หลักธรรมใดในการพัฒนาตนเองให้เป็นคนดีและคนเก่ง

สัปปุริสธรรม 7 หมายถึงธรรมที่ทำให้คนเป็นสัตบุรุษ หรือ เป็นคนดี มีคุณธรรม เป็นคนเก่ง มี 7 ประการ ด้วยกัน คือ

1. ธัมมัญญู- เป็นผู้รู้จักเหตุ

2. อัตถัญญู- เป็นผู้รู้จักผล

3. อัตตัญญู- เป็นผู้รู้จักตน

4. มัตตัญญู- เป็นผู้รู้จักประมาณ

5. กาลัญญู- เป็นผู้รู้จักกาล

6. ปริสัญญู- เป็นผู้รู้จักชุมชน  

7. ปุคคลัญญูหรือ ปุคคลปโรปรัญญู - เป็นผู้รู้จักบุคคล

หลักธรรมใดในการพัฒนาตนเองให้เป็นคนดีและคนเก่ง
www.google.com

1.    ธัมมัญญู - รู้จักเหตุ

คือรู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผลและรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล เช่นเห็นเหตุการณ์อะไรก็ตามแต่ก็จะรู้ได้ว่าเกิดจากเหตุอะไรเช่น ทำไมฝนจึงตกสาเหตุมาจากอะไร และผลจะเป็นอย่างไร รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุแบบนี้ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการนั้น ๆ เป็นต้น

2.    อัตถัญญู - รู้จักผล

รู้ความหมายรู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์คือรู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดประโยชน์เกิดผลได้จริง

3.    อัตตัญญู - รู้จักตน

เป็นผู้รู้จักตนคือรู้จักตัวตนของเราเอง ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความสามารถ ความถนัดและคุณธรรม สามารถประเมินตนเองได้ในหลักธรรม ดังนี้ ศรัทธา (ชอบ รักในงานอะไร) ศีล(วินัย) สุตะ(ความรู้) จาคะ (ความเสียสละ) ปัญญา(กระบวนการในการพัฒนาความรู้ที่มีอยู่) เป็นต้น แล้วประพฤติให้เหมาะสมและรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป

4.    มัตตัญญู - รู้จักประมาณ

เป็นผู้รู้จักประมาณคือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ พระมหากษัตริย์รู้จักประมาณในการลงทัณฑ์อาชญาและในการเก็บภาษี เป็นต้น

5.    กาลัญญู - รู้จักกาล

เป็นผู้รู้จักกาลคือรู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงานเช่น แบ่งเวลา ทำให้ถูกจังหวะ ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลาให้เหมาะเวลา เป็นต้น

6.    ปริสัญญู - รู้จักบริษัท

เป็นผู้รู้จักบริษัทคือ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้น ๆ ว่าชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น

7.    ปุคคลปโรปรัญญู - รู้จักเลือกคบคน

ปุคคลัญญุตาหรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา เป็นผู้รู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่าโดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใคร ๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไรและรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น ๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้จะตำหนิ ยกย่องและแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น

พระพุทธศาสนา.. กับการ"พัฒนาตนเอง".. - การพัฒนา... หมายถึง... ...

Posted by คิดดี พูดดี ทำดี on Tuesday, October 20, 2020

พระพุทธศาสนากับการพัฒนาตนเอง
   การพัฒนา  หมายถึง  การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างให้ดีขึ้น  โดยอาจเป็นสิ่งที่ยังไม่ดีให้กลายเป็นดี  หรือสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น  โดยเฉพาะการพัฒนาตนเอง  ซึ่งอาจมองได้เป็น  ๒  ทาง  คือ การพัฒนาตนให้เป็นคนดี กับ การพัฒนาตนให้เป็นคนเก่ง
   พระพุทธศาสนามีหลักธรรมที่ส่งเสริมให้มนุษย์สามารถพัฒนาตนให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง  อยู่มากมาย  ตัวอย่างหลักธรรมเหล่านี้  ได้แก่
๑)  หลักธรรมสำหรับการพัฒนาตนให้เป็นคนดี
   ๑)  เบญจศีล  หรือ  ศีล  ๕  เป็นหลักธรรมที่ว่าด้วยการรักษากายและวาจาให้เรียบร้อยเป็นข้อปฏิบัติในการละเว้นจากความชั่ว  และรู้จักควบคุมตัวให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียน  มี  ๕  ประการ คือ
(๑)  การไม่ฆ่าสัตว์หรือทรมานทำร้ายสัตว์
(๒)  การไม่ลักขโมยสิ่งของของผู้อื่น
(๓)  การไม่ประพฤติผิดลูกเมียของผู้อื่น
(๔)  การไม่พูดโกหก
หลักธรรมใดในการพัฒนาตนเองให้เป็นคนดีและคนเก่ง

