รูปแบบการให้บริการของธุรกิจ fintech แต่ละรูปแบบมีลักษณะอย่างไร

FinTech หรือ Financial Technology เป็นสาขาของสตาร์ทอัพที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากทั้งผู้บริโภคและธุรกิจในอุตสาหกรรมต่างๆ เพราะการเงินและเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเงินนั้นมีแง่มุมการให้บริการมาก สัมผัสกับวิถีชีวิตและการดำเนินธุรกิจที่หลากหลาย และมีความสำคัญในทุกประเทศทั่วโลก 

คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด พาเราไปทบทวนว่า FinTech คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ มีการเติบโตอย่างไรในช่วงที่ผ่านมา และจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต ซึ่งทีมงาน TechTalkThai ได้สรุปมาให้อ่านกันแล้วในบทความนี้ 

รูปแบบการให้บริการของธุรกิจ fintech แต่ละรูปแบบมีลักษณะอย่างไร
คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด

FinTech คืออะไร ทำไมจึงสำคัญ

อุตสาหกรรมการเงินนั้นเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ โดยในสมัยก่อน อุตสาหกรรมการเงินมีผู้เล่นที่สำคัญอย่างธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่คอยคิดค้น พัฒนา และกำหนดทิศทางของผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินใหม่ๆเข้ามานำเสนอต่อผู้บริโภค โดยธนาคารและสถาบันการเงินเหล่านี้ก็มีความพยายามในการพัฒนา Financial Technology ออกมาให้ผู้บริโภคได้ใช้กันอย่างต่อเนื่อง เช่น ระบบอินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้ง หรือการโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์ ที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง

FinTech หรือ Financial Technology นั้นไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่ถูกจำกัดว่าจะต้องเกิดจากบริษัทสตาร์ทอัพเสมอไป แต่สิ่งที่เรามักจะได้เห็นอยู่เสมอจากสตาร์ทอัพด้าน FinTech คือไอเดียที่แปลกใหม่ โซลูชันที่เกิดขึ้นและมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มได้ดีเยี่ยม ที่เป็นอย่างนี้ก็อาจเพราะสตาร์ทอัพ FinTech นั้นมักมีเป้าหมายที่โฟกัสไปอย่างชัดเจน และใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงสิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็ว ต่างจากธนาคารและสถาบันการเงินที่ต้องโฟกัสกับตลาดหลายแง่มุม และมักมีขนาดองค์กรที่ใหญ่ ไม่สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมได้รวดเร็วนัก

สตาร์ทอัพ FinTech ในปัจจุบันนำเสนอเทคโนโลยีที่เข้ามาให้บริการทางการเงินในหลายๆด้าน เช่น ขั้นตอนการชำระเงินออนไลน์ ระบบชำระเงินสำหรับร้านค้าออฟไลน์ (Stripe) ระบบสินเชื่อสำหรับรายย่อย ระบบดูแลการลงทุนและ AI แนะนำการลงทุน (Finnomena) กระเป๋าสตางค์ดิจิทัลครบวงจร (Alipay) ระบบบัญชีสำหรับธุกริจ ไปจนถึงธุรกิจ Cryptocurrency ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน

รูปแบบการให้บริการของธุรกิจ fintech แต่ละรูปแบบมีลักษณะอย่างไร
Finnomena คือแพลตฟอร์มซื้อขายกองทุนรวมที่ใช้งานง่าย มีคำแนะนำการลงทุน และใช้ AI ในการวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อคัดเลือกกองทุน

FinTech มีผลิตภัณฑ์สำหรับทุกคน

ขึ้นชื่อว่าเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเงินแล้วก็ใช่ว่า FinTech นั้นจะมีผลิตภัณฑ์แค่สำหรับธุรกิจรายใหญ่หรือผู้ที่มีรายได้มากเท่านั้น เพราะในปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีการเงินจำนวนมากที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อผู้ใช้งานที่อาจยังไม่ได้รับการซัพพอร์ตที่ดีพอจากสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม เช่น บริการ Micro Lending ที่ใช้อัลกอริทึมในการพิจารณาคำขอกู้ยืมสำหรับผู้รายได้น้อยที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงสินเชื่อแบบดั้งเดิมที่มีเกณฑ์การปล่อยกู้ที่ค่อนข้างเคร่งครัด, บริการกระเป๋าสตางค์ดิจิทัลโอนและรับเงินสำหรับผู้ไม่มีบัญชีธนาคาร, หรือแอปพลิเคชันการลงทุนที่สามารถเริ่มลงทุนได้แม้งบน้อย

