การสร้างสนามบินมีผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

เชื้อเพลิงการบินทั่วไปมีทั้งการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เครื่องยนต์กังหัน Pratt &Whitney ที่มีประสิทธิภาพสูงใช้น้ํามันก๊าดกลั่นสูงเป็นเชื้อเพลิงซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องยนต์ลูกสูบทั่วไปถึง 90% เครื่องยนต์กังหันปล่อยศูนย์นําไปสู่สภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากเครื่องบินทั่วไป

การจัดการสิ่งแวดล้อมของ ทอท.

ผู้มีส่วนได้เสีย

การสร้างสนามบินมีผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

พันธมิตรทางธุรกิจ

การสร้างสนามบินมีผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

หน่วยงานกำกับดูแล

การสร้างสนามบินมีผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

ชุมชนและสังคม

ความสำคัญ

         ทอท.มุ่งมั่นบริหารจัดการท่าอากาศยานตามแนวทางการปฏิบัติต้านสิ่งแวดล้อมที่ดี ภายใต้วิสัยทัศน์เพื่อมุ่งสู่การเป็นท่าอากาศยานสากลชั้นนําที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างยั่งยืน “Moving toward International Leading Eco-Airport” โดยมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติเพื่อนําไปสู่ความสําเร็จด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม

         ทอท.ตระหนักเรื่องการใช้ทรัพยากรและพลังงานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด หรือทำให้อัตราการใช้พลังงานต่อหัวลดลง แต่สร้างคุณค่าได้มากขึ้นในขณะที่องค์กรยังต้องการความก้าวหน้าทางธุรกิจ เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในปี 2561 เป็นต้นมา ทอท.จึงนําหลักการประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) มาใช้ในการสร้างสมดุลระหว่างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยยึดหลักการสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ด้วยวิธีการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรและลดการปล่อยมลพิษ

นโยบาย

การสร้างสนามบินมีผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

นโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมในท่าอากาศยาน

ทอท. จัดทํานโยบายสิ่งแวดล้อมในท่าอากาศยานเพื่อให้สํานักงานใหญ่ ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบทั้ง 6 แห่ง และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องดําเนินการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเป็นไปตามข้อกําหนดของกฎหมายอย่างเคร่งครัด

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

นโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมในท่าอากาศยาน

การสร้างสนามบินมีผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

แนวทางการจัดการ

ปัจจุบัน ทอท. ดําเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางการดําเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ 6 ด้าน คือ การจัดการด้านเสียง การจัดการด้านคุณภาพอากาศ การจัดการน้ำและน้ำเสีย การจัดการของเสีย พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. การจัดการด้านเสียง

ทอท.ได้นําหลักการวิธีการแก้ไขปัญหามลพิษทางเสียงอย่างสมดุล (Noise Balanced Approaches) ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) มาปรับใช้ในการดําเนินงานท่าอากาศยาน โดยหลักการของ Balanced Approaches มีดังนี้

การสร้างสนามบินมีผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

1.

การลดเสียงที่ยากาศยาน (Reduction of noise at source)

สนับสนุนรณรงค์ให้สายการบินใช้อากาศยาน ที่มีการออกแบบ หรือเลือกใช้เครื่องยนต์ที่ปลดปล่อยเสียงในระดับที่ต่ำกว่าปัจจุบัน และกําหนดน้ำหนักบรรทุกของอากาศยานให้เหมาะสม

2.

การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land-use Planning and Management)

สนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ แผนพัฒนาท่าอากาศยาน พื้นที่ผลกระทบด้านเสียงให้หน่วยงานด้านการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อนำไปพิจารณากำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสม

3.

การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land-use Planning and Management)

กำหนดให้สายการบินที่ใช้ท่าอากาศยานปฏิบัติตามวิธีการบินและการขึ้น-ลง ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงต่ำที่สุด ทั้งนี้ต้องไม่กระทบต่อปัจจัยด้านความปลอดภัย (Safety) รวมทั้งต้องพิจารณาควบคู่กับปัจจัยด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความสามารถรองรับเที่ยวบิน (Capacity) การกำหนดสัดส่วนการใช้ทางวิ่ง (Preferential runway use) ประสิทธิภาพของการบริหารการจราจร (Efficiency) และการเข้าถึง (Accessibility)

4.

