พลังงานแสงอาทิตย์ มี 2 รูปแบบคืออะไร

พลังงานแสงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์ คือแหล่งกำเนิดพลังงานที่สำคัญที่สุดสำหรับโลกของเรา พลังงานจากดวงอาทิตย์ถือเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด ทั้งยังเป็นต้นกำเนิดของพลังงานหมุนเวียนในรูปอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะ พลังงานลม พลังงานน้ำ
ดวงอาทิตย์ยังเป็นต้นกำเนิดของกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนของก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโลกอีกด้วย

ดวงอาทิตย์ปล่อยพลังงานได้มากมายมหาศาลและต่อเนื่องแทบไม่มีวันหมดสิ้น เพียงหนึ่งชั่วโมง โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ในรูปของรังสีถึงประมาณ 174,000 เทระวัตต์ หรือเกือบเท่ากับพลังงานทั้งหมดที่โลกใช้ตลอดปี ในจำนวนนี้ 30% จะถูกสะท้อนกลับไปในอวกาศ ส่วนที่เหลือจะถูกดูดซับโดยเมฆ มหาสมุทร และพื้นดิน ศักยภาพทางพลังงานที่สูงยิ่งนี้ แต่เดิมถูกนำไปใช้ประโยชน์แค่ในรูปของความร้อนและแสงสว่างจากแสงแดดโดยตรง ไม่ผ่านกระบวนการใดๆ จนมาในปลายคริสต์ศตวรรษ 19 มนุษย์ถึงรู้จักต่อยอดการใช้พลังงานจากดวงอาทิตย์ได้สำเร็จ โดยสามารถใช้ในการผลิตพลังงานที่เรียกว่า “พลังงานแสงอาทิตย์” แม้จะถือว่ามีวิวัฒนาการที่ช้า แต่เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ในปัจจุบันก้าวหน้าไปมากและมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงมาเรื่อยๆ ทำให้พลังงานแสงอาทิตย์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีอัตราการเติบโตสูงสุด เป็นรองก็แต่เพียงพลังงานลม
สำหรับประเทศไทย เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตรจึงมีข้อได้เปรียบตรงที่ความเข้มรังสีโดยเฉลี่ยตลอดทั้งปีสูงกว่าเขตอื่นๆ ของโลก ปัจจุบันการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์เป็นหนึ่งในนโยบายด้านพลังงานทดแทนของภาครัฐที่ได้รับผลักดันส่งเสริมให้มีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาคเอกชน รวมทั้งภาคครัวเรือนที่ปัจจุบันสามารถจำหน่ายปริมาณไฟฟ้าส่วนเกินจากระบบเข้าสู่กฟภ.ได้แล้ว จึงถือเป็นอีกพลังงานทดแทนที่มีอนาคตค่อนข้างสดใส

พลังงานแสงอาทิตย์ มี 2 รูปแบบคืออะไร

พลังงานแสงอาทิตย์

พลังงานแสงอาทิตย์ (solar energy) คือพลังงานที่ผลิตได้จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ในรูปของแสงแดด ที่ประกอบด้วยพลังงานแสงและพลังงานความร้อน ดังนั้น พลังงานแสงอาทิตย์จึงมีอยู่สองส่วนด้วยเช่นกัน ก็คือพลังงานแสงและพลังงานความร้อน โดยพลังงานทั้งสองส่วนนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานได้สองรูปแบบ ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า และพลังงานความร้อน

ศักยภาพของแสงอาทิตย์

เป็นความเข้าใจผิดที่ว่าแสงแดดในที่ใดๆ ก็สามารถจะเป็นแหล่งผลิตให้กับพลังงานแสงอาทิตย์ได้เหมือนๆ กัน เพราะที่จริงจะต้องพิจารณาถึงความเข้มของรังสีแสงอาทิตย์เป็นหลัก จากการศึกษาจากข้อมูลดาวเทียมประกอบการตรวจวัดภาคพื้นดินของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยได้รับรังสีดวงอาทิตย์สูงสุดระหว่างเดือนเมษายนและพฤษภาคม ที่ค่าความเข้มในช่วง 20-24 เมกะจูลต่อตารางเมตร/วัน โดยพื้นที่ที่มีศักยภาพจะมีความเข้มของรังสีโดยเฉลี่ยตลอดทั้งปีอยู่ที่ 19-20 เมกะจูลต่อตารางเมตร/วัน คิดเป็นพื้นที่ทั้งหมด 14.3% ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และอุดรธานี รวมทั้งบางส่วนในพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง เช่น สุพรรณบุรี ชัยนาท ลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา

แผนที่ความเข้มของรังสีแสงอาทิตย์เฉลี่ยตลอดปี

พลังงานแสงอาทิตย์ มี 2 รูปแบบคืออะไร

ที่มา : http://www.solargen.co.th/th/blog/1012/blog-1012

พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการผลิตไฟฟ้า

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการผลิตไฟฟ้า โดยทั่วไปมีอยู่สองแนวทางใหญ่ๆ คือ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสง และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน ซึ่งที่ได้รับความนิยมและมีความสำคัญที่สุดก็คือ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงด้วยเซลล์แสงอาทิตย์

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสง

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสง อาศัยวิธีการที่เรียกว่า โฟโต้โวลทาอิค (photovoltaic หรือ solar photovataic) เป็นการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรงโดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์ หรือโซล่าร์เซลล์ (solar cell หรือ photovoltaic cell) ซึ่งถูกผลิตครั้งแรกในปี ค.ศ. 1883 โดยชาร์ลส ฟริตส (Charles Fritts) ในตอนนั้นธาตุที่ใช้คือซีลีเนียม

องค์ประกอบสำคัญของการผลิตไฟฟ้าด้วยวิธีโฟโต้โวลทานิค คือ เซลล์แสงอาทิตย์ และโครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์
เซลล์แสงอาทิตย์ มาจากภาษาอังกฤษว่า solar cell หรือ photovoltaic (PV) ที่มีที่มาจากคำว่า photo หมายถึง แสง และ volt หมายถึง แรงดันไฟฟ้า คำว่า photovoltaic จึงสื่อความหมายถึงปรากฏการณ์ที่แสงตกกระทบวัตถุที่มีความสามารถในการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง เซลล์แสงอาทิตย์ทำจากสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน (Silicon) แกลเลียมอาร์เซไนด์ (Gallium Arsenide) อินเดียมฟอสไฟด์ (Indium Phosphide) แคดเมียมเทลเลอไรด์ (Cadmium Telluride) และคอปเปอร์อินเดียมไดเซเลไนด์ (Copper Indium Diselenide) ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือซิลิคอน เนื่องจากมีปริมาณมากที่สุด ราคาถูกที่สุด อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพสูง

โครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์ ที่นิยมมากที่สุดเรียกว่า รอยต่อพีเอ็นของสารกึ่งตัวนำ อาทิ ซิลิคอน ซึ่งจะถูกนำไปผ่านขั้นตอนการทำให้บริสุทธิ์จนกระทั่งเป็นผลึก จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการแพร่ซึมสารเจือปนเพื่อสร้างรอยต่อพีเอ็น เมื่อเติมสารเจือฟอสฟอรัสก็จะเป็นสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น (เพราะนำไฟฟ้าด้วยอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบ) และเมื่อเติมสารเจือโบรอนก็จะเป็นสารกึ่งตัวนำชนิดพี (เพราะนำไฟฟ้าด้วยโฮลซึ่งมีประจุบวก) ดังนั้น เมื่อนำสารกึ่งตัวนำชนิดพีและเอ็นมาประกบกันจะเกิดรอยต่อพีเอ็นขึ้น โครงสร้างของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอน อาจมีรูปร่างเป็นแผ่นวงกลมหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความหนา 200-400 ไมครอน (0.2-0.4 มม.) ผิวด้านรับแสงจะมีชั้นแพร่ซึมที่มีการนำไฟฟ้า ขั้วไฟฟ้าด้านหน้าที่รับแสงจะมีลักษณะคล้ายก้างปลาเพื่อให้ได้พื้นที่รับแสงมากที่สุด ส่วนขั้วไฟฟ้าด้านหลังเป็นขั้วโลหะเต็มพื้นผิว

