รูปแบบของเครือข่าย Blockchain มีอะไรบ้าง

เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินชื่อสกุลเงินดิจิตอลที่กำลังได้รับความนิยมอย่างบิตคอยน์กันมาแล้ว และแน่นอนว่าเมื่อได้ยินคำว่าบิตคอยน์ คำว่าบล็อกเชน (Blockchain) ก็ย่อมต้องตามมาติด ๆ เพราะทั้งบิตคอยน์และ Blockchain เป็นสิ่งที่เหมือนซะจนเกือบจะเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะ Blockchain นั้นกลายมาเป็นที่รู้จักเมื่อบิตคอยน์ถือกำเนิและเติบโตมานั้นเอง Blockchain คืออะไร มีความโดดเด่นอย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน

Show

รูปแบบของเครือข่าย Blockchain มีอะไรบ้าง

Blockchain คืออะไร

บล็อกเชน หรือ Blockchain คือ ระบบที่เกิดขึ้นหลังจากบิตคอยน์ ซึ่งมีลักษณะการบันทึกข้อมูลเป็นบล็อก ๆ ติดต่อกัน สามารถกระจายข้อมูลได้อย่างเป็นธรรม โดยที่ข้อมูลจะไม่ถูกควบคุมไว้คนเพียงคนเดียว แต่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมกัน เป็นระบบที่สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสามารถใช้ในการประมวลผลทางธุรกรรมบนออนไลน์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างอัตโนมัติ

6 ลักษณะเด่นที่ทำให้ Blockchain ได้รับความนิยม

  • Decentralized – เป็นเครื่อข่ายแบบ peer-to-pee สามารถทำงานแบบกระจายอำนาญ  ไม่มีอยู่ใต้องค์กรหรือการควบคุมของใครเพียงคนเดียว แต่ผู้ใช้งานทุกคนสามารถใช้การประมวลข้อมูลได้อย่างเท่าเทียม
  • Distributed ledger – บล็อกเชนประมวลผลโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่า ledger บันทึกเป็นชุดชุดที่เรียกว่า บล็อก โดยแต่ละบล็อกสามารถประมวลผลด้วยตัวเอง
  • Immutable – เมื่อบล็อกเชนทำการประมวลข้อมูลและบันทึกเรียบร้อยแล้วมีโอกาสน้อยมากที่จะทำการแก้ข้อ ลบ หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลในภายหลังได้ บล็อกเชนจึงถือว่าเป็นระบบที่มีความน่าเชื่อถือสูง
  • Mmutable – ด้วยระบบการทำงานข้อบล็อกเชนที่มีการประมวลผลแบบ Decentralized ทำให้ข้อมูลในแต่ละบล็อกมีความเชื่อมโยงสอดคล้องกัน
  • Openness –  ใช้ในการเผยแพร่ระบบสารสนเทศอย่างเป็นระบบ มีความโปร่งใส สามารถทำให้ทุกคนประเมินความน่าเชื่อถือของระบบได้
  • Anonymity – การธุรกรรมบนบล็อกเชนไม่จำเป็นต้องระบุตัวตนผู้ทำธุรกรรม ทำให้รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ทำธุรกรรมได้

ประเภทของเครือข่าย Blockchain

เครือข่าย Blockchain แบบ Permissionless

Permissionless เป็นเครือข่าย Blockchain แบบที่ไม่มีกลไกการอนุญาตหรือกำหนดสิทธิในการเข้าถึง ทำให้ทุกคนสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย Lager ได้ อย่างไม่มีข้อจำกัด มีการกระจายนำนาญสูง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะผู้ยึดเอาเครือข่ายไปเป็นของตัวเอง ซึ่ง เครือข่าย Blockchain แบบ Permissionless ก็ได้แก่ บิตคอยน์และอีเธอเรียม เป็นต้น

เครือข่าย Blockchain แบบ Permissioned

Permissioned เป็นเครือข่าย Blockchain แบบที่กำหนดสิทธิการเชื่อมต่อ การอ่าน / เขียน Legger และการมีส่วนร่วมในการยืนยันธุรกรรม เป็นรูปแบบเครือข่ายที่เหมาะใช้งานในองค์กร หรือองค์กรที่มีการเชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เช่น Hyperledger, Corda, Quorum

