หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันธรรมสวนะ คืออะไร

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำ สัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า “วันธรรมสวนะ” อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม(ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดย วันพระ เป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ

“กำเนิดวันพระของศาสนาพุทธ”

วันพระแต่เดิมนั้นเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์(นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุกๆ วัน ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้

ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวัน
ประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชน
ในวันดังกล่าว

โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน ๘ ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ) แล้วแต่กรณี

หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไป
ประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

“วันที่กำหนดเป็นวันพระในรอบเดือน”วันพระมีเดือนละ ๔ วัน ได้แก่ วันขึ้น ๘ ค่ำ, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ(วันเพ็ญ), วันแรม ๘ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาดถือเอาวันแรม ๑๔ ค่ำ)

วันจันทร์ที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๔ ผู้อำนวยการสุทัศน์ เหมทานนท์ พร้อมด้วยคณะอาจารย์ และเจ้าหน้าที่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช เข้าร่วมกิจกรรม “ยกวันพระมาวิทยาลัย” รับศีล รับพร ถวายสังฆทาน    และ ประเคน ปิ่นโต พร้อมปัจจัยต่างๆ นั่งสมาธิ ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ละเว้นความชั่ว ฟังธรรมเทศนา สนทนาธรรมกับพระสงฆ์  ณ หอประชุมเสาวรส วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช

     วันธรรมสวนะ
 วันธรรมสวนะ  แปลว่า  วันสำหรับฟังธรรม  เรียกกันทั่วไปว่า  วันพระ  ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน  ๒  วัน  คือ  วันพระเล็ก  ได้แก่  วันขึ้นและวันแรม  ๘  ค่ำ  และวันพระใหญ่  ได้แก่  วันขึ้นและวันแรม  ๑๕  ค่ำ
ตามประวัติกล่าวว่าครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาล  พระเจ้าพิมพิสารทอดพระเนตรเห็นพวกเดียรถีย์ประชุมกันในวัน  ๘  ค่ำ  และ  วัน  ๑๔  หรือ  ๑๕  ค่ำ  ทั้งข้างขึ้นและข้างแรม  จึงนำความขึ้นกราบทูลพระพุทธเจ้า  ซึ่งทรงมีพุทธานุญาตให้มีการประชุมกันในวันดังกล่าวและให้มีการแสดงธรรมและฟังธรรมเพื่อนำไปเป็นข้อปฏิบัติขัดเกลาจิตใจ  ดังนั้นวันธรรมสวนะจึงมีความสำคัญและมีคุณประโยชน์ดังนี้
๑)  เป็นโอกาสที่พระภิกษุสามเณรได้มาประชุมพร้อมกันฟังพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
๒)  เป็นโอกาสที่พระภิกษุสามเณรได้ผลัดกันแสดงธรรม  อันเป็นวิธีการฝึกตนและประสบการณ์ให้มีความสามารถในการถ่ายทอดหลักธรรมคำสอน  เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบไป
๓)  เป็นโอกาสที่พุทธศาสนิกชนจะได้เจริญศรัทธาในพระพุทธศาสนาและพระรัตนตรัย
๔)  เป็นโอกาสที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันในชุมชน  เพราะในวันนี้ประชาชนจะมาร่วมกันทำบุญ  จึงเป็นวิธีการสร้างความสามัคคี  และการอนุเคราะห์ช่วยเหลือกันตามสมควร

 วันเข้าพรรษา

             วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่มีพุทธบัญญัติกำหนดให้พระภิกษุสงฆ์จะต้องพักประจำอยู่กับที่ในฤดูฝนตลอดเวลา ๓ เดือน การเข้าพรรษาในปีหนึ่งๆมีพุทธบัญญัติจะต้องพักประจำ

ตรงกับวันแรม  ๑  ค่ำ  เดือน  ๘  หรือวันที่ถัดจากวันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่พระสงฆ์จะอธิษฐานว่า  จะอยู่ประจำอาวาสเดียวไม่ไปค้างแรมที่อื่นตลอด  ๓  เดือน
 ตามประวัติกล่าวว่า  ในสมัยพุทธกาลพระสงฆ์ได้ท่องเที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ  โดยไม่มีการหยุดพัก  แม้ในฤดูฝน  ซึ่งเป็นฤดูทำนา  บางครั้งจึงไปเดินเหยียบข้าวกล้าของชาวบ้านที่เพิ่งเริ่มเป็นต้นอ่อนก่อให้เกิดความเสียหาย  ชาวบ้านพากันติเตียน  พระพุทธองค์จึงทรงวางระเบียบให้พระภิกษุอยู่ประจำอาวาสตลอด  ๓  เดือนในฤดูฝน  เรียกว่า  จำพรรษา
 ต่อมาการเข้าพรรษามีวัตถุประสงค์กว้างขวางออกไป  กล่าวโดยสรุปคือ
๑)   วันพระสงฆ์ได้มีเวลาศึกษาพระธรรมวินัยมากขึ้น
๒)  เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวบ้านบำเพ็ญกุศล
๓)  เพื่อให้ประชาชนได้นำบุตรหลานที่เป็นชายเข้ามาบวช  เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

