กลุ่มสาระสังคมศึกษามีอะไรบ้าง

ประถมศึกษา

วิสัยทัศน์

     

จัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ควบคู่คุณธรรม เกิดความภาคภูมิใจในประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงตนเป็นพลเมืองและพลโลกตามวิถีประชาธิปไตย  ใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

พันธกิจ

1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน

2. พัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน

3. พัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีองค์ความรู้ทางด้านวิชาการและเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์

4. พัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะในการดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยและมีความเป็นพลโลกอย่างมีความสุข

แนะนำกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

     

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มุ่งเน้นให้ผู้เรียนให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มุ่งมั่นสร้าง และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การคิดแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี มีทักษะชีวิต ยึดมั่นในประชาธิปไตย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีจิตสาธารณะ มุ่งทำประโยชน์ และสร้างสิ่งที่ดีงามให้แก่สังคม และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขเพื่อก้าวสู่สากลและประชาคมอาเซียน สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก

มัธยมศึกษา

วิสัยทัศน์

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  โรงเรียนสาธิต มศว  องครักษ์  มุ่งพัฒนากลุ่มสาระให้เป็นต้นแบบการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา  ตลอดจนส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาตนเองเต็มศักยภาพ  มีความสามารถในการปรับตัวให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม และมีจิตสำนึกในการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคมไทยและสังคมโลก
 

พันธกิจ

1. จัดประสบการณ์การเรียนรู้และสภาพแวดล้อมภายในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
 2. พัฒนาอาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
 3. ทำนุบำรุงและสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย    

กลุ่มสาระสังคมศึกษามีอะไรบ้าง

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม

ทำไมต้องเรียนสังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม

                สังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ว่ามนุษย์ดำรงชีวิตอย่างไร  ทั้งในฐานะปัจเจกบุคคล และการอยู่ร่วมกันในสังคม การปรับตัวตามสภาพแวดล้อม การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด  นอกจากนี้ ยังช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจถึงการพัฒนา เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย กาลเวลา ตามเหตุปัจจัยต่างๆ  ทำให้เกิดความเข้าใจในตนเอง และผู้อื่น มีความอดทน อดกลั้น ยอมรับในความแตกต่าง และมีคุณธรรม  สามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ และสังคมโลก

เรียนรู้อะไรในสังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมว่าด้วยการอยู่ร่วมกันในสังคม ที่มีความเชื่อมสัมพันธ์กัน และมีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย เพื่อช่วยให้สามารถปรับตนเองกับบริบทสภาพแวดล้อม  เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ  มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม  โดยได้กำหนดสาระต่างๆไว้ ดังนี้

·       ศาสนา ศีลธรรมและจริยธรรม  แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ การนำหลักธรรมคำสอนไปปฏิบัติในการพัฒนาตนเอง และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เป็นผู้กระทำความดี มีค่านิยมที่ดีงาม พัฒนาตนเองอยู่เสมอ รวมทั้งบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม

·       หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิต  ระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบันการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลักษณะและความสำคัญ การเป็นพลเมืองดี ความแตกต่างและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ปลูกฝังค่านิยมด้านประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพการดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทยและสังคมโลก

·       เศรษฐศาสตร์การผลิต การแจกจ่าย และการบริโภคสินค้าและบริการ  การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ  การดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ และการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน 

·       ประวัติศาสตร์ เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ พัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์และเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์สำคัญในอดีต  บุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆในอดีต ความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย  แหล่งอารยธรรมที่สำคัญของโลก 

·       ภูมิศาสตร์ ลักษณะของโลกทางกายภาพ  ลักษณะทางกายภาพ  แหล่งทรัพยากร และภูมิอากาศของประเทศไทย และภูมิภาคต่างๆ ของโลก การใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ความสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ ในระบบธรรมชาติ ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น การนำเสนอข้อมูลภูมิสารสนเทศ  การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑     ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

มาตรฐาน  ส ๑.             รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่น และปฏิบัติตามหลักธรรม เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

มาตรฐาน ส .            เข้าใจ  ตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี  และธำรงรักษาพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ

สาระที่ ๒     หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม­

มาตรฐาน  ส ๒.           เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และ

ธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และ สังคมโลกอย่างสันติสุข                     

มาตรฐาน  ส ๒.          เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน  ยึดมั่น  ศรัทธา  และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

­สาระที่ ๓   เศรษฐศาสตร์

มาตรฐาน ส.๓.๑              เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้

                                              ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจ

                                              หลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ

มาตรฐาน ส.๓.๒            เข้าใจระบบ และสถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ

และความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก

สาระที่ ๔     ประวัติศาสตร์

มาตรฐาน ส ๔.             เข้าใจความหมาย  ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆ  อย่างเป็นระบบ

มาตรฐาน ส ๔.            เข้าใจพัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน  ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ตระหนักถึงความสำคัญและสามารถ  วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้น

มาตรฐาน ส ๔.            เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม  ภูมิปัญญาไทย   มีความรัก                  ความภูมิใจและธำรงความเป็นไทย

สาระที่ ๕  ภูมิศาสตร์                                                                                                                                           

มาตรฐาน ส ๕.               เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ  และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผล ต่อกันและกันในระบบของธรรมชาติ  ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ                                                                                                                         

มาตรฐาน ส ๕.              เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิด

การสร้างสรรค์วัฒนธรรม  มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์   ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม  เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

คุณภาพผู้เรียน

จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

·       ได้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเองและผู้ที่อยู่รอบข้าง  ตลอดจนสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น  ที่อยู่อาศัย  และเชื่องโยงประสบการณ์ไปสู่โลกกว้าง