ข้อจำกัดในการปฏิบัติการ (Operating restrictions)

จำกัดอากาศยานเสียงดัง โดยกำหนดให้อากาศยานที่ทำการบินในพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยายดอนเมือง และท่าอากาศยานเชียงใหม่ ต้องมีระดับเสียงไม่เกินที่กำหนดไว้ใน Chapter 3 ของ Annex 16 ของอนุสัญญาว่าด้านการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (อนุสัญญาชิคาโก) ซึ่งประกาศใน Aeronautical Information Circular: AIC เพื่อให้สายการบินต่าง ๆ ยึดถือปฏิบัติ

นอกจากนี้เพื่อเป็นการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังผลกระทบด้านเสียงจากอากาศยาน ทอท. ได้มีการตรวจวัดระดับเสียงอากาศยาน ทั้งที่เป็นสถานีถาวร และสถานีชั่วคราว ดังนี้

สถานีตรวจวัดระดับเสียงถาวร

  • ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีสถานีตรวจวัดระดับเสียงถาวร จำนวน 19 สถานี และสถานีเคลื่อนที่ 2 สถานี โดยเตรียมติดตั้งเพิ่มอีก 6 สถานีถาวร ในช่วงก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 และมีแผนติดตั้งเพิ่มอีก 5 สถานีถาวร ในช่วงการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 4
  • ท่าอากาศยานภูเก็ต มีสถานีตรวจวัดระดับเสียงถาวรจำนวน 4 สถานี และสถานีเคลื่อนที่ 2 สถานี
  • ท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีสถานีตรวจวัดระดับเสียงถาวร จำนวน 4 สถานี และสถานีเคลื่อนที่ 2 สถานี

สถานีตรวจวัดระดับเสียงชั่วคราว

  • ท่าอากาศยานดอนเมือง
  • ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย

ดำเนินการตรวจวัดระดับเสียงปีละ 2 ครั้งเป็นเวลา 7 วันต่อเนื่อง

2. การจัดการด้านคุณภาพอากาศ

ทอท. มีมาตรการในการป้องกันและลดผลกระทบด้านคุณภาพอากาศมาโดยตลอด ครอบคลุมแหล่งกําเนิดมลพิษจากภาคพื้นและอากาศยาน และมาตรการเพื่อป้องกันและลดผลกระทบ PM2.5 จากปัญหาที่หลายพื้นที่ในประเทศไทยมีระดับความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในบรรยากาศทั่วไปเกินค่ามาตรฐาน โดยมาตรการป้องกันและแก้ไขมลพิษทางอากาศของ ทอท. ที่สําคัญได้แก่

  • กําหนดให้อากาศยานดับเครื่องยนต์และควบคุมการใช้ APU ขณะเข้าหลุมจอดหรือเทียบกับ Passenger Loading Bridge โดยกําหนดและให้ใช้อุปกรณ์จ่ายไฟฟ้า และระบบปรับอากาศที่สนับสนุนโดยผ่านระบบสาธารณูปโภคของท่าอากาศยาน
  • จัดระเบียบการจราจรภายในท่าอากาศยาน โดยเฉพาะบริเวณอาคารผู้โดยสารและลานจอดรถยนต์ไม่ให้เกิดการติดขัด เพื่อลดการระบายมลสารทางอากาศ
  • กำหนดให้มีการตรวจสอบสภาพยานพาหนะและอุปกรณ์ Ground Support Equipment: GSE ให้อยู่ในสภาพดี ไม่ให้มีการปล่อยมลพิษเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
  • ส่งเสริมให้มีการใช้ยานพาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • รณรงค์ส่งเสริมให้พนักงานและผู้ใช้บริการท่าอากาศยานใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลดการใช้พลังงานและมลพิษจากรถยนต์
  • สำหรับท่าอากาศยานที่พื้นที่โดยรอบมีปัญหาการเผาป่าและวัสดุทางการเกษตร ให้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อลดการเผาป่า

ทอท. ได้มีระบบตรวจสอบคุณภาพอากาศในบรรยากาศ (Air Quality Monitoring) เพื่อติดตาม ตรวจสอบและ เฝ้าระวังคุณภาพอากาศ ให้ครอบคลุมพื้นที่ภายในและภายนอกท่าอากาศยาน ดังนี้

  • สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป (สถานีชั่วคราว) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ดําเนินการ ตรวจวัดปีละ 2 ครั้งต่อเนื่อง 7 วันดัชนีที่ตรวจวัด ได้แก่
    • Nitrogen oxide (NOx)
    • Carbon monoxide (CO)
    • Total Hydrocarbons (THC)
    • Total suspended particles (TSP)
    • Particulate matter 10 micrometers (PM10)
    • Volatile organic compounds (VOCs)
    • ทิศทางและความเร็วลม

    ซึ่งผลการตรวจวัดพบว่าคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ตามที่กฎหมายกําหนด เพื่อเป็นการเฝ้าระวังระดับมลสารทางอากาศที่อาจจะกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

  • ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เตรียมติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไป (สถานีถาวร) จำนวน 2 สถานี ในช่วงก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3

3. การจัดการน้ำเสียและน้ำเสีย

ทอท. บริหารจัดการน้ำและน้ำเสียเพื่อให้มีปริมาณเพียงพอต่อการการอุปโภคบริโภคในการดำเนินงาน รวมถึงป้องกันและควบคุมปัญหาที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบนิเวศและชุมชนโดยรอบทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ นอกจากนี้ ทอท. ได้จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งคำนึงถึงผลกระทบต่อคุณภาพน้ำผิวดิน อุทกวิทยา และการระบายน้ำออกสู่ชุมชน ทั้งในระยะก่อสร้างและระยะดําเนินงานท่าอากาศยานตามหลักวิชาการ ตลอดจนผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนและผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ปัจจุบันแหล่งน้ำหลักที่ ทอท. ใช้ภายในท่าอากาศยานมาจากการประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และจากระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำของท่าอากาศยานซึ่งอาศัยแหล่งน้ำดิบจากน้ำบาดาลและน้ำผิวดิน โดยแต่ละท่าอากาศยานมีกระบวนการควบคุมคุณภาพน้ำที่ผลิตเองให้ได้มาตรฐานน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กําหนดและมีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาภายในอาคารผู้โดยสารให้ได้มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเป็นประจําทุกเดือน

      นอกจากนี้ ท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ ทอท. ได้มีระบบบําบัดน้ำเสียส่วนกลาง ซึ่งสามารถ รองรับปริมาณน้ำเสียทุกวันได้อย่างเพียงพอ มีการควบคุมและตรวจสอบการทํางานของระบบบําบัดน้ำเสียให้ทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งให้เป็นไปตามมาตรฐานตามกฎหมายสําหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานภูเก็ต น้ำทิ้งที่ผ่านระบบบําบัดน้ำเสียส่วนกลางแล้วจะมีการบําบัดน้ำเพิ่มเติมเพื่อนํากลับมาใช้ใหม่ สำหรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นท่าอากาศยานหลักของ ทอท. มีการจัดการน้ำโดยบริษัทที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมระดับสากล ISO 14001:2015 ด้านการบริหารจัดการระบบจ่ายน้ำประปา ระบบระบายน้ำท่าอากาศยาน ระบบรวบรวมน้ำเสีย และระบบการบําบัดน้ำเสีย
      ทั้งนี้ ทอท. อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลกรณีฐานเพื่อตั้งเป้าหมายการใช้น้ำ โดยเป้าหมายดังกล่าวคํานึงถึงสถานการณ์การใช้น้ำในปัจจุบันของ ทอท. ควบคู่ไปกับบริบทด้านการจัดการน้ำในแต่ละพื้นที่ของท่าอากาศยาน รวมถึงมาตรการการจัดการน้ำในท้องถิ่นของภาครัฐที่เกี่ยวข้องด้วย

4. การจัดการของเสีย

ปัจจุบันปัญหาขยะเป็นหนึ่งในปัญหาระดับชาติ ทั้งในแง่การขาดแคลนพื้นที่ในการกําจัด การเกิดก๊าซเรือนกระจกจากการฝังกลบ และการปนเปื้อนของขยะโดยเฉพาะขยะพลาสติกสู่ระบบนิเวศ ทอท. มีความตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้ดําเนินการบริหารจัดการมาโดยตลอด