หลักการของการผลิตไฟฟ้าด้วยวิธีโฟโต้โวลทานิคก็คือ เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ จะเกิดการสร้างพาหะนำไฟฟ้าประจุลบและบวกขึ้น ได้แก่ อิเล็กตรอนและโฮล โครงสร้างรอยต่อพีเอ็นจะทำหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้าภายในเซลล์ เพื่อแยกพาหะนำไฟฟ้าชนิดอิเล็กตรอนไปที่ขั้วลบ และพาหะนำไฟฟ้าชนิดโฮลไปที่ขั้วบวก (ปกติที่ฐานจะใช้สารกึ่งตัวนำชนิดพี ขั้วไฟฟ้าด้านหลังจึงเป็นขั้วบวก ส่วนด้านรับแสงใช้สารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น ขั้วไฟฟ้าจึงเป็นขั้วลบ) ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าแบบกระแสตรงที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสอง เมื่อต่อให้ครบวงจรไฟฟ้าจะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลขึ้น
กระแสไฟฟ้าแบบกระแสตรงที่ผลิตได้จากเซลล์แสงอาทิตย์นี้สามารถนำไปใช้ได้เฉพาะกับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรงเท่านั้น ถ้าต้องการนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับหรือเก็บสะสมพลังงานไว้ใช้ต่อไป ต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นๆ ร่วมด้วย

การทำงานของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (ในโครงสร้างพีเอ็น)

พลังงานแสงอาทิตย์ มี 2 รูปแบบคืออะไร

อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยวิธีโฟโต้โวลทาอิค

• แผงเซลล์แสงอาทิตย์ (solar module) มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt) วิธีการใช้คือนำแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาต่อกันเป็นแถวหรือเป็นชุด เพื่อให้ได้พลังงานไฟฟ้าตามที่ต้องการ การต่อกันแบบอนุกรมจะช่วยเพิ่มแรงดันไฟฟ้า ส่วนการต่อกันแบบขนานจะช่วยเพิ่มพลังงานไฟฟ้า
• เครื่องควบคุมการชาร์จ (charge controller) เนื่องจากแรงดันและกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์นั้นขึ้นอยู่กับแสงซึ่งเปลี่ยนแปลงไม่คงที่ การจะให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่แบตเตอรี่โดยตรงจึงจะทำให้การเก็บไฟฟ้าไว้ใช้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น เครื่องควบคุมการชาร์จจะถูกนำเข้ามาช่วยเป็นตัวกลางคอยควบคุมการชาร์จประจุไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์เข้าสู่แบตเตอรี่ รวมทั้งการจ่ายไฟฟ้าออกจากแบตเตอรี่ ให้มีปริมาณเหมาะสม ไม่ไหลย้อนกลับ เพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่และป้องกันความเสียหาย
• แบตเตอรี่ (battery) ทำหน้าที่เป็นตัวเก็บกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ไว้ใช้เวลาที่ต้องการ เช่น เวลาที่ไม่มีแสงอาทิตย์ เวลากลางคืน หรือนำไปประยุกต์ใช้งานอื่นๆ แบตเตอรี่มีหลายชนิดและหลายขนาดให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม
• เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (inverter) ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) ที่ผลิตได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ให้เป็นกระแสสลับ (AC) เพื่อให้สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับ แบ่งเป็นสองชนิด คือ sine wave inverter ใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับทุกชนิด และ modified sine wave inverter ใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสสลับที่ไม่มีส่วนประกอบของมอเตอร์ และหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่เป็น electronic ballast
• ระบบป้องกันฟ้าผ่า (lightning protection) ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าเมื่อฟ้าผ่า หรือเกิดการเหนี่ยวนำที่ทำให้ความต่างศักย์สูงเกินไป โดยทั่วไประบบป้องกันฟ้าผ่ามักใช้กับโครงการขนาดใหญ่และมีความสำคัญเท่านั้น และต้องใช้ร่วมกับระบบสายดินที่มีประสิทธิภาพด้วย