วันออกพรรษาและวันเทโวโรหณะ

             วันออกพรรษา หมายถึง วันที่สิ้นสุดการกำหนดอยู่จำพรรษาของพระภิกษุตามพุทธบัญญัติ

ตรงกับวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน  ๑๑  เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์สามารถไปพักค้างแรมในที่เหมาะสมอื่นได้
ทั้งนี้ก่อนวันออกพรรษา  ๑  วัน  เป็นวันที่พระสงฆ์จะมีโอกาสกล่าวคำตักเตือนซึ่งกันและกัน  หากพระสงฆ์รูปใดมีข้อข้องใจเรื่องความประพฤติเกี่ยวกับวินัยสงฆ์ก้ไม่ต้องนิ่งไว้  อนุญาตให้ชี้แจงกันได้  การออกพรรษาจึงเป็นพิธีกรรมเฉพาะพระสงฆ์  เรียกว่า วันปวารณา
                อนึ่งในเทศกาลออกพรรษา  พุทธศาสนิกชนจะมีการทำบุญตักบาตร  เรียกว่า  ตักบาตรเทโวโรหณะหรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่า  การตักบาตรเทโว  คือ  การทำบุญตักบาตรเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับลงจากเทวโลก  หลังจากเสด็จขึ้นไปจำพรรษาเพื่อโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันรุ่งขึ้น  คือ  วันแรม  ๑  ค่ำ  เดือน  ๑๑  เป็นโอกาสพิเศษพร้อมใจกันตักบาตรเฉลิมฉลองและถือเป็นประเพณีสืบมา

               หลักธรรมคำสอนที่เกี่ยวข้องกับวันธรรมสวนนะและเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา

    หลักธรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับวันธรรมสวนะ (วันพระ) และเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนามีหลายหัวข้อ ตัวอย่างเช่น

หิริ-โอตตัปปะ -  เป็นหลักธรรมคุ้มครองโลกให้บุคคลละอายต่อบาปและเกรงกลัวต่อบาป ไม่ประพฤติชั่วทั่วในที่ลับและที่แจ้ง

พรหมวิหาร๔ -  ประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นหลักธรรมประจำใจอันประเสริฐ

สติ-สัมปชัญญะ -  เป็นหลักธรรมที่มีอุปการะมาก เพราะสอนให้ระลึกได้ เห็นชัดในสิ่งที่ตนประสบสัมผัสตามความเป็นจริง

อิทธิบาท๔ -  ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นหลักธรรมที่นำไปสู่ความความสำเร็จหลักธรรมเหล่านี้ พระสงฆ์ผู้เป็นธรรมกถึกมักใช้แสดงธรรมแก่อุบาสกอุบาสิกา เพราะเป็นธรรมะขั้นพื้นฐานสำหรับชาวบ้าน

                การปฏิบัติที่ถูกต้องในวันธรรมสวนะและเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา

อามิสบูชา คือ บูชาด้วยวัตถุสิ่งของ เช่น ตักบาตรในตอนเช้า ส่วนตอนเย็นนำดอกไม้ธูปเทียนไปเวียนเทียน

ปฏิบัติบูชา คือ บูชาด้วยการปฏิบัติธรรม ได้แก่ การไปวัดฟังเทศน์ การสมาทานรักษา ศีล ๕ หรือศีล ๘ รวมถึงการบำเพ็ญสมาธิภาวนาทำจิตใจให้สงบ

วันธรรมสวนะเกี่ยวข้องกับหลักธรรมใดมากที่สุด

- วันธรรมสวนะ คือวันพระ หรือวันฟังธรรมเทศนา มีเดือนละ 4 หน ตรงกับวันขึ้นและแรม 8 ค่ำ วันขึ้นและแรม 15 ค่ำ ถ้าเดือนไหนมีไม่ถึง 30 วัน คือไม่มีวันแรม 15 ค่ำ วันพระจะร่นมาเป็นวันแรม 14 ค่ำแทน หลักธรรมสำคัญที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การบำเพ็ญศีลบารมี อธิษฐานบารมี

หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวันมาฆบูชามีหลักธรรมใดบ้าง

หลักธรรมสำคัญในวันมาฆบูชา คือ “โอวาทปาติโมกข์” เป็นหลักธรรมอันเป็นหลักหัวใจสำคัญในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมให้แก่พระอรหันต์ทั้ง 1,250 รูปในวันนั้น ได้แก่ การทำความดี, ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์

หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันเข้าพรรษา คืออะไร

ระหว่างเทศกาลเข้าพรรษานั้น พุทธศาสนิกชนนิยมไปวัด ถวาย ทาน รักษาศีล ฟังธรรมและเจริญจิตภาวนา ซึ่งเป็นการเว้นจากการกระทำความชั่วบำเพ็ญความดีและชำระจิตให้สะอาดแจ่มใสเคร่งครัดยิ่งขึ้น หลักธรรมสำคัญที่สนับสนุน คุณความดีดังกล่าวก็คือ "วิรัติ"คำว่า "วิรัติ" หมายถึงการงดเว้นจากบาป และความชั่วต่าง ๆ จัดเป็นมงคลธรรมข้อหนึ่ง เป็น ...

หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันวิสาขบูชา คืออะไร

พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพานเวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน คือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ จึงถือว่าเป็นวันที่สำคัญของพระพุทธเจ้า หลักธรรมอันเกี่ยวเนื่องจากการประสูติ ตรัสรู้และเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ความกตัญญู อริยสัจ ๔ และความไม่ประมาท ประวัติความเป็นมา