การกำจัดของเสีย

      เนื่องจากท่าอากาศยานเป็นสถานที่ที่ผู้โดยสารจํานวนมาก มีกิจกรรมการอุปโภคบริโภคที่ก่อให้เกิดขยะ และเป็นที่รองรับขยะที่มากับอากาศยาน ทอท. จึงจัดให้มีระบบบริหารจัดการขยะโดยเริ่มต้นตั้งแต่การรณรงค์ให้ผู้โดยสารและพนักงานลดอัตราการเกิดขยะ และให้มีการคัดแยกขยะโดยภายในอาคารผู้โดยสารและอาคารสํานักงานจะมีภาชนะตามประเภทของขยะมูลฝอย เช่น ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล สําหรับขยะอันตราย และขยะติดเชื้อจะแยกจัดเก็บไว้โดยเฉพาะไม่ปะปนกับขยะประเภทอื่น จากนั้นจะรวบรวมไปกําจัดให้ถูกต้องตามกฎหมายและหลักสุขาภิบาลต่อไป ทั้งนี้ ได้จัดเตรียมจุดพักขยะที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลตามประเภทของขยะมูลฝอย เช่น ขยะทั่วไปและขยะรีไซเคิล โดยมีหน่วยงานท้องถิ่นหรือเอกชนรับขนถ่ายขยะมูลฝอยไปกําจัด พร้อมดูแลความสะอาดของพื้นที่และเส้นทางที่รถขนขยะผ่านให้เรียบร้อยภายหลังการจัดเก็บในแต่ละครั้ง
      นอกจากนี้ การดําเนินงานของท่าอากาศยานยังมีขยะอันตรายจากการซ่อมบํารุงอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น น้ำมัน สารทําละลาย หลอดไฟ และขยะติดเชื้อจากคลินิกแพทย์ภายในท่าอากาศยาน ซึ่งขยะประเภทดังกล่าวจะถูกนําไปกําจัดโดยบริษัทที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ประเภทและวิธีการกำจัดขยะในท่าอากาศยาน


Waste ISO 14001:2015

การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน

ในปี 2564 ทอท. ได้กำหนดนโยบายการบริหารจัดการการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ ทอท. เพื่อสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างจริงจัง โดยให้ความสำคัญต่อการจัดซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ หรือรีไซเคิลได้โดยง่าย ทั้งนี้เพื่อลดการกำเนิดขยะตั้งแต่ต้นทาง นโยบายดังกล่าวยังสนับสนุนการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของพนักงาน ทอท. จากระบบแอนะล็อกที่พึ่งพาทรัพยากรจำนวนมากโดยเปลี่ยนการใช้กระดาษมาเป็นระบบดิจิทัลที่ช่วยลดการเกิดของเสียได้มากขึ้น เช่น ระบบ e-Document และยังสนับสนุนการใช้ทรัพยากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อลดการใช้พลังงาน เช่น Virtualization Server และ Cloud Computing นอกจากนี้ ทอท. ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติด้านการปฏิบัติงานการบริการจัดการการคัดเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green ICT Management Guideline) ให้แก่พนักงาน เพื่อการนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยแนวทางดังกล่าวประกอบด้วย 4 องค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

  1. วัฏจักรของอุปกรณ์ (Equipment Lifecycle)
  2. การใช้ ICT ของผู้ใช้งาน (End User Computing)
  3. ระบบประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ในองค์กร (Enterprise Computing)
  4. การนำ ICT มาใช้ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ICT as a Low – Carbon Enabler)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


นโยบายการบริหารการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ ทอท.

5. การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

            การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เป็นหนึ่งใน Standard Business Practice ที่องค์กรชั้นนําทั่วโลกให้ความสําคัญในการดําเนินธุรกิจ เพราะเป็นตัวชี้วัดที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนักลงทุนให้ความสนใจ และสามารถตัดสินใจในการลงทุนกับองค์กรที่เปิดเผยข้อมูลในเรื่องของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) อาจส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนในการดําเนินธุรกิจได้ ท่าอากาศยาน ในความรับผิดชอบของ ทอท. ทั้ง 6 แห่ง ได้เข้าร่วม Airport Carbon Accreditation: ACA ของ Airports Council International: ACI เพื่อแสดงเจตจํานง ของ ทอท. ที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น โดยทําการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ที่ปล่อยจากแหล่งกําเนิดในขอบเขตของการปฏิบัติการท่าอากาศยานของ ทอท. ตาม Airport Carbon Accreditation Guidance Document และนําไปสู่แนวทางการบริหารจัดการและลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ

            โปรแกรม ACA มีระดับการรับรอง 6 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 Mapping ระดับที่ 2 Reduction ระดับที่ 3 Optimisation ระดับที่ 3+ Neutrality ระดับที่ 4 Transformation และ ระดับที่ 4+Transition ในการเข้ารับการรับรองในระดับที่สูงขึ้น ท่าอากาศยานจะต้องเพิ่มระดับของการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ปัจจุบันท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย และ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ได้รับการรับรองในระดับที่ 3 Optimization สําหรับท่าอากาศยานภูเก็ตได้รับการรับรองในระดับที่ 1 Mapping

           ภายใต้โครงการดังกล่าว ทอท. ได้ทวนสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) และทางอ้อม (Scope 2) ของท่าอากาศยานเป็นประจําทุก 2 ปี โดยผู้ทวนสอบอิสระในระดับ Reasonable Level of Assurance และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่น (Scope 3) ได้ผ่านการทวนสอบมาตรฐานตาม Airport Carbon Accreditation Application Manual และสอดคล้องตามหลักการของ GHG Protocol และ ISO 14064

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม


ระดับการประเมินตาม Airport Carbon Accreditation


Airport Carbon Accreditation Certification

AOT Climate Change Management Disclosure

นโยบายอนุรักษ์พลังงาน

โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

การสร้างสนามบินมีผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

ทอท. และบริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด (DCAP) ได้ร่วมลงนามในสัญญาอนุญาตให้ประกอบกิจการและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ขนาด 4.4 MW เพื่อผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยปราศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งยังให้ร่มเงาที่ช่วยลดความร้อนภายในอาคาร ส่งผลให้ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำเย็นของระบบปรับอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ทอท. ยังได้รับส่วนแบ่งรายได้จากการขายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโครงการ ในช่วงปลายปีงบประมาณ 2564 สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 292.10 MWh คิดเป็น 0.08% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด โดย ทอท. มีแผนที่จะเพิ่มกำลังผลิตในอนาคตอีกด้วย

6. สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

ด้วยความห่วงใยในสิ่งแวดล้อม มุ่งมั่นสร้างความสมดุลระหว่างการดําเนินงานท่าอากาศยานและการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เพื่ออํานวยความสะดวกในการเดินทาง ป้องกันการเกิดความล่าช้าโดยไม่จําเป็นของอากาศยาน ลูกเรือผู้โดยสารและสินค้า ทอท. ตระหนักถึงความรับผิดชอบในการรักษา เฝ้าระวัง และจัดการให้สิ่งแวดล้อมมีความปลอดภัยกับผู้ใช้บริการท่าอากาศยาน

การติดตามตรวจสอบด้านสุขาภิบาล

ดําเนินการควบคุม ป้องกัน และกําจัดสัตว์และแมลงรบกวนด้วยวิธี Integrated Pest Management: IPM บูรณาการเทศนิคการจัดการทางกายภาพและชีวภาพ มาใช้ในการควบคุม ป้องกัน กําจัดสัตว์ และแมลงพาหะนำโรคและสัตว์รบกวน ก่อนจะใช้สารเคมีเป็นมาตรการสุดท้าย เพื่อมิให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม พร้อมกันนี้ ได้ดําเนินการตรวจสุขาภิบาลอาคารสถานที่และสุขาภิบาล น้ำดื่ม น้ำใช้ ตลอดจนสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหาร ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพ และเคมี

การติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

  • การตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในอาคาร ได้แก่ อาคารสํานักงานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Operations Building: AOB) อาคารระบบบริหารข้อมูลท่าอากาศยาน (Airport Information Management System Building: AIMS) อาคารผู้โดยสาร (Passenger Terminal) และบริเวณจุดคัดแยกสัมภาระ (Sorting Area) โดยดัชนีคุณภาพอากาศที่ตรวจวัด ได้แก่ CO, CO2 VOCs, อุณหภูมิ ความชื้น และปริมาณเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อราในอากาศ นอกจากนี้ยังดําเนินการตรวจวัดฝุ่นละออง ในพื้นที่ต่าง ๆ ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อาทิ บริเวณหอควบคุมจราจรภาคพื้น สถานีดับเพลิงและบริเวณระบบ สายพานลําเลียงกระเป๋าและสัมภาระ โดยมีดัชนีตรวจวัด PM10 และ PM2.5
  • การตรวจวิเคราะห์ คุณภาพน้ำทิ้งจากผู้ประกอบการ และคุณภาพน้ำผิวดินภายในคลองโดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อมิให้น้ำทิ้งจากผู้ประกอบการเกิดผลกระทบกับชุมชนโดยรอบ ทอท.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

AOT Environmental Performance

AOT Biodiversity and No Deforestation Commitment

ช่องทางรับข้อร้องเรียนและให้ข้อเสนอแนะ

ทอท. จัดให้มีช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมครอบคลุมประเด็นด้านเสียงและผลกระทบด้านอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาร่วมกันอย่างยั่งยืน และจัดตั้งศูนย์ประสานงานการแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีภารกิจหลัก 2 ส่วน ดังนี้

การสร้างสนามบินมีผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

งานมวลชนสัมพันธ์

ลงพื้นที่เพื่อพบปะชี้แจงทําความเข้าใจกับประชาชนในประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการดําเนินงาน และการแก้ไขปัญหาผลกระทบของ ทอท. ตลอดจนติดตามสถานการณ์ภายในชุมชนและพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยาน เพื่อรายงานประเด็นความคิดเห็นหรือข้อร้องเรียนของประชาชนแก่ ทอท.

การสร้างสนามบินมีผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

รับข้อร้องเรียนทางโทรศัพท์
(Call Center)

รับเรื่องร้องทุกข์และตอบข้อซักถามด้านขั้นตอนการในการดําเนินงานชดเชยผลกระทบด้านเสียงจากการดำเนินงานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แผนงานขั้นตอนและผลการดําเนินงานการแก้ไขปัญหาและให้ข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในกรณีมีการสอบถามข้อมูลเชิงลึกของ ทอท. ศูนย์ประสานงานฯ จะเป็นผู้ประสานงานด้านข้อมูลเพื่อชี้แจงและสร้างความเข้าใจให้กับผู้สอบถาม

ข้อใดคือผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการสร้างสนามบิน

การสร้างสนามบินใหม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการก่อสร้างสถานที่ถาวรและการทําลายที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ต้องมีการเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานซึ่งนําไปสู่การก่อสร้างการกําจัดของเสียมากขึ้นเช่นกันต้องใช้เวลาและที่สําคัญการลงทุนจํานวนมาก

ข้อใดเป็นผลกระทบของเทคโนโลยีต่อสิ่งแวดล้อมด้านลบจากการสร้างสนามบิน *

การสร้างสนามบิน ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศแก่ผู้ที่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง การใช้หุ่นยนต์เป็นแรงงานในการผลิต ช่วยลดต้นทุนในการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมได้

ข้อใดเป็นผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจในกรณีการสร้างสนามบิน

ข้อใดเป็นผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจในกรณีการสร้างสนามบิน เกิดมลพิษทางเสียง เนื่องจากการบิน งบประมาณในการก่อสร้างสูงรัฐบาลต้องระดมทุนหรือกู้เงินในการก่อสร้าง เกิดมลพิษทางอากาศ เนื่องจากสนามบินเป็นแหล่งปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์

ข้อใดเป็นผลกระทบด้านลบของการสร้างเขื่อน

บาป 7 ประการของการสร้างเขื่อน.
บาปประการที่ 1 สร้างเขื่อนผิดที่ผิดทาง.
บาปประการที่ 2 การมองข้ามกระแสน้ำท้ายเขื่อน.
บาปประการที่ 3 การมองข้ามความหลากหลายทางชีวภาพ.
บาปประการที่ 4 ภาวะขาดทุนในภาพรวม.
บาปประการที่ 5 ไม่สามารถสร้างความยอมรับต่อสังคม.
บาปประการที่ 6 การจัดการความเสี่ยงและผลกระทบที่ผิดพลาด.