นอกจากบริการแบบ B2C แล้ว FinTech เองก็มีการให้บริการในรูปแบบ B2B ด้วย และสตาร์ทอัพด้าน FinTech จำนวนไม่น้อยก็มีผลิตภัณฑ์​ที่เหมาะกับการนำไปใช้ในธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมใดก็ตาม เช่น PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการบัญชีบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพได้ง่ายๆ และ ICON CRM ระบบออนไลน์ที่ช่วยบริหารระบบงานขายและข้อมูลลูกค้าอย่างเต็มรูปแบบ 

รูปแบบการให้บริการของธุรกิจ fintech แต่ละรูปแบบมีลักษณะอย่างไร
ตัวอย่างเครื่อง Terminal จาก Square (https://squareup.com/us/en) ที่ช่วยให้ร้านค้าขนาดเล็กรับการชำระเงินจากหลายๆช่องทางได้อย่างปลอดภัย เชื่อมต่อกับร้านออนไลน์ อีกทั้งยังมีระบบเสริมอื่นๆ เช่น ระบบสมาชิก ระบบจัดการทีมงาน และระบบจัดการเงินสด (Credit: Clay Banks)

FinTech ใช้เทคโนโลยีอะไรบ้าง 

FinTech นั้นโดยรวมแล้วไม่มีการใช้งานเทคโนโลยีที่ตายตัว แต่จะเป็นการนำเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้พัฒนาโซลูชันตามไอเดียที่ได้คิดขึ้นมามากกว่า ซึ่งเทคโนโลยีที่มักจะพบว่ามีการใช้งานเยอะในการสร้างสรรค์ FinTech จะมี เช่น 

  • AI และ Machine Learning – ใช้ในงานวิเคราะห์ข้อมูล ทำนายผลลัพธ์ และการตัดสินใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานของหลายๆระบบ
  • Cloud – โครงสร้างพื้นฐานในการให้บริการต่างๆออนไลน์ ช่วยให้ธุรกิจสามารถพัฒนาโซลูชันได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ
  • Blockchain – ช่วยเพิ่มความโปร่งใส (Transparency) ให้กับขั้นตอนการดำเนินงาน และเป็นวิธีการเก็บรักษาข้อมูลที่ปลอดภัย ปลอมแปลงไม่ได้ อีกทั้งยังมีระบบ Smart Contract ช่วยในการสร้างขั้นตอนที่ทำงานได้โดยอัตโนัมติ 

ในอนาคตเราอาจได้เห็นเทคโนโลยีใหม่ๆชนิดอื่นเข้ามาสร้างความตื่นเต้นให้กับเทคโนโลยีการเงินอีกมาก เช่น Quantum Computing ที่จะช่วยให้การประมวลผลเร็วขึ้นและอาจจะเปลี่ยนหลายๆอย่างไป

อนาคตของ FinTech 

การเข้ามาของ FinTech กระตุ้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมการเงิน โดยในระยะหลังๆเราจะเห็นได้ชัดว่าธนาคาร สถาบันการเงิน หรือแม้กระทั่งหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) ต่างก็ต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมมากขึ้นสำหรับนวัตกรรมการเงินรูปแบบใหม่ๆ และโมเดลธุรกิจการเงินใหม่ๆที่เกิดขึ้นเพราะสตาร์ทอัพ FinTech 