พลังงานแสงอาทิตย์ มี 2 รูปแบบคืออะไร

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน (solar thermal electricity) มีลักษณะการทำงานคล้ายกับแว่นขยาย หลักการทำงานก็คือการใช้อุปกรณ์รับแสง เช่น กระจกหรือวัสดุสะท้อนแสงและหมุนตามดวงอาทิตย์ เพื่อรวบรวมความร้อนจากแสงอาทิตย์มาไว้ที่จุดเดียวกัน หรือที่เรียกว่าระบบความร้อนรวมศูนย์ (concentrated solar power หรือ CSP) ทำให้เกิดความร้อนสูง ส่งผ่านไปยังตัวกลาง เช่น น้ำ หรือน้ำมัน พลังงานความร้อนนี้จะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรงหรือไม่ก็ถูกเก็บไว้ในสารเคมีบางอย่างที่สามารถเก็บความร้อนได้ เช่น สารละลายเกลือ (molten salt) ก่อนจะนำไปใช้ในการเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าอีกที

การผลิตไฟฟ้าพลังงานที่เกิดจากความร้อน สามารถแบ่งออกได้เป็นสามระบบหลักๆ ตามอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รวมศูนย์ความร้อน ได้แก่
ระบบรางพาราโบลิค (parabolic through) มีรางยาวโค้งมิติเดียวเป็นตัวรับแสง ติดตั้งอยู่บนระบบหมุนตามดวงอาทิตย์แกนเดียว ทำหน้าที่รวมแสงอาทิตย์ให้สะท้อนไปยังท่อที่ขนานกับแนวราง เพื่อถ่ายเทความร้อนให้ของเหลว (น้ำหรือน้ำมัน) ที่ไหลผ่านท่อ ทำให้ของเหลวนั้นกลายเป็นไอขับเคลื่อนกังหันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ในช่วงที่ไม่มีแสงอาทิตย์ การผลิตไอน้ำจะใช้พลังงานสำรองอื่นเข้ามาช่วย เช่น พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ

พลังงานแสงอาทิตย์ มี 2 รูปแบบคืออะไร

การทำงานของระบบรางพาราโบลิค

ระบบหอคอย (power tower) มีตัวรับความร้อนที่ติดตั้งอยู่บนหอคอยที่ล้อมรอบด้วยแผงกระจกขนาดใหญ่จำนวนมาก เรียกว่า โฮลิโอสแตท (holiostat) ซึ่งจะหมุนตามดวงอาทิตย์และสะท้อนแสงไปยังตัวรับความร้อน เพื่อให้ของเหลวที่อยู่ภายในได้รับความร้อนจนระเหยเป็นไอขับเคลื่อนกังหันเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ระบบนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยและกำลังจะนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ เช่น โรงไฟฟ้า Gemasolar ในเมืองเซวิลล์ ประเทศสเปน เป็นต้น

พลังงานแสงอาทิตย์ มี 2 รูปแบบคืออะไร

พลังงานแสงอาทิตย์ มี 2 รูปแบบคืออะไร

การทำงานของระบบหอคอย

ระบบจานพาราโบลิค (parabolic dish) ประกอบด้วยจานรวมแสงแบบพาราโบลิคที่มีระบบขับเคลื่อนแบบสองแกนที่หมุนตามดวงอาทิตย์ตลอดทั้งวัน ทำงานร่วมกับเครื่องยนต์สเตอร์ลิง (stirling engine) หลักการก็คือการเปลี่ยนความร้อนจากรังสีของดวงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานกลเพื่อนำไปผลิตไฟฟ้าโดยใช้ลูกสูบของเครื่องยนต์สเตอร์ลิงที่ติดตั้งบนจุดโฟกัสของจานพาราโบลิค เมื่ออากาศภายในลูกสูบมีอุณหภูมิสูงขึ้นและขยายตัวจะทำให้เครื่องยนต์ทำงานอย่างต่อเนื่อง