(๕)  การไม่ดื่มสุราหรือเสพสิ่งเสพติด
   ๒)  เบญจธรรม  หรือ  เบญจกัลยาณธรรม  เป็นหลักธรรมที่เกื้อกูลแก่การรักษาเบญจศีลโดยมุ่งเน้นที่การกระทำเพิ่ม  มิใช่การละเว้นเพียงอย่างเดียว  มี  ๕  ประการ  ได้แก่
๑)  เมตตาและกรุณา  คือ  มีความรักและปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข
๒)  สัมมาอาชีวะ  คือ  การทำมาหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต
๓)  กามสังวร  คือ  รู้จักสำรวม  ระมัดระวัง  และยับยั้งควบคุมตนในทางกามารมณ์
๔)  สัจจะ  คือ  มีความซื่อสัตย์  ซื่อตรง
๕)  สติสัมปชัญญะ  คือ  รู้จักยั้งคิดและรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า  สิ่งใดควรทำและไม่ควรทำ
๒)  หลักธรรมสำหรับการพัฒนาตนให้เป็นคนเก่ง
   ๑)  อิทธิบาท  ๔  หมายถึง  หลักธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จสมดังความมุ่งหมาย  มี  ๔  ประการ  ได้แก่
๑)  ฉันทะ  ความพอใจ  คือ  ความต้องการที่จะทำสิ่งนั้นๆอยู่เสมอ  และยังปรารถนาที่จะทำให้สิ่งนั้นได้ผลดียิ่งขึ้น
พระพุทธศาสนากับการพัฒนาครอบครัว
   พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญกับครอบครัว  เพราะถือว่าครอบครัวที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้และการพัฒนา  พระพุทธศาสนาจึงมีหลักธรรมที่ส่งเสริมให้มนุษย์พัฒนาครอบครัวอยู่มากมาย  ตัวอย่างหลักธรรมเหล่านี้ได้แก่
๑) หลักธรรมที่แสดงความสัมพันธ์ของคนในฐานะที่แตกต่างกัน
   ทิศ  ๖  เป็นหลักธรรมที่แสดงความสัมพันธ์ของคนในฐานะที่แตกต่างกัน  บอกหน้าที่ที่บุคคลพึงปฏิบัติต่อกันและที่ต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันทางสังคมดุจทิศที่อยู่รอบตัว  สำหรับหลักธรรมในทิศ  ๖  ที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาครอบครัว  คือ  ปุรัตถิมทิศ  หรือทิศเบื้องหน้า ได้แก่ มารดา บิดา กับ ปัจฉิมทิศ  คือ ทิศเบื้องหลัง  ได้แก่ สามี ภรรยา
   ๑)  ปุรัตถิมทิศ  หรือ ทิศเบื้องหน้า  คือ  ทิศตะวันออก ได้แก่  มารดาบิดา  เพราะเป็นผู้มีอุปการคุณแก่เรามาก่อน  สำหรับหลักเกณฑ์ที่บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดาและหลักเกณฑ์ที่มารดาบิดาพึงอนุเคราะห์บุตรธิดา  มีดังนี้

 การบำรุงมารดาบิดา

การอนุเคราะห์บุตรธิดา 

 ท่านเลี้ยงเรามา  เราเลี้ยงท่านตอบ                            ห้ามปรามจากความชั่ว                                                 ช่วยทำการงานของท่าน ให้ตั้งอยู่ในความดี ดำรงวงศ์ตระกูล ให้ศึกษาศิลปวิทยา ประพฤติตนให้เหมาะกับความเป็นทายาท หาคู่ครองที่สมควร เมื่อท่านล่วงลับ  ทำบุญอุทิศให้ท่าน มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันควร   ๒)  ปัจฉิมทิศ  หรือ ทิศเบื้องหลัง  คือ ทิศตะวันตก  ได้แก่ สามี-ภรรยา  เพราะติดตามเป็นกำลังสนับสนุนอยู่ข้างหลัง  ซึ่งหลักเกณฑ์การบำรุงภรรยา  และการอนุเคราะห์สามี  มีดังนี้

