คุณสมบัติของผู้ที่จะขับร้อง มีอะไรบ้าง

ความหมาย และประเภทของการขับร้อง

       

การขับร้อง  หมายถึง การเปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ  เสียงสูง - ต่ำตามทำนองที่มีจังหวะกำหนดแน่นอน โดยคำว่า "ขับ"กับคำว่า "ร้อง"
      การขับ หมายถึง การเปล่งเสียงสูง - ต่ำ เป็นทำนองตามบทเพลง  หรือบทกวีนิพนธ์โดยเน้นคำเป็นสำคัญ ไม่มีการกำหนดความสั้น - ยาวของเสียง  หรือจังหวะที่แน่นอน  เช่น การแหล่ การขับกล่อม ขับเสภา  ขับลำนำ การแอ่ว เป็นต้น
    การร้อง  หมายถึง การเปล่งเสียงออกมาเป็นทำนองเพลงที่มีจังหวะแน่นอน
    การขับร้องเพลงไทย แบ่งเป็น ๔ ประเภท ดังนี้

    ๑. การขับร้องอิสระ
         การขับร้องอิสระ หมายถึง การขับร้องที่ไมีการบรรเลงดนตรีมาเกี่ยวข้อง  โดยที่ผู้ขับร้องสามารถกำหนดเสียงสูง - ต่ำ ได้ตามความพอใจ  ไม่ต้องคำนึงถึงระดับเสียงของเครื่องดนตรี แต่ต้องรักษาระดับเสียงให้คงที่ ไม่เพี้ยน อีกทั้งต้องระมัดระวังบทร้องให้ถูกต้องตามแบบฉบับ เช่น การฝึกหัดขับร้องในห้องเรียน เป็นต้น

   ๒. การขับร้องประกอบดนตรี
        การขับร้องประกอบดนตรี  หมายถึง การขับร้องประกอบการบรรเลงเครื่องดนตรีอาจจะบรรเลงรวมเป็นวงหรือไม่เป็นวงก็ได้  การขับร้องประเภทนี้ผู้ขับร้องต้องคำนึงถึงระดับเสียงรูปแบบแนวทำนอง และจังหวะให้กลมกลืนเหมาะสมกับการบรรเลงเครืองดนตรี ซึ่งมีหลายลักษณะ ได้แก่ คลอ   เคล้า  ลำลอง และร้องส่ง หรือร้องรับ
      * คลอ หมายถึง การขับร้องและบรรเลงเพลงเดียวกันไปพร้อมๆ กัน โดยผู้บรรเลงดนตรีต้องบรรเลงให้เสียง และทำนองใกล้เคียงกับเสียงของผู้ขับร้องให้มากที่สุด เช่น การขับร้องที่มีผู้บรรเลง ซอสามสายคลอเสียงของผู้ขับร้อง  เป็นต้น

     * เคล้า หมายถึง การขับร้อง และบรรเลงเพลงกันไปพร้อมๆกัน โดยที่ผู้ขับร้อง และ ผู้บรรเลงดนตรีต่างดำเนินทำนองตามทางของตนเองในระดับเสียงเดียวกัน

    * ลำลอง หมายถึง การขับร้องไปพร้อมๆกับการบรรเลง อาจจะเป็นเพลงเดียวกันหรือไม่ก็ได้โดยผู้ขับร้อง และผู้บรรเลงดนตรีต่างมีอิสระไม่ขึ้นแก่กัน เพียงแต่เป็นเพลงที่มีระดับเสียงเดียวกันเพื่อให้เกิดความไพเราะ และกลมกลืน

    * ร้องส่ง หรือ ร้องรับ หมายถึง การขับร้องสลับกับการบรรเลงเพลงเดียวกัน โดยปกติผู้ขับร้องจะร้องส่งให้ดนตรีรับทีละท่อน  เมื่อดนตรีบรรเลงจบท่อนก็จะทอดจังหวะส่งให้ผู้ขับร้องร้องท่อนหรือเพลงต่อไป การร้องส่ง หรือ ร้องรับ ผู้ขับร้องต้องขับร้องให้ระดับเสียงตรงกับเสียงของเครื่องดนตรี

  ๓. การขับร้องประกอบการแสดง
       การขับร้องประกอบการแสดง หมายถึง การขับร้องประกอบกิริยาอาการของนักแสดงหรือบรรยายเรื่องราว เพื่อดำเนินเนื้อเรื่องของการแสดงนั้นๆ เช่น การแสดงโขน ละคร หนังใหญ่ หุ่นกระบอก เป็นต้น  การขับร้องประกอบการแสดง นอกจากผู้ขับร้องต้องคำนึงถึงระดับเสียงให้ตรงกับเครื่องดนตรีแล้ว ยังต้องใส่อารมณ์ตามบทร้อง เพื่อให้ผู้ชมเกิดอารมณ์คล้อยตามด้วย