พลังงานแสงอาทิตย์ มี 2 รูปแบบคืออะไร

การทำงานของระบบจานพาราโบลิค

พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการผลิตความร้อน

การผลิตความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ (solar heating) เป็นการนำความร้อนจากแสงแดดมาใช้ประโยชน์โดยตรง โดยอาศัยการรวมแสงไปที่จุดโฟกัสของภาชนะรูปพาราโบลิค ทำให้อุณหภูมิที่จุดนั้นสูงขึ้น ภาชนะรูปพาราโบลิคนี้จะใช้วัสดุสีดำและทาสีดำไว้บนท่อลำเลียง เพราะสีดำมีคุณสมบัติในการดูดซับแสงที่จะช่วยเพิ่มอุณหภูมิให้กับน้ำ น้ำร้อนที่ได้จะถูกนำไปใช้ในระบบ ไม่ว่าจะเป็นการปรุงอาหาร ชำระล้าง หรือการทำน้ำอุ่น ตัวอย่างของการนำพลังงานความร้อนชนิดนี้มาประยุกต์ใช้ ได้แก่ เครื่องทำน้ำร้อน ตู้อบแห้ง การทำนาเกลือ บางประเทศมีการนำไปใช้กลั่นน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดด้วย

พลังงานแสงอาทิตย์ มี 2 รูปแบบคืออะไร

การผลิตความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์

ข้อดี ข้อเสีย ของพลังงานแสงอาทิตย์

ข้อดี
• ผลิตไฟฟ้าได้ทุกขนาด ตั้งแต่ขนาดย่อย เช่น ในเครื่องคิดเลข ไปจนถึงขนาดใหญ่อย่างโรงงานไฟฟ้า กำลังการผลิต 0.1 เมกะวัตต์ ขึ้นไป โดยให้ประสิทธิภาพไม่ต่างกัน ต่างจากพลังงานน้ำหรือพลังงานนิวเคลียร์ ที่ประสิทธิภาพของพลังงานจะขึ้นอยู่กับขนาดของระบบ
• ปรับใช้ได้ง่ายที่สุด เพียงแค่ติดตั้งบนหลังคาก็สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ภายในครัวเรือน (ปริมาณไฟฟ้าส่วนเกินยังสามารถสร้างรายได้ได้ด้วยโดยการขายให้กับกฟภ.)
• ในประเทศที่ส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานแสงอาทิตย์สร้างอาชีพได้มากกว่าพลังงานฟอสซิล
• ราคาถูกลงมาเรื่อยๆ และคาดว่าจะเป็นพลังงานราคาประหยัดได้ในอนาคต
ข้อเสีย
• ผลผลิตที่ได้ไม่สม่ำเสมอ
• ผลิตที่ไหนต้องใช้ที่นั่น เนื่องจากยังต้องใช้เวลาและงบประมาณในการพัฒนาระบบสายส่งให้มีประสิทธิภาพ (พลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตได้จึงยังไม่นิยมจ่ายออกไปยังพื้นที่ที่ไกลจากแหล่งผลิต)
• ความเข้มของพลังงานแสงอาทิตย์นั้นไม่สูง เมื่อต้องการพลังงานในปริมาณมากๆ จึงจำเป็นต้องใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์และพื้นที่ติดตั้งที่มากตามไปด้วย
• แผงเซลล์แสงอาทิตย์จะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาลที่ต้องหาทางกำจัดเมื่อหมดอายุการใช้งาน

ตัวอย่างของพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย

ภาครัฐโดยกฟผ. เริ่มทดลองใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ในระยะแรกเป็นโครงการต้นแบบขนาดเล็กเพื่อการผลิตไฟฟ้าให้กับชุมชนในพื้นที่ห่างไกล โดยอาศัยการนำเข้าเทคโนโลยีการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์จากต่างประเทศ อาทิ สถานีพลังงานแสงอาทิตย์สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ กำลังผลิต 0.029 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน กำลังผลิต 0.02 เมกะวัตต์ เป็นต้น
ปัจจุบัน ความก้าวหน้าของการผลิตและพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทยอยู่ในภาคเอกชนเป็นสำคัญ โดยอาศัยการผลักดันและสนับสนุนจากภาครัฐในด้านต่างๆ โดยเฉพาะมาตรการด้านภาษีและการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการลงทุน เช่น การยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ การสนับสนุนการกู้ยืมเงินทุนและเงินหมุนเวียนผ่านสถาบันการเงิน