เทคโนโลยี Blockchain เชนสามารถนำไปประยุกต์การช้งานให้เกิดประโยชน์ได้หลากหลายและจะกลายมาเป็นระบบที่ขับเคลื่อนโลกในอนาคตหรือไม่นั้นเป็นสิ่งที่ต้องติดตามกันต่อไป ส่วนใครที่ทำความรู้จักเทคโนโลยีบิตคอยน์นั้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ บิตคอยน์คืออะไร สกุลเงินดิจิตอลบนโลกออนไลน์ที่ควรจับตามอง

บทความวันนี้คอยน์แมนจะมาอธิบายการทำงานของเทคโนโลยี Blockchain ที่เป็นแก่นของ Cryptocurrency และเหตุผลที่มันจะมาปฏิวัติโลกของเรา แบบเข้าใจง่าย ๆ กันนะครับ

Blockchain คืออะไร?

Blockchain คือเทคโนโลยีการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ หรือที่เรียกว่า Distributed Ledger Technology (DLT) ซึ่งเป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลที่ใช้หลักการ Cryptography ร่วมกับกลไก Consensus โดยข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบ Blockchain นั้นจะสามารถทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ยาก ช่วยเพิ่มความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของข้อมูล

จุดกำเนิดของ Blockchain

เมื่อปี 2008 ในช่วงวิกฤตเศษฐกิจครั้งใหญ่ที่เราเรียกว่า Global Financial Crisis บุคคลนิรนามที่ใช้ชื่อว่า Satoshi Nakamoto ได้ให้กำเนิดสิ่งที่เรียกว่าบิทคอยน์ขึ้นมา โดยออกแบบให้บิทคอยน์เป็นเงินดิจิทัลสกุลแรกในประวัติศาสตร์ที่ใครๆก็สามารถใช้ได้ ทุกคนสามารถถือเงินและโอนเงินหากันได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใด ๆ เช่นธนาคาร และที่สำคัญ มันไม่ได้ถูกสร้างหรือควบคุมโดยรัฐหรือองค์กรใด ๆ

ณ วันนั้น ไม่ใช่เพียงบิทคอยน์ แต่เทคโนโลยีที่เรียกว่า Blockchain ก็ถือกำเนิดขึ้นด้วย 

ซึ่ง Blockchain นี่แหละ คือเทคโนโลยีที่ทำให้บิทคอยน์ทำในสิ่งที่ไม่มีใครเคยทำได้มาก่อน

** บางคนอาจจะคิดว่า Blockchain นั้นมีไว้สร้างสกุลเงิน จริง ๆ แล้วสกุลเงินนั้นก็เป็นเพียงหนึ่งใน Application ของ Blockchain เท่านั้นเองครับ

หลัก ๆ แล้ว Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถสร้างระบบที่ไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางอีกต่อไป หรือที่เรียกว่า Trustless System ซึ่ง Bitcoin Network ถือว่าเป็นระบบแรก โดยมีตัว Bitcoin ที่เป็นสกุลเงินใช้งานบนนั้น

ไม่มี Bitcoin ก็ไม่มี Blockchain

อาจเป็นเพราะโจทย์ของ Satoshi Nakamoto คือ ทำยังไงถึงจะสร้างสกุลเงินที่ไร้ตัวกลาง ไร้คนควบคุม เขาก็เลยคิดเทคโนโลยีที่เรียกว่า Blockchain ขึ้นมาเพื่อทำให้เขาสร้างบิทคอยน์ได้สำเร็จ

ถ้าเรานึกกลับกันว่า Satoshi Nakamoto ไม่ได้ต้องการสร้างสกุลเงินบิทคอยน์นี้ เราอาจไม่เห็นเทคโนโลยี Blockchain กันก็เป็นได้ครับ

โลกที่ต้องพึ่งพาตัวกลาง กับธุรกิจที่เกิดขึ้นจากคำว่า Trust

คอยน์แมนขอยกตัวอย่างตัวกลางที่ทุกคนคุ้นเคยที่สุดก่อน ซึ่งก็คือเรื่องการโอนเงินนั้นเอง