   ๔. การขับร้องหมู่
        การขับร้องหมู่ หมายถึง การขับร้องพร้อมกันมากกว่า ๑ คนขึ้นไป แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือการขับร้องหมู่ทำนองเดียวกัน และการขับร้องประสานเสียง
    * การขับร้องหมู่ทำนองเดียวกัน  หมายถึง การที่ผู้ขับร้องทุกคนขับร้องทั้เนื้อร้อง ทำนอง จังหวะ และระดับเสียงเดียวกัน พร้อมกัน การขับร้องลักษณะนี้ผู้ขับร้องทุกคนต้องคำนึงถึง เนื้อร้อง ทำนอง จังหวะ และระดับเสียง ให้ออกมาเป็นหนึ่งเดียว

   * การขับร้องประสานเสียง หมายถึง การขับร้องที่แบ่งผู้ขับร้องเป็นกลุ่มๆ ขับร้องเพลงเดียวกัน แต่ทำนอง หรือระดับเสียงอาจต่างกัน แล้วแต่แนวประสานเสียงที่กำหนด

     โดยปกติการขับร้องเพลงไทย ถ้าเป็นเพลงไทยเดิมนิยมบรรเลงเครื่องดนตรีทั้งวงสลับรับ - ส่งกับการขับร้อง  ยกเว้นการขับร้องประกอบการเสียงที่การบรรเลง และขับร้องจะดำเนินไปพร้อมๆกัน

     ส่วนการบรรเลง และขับร้องเพลงพื้นบ้านส่วนใหญ่ เป็นการขับร้องโดยมีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะร่วมทำจังหวะ  เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน  เช่น ลำตัด พ่อเพลง  แม่เพลง  จะด้นบทร้องไปพร้อมกับผู้ตีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ คือ รำมะนา  ฉิ่ง  และร้องรับเป็นลูกคู่  เป็นต้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

คุณสมบัติของผู้ที่จะขับร้อง มีอะไรบ้าง

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ทางดนตรีสากลที่ประดิษฐ์ขึ้น  เพื่อใช้ในการบันทึกบทเพลงต่างๆมิให้สูญหาย และเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล มีดังนี้       1.  บรรทัด 5 เส้น  (Staff)             บรรทัด 5 เส้น เป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีที่ผู้เรียนดนตรีสากลควรทราบต่อจากตัวโน้ตและตัวหยุด  เป็นสิ่งที่แสดงว่าตัวโน้ตที่บันทึกลงในบรรทัด  5 เส้นนี้มีระดับใด เสียงสูง  หรือต่ำ กว่าตัวโน้ตตัวอื่นๆ  หรือไม่        ลักษณะของบรรทัด 5 เส้น หรือเส้นบันทึกโน้ต เป็นเส้นตรงแนวนอน  5 เส้น ที่ขนานกันและมีระยะห่างเท่าๆกัน ใช้สำหรับบันทึกตัวโน้ตและตัวหยุด       วิธีการนับเส้นและช่อง จะนับจากเส้นข้างล่างขึ้นไปหาเส้นข้างบน ดังนี้         นอกจากบรรทัด 5 เส้น ซึ่งใช้เป็นหลักในการบันทึกตัวโน้ต  และตัวหยุดแล้ว  ยังมีเส้นที่ใช้ขีดใต้ บรรทัด 5 เส้น หรือ เหนือบรรทัด 5 เส้น เป็นเส้นสั้นๆ ที่ใช้ขีดเฉพาะตัวโน้ตที่มีระดับเสียงต่ำกว่า หรือมีระดับเสียงสูงกว่าเส้นที่ปรากฏในบรรทัด 5 เส้น เรียกเส้นสั้นๆนี้ว่า   เส้นน้อย  (Ledger Line)           2. ลักษณะตัวโน้ต และตัวหยุด               1) ตัวโน้ต   คือ เครื่องหมายที่ใช้บันทึกแสด

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี

คุณสมบัติของผู้ที่จะขับร้อง มีอะไรบ้าง

การสร้างสรรค์บทเพลง  หรือประพันธ์เพลงไทยแต่ละเพลง  เปรียบได้กับการประพันธืบทร้อยกรองในลักษณะต่างๆ เช่น  โคลง  ฉันท์  กาพย์   กลอน เป็นต้น เพราะการสร้งสรรค์บทเพลงไทยจะต้องพิจารณษนำเสียงแต่ละเสียงมาเรียบเรียงให้สอดประสานกลมกลืนกันอย่างเหมาะสมสามารถสื่ออารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ตามที่ตนต้องการถ่ายทอดให้แก่ผู้ฟังได้  ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงรูปแบบของเพลงแต่ละประเภทให้เป็นไปตามแบบแผนที่กำหนดไว้ด้วย เช่นเดียวกับการประพันธ์บทร้อยกรองต่างๆ ที่ผู้ประพันธ์ต้องคัดสรรคำแต่ละให้มีทั้งเสียงและความหมาที่สัมผัสคล้องจองกัน  มีสัมผัสใน  สัมผัสนอก  แบ่งวรรคตอนให้ครบถ้วนตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี มีดังนี้         ๑) ธรรมชาติ   เป็นสิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อจินตนาการของผู้ประพันธ์บทเพลงไทย  การได้เห็นธรรมชาติที่สวยงามไม่ว่าจะเป็นภูเขา  นำ้ตก ทะเล ต้นไม้ ดอกไม้ หรือได้ยินได้ฟังเสียงของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น เสียงคลื่น   ลม น้ำตก ฝน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เสียงร้องของสัตว์ต่างๆ เป็นต้น ย่อมทำให้ศิลปิน  หรือผู้ที่ได้สัมผัสสิ่งต่างๆเหล่า่นั้น  เกิดจิน

