภาษณ์ (Interview) เป็นวิธีการเก็บข้อมูลที่ผู้วิจัยใช้วิธีการการสนทนา กับผู้ตอบ ในลักษณะที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน (face to face interaction) การสัมภาษณ์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

     2.1 การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่ ผู้วิจัยได้กำหนดโครงสร้างและคำถามที่จะใช้ในการสัมภาษณ์ไว้ล่วงหน้าก่อนการไปเก็บข้อมูล และไปสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลตามโครงสร้างคำถามที่ได้กำหนดไว้

     2.2 การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยไม่ได้กำหนดโครงสร้างและคำถามที่จะใช้ในการสัมภาษณ์ไว้      ล่วงหน้า แต่จะอาศัยไปตั้งคำถามเฉพาะหน้ากับผู้ให้ข้อมูลแทน

           ทั้งนี้ ในการสัมภาษณ์ อาจใช้วิธีการสัมภาษณ์เป็นรายบุคคลหรือสัมภาษณ์พร้อมกันเป็นกลุ่มก็ได้

3.  การสังเกตการณ์ (Observation) เป็นการใช้ประสาทสัมผัส ได้แก่  ตา หู จมูก ลิ้น และกาย สังเกตพฤติกรรมและปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาสรุปข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เช่น สังเกตพฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่ โดยสังเกตด้วยตาด้วยการที่ผู้วิจัยสังเกตพฤติกรรมที่เจ้าหน้าที่แสดงออกมา และสังเกตด้วยการฟังโดยฟังการ สนทนาระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนผู้รับบริการ การสังเกตการณ์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

      3.1 การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participative Observation) เป็นการสังเกตการณ์ที่ผู้วิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และจดบันทึกสิ่งที่ได้จากการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยผู้วิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมในปรากฏการณ์นั้นด้วย เช่น ผู้วิจัยลงไปร่วมทำกิจกรรม ต่าง ๆ กับประชาชนในหมู่บ้าน แล้วสังเกตการณ์ไปด้วย เป็นต้น

            3.1.1 สังเกตแบบเข้าร่วมอย่างสมบูรณ์ โดยที่ผู้สังเกตจะเล่นบทบาทการเป็นสมาชิกของกลุ่มอย่างเต็มที่โดยไม่เปิดเผยว่าที่แท้จริงตนเป็นใคร ผู้สังเกตจะเข้าร่วมในทุกกิจกรรมเป็นไปตามธรรมชาติ เข้าถึงเหตุการณ์หรือสถานการณ์

                     ทั้งนี้การสังเกตแบบเข้าร่วมอย่างสมบูรณ์ ผู้ถูกสังเกตอาจจะรู้หรือไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังถูกสังเกตพฤติกรรมอยู่ กรณีที่ผู้ถูกสังเกตไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังถูกสังเกตพฤติกรรมอยู่ เช่น ผู้สังเกตต้องการสังเกตพฤติกรรมการให้บริการของข้าราชการในหน่วยงานแห่งหนึ่ง ผู้สังเกตอาจสวมบทบาทเข้าไปเป็นผู้รับบริการเอง เป็นต้น กรณีที่ผู้ถูกสังเกตรู้ตัวเลยว่ากำลังถูกสังเกตพฤติกรรมอยู่ เช่น การที่ผู้วิจัยเข้าไปอาศัยอยู่ร่วมกับชาวบ้านในหมู่บ้าน โดยที่ทุกคนในหมู่บ้านทราบดีว่าผู้วิจัยกำลังมาเก็บรวบรวมข้อมูลปัญหาความต้องการของคนในหมู่บ้านอยู่

            3.1.2 สังเกตแบบเข้าร่วมเฉพาะกิจกรรมที่จำเป็น ในกรณีของผู้สังเกตแบบเข้าร่วมนี้ ผู้สังเกตจะเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ก็ต่อเมื่อจำเป็นที่จะต้องสังเกต บทบาทนี้จะจำกัดเข้าร่วมมากกว่าการเป็นผู้เข้าร่วมแบบสมบูรณ์ เช่น การศึกษากระบวนการตัดสินใจของคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้สังเกตเข้าไปสังเกตในหมู่บ้านเฉพาะกรณีที่จะต้องมีการตัดสินใจ เช่น ในช่วงการประชุมของคณะกรรมการหมู่บ้านในการวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน เป็นต้น