ในช่วงแรกของกระแส FinTech หลายฝ่ายมองว่าคลื่นลูกใหม่ของวงการการเงินนี้อาจเข้ามาทำลายและแทนที่การให้บริการของธนาคารแบบเก่าอย่างสิ้นเชิง แต่ในวันนี้เราได้เห็นแล้วว่า FinTech นั้นไม่ได้ทำลาย แต่เปลี่ยนแปลงการให้บริการหลายๆอย่างของธนาคารไป และนอกจากการแข่งขันกับธนาคารแล้ว บริษัท FinTech จำนวนไม่น้อยก็ได้ปรับแนวทางมาเป็นการร่วมมือกับสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมเพื่อส่งมอบเทคโนโลยีที่ดีและครอบคลุมยิ่งขึ้นให้กับผู้ใช้งาน ปรับปรุงการให้บริการของธนาคารให้สะดวกขึ้น ดีขึ้น และเป็นมิตรกับผู้ใช้มากยิ่งขึ้น 

โดยในปัจจุบัน หากผู้บริโภคหรือธุรกิจใดสนใจนำ FinTech เข้ามาใช้งานก็สามารถติดต่อผ่านทางธนาคารที่เป็นลูกค้าอยู่ได้ทันที ซึ่งธนาคารส่วนมากจะมีความร่วมมือกับสตาร์ทอัพ FinTech อยู่แล้วอย่างต่อเนื่อง และสามารถให้คำแนะนำได้ในระดับหนึ่ง

ความร่วมมือและการแข่งขันไปพร้อมๆกันของธนาคารและสตาร์ทอัพ FinTech เช่นนี้ เป็นแนวโน้มที่เราจะได้เห็นกันไปเรื่อยๆในอนาคตอย่างแน่นอน ก็ต้องมารอลุ้นกันว่าสถาบันการเงินและบริษัท FinTech จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและยกระดับบริการทางการเงินไปในทิศทางไหนต่อไป

อ่านเกี่ยวกับ FinTech เพิ่มเติมได้ที่ https://www.jrit-ichi.com/cutting/2022/01/19/691/ 

รูปแบบการให้บริการของธุรกิจฟินเทคมีอะไรบ้าง

ฟินเทค (Fintech) เทคโนโลยีทางการเงิน.
Banking Technology การนำเทคโนโลยีมาใช้กับระบบธนาคาร.
Crowdfunding Platforms แพลตฟอร์มออนไลน์ ตัวกลางในการระดมทุน.
Cryptocurrency เงินสกุลดิจิทัล.
Payment ระบบการใช้จ่ายเงิน.
Enterprise Financial Software ซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร.
Investment Management เทคโนโลยีที่จะช่วยจัดการทางด้านลงทุน.

ฟินเทคมีรูปแบบการให้บริการกี่รูปแบบ

FinTech ทั้ง 7 รูปแบบในไทย Payment Technology หรือเทคโนโลยีด้านการจับจ่าย นอกเหนือจากการจ่ายเงินสดแล้ว ปัจจุบันการจ่ายเงินด้วยวิธีอื่น ๆ กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นพร้อมเพย์ บัตรเครดิต Internet Banking หรือ Alipay.

Insurtech เป็นฟินเทค (Fintech) ประเภทใด

Insurtech ต่างกับ Fintech ตรงที่ Insurtech คือ การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในธุรกิจประกัน ส่วน Fintech คือการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในธุรกิจการเงิน โดยทั้ง 2 อย่างสามารถช่วยทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกที่มากขึ้นและยังเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจให้มากขึ้นไปด้วย ซึ่ง Insurtech ถือเป็นส่วนย่อยที่อยู่ใน Fintech อีกทีหนึ่ง

Fintech เข้ามาช่วยให้การทำธุรกิจง่ายขึ้น อย่างไร จงอธิบาย

FinTech ช่วยให้การบริการจัดการง่ายขึ้น จากเดิมหากผู้บริหารต้องการตรวจสอบงบการเงินของบริษัทอาจจะต้องรอฝ่ายบัญชีเก็บข้อมูลซึ่งอาจจะล่าช้า แต่ปัจจุบันสามารถใช้เครื่องมือ FinTech เพื่อตรวจสอบข้อมูลได้ทันที จึงนำมาสู่การตัดสินใจที่รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น และผลลัพท์จะตามมาด้วยรายได้และกำไรที่เพิ่มขึ้น