หนึ่งในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ของภาคเอกชน คือ “โรงไฟฟ้าลพบุรีโซล่าร์” ของบริษัทพัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด (Natural Energy Development Co., Ltd. หรือ NED) ตั้งอยู่ที่จังหวัดลพบุรี เปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2554 มีการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์เทคโนโลยีทินฟิล์ม (Amorphous Thin Film) ที่ผลิตโดยบริษัทผู้ผลิตชั้นนำของโลกกว่า 520,000 แผง เพื่อจะเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระบบโฟโต้โวลทาอิคต้นแบบของประเทศ ในระยะที่หนึ่ง มีกำลังผลิตไฟฟ้ากระแสตรง 73 และกระแสสลับ 55 เมกะวัตต์ และระยะที่สองเพิ่มอีก 11 และ 8 เมกะวัตต์ รวมสองระยะจะผลิตไฟฟ้ากระแสตรงได้ 84 และกระแสสลับได้ 63 เมกะวัตต์

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อื่นๆ ของภาคเอกชน

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จังหวัดลำปาง (พ.ศ. 2551) โดยบริษัทอีเอโซล่าลำปาง จำกัด กำลังผลิต 128 เมกะวัตต์
โรงไฟฟ้าบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี (พ.ศ. 2555) กำลังผลิต 10 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้า โคกสำโรง จังหวัดลพบุรี กำลังผลิต (พ.ศ. 2557) โดยบริษัทบ่อพลอยโซล่าร์ จำกัด บริษัทเจเคอาร์พลังงาน จำกัด และบริษัทอาร์พีวีพลังงาน จำกัด

พลังงานแสงอาทิตย์ มี 2 รูปแบบคืออะไร

ลิงค์ที่มาข้อมูล : http://www.green-energy-th.com/solar/

พลังงานแสงอาทิตย์มีลักษณะเป็นอย่างไร

พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานทดแทนประเภทหมุนเวียนที่ใช้แล้วเกิดขึ้นใหม่ได้ตามธรรมชาติเป็นพลังงานที่สะอาด ปราศจากมลพิษ และเป็นพลังงานที่มีศักยภาพสูง ในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์สามารถจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตความร้อน

พลังงานแสงอาทิตย์มีความสําคัญอย่างไร

'พลังงานแสงอาทิตย์' เป็นพลังงานจากธรรมชาติ ปราศจากมลพิษ เป็นพลังงานทดแทนอันมีศักยภาพสูง มนุษย์สามารถนำมาใช้ได้ตามความต้องการและมีประโยชน์มาก เช่น นำมาผลิตไฟฟ้าเพื่อทำความร้อน และในปัจจุบันนี้นำมาทำความเย็นก็ย่อมได้ สำหรับในประเทศไทยนั้น มีการประยุกต์ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพในหลายประเภท โดยตั้งอยู่บน ...

พลังงานแสงอาทิตย์มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

พลังงานแสงอาทิตย์ (solar energy) คือพลังงานที่ผลิตได้จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ในรูปของแสงแดด ที่ประกอบด้วยพลังงานแสงและพลังงานความร้อน ดังนั้น พลังงานแสงอาทิตย์จึงมีอยู่สองส่วนด้วยเช่นกัน ก็คือพลังงานแสงและพลังงานความร้อน โดยพลังงานทั้งสองส่วนนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานได้สองรูปแบบ ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า ...

พลังงานแสงอาทิตย์หมายถึงอะไร

พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานของแสงและพลังงานของความร้อนที่แผ่รังสีมาจากดวงอาทิตย์ พลังงานแสงอาทิตย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ พลังงานที่เกิดจากแสงและพลังงานที่เกิดจากความร้อน