รูปแบบของเครือข่าย Blockchain มีอะไรบ้าง

จากรูปข้างบนนี้ เราจะเห็นได้ว่า A และ B ฝากเงินกับ Bank 1 ในขณะที่ C และ D ฝากเงินกับ Bank 2 ดังนั้น

  • A โอนหา B โดยผ่าน Bank 1
  • ถ้า A จะโอนหา D โดยผ่านทั้ง Bank 1 และ Bank 2

ทั้งนี้ทั้งนั้น ทุกคนต้องพึ่งธนาคารตัวกลางในการโอนเงินหากัน

ธนาคารนั้นมีหน้าที่ทำอะไร

1. ธนาคารจดบันทึกว่าใครมีเงินเท่าไหร่ ในตัวอย่างนี้ Bank 1 ก็จะบันทึกว่า A มี 100 บาท B มี 100 บาท

รูปแบบของเครือข่าย Blockchain มีอะไรบ้าง

2. ธนาคารช่วยทำธุรกรรมให้เรา ในตัวอย่างนี้ สมมุติว่า A อยากโอนเงิน 50 บาท ให้ D ทาง Bank 1 จะเชคว่า A มีเงินจริงไหม ก่อนที่จะไปคุยกับ Bank 2 หลังจากนั้น A จะถูกหักเงิน 50 บาท และ Bank 2 ก็จะเครดิตเงิน 50 บาทให้กับ D

รูปแบบของเครือข่าย Blockchain มีอะไรบ้าง

สรุปแล้ว เราต้องใช้ธนาคารเพราะ

  • เราไม่สามารถแสดงความเป็นเจ้าของเงินในรูปแบบดิจิทัลได้
  • เราไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของเงินที่โอนมาได้

พูดง่าย ๆ ก็คือ เราทำธุรกรรมในรูปแบบดิจิทัลที่น่าเชื่อถือกันเองไม่ได้นั้นแหละ

มันก็เลยเป็นโอกาสทางด้านธุรกิจขึ้นมา โดยที่ธุรกิจเหล่านี้เป็นเสมือนตัวกลางที่น่าเชื่อถือให้ทั้งสองฝ่าย โดยที่เราต้องเชื่อใจว่า ตัวกลางนั้นจะซื่อสัตย์ จะอัพเดทดูแลบัญชีให้ทุกคนอย่างถูกต้องเสมอ

ผลของการมีตัวกลาง

  • เวลาเราจะทำธุรกรรมอะไร ไม่ว่าจะเช็คเงินในบัญชี โอนเงินให้ใคร ถอนเงิน เราก็ต้องขออนุญาตธนาคาร ไม่ว่าจะผ่านแอป ทำจาก ATM หรือทำหน้าเคาท์เตอร์ สิ่งนี้เรียกได้ว่า Server-Client Architecture
  • แน่นอนว่าธุรกิจตัวกลางต้องทำกำไร มันทำให้ cost นั้นสูง ยิ่งเราผ่านตัวกลางหลายที่ มันยิ่งแพง แต่แพงไม่พอ มันทำให้เกิดความล่าช้าขึ้นด้วย นึกภาพเราโอนเงินไปต่างประเทศว่าทั้งแพงและนานขนาดไหน (เงินเราอยู่ไหนแล้ว จะหายไปไหมก็ไม่รู้)
  • ที่สำคัญที่สุด เราต้องเชื่อใจเสมอว่าตัวกลางนี้จะไม่โกงเรา จะไม่แอบแก้ข้อมูล หรือไม่มีการให้เอื้อประโยชน์ลูกค้าคนอื่น

Blockchain ทำงานอย่างไร?