 การบำรุงภรรยา                                                   การอนุเคราะห์สามี                                                  ยกย่องให้สมเกียรติกับฐานะที่เป็นภรรยา จัดงานบ้านให้เรียบร้อย ไม่ดูหมิ่น สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี ไม่นอกใจ ไม่นอกใจ มอบความเป็นใหญ่ในบ้านให้ รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้ หาเครื่องประดับให้ในโอกาสอันควร ขยัน  ไม่เกียจคร้านการงานทั้งปวง
๒)  หลักธรรมสำหรับการครองเรือน
    ฆราวาสธรรม  เป็นหลักธรรมสำหรับการครองเรือนหรือการครองชีวิตของคฤหัสถ์  มี  ๔  ประการ  ได้แก่
๑)  สัจจะ  คือ  ความจริงใจ  ความซื่อสัตย์  ความซื่อตรง  พูดจริง  ทำจริง
๒)  ทมะ  คือ  การฝึกฝน  การข่มใจ  ฝึกนิสัย  ปรับตัว  รู้จักควบคุมจิตใจ  ฝึกหัดดัดนิสัย  แก้ไขข้อบกพร่อง  ปรับปรุงตนให้เจริญก้าวหน้าด้วยสติปัญญา
๓)  ขันติ  คือ  ความอดทน  ตั้งใจทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร  เข้มแข็ง  ทนทาน  ไม่หวั่นไหว  มุ่งมั่นในจุดหมาย
๔)  จาคะ  คือ  ความเสียสละ ๓)  หลักธรรมเพื่อพัฒนาวงศ์ตระกูลให้ยั่งยืน
   กุลจิรัฏฐิติธรรม  เป็นหลักธรรมสำหรับดำรงความมั่งคั่งของตระกูลให้ยั่งยืน  หรือทำให้ตระกูลมั่งคั่งอยู่ได้นาน  มี  ๔  ประการ  ได้แก่
๑)  นัฏฐคเวสนา  คือ  ของหาย  ของหมด  รู้จักหามาไว้
๒)  ชิณณปฏิสังขรณา  คือ  ของเก่า  ของชำรุด  รู้จักบูรณะซ่อมแซม
๓)  ปริมิตปานโภชนา  คือ  รู้จักประมาณในการกินการใช้
๔)  อธิปัจจสีลวันตสถาปนา  คือ  ตั้งผู้มีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน
๒)  วิริยะ  ความเพียร  คือ  ความขยันที่จะทำสิ่งนั้นด้วยความอดทนและไม่ท้อถอย
๓)  จิตตะ  ความคิด  คือ  การตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำและทำสิ่งนั้นด้วยความคิด  ไม่ปล่อยจิตให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป
๔)  วิมังสา  ความไตร่ตรอง  คือ  การหมั่นใช้ปัญญาพิจารณาหาข้อดีข้อบกพร่อง  รู้จักคิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง
   ๒)  พละ  ๕  หมายถึง  หลักธรรมอันเป็นกำลังหรือทำให้เกิดความมั่นคง  คือช่วยให้การทำงานลุล่วงสำเร็จได้  มี  ๕  ประการ  ได้แก่
๑)  สัทธา  คือ  มีความเชื่อมั่นหรือสัทธาในสิ่งที่ตนเองทำ
๒)  วิริยะ  คือ  ความเพียร  ปราศจากความเกียจคร้าน
๓)  สติ  คือ  มีความระลึกได้  ไม่ประมาท
๔)  สมาธิ  คือ  มีจิตตั้งมั่น  ไม่มีความฟุ้งซ่าน
๕)  ปัญญา  คือ  มีความรู้ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่กระทำ

ต้องใช้หลักธรรมใดในการพัฒนาตนเองให้เป็นคนดีและคนเก่ง

หลักอิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมหรือวิธีการที่คนจะพึงใช้เพื่อสร้างความสำเร็จในชีวิตใช้ เป็นแนวทางในการเรียน และการทำงานให้ประสบความสำเร็จ มีแนวปฏิบัติ 4 ข้อ คือ ฉันทะ (ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปรารถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป) วิริยะ (ความเพียร ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม เข้มแข็ง อดทน ...

หลักธรรมข้อใดที่สามารถ พัฒนาคนเป็นคนดี

สัปปุริสธรรม 7 คือ หลักธรรมของคนดีหรือหลักธรรมของสัตตบุรุษ 7 ประการ ได้แก่ รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาล รู้จักปฏิบัติ และรู้จักบุคคล 1. รู้จักเหตุหรือธัมมัญญุตา หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักเหตุ รู้จักวิเคราะห์หาสาเหตุ ของสิ่งต่าง ๆ

หลักธรรมใดเป็นเรื่องการศึกษาและปฏิบัติ ในการพัฒนาตนเอง

หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาที่มีความสอดคล้อง ที่สามารถฝึกฝนการพัฒนาตนเอง คือ สิกขา 3 หรือไตรสิกขา เป็นข้อที่จะต้องศึกษา ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักส าหรับศึกษา คือในการฝึกหัดอบรม กาย วาจา จิตใจ และปัญญาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน ได้แก่ 1) อธิสีลสิกขา สิกขาคือศีลอันยิ่ง ข้อ ปฏิบัติส าหรับฝึกอบรมในทางความ ...

การพัฒนาตนตามหลักพระพุทธศาสนาคือหลักธรรมใด

๒. การพัฒนาตนเอง การพัฒนาตนเอง หมายถึง การนำหลักธรรมมาประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เช่น อริยสัจ 4 ไตรลักษณ์ อิทธิบาท 4 พรหมวิหาร 4 มรรคมีองค์ 8 และอนันตริยกรรม