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สุโขทัยและอยุธยา)

คุณสมบัติของผู้ที่จะขับร้อง มีอะไรบ้าง

การศึกษาเรื่องราวของดนตรีไทยนั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงแหล่งกำเนิด ความเป็นมา และวิวัฒนาการของดนตรีไท่ยในแต่ละยุคสมัย เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้ง  มองเห็นคุณค่าของดนตรีไทย อันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมประจำชาติไทย ซึ่งการแบ่งยุคสมัยทางดนตรีของไทยจะนิยมกำหนดตามยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  ดังต่อไปนี้           1. สมัยสุโขทัย            สมัยสุโขทัยนับเป็นสมัยเริ่มต้นที่คนไทยรวตัวกันเป็นชาติอย่างสมบูรณ์  แทนที่จะเป็นเพียงอาณาจักรที่มีเขตอิทธิพลอย่างจำกัดดังแต่กอ่น เรื่องราวของสุโขทัยมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยและจารึกเรื่องราวต่างๆ ลงในหลักศิลาจารึก  และจากศิลาจารึกนี้เองทำให้คนรุ่นหลังทราบว่าสมัยสุโขทัยเป็นยุคสมัยหนึ่งที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านสังคม เศรษฐกิจ  การเมือง  การทหาร  ภาษา  และศิลปวัฒนธรรม  ชาวเมืองมีเครื่องเล่นสร้างควงามรื่นเริงบันเทิงใจ  และมีอิสระเสรีที่จะแสดงออกในเรื่องราวของบทเพลงและดนตรี  เพลงและเรื่องราวของดนตรีบางส่วนจึงปรากฏอยู่บนหลักศิลาจารึก  เช่น ข้อความที่ว่า "เสียงพาทย์ เสียงพิณ  เสียงเลื่อน  เสียงขับ"

ผู้ขับร้องที่ดีต้องมีลักษณะอย่างไร

การขับร้องเพลงต้องร้องให้ถูกต้องชัดเจนทั้งเนื้อร้อง จังหวะและทำนองแล้วยังต้องคำนึงถึงความไพเราะ ต้องพยายามร้องให้มีความไพเราะน่าฟัง โดยเฉพาะการปฏิบัติตามเครื่องหมายต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในโน้ตเพลง การแบ่งวรรคตอนของเนื้อร้อง นอกจากนี้ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การหายใจ ต้องหายใจให้เหมาะสม การแสดงอารมณ์ต้องเหมาะสมกับลีลาและ ...

การขับร้องมีอะไรบ้าง

การขับร้อง การขับร้อง การขับร้องเพลง เป็นกิจกรรมสร้างสรรรค์ทางดนตรีวิธีหนึ่ง ที่ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้ร้องและผู้ฟัง ซึ่งการขับร้องอาจจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การขับร้องเดี่ยวและการขับร้องหมู่ การขับร้องเดี่ยว หมายถึง การร้องเพลงโดยบุคคลเพียงคนเดียวว อาจมีดนตรีประกอบหรือไม่มีก็ได้

ในการขับร้องเดี่ยวผู้ขับร้องต้องมีลักษณะหรือความสามารถอย่างไร

ในขั้นตอนนี้ต้องฝึกให้ซี่โครงขยายออกได้อย่างสบาย อกไม่ยุบเมื่อหายใจออก หายใจไม่มีเสียงดัง ควบคุมลมหายใจได้ดี และให้คงขยายซี่โครงไว้ตลอดเวลาในขณะร้องเพลง 3. ร้องสระได้ชัดเจน สามารถร้องเพลงได้ชัด ทํารูปปากให้ถูกต้อง 4. ร้องพยัญชนะและภาษาชัดเจน ไม่เกร็งขากรรไกร ไม่เกร็งลิ้นและขยับปากได้คล่องมีความสามารถในการร้องเพลงภาษา ...

การปฏิบัติการขับร้องเพลงไทย 7 อย่างมีอะไรบ้าง

1. ต้องขับร้องเพลงให้มีระดับเสียงสูงต ่าตามและการเอื้อนให้ถูกต้องตามที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ไว้ 2. จังหวะต้องถูกต้องและแม่นย า 3. ออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี 4. แบ่งวรรคตอนของเนื้อร้องให้ถูกต้องได้ความหมาย 5. ใส่อารมณ์ไปตามเนื้อร้องและท านองของเพลง 6. แสดงบุคลิกภาพและท่าทางให้เหมาะสม