เรารู้กันแล้วว่าความเชื่อใจคือแก่นของธุรกิจตัวกลางต่าง ๆ โดยเฉพาะธนาคาร

Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่จะสามารถมาสร้างระบบที่กระจายอำนาจความเชื่อใจของตัวกลาง ทำให้เราไม่จำเป็นต้องเชื่อตัวกลางคนใดคนนึงอีกต่อไป หรือทำให้เราทำธุรกรรมกันแบบ Peer-to-Peer ได้นั้นเอง

การกระจายบัญชีให้ทุกคนถือ

ที่นี้มาดูกันว่า เราจะทำยังไงให้ A B C และ D โอนเงินหากันได้โดยไม่ต้องผ่านธนาคาร

ซึ่งคอนเซปของ Blockchain เนี่ยบอกว่า แทนที่จะให้ธนาคารเก็บข้อมูลบัญชีพวกเรา ทำไมเราไม่ให้ทุกคนใช้บัญชีเล่มเดียวกัน แล้วให้ทุกคนนั้นได้ก๊อปปี้อันเดียวกันไปเก็บหละ?

มาดูกันครับว่าเป็นยังไง

รูปแบบของเครือข่าย Blockchain มีอะไรบ้าง

รูปแบบของเครือข่าย Blockchain มีอะไรบ้าง

ดูจากรูปข้างบนแล้ว ถ้าทุกคนมีข้อมูลบัญชีอันเดียวกัน

  • เราสามารถเช็คได้เลยว่าใครมีเงินเท่าไหร่ เราก็ไม่ต้องเป็นห่วงแล้วใช่ไหมครับว่าคนนี้มีเงินจริงไม่จริง ถ้าสมมติ B แอบแก้บัญชีตัวเอง จากมี 100 เป็น 1000 บัญชีของ B ก็จะไม่ตรงกับ A C และ D ทุกคนก็จะรู้ว่า B นั้นโกงนั้นเอง
  • เวลามีการโอน เช่น A โอนให้ D ข้อมูลธุรกรรมก็จะถูก Broadcast ประกาศให้ทุกคนรู้และอัพเดทบัญชีตามกัน ดังนั้นถ้าโอนแล้วมาบอกทีหลังว่าไม่ได้โอน ก็ไม่ได้ใช่ไหมละครับ

ทำไมถึงเรียกว่า Blockchain ?

Blockchain คือวิธีการเก็บข้อมูลบัญชีรูปแบบหนึ่ง นึกภาพง่าย ๆ ว่า พอมีธุรกรรม Transaction ใหม่ ๆ เข้ามา มันก็จะถูกกองรวม ๆ กันไว้ พอได้จำนวนหนึ่งเราก็จะจัดบรรจุธุรกรรมเหล่านั้นลงกล่องบัญชี (Block) และทำการปิดกล่อง พอเราปิดกล่องเสร็จ เราก็จะได้กล่องใหม่หรือ Block ใหม่ขึ้นมานั้นเอง

รูปแบบของเครือข่าย Blockchain มีอะไรบ้าง

สิ่งที่ทำให้ Blockchain ต่างจากการเก็บบัญชีแบบอื่นคือ เราไม่ได้กลับไปเปิดกล่องบัญชีเก่าเพื่อแก้หรืออัพเดทข้อมูลธุรกรรม แต่กล่องธุรกรรมใหม่จะถูกสร้างขึ้นเรื่อยๆไปในทางเดียว โดยจะเชื่อมและอ้างอิง reference กับกล่องเก่าอยู่เสมอ ในลักษณะของกล่องหลายๆกล่องที่มีโซ่เชื่อมกัน มันถึงเรียกว่า Blockchain นั้นเอง

ยกตัวอย่างจากรูปข้างบน พอเราสร้าง Block 4 แล้ว เราไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ข้อมูลใน Block 1 2 หรือ 3 ได้ ผลก็คือข้อมูลธุรกรรมจะถูกเก็บถาวร