     3.2 การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Nonparticipative Observation) เป็นการสังเกตการณ์ที่ผู้วิจัยไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรม   ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยสังเกตเหมือนกับเป็นคนข้างนอก เช่น ผู้วิจัยสังเกตการทำกิจกรรมของประชาชนในหมู่บ้าน โดยที่ตนเองไม่ได้เข้าไปร่วมทำกิจกรรมด้วย เป็นต้น

4. เอกสาร (Document) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหรือหลักฐานที่เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ต่างๆ ที่เคยมีผู้อื่นเก็บไว้แล้ว ถือได้ว่าเป็น     การเก็บข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) เช่น เอกสารรายงานการประชุม 

เอกสารรายงานผลการดำเนินงานของโครงการ ตัวเลขสถิติด่าง ๆ ที่หน่วยราชการจัดเก็บไว้ หลักฐานที่เป็นรูปธรรมต่างๆ อนึ่ง ในการเก็บข้อมูลเอกสารและหลักฐานต่างๆ ประเด็นที่จะต้องให้ความสำคัญอยู่เสมอ คือ การตรวจสอบความเชื่อถือได้ของข้อมูลในเอกสารหรือหลักฐานที่ได้มา

4. การทดลอง (Experiment) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีการแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมหรือกลุ่มเปรียบเทียบ โดยที่ผู้วิจัยจะเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นจากทั้งสองกลุ่ม เพื่อนำมาเปรียบเทียบ เช่น ในการวิจัยทางการเกษตรที่มีการศึกษาประสิทธิภาพของปุ๋ยพันธ์ใหม่ที่ผลิตขึ้นมาใช้ ก็นำมาทดลองเปรียบเทียบออกเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่ ทดลอง โดยมีการให้สิ่งกระตุ้นที่เป็นปุ๋ยพันธ์ใหม่ และพื้นที่ควบคุม โดยให้ปุ๋ยพันธ์เดิม ทั้งนี้ทั้งสองพื้นที่จะมีการควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีอิทธิพลต่อการทดลอง ถ้าผลการศึกษาวิจัยออกมาพบว่า ปุ๋ยพันธ์ใหม่ในพื้นที่ทดลอง ให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าปุ๋ยพันธ์เดิมในพื้นที่ควบคุม ก็แสดงว่าปุ๋ยพันธ์ใหม่ดีกว่ากว่าปุ๋ยพันธ์เดิม

5. แบบทดสอบ (Test) เป็นเครื่องมือการเก็บข้อมูลที่นำมาใช้การทดสอบความรู้ของกล่มตัวอย่างในเรื่องที่ศึกษา เช่น การศึกษาระดับการรับรู้ของข้าราชการต่อหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีก็นำมาสร้างแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ของกลุ่มตัวอย่างว่ามีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับใด

6. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR – Participatory Action Research) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เน้นให้บุคคลฝ่ายต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม ในตลอดกระบวนการวิจัย โดยทั่วไปมักประกอบไปด้วย นักวิจัย นักพัฒนา และชาวบ้าน โดยเข้ามามีส่วนร่วมทำได้ตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมเสนอ ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับประโยชน์ เช่น การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ  มีส่วนร่วมเพื่อจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีอะไรบ้าง

ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จะเป็นเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล มีด้วยการหลายประเภท โดยเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลที่นิยมใช้มาก ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire), แบบสัมภาษณ์ (Interview), แบบสังเกต (Observation) และแบบทดสอบ (Test) ซึ่งมีข้อดี-ข้อเสียต่างกัน ดังนี้

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยมีอะไรบ้าง

ความสัมพันธ์ หรืองานวิจัยเชิงหาสาเหตุมักนิยมใช้เครื่องมือใน การวิจัย เพียง 4 ชนิด คือ 1. แบบสอบถาม 2. แบบสัมภาษณ์ 3. แบบสังเกต 4. แบบทดสอบ

ประเภทของการเก็บข้อมูล มีกี่ประเภท

3.การเก็บรวบรวมข้อมูล จะมีวิธีเก็บ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ และ 2. เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ เรียกว่าอะไร

แบบสัมภาษณ์ (interview) เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสนทนาอย่างมี จุดมุ่งหมาย กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ล่วงหน้า การสัมภาษณ์จะสามารถได้ข้อมูลที่เป็นรายละเอียด Page 7 เครื่องมือในการเก็บข้อมูล 83 ตามที่ต้องการตรงจุด ใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่จำกัดระดับการศึกษา และยังสามารถสังเกตพฤติกรรม ของผู้ให้สัมภาษณ์ วิธีเก็บข้อมูล ...