·       ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีทักษะกระบวนการ  และมีข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาให้เป็น          ผู้มีคุณธรรม  จริยธรรม  ประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ  มีความเป็นพลเมืองดี  มีความรับผิดชอบ  การอยู่ร่วมกันและการทำงานกับผู้อื่น  มีส่วนร่วมในกิจกรรมของห้องเรียน  และได้ฝึกหัดในการตัดสินใจ

·       ได้ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง  ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนในลักษณะการบูรณาการ  ผู้เรียนได้เข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับปัจจุบันและอดีต  มีความรู้พื้นฐานทางเศรษฐกิจได้ข้อคิดเกี่ยวกับรายรับ-รายจ่ายของครอบครัว เข้าใจถึงการเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค รู้จักการออมขั้นต้นและวิธีการเศรษฐกิจพอเพียง

·       ได้รับการพัฒนาแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญา เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจในขั้นที่สูงต่อไป

จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

·       ได้เรียนรู้เรื่องของจังหวัด ภาค และประทศของตนเอง ทั้งเชิงประวัติศาสตร์ ลักษณะทางกายภาพ สังคม ประเพณี และวัฒนธรรม รวมทั้งการเมืองการปกครอง สภาพเศรษฐกิจโดยเน้นความเป็นประเทศไทย

·       ได้รับการพัฒนาความรู้และความเข้าใจ ในเรื่องศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของศาสนาที่ตนนับถือ รวมทั้งมีส่วนร่วมศาสนพิธี และพิธีกรรมทางศาสนามากยิ่งขึ้น

·       ได้ศึกษาและปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิหน้าที่ในฐานะพลเมืองดีของท้องถิ่น จังหวัด ภาค และประเทศ รวมทั้งได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ของท้องถิ่นตนเองมากยิ่งขึ้น

·       ได้ศึกษาเปรียบเทียบเรื่องราวของจังหวัดและภาคต่างๆของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน  ได้รับการพัฒนาแนวคิดทางสังคมศาสตร์ เกี่ยวกับศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หน้าที่พลเมือง เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์เพื่อขยายประสบการณ์ไปสู่การทำความเข้าใจ  ในภูมิภาค   ซีกโลกตะวันออกและตะวันตกเกี่ยวกับศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม การดำเนินชีวิต การจัดระเบียบทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากอดีตสู่ปัจจุบัน

จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

·       ได้เรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปของโลก โดยการศึกษาประเทศไทยเปรียบเทียบ              กับประเทศในภูมิภาคต่างๆในโลก เพื่อพัฒนาแนวคิด เรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

·       ได้เรียนรู้และพัฒนาให้มีทักษะที่จำเป็นต่อการเป็นนักคิดอย่างมีวิจารณญาณได้รับการพัฒนาแนวคิด และขยายประสบการณ์ เปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ในโลก ได้แก่ เอเชีย โอเชียเนีย  แอฟริกา ยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ในด้านศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ และสังคมศาสตร์

·       ได้รับการพัฒนาแนวคิดและวิเคราะห์เหตุการณ์ในอนาคต สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์               ในการดำเนินชีวิตและวางแผนการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม

จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖

·       ได้เรียนรู้และศึกษาความเป็นไปของโลกอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น

·       ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้พัฒนาตนเองเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ รวมทั้งมีค่านิยมอันพึงประสงค์ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งมีศักยภาพเพื่อการศึกษาต่อในชั้นสูงตามความประสงค์ได้

·       ได้เรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาไทย ความภูมิใจในความเป็นไทย ประวัติศาสตร์ของชาติไทย                 ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

·       ได้รับการส่งเสริมให้มีนิสัยที่ดีในการบริโภค เลือกและตัดสินใจบริโภคได้อย่างเหมาะสม          มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ประเพณีวัฒนธรรมไทย และสิ่งแวดล้อม มีความรักท้องถิ่นและประเทศชาติ มุ่งทำประโยชน์ และสร้างสิ่งที่ดีงามให้กับสังคม

·       เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของตนเอง ชี้นำตนเองได้ และสามารถแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆในสังคมได้ตลอดชีวิต

  แหล่งที่มาwww.phol.ac.th  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพละศึกษา

สาระสังคมศึกษาคืออะไร

สังคมศึกษาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เป็นศาสตร์ความรู้ หนึ่งที่มีความสำคัญ และมีบทบาทอย่างมากต่อการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจการดำรงชีวิต อยู่ในสภาพสังคมปัจจุบัน ที่มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา สามารถปรับตัวและปฏิบัติตน ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ในฐานะ ...

หน้าที่พลเมืองอยู่ในกลุ่มสาระใด

ราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ กระทรวงศึกษาธิการ จึงประกาศกำหนดให้สถานศึกษาทุกสังกัด เพิ่ม “วิชาหน้าที่พลเมือง” ลงในหลักสูตรสถานศึกษา โดยจัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ทุกระดับชั้นและทุกช่วงชั้น ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ประวัติศาสตร์อยู่ในกลุ่มสาระอะไร

เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ และวิชาหน้าที่พลเมืองนั้นยังคงมีอยู่ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพียงแต่ถูกบรรจุอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จึงอาจทำให้เนื้อหาและเวลาในการเรียนมีน้อยกว่าที่ผ่านมา ทำให้เด็กอาจได้เรียน ...

ประโยชน์ของวิชาสังคมมีอะไรบ้าง

1. ได้เรียนรู้และศึกษาความเป็นไปของโลกอย่างกว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น 2. ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้พัฒนาตนเองเป็นพลเมืองดี มีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ รวมทั้งมีค่านิยมอันพึงประสงค์ สามารถอยู่ ร่วมกับผู้อื่นและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข รวมทั้งมีศักยภาพเพื่อการศึกษาต่อในชั้นสูง