** ข้อมูลธุรกรรมของ Block ก่อนหน้าจะถูก Cryptographic Hash ไว้ (การเข้ารหัสทางเดียว ไว้เพื่อแค่เช็คว่าข้อมูลนั้นเป็นต้นฉบับจริง ไม่ถูกใครเปลี่ยนแปลง)โดยที่ Block ใหม่ที่ถูกสร้างก็จะมี Hash ของ Block เก่าระบุอยู่ด้วย (จึงอ้างอิงกลับได้ว่า Block ก่อนหน้าคืออันไหน) ถ้าหากมีคนแอบไปเปลี่ยนแปลงข้อมูลธุรกรรม Block เก่า แม้แต่เพียงนิดเดียว Hash ก็จะเปลี่ยน ทำให้เรารู้ว่ามีการแอบแก้ไข ตัวอย่างเช่นรูปข้างล่าง เราจะเห็นได้ว่าประโยค “How are you” ถ้าแค่เติมเครื่องหมายคำถาม “?” เข้าไป ผลลัพท์ Hash ก็จะเปลี่ยนไปทันที

รูปแบบของเครือข่าย Blockchain มีอะไรบ้าง

ประโยชน์ที่ได้จากการตัดตัวกลาง

รูปแบบของเครือข่าย Blockchain มีอะไรบ้าง

มาถึงตอนนี้ ทุกคนน่าจะทราบกันแล้วว่า Blockchain ทำงานอย่างไร ทำไมมันถึงตัดตัวกลางออกไปได้ ทีนี้เรามาดูดีกว่าว่า เราได้อะไรจากการตัดตัวกลางออก

  1. Ownership ความเป็นเจ้าของ จากที่เราต้องฝากเงินฝากชีวิตให้กับตัวกลางเป็นคนดูแล ต้องขออนุญาตทุกครั้งไม่ว่าจะดูหรือโอนเงินในบัญชี มาตอนนี้ Blockchain ทำให้เราสามารถเก็บทรัพย์สินหรือเงินนี่แหละกับตัวเองได้จริง ๆ ตอนโอนก็โอนเลยแบบ Peer-to-Peer ไม่ต้องขอใคร
  2. Open & Neutral ความเป็นระบบเปิดและเท่าเทียม ไม่ว่าเราจะเป็นใคร อายุเท่าไหร่ ทำงานอะไร ระบบไม่สนใจหรอกครับ ทุกคนมีสิทธิเข้ามาใช้อย่างเท่าเทียม ไม่มีลำเอียงหรือสองมาตรฐาน
  3. Transparency & Immutability ความโปร่งใสและข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ ซึ่งข้อมูลบน Blockchain นั้นจะเชื่อถือได้โดยทุกฝ่าย เพราะเรารู้ว่าไม่มีบริษัทไหนหรือใครแอบเข้าไปแก้ข้อมูลย้อนหลังได้ อีกทั้งมันจะอยู่อย่างถาวรอีกด้วย
  4. Security ความปลอดภัย ถ้าเซิฟเวอร์กลางมันมีไม่กี่ที่ Hacker ก็รู้เป้าโจมตี และทำจนว่ามันจะสำเร็จใช่ไหมละครับ แค่พลาดครั้งเดียวข้อมูลบัญชีก็อาจถูกแก้ไขได้ แต่ถ้าเรากระจายบัญชีไปทั่วโลกละ จะแก้ทีก็ต้องแฮกคอมพิวเตอร์นับไม่ถ้วนพร้อม ๆ กันเลยทีเดียว ไม่งั้นก็ถูกจับได้ว่าข้อมูลผิด
  5. Borderless ความไร้พรมแดน ปกติแล้วเราจำเป็นต้องพึ่งตัวกลางในแต่ประเทศ ยกตัวอย่างเช่นการเปิดบัญชีธนาคาร แต่ระบบนี้มันไม่จำกัดประเทศ หรือพูดง่าย ๆ ว่ามันไม่รู้ด้วยว่าเราอยู่ที่ไหน เพียงแค่เรามีอินเตอร์เน็ต เราสามารถใช้งานระบบได้ทุกเมื่อ
  6. Cut Cost ลดค่าใช้จ่าย แน่นอนว่าพอไม่มีธุรกิจตัวกลางที่มากินกำไรแล้ว ค่าใช้จ่ายของการทำธุรกรรมนั้นลดลงแน่นอน

** ที่ยกมานี้เป็นคุณสมบัติหลัก ๆ ของ Permissionless / Public Blockchain นะครับ ซึ่งถ้าเป็น Permissioned / Private Blockchain อาจจะไม่ได้มีคุณสมบัติครบแบบนี้ ไว้โอกาสหน้าคอยน์แมนจะมาเจาะลึกถึงประเภท Blockchain ว่ามันต่างกันยังไงนะครับ

การปฏิรูปไม่ได้หยุดแค่เรื่องการเงิน

อย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ สกุลเงินนั้นเป็นเพียง 1 ในแอปพลิเคชันของ Blockchain เท่านั้น

เราสามารถนำระบบ Trustless System ที่ถูกสร้างด้วย Blockchain มาปฏิรูปธุรกิจที่เราต้องพึ่งพาตัวกลางในปัจจุบันได้อีกด้วย เช่น

  • Social Network:Facebook, Twitter
  • Marketplace: Uber, Airbnb
  • eCommerce:Amazon, eBay

ซึ่งในอดีต เราคงนึกไม่ออกเลยใช่ไหมละครับว่าเราจะใช้สิ่งเหล่านี้ได้ยังไงถ้าไม่มีบริษัทตัวกลางพวกนี้ ธุรกิจเหล่านี้ก็เลยผุดขึ้นมาเต็มไปหมดจนพวกเราเคยชินกับมัน แต่ตอนนี้คือครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เราไม่ต้องพึ่งองค์กรเหล่านี้อีกต่อไปแล้ว

ไม่ว่าธุรกิจอะไรที่เป็นตัวกลาง หรืออยู่ได้เพราะความน่าเชื่อถือ มันกำลังจะโดน disrupt อย่างแน่นอน

ปิดท้าย

ตอนนี้เพื่อน ๆ คงเข้าใจ Blockchain และศักยภาพของมันเบื้องต้นกันแล้วนะครับ ซึ่งจริง ๆ แล้วแค่ Blockchain มันไม่พอที่จะมาสร้าง Trustless System ที่ตัดตัวกลางได้ มันต้องขึ้นอยู่กับการออกแบบด้วย โดยเฉพาะการนำ Cryptocurrency มาใช้ และการเลือก Consensus ที่เหมาะสม (บางคนอาจจะเห็นว่าคอยน์แมนยังไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้ ไม่ได้ลืมครับ ติดตามกันได้ที่บทความหน้า)

ครั้งหน้า คอยน์แมนจะขอมานำเสนอถึงความสำคัญของ Cryptocurrency ว่า ทำไมมันถึงไม่ควรแยกกับ Blockchain ทำไมมันถึงจำเป็นในการสร้างระบบ Trustless System นะครับ (องค์กรส่วนมากจะชอบพูดว่า จะเอา Blockchain แต่ไม่เอา Crytocurrency ซึ่งเหมือนกับทำลายจุดประสงค์ของ Blockchain เลยทีเดียว)

Blockchain มีกี่ตัว

ปัจจุบัน Blockchain. ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.Public Blockchain. 2.Private Blockchain.

Block Chian เป็นการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแบบใด

Blockchain คือเทคโนโลยีการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ หรือที่เรียกว่า Distributed Ledger Technology (DLT) ซึ่งเป็นรูปแบบการบันทึกข้อมูลที่ใช้หลักการ Cryptography ร่วมกับกลไก Consensus โดยข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบ Blockchain นั้นจะสามารถทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ยาก ช่วยเพิ่มความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือของ ...

ส่วนประกอบสําคัญของ 1 block ประกอบด้วยส่วนใด

Block คือ ชุดบรรจุข้อมูลซึ่งมี 2 ส่วนคือส่วนของสิ่งของต่าง ๆ ที่ใส่เข้าไปเรียกว่า Item และส่วนแปะหัวกล่องหรือ Header เพื่อใช้บอกให้คนอื่นทราบว่าบรรจุอะไรมา (แต่เปิดดู Item ภายในนั้นไม่ได้)

องค์ประกอบของเทคโนโลยี Blockchain มีอะไรบ้าง

องค์ประกอบของเทคโนโลยี Blockchain ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบส าคัญ คือ 1) Block 2) Chain 3) Consensus และ 4) Validation ดังแสดงในรูปภาพที่4. องค์ประกอบของเทคโนโลยีBlockchain.